VP ชนิดของรูปแบบการฝึกซ้อมจักรยาน ตอนที่ 2

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของ Downhill โดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ
ตอบกลับ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

VP ชนิดของรูปแบบการฝึกซ้อมจักรยาน ตอนที่ 2

โพสต์ โดย giro »

ชนิดของรูปแบบการฝึกซ้อมจักรยาน
ตอนที่ 2
รูปภาพ
มาต่อตอนที่ 2 กันเลยนะครับกับรูปแบบการฝึกซ้อมพัฒนาการปั่นจักรยานแบบต่างๆ ใครเคยฝึก หรือไม่เคยฝึกแบบไหนมาบ้าง ลองย้อนกลับไปอ่านตอนที่ 1 กันดูก่อน แล้วมาต่อให้ครบทั้ง 10 รูปแบบ ใครฝึกมาครบทั้ง 10 รูปแบบต่อเนื่อง บอกได้เลยว่าถึงไม่แรงก็ต้องเร็วอย่างแน่นอน ปิดท้ายกันด้วยแบบฝึกซ้อมเบาๆขั้นต้นกันซัก 3 ตัว ลองติดตามดูนะครับ
ย้อนกลับไปอ่านตอนแรกได้ที่นี่
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1222932

LONG HILL CLIMB
การฝึกซ้อมไต่เขาระยะเวลายาวๆไม่ได้พัฒนาเพียงการไต่เขาเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาความสามารถโดยรวมตั้งแต่ระบบแอโรบิคไปจนถึงความแข็งแรงและความทนทานของร่างกาย การฝึกซ้อมทำได้โดยการขี่จักรยานขึ้นเขาระดับความชันน้อยๆถึงปานกลาง ด้วยระดับความหนักท้ายช่วง Threshold จนถึง VO2max (zone 4-5) ระยะเวลาประมาณ 10-15 นาทีเป็นเซ็ทๆสลับการปั่นเบาๆเพื่อพักฟื้นฟูที่ระดับ Recovery

THRESHOLD RIDE
ระดับความหนักแบบ”เทรสโชลด์” หรือ”แล็คเตทเทรสโชลด์”หมายถึงระดับความหนักที่ร่างกายออกแรงหนักเหนือระดับแอโรบิคจนเกิดเป็นของเสียได้กรดแล็คติกออกมาเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นจุดแบ่งระหว่างความหนักแบบแอโรบิคและอะแนโรบิค การฝึกซ้อมรูปแบบนี้พัฒนายกระดับความฟิตโดยรวมขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งความทนทาน ความเร็วและการทนทานต่อการออกแรงอย่างเต็มที่ในช่วงเวลาหนึ่ง ทำได้โดยออกแรงปั่นอย่างหนักที่ระดับ Lactate Threshold (zone 4) เป็นเซ็ท ระยะเวลา 10-15 นาที สลับกับการปั่นพักเบาๆที่ระดับความหนักช่วงปานกลางของการออกแรงช่วงแอโรบิค(ไม่ใช่ recovery )จำนวน 2-4 เซ็ท

LACTATE INTERVAL
รู้จักในภาษาไทยกันดีในชื่อ”ความทนทานกรดแล็คติก” หมายถึงการฝึกปั่นจักรรยานที่ระดับความหนักที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระยะเวลา 5 นาที ไม่ว่าจะเป็นทางราบหรือทางขึ้นเขาก็ตาม สลับกับการปั่นช่วงกลางของระดับแอโรบิค การฝึกซ้อมในระดับนี้ร่างกายออกแรงด้วยระบบอะแนโรบิคอย่างเต็มตัว เกิดกรดแล็คติกมากมายพรั่งพรู กรดแล็คติกนี้จะส่งผลให้กระบวนการทำงานของร่างกายทำได้มีประสิทธิภาพน้อยลงจนถึงหยุดทำงานในที่สุด อันที่จริงถึงชื่อการฝึกจะเรียกว่า”ความทนทาน”ก็ตามแต่ไม่ได้แปลว่าเอานักปั่นมาฝึกทนกรดนะครับ แต่หมายถึงการเอานักปั่นมาฝึกในระดับความหนักมากๆและให้ร่างกายได้พักระบายกำจัดกรดแล็คติก ซึ่งในระยะยาวก็จะพัฒนาร่างกายผลิตกรดแล็คติกน้อยลงและกำจัดได้เร็วขึ้นนั่นเอง

SPEED INTERVAL
ความเร็วเป็นสิ่งที่ท้าทายและยั่วยวนให้นักปั่นหลงใหลจนต้องมาฝึกซ้อมพัฒนาการปั่นกันจริงจัง การฝึกซ้อมความเร็วแบบเก็บเซ็ทนี้หมายถึงการฝึกซ้อมระยะสั้นๆ ที่ระดับความเร็วสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ในระยะเวลาต่างๆตั้งแต่ 30 วินาที, 1 นาที ไปจนถึง 3-5 นาที สลับกับการปั่นเบาๆพักให้เต็มที่ในแต่ละชวง นอกเหนือจากการพัฒนาทั้งการกำจัดกรดแล็คติกและการทำงานของระบบอะแนโรบิค การฝึกซ้อมแบบนี้ยังช่วยพัฒนาทักษะการควบคุมจักรยานในความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี

STEADY-STATE RIDE
เป็นการฝึกซ้อมระยะทางปานกลางด้วยความเร็ว ความหนักระดับปลายระบบการทางนแบบแอโรบิค(ปลาย zone 3 )โดยมีระยะเวลานานกว่า 90 นาที ผลที่ได้รับนอกจากพัฒนาระบบแอโรบิคยังช่วยพัฒนาความทนทานในระดับสูง ช่วยปูพื้นฐานที่ดีสำหรับทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อฝึกซ้อมในระดับความเข้มข้นสูงมากๆในขั้นสูงต่อไป ผู้ฝึกต้องมีความอดทนต่อความหนักมากกว่าการซ้อมพื้นฐานแบบอื่นๆ เพราะแม้การฝึกซ้อมจะไม่ได้ใช้ความหนักสูงมากแต่ต้องทนออกแรงได้เป็นเวลานาน การฝึกซอ้มแบบนี้ยังมีข้อดีคือสามารถทำต่อเนื่องกันได้หลายวันเพราะไม่มีอาการล้าสะสมแบบการซ้อมในระดับอะแนโรบิค



ตัวอย่างแบบฝึกซ้อมจักรยาน
แบบที่ 1
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1222920
แบบที่ 2
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1222922
แบบที่ 3
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1222923
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
Blue Haro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1163
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2009, 20:03
team: วงลงเขา

Re: VP ชนิดของรูปแบบการฝึกซ้อมจักรยาน ตอนที่ 2

โพสต์ โดย Blue Haro »

น่าจะเป็นการซ้อมสำหรับ Road Bike หรือเปล่าครับ
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: VP ชนิดของรูปแบบการฝึกซ้อมจักรยาน ตอนที่ 2

โพสต์ โดย giro »

โดยรวมแล้วสำหรับเสือหมอบและไตรกีฬาครับ แต่เสือภูเขาเองก็มีการซ้อมหลายอย่างที่ใกล้เคียงและเป็นตัวเดียวกันเลย
สิ่งที่แตกต่างคือเสือภูเขาเน้นความแข็งแรงสูงกว่าสเือหมอบ และใช้ทักษะการควบคุมรถที่มากกว่า รวมถึงการอ่านไลน์ การใช้เส้นทาง
พูดง่ายๆคืออาศัยความแข็งแรงและเทคนิคมากกว่าความทนทาน
อย่างครอสคันทรี หรือไซโคลครอสจะใช้เวลาในการแข่งขันไม่ยาวมาก ระหว่าง 45-120 นาที (2 ชม. นี่ก็สุดๆแล้ว) อัตราการใช้พลังงานและการทำงานอยู๋ในระดับ Lactate และ anaerobic เป็นส่วนมาก มีระยะพักอยู๋สั้นๆสลับไปเรื่อยๆ

ในขณะที่เสือหมอบส่วนมากขี่ในช่วง endurance หรือ aerobic โซนสูง ใช้ anaerobic เป็นระยะเวลาสั้นในช่วงจำเป็น จากนั้นชี้ขาดกันที่ lactate เสียเป็นส่วนใหญ่ มีบางโอกาสเช่นการฟาดฟันบนเขาจะใช้ anaerobic capacity ฟัดกัน ซึ่งเทียบจาก 5-6 ชม. ที่ขี่มันน้อยมากๆ
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
ตอบกลับ

กลับไปยัง “Downhill-Freeride”