อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
mojopk88
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1105
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 11:43
Tel: 085-8077050
Bike: NICH LII+Reynolds Strike

อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย mojopk88 »

คือผมได้จานหน้ามาละ ตอนนี้อยากติดสับจานหน้า คือง่ายๆนะพี่ๆ ผมอยากลองทำเอง มีปัญหาอะไรเราจะได้ทำเองเป็น ไม่ต้องพึ่งช่าง เพราะบางทีมันไกล อยากทำเองเป็นคับ
todtor4
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2012, 22:35
team: LCC Lamnarai Cycling Club
Bike: Trek series 1.1 2013 + tiagra geoupset
ตำแหน่ง: ตลาดลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย todtor4 »

คือว่าต้องถามก่อนว่าสับจานเป็นรุ่นไหน เป็นน็อตยึดหรืว่าแคมป์รัด
ถ้าเป็นรุ่นน็อตยึดก็ง่ายหน่อย แค่ใส่ตามตำแหน่งของมันเลยครับ แล้วค่อยมาจูนทีหลัง
แต่ถ้าเป็นรุ่นแคมป์รัด ต้องดูก่อนว่ามีรอยเก่าที่เคยติดตั้งมาก่อนหรือปล่าว ถ้ามีก็รัดในตำแหน่งเดิมเลยครับ แล้วหมุนให้ตัวสับจานมันมาอยู่ในตำแหน่งของจานหน้า(ต้องให้อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางนะครับ) จากนั้นเราก็ทำการจูนสับจาน โดยเริ่มจากความตึงของสายก่อน จะต้องไม่ตึงและหย่อนจนเกินไป แล้วค่อยไปตั้งขันสกรู L H ให้มันสมูทครับ
วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวานเสมอ ถึงแม้มันจะเหนื่อยและเมื่อยล้า
แต่เราจะเก็บสะสมประสบการณ์เหล่านั้นเอาไว้ เพื่ออนาคตที่ดีในวันข้างหน้า
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย lucifer »

เอาหลักการคร่าวๆไปก่อนก็แล้วกัน รอBuild อารมณ์ได้ จะรวมรวมพร้อมถ่ายภาพประกอบกิจกรรม"ไม่ง้อช่าง"ให้

หลักการของการติดตั้งสับจานในลักษณะ"มาตรฐาน" ไม่ใช้วิชามาร และใช้ร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐาน"จานกลม" มีดังนี้
1. กรุณาไป download คู่มือของสับจานShimano รุ่นที่จะใช้ ซึ่งหลักการก็จะเหมือนกันหมดทุกๆรุ่น ง่ายๆก็ไปD/L ที่ http://techdocs.shimano.com/media/techd ... 696762.pdf

2. ตำแหน่งที่ติดตั้งสับจาน จะมีอยู่ด้วยกันในลักษณะ 2 มุมมอง

2.1 มุมมองจากด้านบน
front-derail-setup2.jpg
front-derail-setup2.jpg (57.3 KiB) เข้าดูแล้ว 50094 ครั้ง

ในกรณีที่เป็นสับจานแบบ Braze on คือ มีห่วงสำหรับเกี่ยวอยู่บนท่อนั่ง การติดตั้งเพียงแค่ร้อยสกรูเข้าไปแล้วขันให้แน่น ก็มักจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะการปรับมุมของใบสับจานในกรณีนี้จะทำได้น้อยมาก
แต่สำหรับสับจานแบบ Clamp on คือ มีห่วงรัดอยู่กับตัวสับจานเอง

อย่างแรกเลยคือ หมุนสกรูตัว L ตามเข็มนาฬิกา เพื่อดันให้สับจานกางออกมาจากเฟรมจนกระทั่งขอบนอกของใบสับจานอยู่ในแนวเดียวกับใบจานใหญ่
การติดตั้งจะต้องปรับมุมให้ใบสับจานด้านนอก ขนานเป็นแนวเดียวกับ ใบจานใหญ่ เรื่องทั้งหมดก็จะง่ายขึ้น


2.2 มุมมองจากด้านข้าง
front-derail-setup1.jpg
front-derail-setup1.jpg (96.83 KiB) เข้าดูแล้ว 50095 ครั้ง
ขยับปรับความสูงของสับจานให้เหมาะสม โดยความสูงของสับจานที่เหมาะสม จะต้องเหลือระยะห่างระหว่างยอดของใบจานใหญ่ กับ ขอบล่างของใบสับจานด้านนอก 1 -3 mm


อย่ามั่นใจว่า ของเดิมจะติดตั้งมาถูกต้องหรือเหมาะสมแล้วเสมอไป บ่อยครั้งที่สับจานที่ติดตั้งมาจากโรงงาน ถูกประกอบเข้าไปอย่างคร่าวๆ ยังไม่ได้ถูกปรับจูนอะไร พอมาถึงร้านค้า ถ้าหากคนขายพิถีพิถันก็แล้วไป แต่ถ้าไม่ทำอะไร ปล่อยออกไปเลย ก็อาจจะรู้สึกว่าไม่ราบรื่นมาตลอด ทำให้ต้องดิ้นรนเสียเงินซื้อใหม่ เพราะเชื่อว่าน่าจะราบรื่นกว่า


แค่ ขั้นตอนที่ 2.1 และ 2.2 ก็สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของสับจาน จากทำงานราบรื่นเป็นทำงานไม่ได้เรื่อง หรือ จากทำงานไม่ได้เรื่องเป็นทำงานราบรื่นได้อย่างน่าอัศจรรย์
จากนั้นจึงคลายสกรูตัว L ออก จนสับจานกลับลงมา


3. ทำการร้อยโซ่ผ่านตีนผี ผ่านสับจานเสียให้เรียบร้อย

คราวนี้เป็นเรื่องของการปรับสกรูตัว L หรือ Low adjustment screw ถ้าคุณไม่downloadคู่มือมาดู คุณก็จะต้องเสียเวลามั่วก่อนว่า สกรูตัวไหนคือ L หรือ H เพราะสับจานบางรุ่นไม่ตอกตัวอักษรเอาไว้ให้เห็น หรือ ถึงจะตอกก็ตัวเล็กกระจิ๋วหริ๋ว มองด้วยตาแทบจะไม่เห็น ใส่แว่นยังมองไม่ค่อยจะเห็นเลยยยยยยย :lol:

สกรูตัว L จะมีหน้าที่ในการประคองสับจานในตำแหน่งที่ปล่อยเกียร์ให้มันดีดกลับลงมาจนสุด คือ ให้มันปัดโซ่ให้ลงมาที่จานเล็กนั่นเอง การปรับตั้งสกรูตัวนี้ มีผลทำให้การปัดโซ่จากจานใหญ่ลงมาจานเล็กราบรื่น หรือ ทำให้โซ่ตกจากจานเล็กลงมาที่เฟรมเลยก็ได้เช่นกัน

ปรับเกียร์หลัง ให้มาอยู่ที่ตำแหน่งเฟืองหลังใหญ่สุด แล้วมองลงมาจากด้านบน ดูว่าโซ่อยู่ห่างจากใบของสับจานด้านในมากน้อยแค่ไหน ตามมาตรฐาน จะปรับสกรูตัว L ให้ โซ่อยู่ห่างจากใบสับจานด้านใน 0 - 0.5 มม. ( ทริควิชามารก็คือ ถ้าหากปรับให้โซ่อยู่ห่างจากใบสับจานด้านในมากถึง 1 มม. โซ่จะหล่นจากใบจานใหญ่ลงสู่ใบจานเล็กได้อย่างรวดเร็ว และราบรื่น แต่โซ่พร้อมจะหล่นลงไปด้านในได้ง่ายๆ จึงต้องติดตั้งตัวกันโซ่ตกเอาไว้ด้วยเสมอ แต่ถ้าทำตามมาตรฐาน ก็จะไม่มีปัญหา และแทบไม่จำเป็นเลยที่จะต้องใช้ตัวกันโซ่ตก )


4. กดมือเกียร์ด้านซ้าย อันเล็ก ( ตัวปล่อยสาย , ตัวใหญ่คือตัวดึงสาย ) เพื่อคลายสายเกียร์ออกจนหมด คลายตัวเร่งสายเกียร์ออกให้หมดแล้วหมุนเข้าไปสัก 1 รอบ ( บางทีอาจจะต้องผ่อนสายเกียร์ช่วยอีกในบางครั้ง )
แล้วร้อยสายเกียร์เข้าสู่สับจาน ไม่ต้องดึงให้สายเกียร์ตึง ปล่อยให้มันหย่อนๆนิดๆไว้นั่นแหละครับ คืออย่าให้มันไปดึงให้ใบสับจานขยับตัว ไม่งั้นตำแหน่งสกรูตัวL จะผิดไป หรือหากเราต้องการจะคลายสกรูตัวLออกมาอีก เราก็จะได้เหลือระยะได้อีก

จากนั้นให้หมุนบันไดแล้วเปลี่ยนเกียร์หลังไล่ไปเรื่อยๆจากใหญ่ไปสู่เล็ก โซ่จะเริ่มสีกับสับจานเมื่อตำแหน่งเกียร์หลังอยู่เฟืองกลางๆ ให้ผลักมือเกียร์ด้านซ้ายไปครึี่งจังหวะ ( จังหวะทริม ) เบาๆนะครับ ( ถ้าขยับแรงจนเกินจังหวะทริม ก็จะกลายเป็นเปลี่ยนเกียร์ขึ้นจานใหญ่ไปซะ ) สับจานจะขยับไปอีกนิดหนึ่ง ทำให้สับจานไม่สีกับโซ่ ถ้าขยับมือเกียร์แล้วสับจานยอมไม่ขยับ ก็ให้ปรับเร่งสายเกียร์จนกระทั่งสับจานขยับพ้นจากการสีของโซ่ จากนั้นไล่เกียร์หลังไปจนถึงเฟืองเล็กเกือบสุด ที่ตำแหน่งนี้หากใช้จังหวะเกียร์ครึี่งจังหวะ โซ่แทบจะไม่สีกับสับจานเลย ถ้ายังสีอยู่ก็ให้ค่อยปรับความตึงของสายเกียร์จนไม่สีกับสับจาน แต่ที่ตำแหน่งเฟืองหลังเล็กสุด อาจจะยอมให้โซ่สีกับสับจานได้บ้าง

5. คราวนี้ให้หมุนบันไดไปเรื่อยๆ แล้วกดมือเกียร์อีกครึ่งจังหวะที่เหลือเพื่อให้สับจานดันโซ่ขึ้นไปจานใหญ่ ( โดยปกติแล้ว สับจานใหม่เอี่ยม สกรูตัว H ( high adjustment screw ) มักจะคลายออกมาเยอะ ) มันก็จะถูกดันขึ้นมาได้โดยง่าย แล้วปรับเกียร์หลังไปที่เฟืองเล็กสุด แล้วมองจากด้านบนลงมาว่า โซ่อยู่ห่างจากขอบด้านในของใบสับจานด้านนอกแค่ไหน ตามมาตรฐานแล้ว เราจะขันสกรูตัวH เข้ามาเพื่อดันให้ใบสับจานเข้ามาห่างจากโซ่ไม่เกิน 0.5mm
ถ้าโซ่อยู่ห่างจากใบสับจานมากเกินไป การขึ้นเกียร์จากจานเล็กไปจานใหญ่ จะขึ้นได้ง่าย แต่โซ่อาจจะถูกดันให้หล่นจากจานใหญ่มาตกลงบนขาจานให้เป็นรอยได้โดยง่าย
ถ้าโซ่อยู่ชิดกับใบสับจานมากเกินไป จนโซ่สีกับใบสับจาน การขึ้นเกียร์จากจานเล็กก็จะเป็นไปด้วยความฝืด ต้องดันกันแรงๆ

ก่อนจะบอกว่าเกียร์แม่นไม่แม่นนั้น ต้องเข้าใจเหตุผลเบื้องต้นก่อนว่า การทำงานของสับจานนั้น เป็นการเปลี่ยนเกียร์ในด้านของโซ่ที่ตึง ดังนั้นการขึ้นเกียร์และลดเกียร์จะค่อนข้างลำบากกว่าการเปลี่ยนเกียร์ทางด้านตีนผี เพราะตีนผีจะจัดการโซ่ด้านล่าง ซึ่งเป็นด้านที่โซ่หย่อนกว่า การจะเปลี่ยนเกียร์ของสับจานให้ราบรื่น จึงจำเป็นต้องลดแรงกดของบันไดลงมาก่อน อย่าเปลี่ยนเกียร์ในขณะที่ย่ำบันได เพราะจะเพิ่มความสึกหรอให้โดยใช่เหตุ

อนึ่ง การขึ้นจานใหญ่นั้น ไม่ใช่ว่าดันมือชิฟเตอร์เสร็จแล้วก็ปล่อยเลยนะครับ มันขึ้นกับรุ่นด้วย แต่ขนาดultegra ผมเองก็ยังต้องดันชิฟเตอร์ค้างไว้แป๊บหนึ่งจนโซ่ไต่ขึ้นจานใหญ่เรียบร้อยจึงจะปล่อยมือ การดันค้างไว้จะทำให้โซ่ขึ้นจานใหญ่ได้ง่ายและราบรื่น แต่หากตั้งสกรูตัว H ไว้ไม่ถูกต้อง การดันค้างไว้นั้นก็อาจจะทำให้โซ่ตกออกจากจานได้เช่นกัน

การจูนสับจานนั้น จะผิดกับการจูนตีนผีตรงที่ ตีนผีเป็นด้านที่โซ่หย่อน การจูนอยู่บนแสตนด์กับการวิ่งบนถนนอาจจะเห็นผลแตกต่างกันไม่มากนัก แต่สำหรับการจูนสับจานนั้น จะต้องทำการทดสอบจริงบนถนนด้วย เพราะปรับสกรูตัวH ไว้ดี แต่พอวิ่งบนถนนแล้ว ก็ดันโซ่ตกจากจานได้อีกเช่นกัน ดังนั้นวันแรกก็ควรจะพกไขควงสี่แฉกติดไว้ด้วย หากผลักสับจานแล้วโซ่หล่น ก็ให้ลงมาขันสกรูตัว H เข้าไปอีก 1/8 รอบ แล้วทดสอบดูใหม่

การปั่นบนถนนนั้น เฟรมบางเฟรมอาจจะมีการบิดหรือขยับตัวของเฟรมได้อีกนิดหน่อย การปรับจูนสับจานจึงอาจจะเป็นอะไรที่ต้องปั่นไปปรับไปอีกนิดหนึ่ง จึงจะลงตัว
แต่โดยเฉลี่ยแล้ว หากทำตามขั้นตอนที่ 2.1 และ 2.2 ถูกต้องแล้ว ขั้นตอนที่เหลือก็แทบจะไม่มีปัญหาเอาเสียเลย

ระบบเกียร์ของShimano จะเป็นระบบเกียร์ที่ปรับง่าย จูนง่าย ติดตั้งง่ายครับ ใครๆก็พัฒนาฝีมือขึ้นมาเป็นช่างมือใหม่ได้ครับ

แต่ถ้าเป็นจานเบี้ยว อันนี้บอกเลยว่า ต้องงัดวิชามารมาใช้กันเลยแหละ เป็นความชำนาญเฉพาะตนจริงๆ


ลองดูนะครับ ไม่ยากอย่างที่คิด
แก้ไขล่าสุดโดย lucifer เมื่อ 09 ธ.ค. 2014, 08:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
idea555d
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 316
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 พ.ค. 2012, 01:29
Tel: 0843355224
team: No Team
Bike: Caad Trek Tern

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย idea555d »

lucifer เขียน:เอาหลักการคร่าวๆไปก่อนก็แล้วกัน รอBuild อารมณ์ได้ จะรวมรวมพร้อมถ่ายภาพประกอบกิจกรรม"ไม่ง้อช่าง"ให้

หลักการของการติดตั้งสับจานในลักษณะ"มาตรฐาน" ไม่ใช้วิชามาร และใช้ร่วมกับอุปกรณ์มาตรฐาน"จานกลม" มีดังนี้
1. กรุณาไป download คู่มือของสับจานShimano รุ่นที่จะใช้ ซึ่งหลักการก็จะเหมือนกันหมดทุกๆรุ่น ง่ายๆก็ไปD/L ที่ http://techdocs.shimano.com/media/techd ... 696762.pdf

2. ตำแหน่งที่ติดตั้งสับจาน จะมีอยู่ด้วยกันในลักษณะ 2 มุมมอง

2.1 มุมมองจากด้านข้าง
front-derail-setup1.jpg
อย่ามั่นใจว่า ของเดิมจะติดตั้งมาถูกต้องหรือเหมาะสมแล้วเสมอไป บ่อยครั้งที่สับจานที่ติดตั้งมาจากโรงงาน ถูกประกอบเข้าไปอย่างคร่าวๆ ยังไม่ได้ถูกปรับจูนอะไร พอมาถึงร้านค้า ถ้าหากคนขายพิถีพิถันก็แล้วไป แต่ถ้าไม่ทำอะไร ปล่อยออกไปเลย ก็อาจจะรู้สึกว่าไม่ราบรื่นมาตลอด ทำให้ต้องดิ้นรนเสียเงินซื้อใหม่ เพราะเชื่อว่าน่าจะราบรื่นกว่า

ความสูงของสับจานที่เหมาะสม จะต้องเหลือระยะห่างระหว่างยอดของใบจานใหญ่ กับ ขอบล่างของใบสับจานด้านนอก 1 -3 mm



2.2 มุมมองจากด้านบน
front-derail-setup2.jpg

ในกรณีที่เป็นสับจานแบบ Braze on คือ มีห่วงสำหรับเกี่ยวอยู่บนท่อนั่ง การติดตั้งเพียงแค่ร้อยสกรูเข้าไปแล้วขันให้แน่น ก็มักจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะการปรับมุมของใบสับจานในกรณีนี้จะทำได้น้อยมาก
แต่สำหรับสับจานแบบ Clamp on คือ มีห่วงรัดอยู่กับตัวสับจานเอง การติดตั้งจะต้องปรับมุมให้ใบสับจานด้านนอก ขนานเป็นแนวเดียวกับ ใบจานใหญ่ เรื่องทั้งหมดก็จะง่ายขึ้น


แค่ ขั้นตอนที่ 2.1 และ 2.2 ก็สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของสับจาน จากทำงานราบรื่นเป็นทำงานไม่ได้เรื่อง หรือ จากทำงานไม่ได้เรื่องเป็นทำงานราบรื่นได้อย่างน่าอัศจรรย์


3. ทำการร้อยโซ่ผ่านตีนผี ผ่านสับจานเสียให้เรียบร้อย

คราวนี้เป็นเรื่องของการปรับสกรูตัว L หรือ Low adjustment screw ถ้าคุณไม่downloadคู่มือมาดู คุณก็จะต้องเสียเวลามั่วก่อนว่า สกรูตัวไหนคือ L หรือ H เพราะสับจานบางรุ่นไม่ตอกตัวอักษรเอาไว้ให้เห็น หรือ ถึงจะตอกก็ตัวเล็กกระจิ๋วหริ๋ว มองด้วยตาแทบจะไม่เห็น ใส่แว่นยังมองไม่ค่อยจะเห็นเลยยยยยยย :lol:

สกรูตัว L จะมีหน้าที่ในการประคองสับจานในตำแหน่งที่ปล่อยเกียร์ให้มันดีดกลับลงมาจนสุด คือ ให้มันปัดโซ่ให้ลงมาที่จานเล็กนั่นเอง การปรับตั้งสกรูตัวนี้ มีผลทำให้การปัดโซ่จากจานใหญ่ลงมาจานเล็กราบรื่น หรือ ทำให้โซ่ตกจากจานเล็กลงมาที่เฟรมเลยก็ได้เช่นกัน

ปรับเกียร์หลัง ให้มาอยู่ที่ตำแหน่งเฟืองหลังใหญ่สุด แล้วมองลงมาจากด้านบน ดูว่าโซ่อยู่ห่างจากใบของสับจานด้านในมากน้อยแค่ไหน ตามมาตรฐาน จะปรับสกรูตัว L ให้ โซ่อยู่ห่างจากใบสับจานด้านใน 0 - 0.5 มม. ( ทริควิชามารก็คือ ถ้าหากปรับให้โซ่อยู่ห่างจากใบสับจานด้านในมากถึง 1 มม. โซ่จะหล่นจากใบจานใหญ่ลงสู่ใบจานเล็กได้อย่างรวดเร็ว และราบรื่น แต่โซ่พร้อมจะหล่นลงไปด้านในได้ง่ายๆ จึงต้องติดตั้งตัวกันโซ่ตกเอาไว้ด้วยเสมอ แต่ถ้าทำตามมาตรฐาน ก็จะไม่มีปัญหา และแทบไม่จำเป็นเลยที่จะต้องใช้ตัวกันโซ่ตก )


4. กดมือเกียร์ด้านซ้าย อันเล็ก ( ตัวปล่อยสาย , ตัวใหญ่คือตัวดึงสาย ) เพื่อคลายสายเกียร์ออกจนหมด คลายตัวเร่งสายเกียร์ออกให้หมดแล้วหมุนเข้าไปสัก 1 รอบ ( บางทีอาจจะต้องผ่อนสายเกียร์ช่วยอีกในบางครั้ง )
แล้วร้อยสายเกียร์เข้าสู่สับจาน ไม่ต้องดึงให้สายเกียร์ตึง ปล่อยให้มันหย่อนๆนิดๆไว้นั่นแหละครับ คืออย่าให้มันไปดึงให้ใบสับจานขยับตัว ไม่งั้นตำแหน่งสกรูตัวL จะผิดไป หรือหากเราต้องการจะคลายสกรูตัวLออกมาอีก เราก็จะได้เหลือระยะได้อีก

จากนั้นให้หมุนบันไดแล้วเปลี่ยนเกียร์หลังไล่ไปเรื่อยๆจากใหญ่ไปสู่เล็ก โซ่จะเริ่มสีกับสับจานเมื่อตำแหน่งเกียร์หลังอยู่เฟืองกลางๆ ให้ผลักมือเกียร์ด้านซ้ายไปครึี่งจังหวะ ( จังหวะทริม ) เบาๆนะครับ ( ถ้าขยับแรงจนเกินจังหวะทริม ก็จะกลายเป็นเปลี่ยนเกียร์ขึ้นจานใหญ่ไปซะ ) สับจานจะขยับไปอีกนิดหนึ่ง ทำให้สับจานไม่สีกับโซ่ ถ้าขยับมือเกียร์แล้วสับจานยอมไม่ขยับ ก็ให้ปรับเร่งสายเกียร์จนกระทั่งสับจานขยับพ้นจากการสีของโซ่ จากนั้นไล่เกียร์หลังไปจนถึงเฟืองเล็กเกือบสุด ที่ตำแหน่งนี้หากใช้จังหวะเกียร์ครึี่งจังหวะ โซ่แทบจะไม่สีกับสับจานเลย ถ้ายังสีอยู่ก็ให้ค่อยปรับความตึงของสายเกียร์จนไม่สีกับสับจาน แต่ที่ตำแหน่งเฟืองหลังเล็กสุด อาจจะยอมให้โซ่สีกับสับจานได้บ้าง

5. คราวนี้ให้หมุนบันไดไปเรื่อยๆ แล้วกดมือเกียร์อีกครึ่งจังหวะที่เหลือเพื่อให้สับจานดันโซ่ขึ้นไปจานใหญ่ ( โดยปกติแล้ว สับจานใหม่เอี่ยม สกรูตัว H ( high adjustment screw ) มักจะคลายออกมาเยอะ ) มันก็จะถูกดันขึ้นมาได้โดยง่าย แล้วปรับเกียร์หลังไปที่เฟืองเล็กสุด แล้วมองจากด้านบนลงมาว่า โซ่อยู่ห่างจากขอบด้านในของใบสับจานด้านนอกแค่ไหน ตามมาตรฐานแล้ว เราจะขันสกรูตัวH เข้ามาเพื่อดันให้ใบสับจานเข้ามาห่างจากโซ่ไม่เกิน 0.5mm
ถ้าโซ่อยู่ห่างจากใบสับจานมากเกินไป การขึ้นเกียร์จากจานเล็กไปจานใหญ่ จะขึ้นได้ง่าย แต่โซ่อาจจะถูกดันให้หล่นจากจานใหญ่มาตกลงบนขาจานให้เป็นรอยได้โดยง่าย
ถ้าโซ่อยู่ชิดกับใบสับจานมากเกินไป จนโซ่สีกับใบสับจาน การขึ้นเกียร์จากจานเล็กก็จะเป็นไปด้วยความฝืด ต้องดันกันแรงๆ

ก่อนจะบอกว่าเกียร์แม่นไม่แม่นนั้น ต้องเข้าใจเหตุผลเบื้องต้นก่อนว่า การทำงานของสับจานนั้น เป็นการเปลี่ยนเกียร์ในด้านของโซ่ที่ตึง ดังนั้นการขึ้นเกียร์และลดเกียร์จะค่อนข้างลำบากกว่าการเปลี่ยนเกียร์ทางด้านตีนผี เพราะตีนผีจะจัดการโซ่ด้านล่าง ซึ่งเป็นด้านที่โซ่หย่อนกว่า การจะเปลี่ยนเกียร์ของสับจานให้ราบรื่น จึงจำเป็นต้องลดแรงกดของบันไดลงมาก่อน อย่าเปลี่ยนเกียร์ในขณะที่ย่ำบันได เพราะจะเพิ่มความสึกหรอให้โดยใช่เหตุ

อนึ่ง การขึ้นจานใหญ่นั้น ไม่ใช่ว่าดันมือชิฟเตอร์เสร็จแล้วก็ปล่อยเลยนะครับ มันขึ้นกับรุ่นด้วย แต่ขนาดultegra ผมเองก็ยังต้องดันชิฟเตอร์ค้างไว้แป๊บหนึ่งจนโซ่ไต่ขึ้นจานใหญ่เรียบร้อยจึงจะปล่อยมือ การดันค้างไว้จะทำให้โซ่ขึ้นจานใหญ่ได้ง่ายและราบรื่น แต่หากตั้งสกรูตัว H ไว้ไม่ถูกต้อง การดันค้างไว้นั้นก็อาจจะทำให้โซ่ตกออกจากจานได้เช่นกัน

การจูนสับจานนั้น จะผิดกับการจูนตีนผีตรงที่ ตีนผีเป็นด้านที่โซ่หย่อน การจูนอยู่บนแสตนด์กับการวิ่งบนถนนอาจจะเห็นผลแตกต่างกันไม่มากนัก แต่สำหรับการจูนสับจานนั้น จะต้องทำการทดสอบจริงบนถนนด้วย เพราะปรับสกรูตัวH ไว้ดี แต่พอวิ่งบนถนนแล้ว ก็ดันโซ่ตกจากจานได้อีกเช่นกัน ดังนั้นวันแรกก็ควรจะพกไขควงสี่แฉกติดไว้ด้วย หากผลักสับจานแล้วโซ่หล่น ก็ให้ลงมาขันสกรูตัว H เข้าไปอีก 1/8 รอบ แล้วทดสอบดูใหม่

การปั่นบนถนนนั้น เฟรมบางเฟรมอาจจะมีการบิดหรือขยับตัวของเฟรมได้อีกนิดหน่อย การปรับจูนสับจานจึงอาจจะเป็นอะไรที่ต้องปั่นไปปรับไปอีกนิดหนึ่ง จึงจะลงตัว
แต่โดยเฉลี่ยแล้ว หากทำตามขั้นตอนที่ 2.1 และ 2.2 ถูกต้องแล้ว ขั้นตอนที่เหลือก็แทบจะไม่มีปัญหาเอาเสียเลย

ระบบเกียร์ของShimano จะเป็นระบบเกียร์ที่ปรับง่าย จูนง่าย ติดตั้งง่ายครับ ใครๆก็พัฒนาฝีมือขึ้นมาเป็นช่างมือใหม่ได้ครับ

แต่ถ้าเป็นจานเบี้ยว อันนี้บอกเลยว่า ต้องงัดวิชามารมาใช้กันเลยแหละ เป็นความชำนาญเฉพาะตนจริงๆ


ลองดูนะครับ ไม่ยากอย่างที่คิด


สุดยอดครับ อธิบายไดชัดเจนมาก
ปั่นเพื่อสุขภาพก็พอ
รูปประจำตัวสมาชิก
wimsaab
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1956
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ย. 2011, 20:17
Tel: 0866699449
team: SABUY D BIKE CLUB / GIOS CLUB THAILAND
Bike: Dogma 60.1 Sky / Shiv S-WORK Tri / Nomad MKII / MITO 72.12

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย wimsaab »

โทมาสอบถามก็ได้คับถ้่าสงสัยจุดไหน :D
สบายดีไบค์ 0866699449 (วิม) - Specialist Of Steel Road & Handmade Bike & Gios Exclusive Dealer
Offical Importer : boydcycling.com/ torelli.com/ bangobrothers.com/ budnitzbicycles.com/ alanbike.it / miyatabike.com
รูปประจำตัวสมาชิก
mojopk88
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1105
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 11:43
Tel: 085-8077050
Bike: NICH LII+Reynolds Strike

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย mojopk88 »

ขอบคุณคับพี่ๆ ได้ความรู้เยอะเลยคับ จะเอาไปลองทำ
รูปประจำตัวสมาชิก
ryuxpro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 982
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2013, 19:11
Bike: Road Bike

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย ryuxpro »

กำลังจะไปเซตสับจานพอดี
ขอบคุณข้อมูลของน้า lucifer มากครับ
และรอชมกระทู้แบบเ็ต็มๆ เพราะจะมีประโยชน์สำหรับนักปั่นมือใหม่มากๆแน่นอนครับ ^^
กลุ่ม 1 Sby ชวนปั่นเส้นราชพฤกษ์-345-พระราม4 เช้าเสาร์-อาทิตย์
มีผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาเคลือบสีของ Auto Finesse จาก UK เคลือบเงาและเคลือบด้าน
รถ มอเตอร์ไซค์ จักรยาน สนใจติดต่อได้ครับ ^^
OSK 97
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 13804
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 12:05
team: ทุ่งสง
Bike: focus max. neilpride bora

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย OSK 97 »

:?
รูปประจำตัวสมาชิก
nathapol
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 470
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 13:22
Tel: o-8-9-4-9-9-o-1-o-3

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย nathapol »

เยี่ยมมมมมมม ครับ อ.ลู

รูปภาพ


หากจะกรุณา ขอวิธีตั้ง ตีนผีด้วยนะคร๊าฟฟ ผม ขอบคุณครับ
Does speed cost money???
รูปประจำตัวสมาชิก
mojopk88
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1105
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2012, 11:43
Tel: 085-8077050
Bike: NICH LII+Reynolds Strike

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย mojopk88 »

รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย lucifer »

nathapol เขียน: หากจะกรุณา ขอวิธีตั้ง ตีนผีด้วยนะคร๊าฟฟ ผม ขอบคุณครับ

จัดไป

ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า ผมกล่าวเฉพาะตีนผีของ Shimano เท่านั้นนะครับ ส่วน SRAM อาจจะพออ้างอิงคล้ายๆกันได้บ้าง แตกต่างกันนิดหน่อย ส่วน Campy บ๊ายบายนะครับ ไม่เคยประกอบ แล้วก็คิดว่าไม่อยากจะใช้ด้วย มันมีเรื่องปวดตับหลายอย่าง เลยขอไม่คบค้าก็แล้วกัน

สำหรับการติดตั้งตีนผีนั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่าการติดตั้งสับจานเสียอีกครับ เพราะมันเป็นอะไรที่ถูกจัดเป็นที่เป็นทางเรียบร้อยแต่แรกแล้ว

1. ติดตั้งตีนผี

ก่อนจะติดตั้งตีนผีนั้น โปรดสำรวจดูว่าเกลียวตัวเมียของหางปลาตีนผี มีสิ่งสกปรกสะสมอยู่หรือไม่ ถ้าสกปรกก็เอาWD-40 ฉีดแล้วเอาแปรงสีฟันเก่าๆปัดจนสะอาด แล้วเช็ดให้แห้ง หาจารบีคุณภาพดีๆสักนิด ป้ายบางๆบนเกลียวตัวผู้ของตีนผี
เอามือประคองตีนผีให้เกลียวตัวผู้เข้าไปสัมผัสกับเกลียวตัวเมียของหางปลาตีนผี แล้วใช้กุญแจหกเหลี่ยมขนาด 5 mm เสียบปลายด้านยาวลงไป ให้เอามือจับที่ปลายด้ามสั้นไว้ ( คุณจะได้ไม่มีแรงกวดมากนัก ) แล้วค่อยหมุนกุญแจหกเหลี่ยมเข้าไปเบาๆ ( ตามเข็มนาฬิกา ) ถ้ารู้สึกว่าฝืน ก็จงอย่าขืน ให้หมุนทวนเข็มนาฬิกา แล้วขยับตีนผีเบาๆพร้อมกับหมุนกุญแจหกเหลี่ยมตามเข็มนาฬิกาเบาๆ จนกระทั่งเกลียวตัวผู้ของตีนผีถูกขันเข้าไปในเกลียวตัวเมียของหางปลาตีนผีจนหมด
install.jpg
install.jpg (91.38 KiB) เข้าดูแล้ว 49557 ครั้ง
ตอนนี้ต้องสังเกตดีๆนิดหนึ่ง ที่หางปลาตีนผีหรือที่เรียกกันสั้นๆว่าdropout ( จริงๆแล้วก็อาจจะผิดความหมายไปบ้าง แต่ก็ปล่อยไปเถอะ เข้าใจง่ายดี ) จะมีแง่งอยู่ แง่งนี้จะไปยันกับ B-tension screw ของตีนผีพอดี จากนั้นก็ขันตีนผีให้ติดกับหางปลาตีนผีอย่างถาวรหละ ถ้ามีประแจปอนด์ ก็ตั้งไว้สัก 8 - 10 N.m แล้วกวดเข้าไปซะ ถ้าไม่มีประแจปอนด์ แรงขนาดนี้ก็ประมาณตึงมือแล้วแถมอีกนิด นิดเดียวพอนะ ฮ่า ฮ่า



2. ปรับตั้งสกรูตัว H

ประกอบชุดเฟืองเข้ากับล้อ แล้วเอาล้อใส่เข้าไปในจักรยาน ยกจักรยานออกมาจากขาตั้ง ให้ล้อหน้าหลังสัมผัสพื้น คลายแกนปลดหลัง แล้วออกแรงกดบนอานเพื่อให้ล้อหลังเข้าที่เข้าทางเสียก่อน แล้วจึงกวดแกนปลด ไม่งั้นล้อหลังอาจจะไม่เข้าที่ การปรับตั้งตีนผีจะเป็นเรื่องน่าปวดหัวทันที

เอาจักรยานขึ้นขาตั้งตามเดิม

ไปยืนอยู่ด้านหลังล้อหลัง แล้วมองเข้าไปที่ตีนผีกับเฟืองหลัง เราจะเริ่มปรับสกรู H เป็นตัวแรก

สกรู H จะมีบทบาทก็ต่อเมื่อเราใช้เฟืองหลังตัวเล็กสุดเท่านั้น โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดตำแหน่งของตีนผีในจังหวะที่ปล่อยให้คืนตัวสุด โดยถ้าเราขันสกรูตัว Hเข้าใน ( ตามเข็มนาฬิกา ) ตีนผีจะขยับตัวเข้าด้านใน และในทางตรงกันข้าม ถ้าคลายสกรูตัว H ออก ( ทวนเข็มนาฬิกา ) ตีนผีก็จะขยับตัวออกด้านนอกของรถ
screw-high.jpg
screw-high.jpg (93.46 KiB) เข้าดูแล้ว 49557 ครั้ง
เราจะปรับสกรูตัว H จนกระทั่ง ยอดของเฟืองจอกกี้ ( Guide pulley ) อยู่เหลื่อมกับยอดเฟืองเล็กสุดของชุดเฟืองหลัง เหตุที่ปรับเช่นนี้ก็เพราะว่า เวลาที่เราไล่เกียร์จากเฟืองใหญ่สุด ลงไปหาเฟืองเล็กสุดนั้น ช่วงรอยต่อระหว่างเฟืองเล็กเกือบสุดท้าย ( 12T ) กับเฟืองเล็กสุด ( 11T ) จะเป็นช่วงที่โซ่ไต่ลงได้ยากที่สุด เพราะว่า เฟือง 11T กับ 12T มีขนาดที่แตกต่างกันน้อยมาก และprofile ของเฟืองเองก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากมายนัก การปรับสกรูตัว H ในลักษณะนี้จึงช่วยให้การไต่ลงของโซ่จากเฟือง 12T ลงไปเฟือง 11T ได้ง่ายยิ่งขึ้น ( สมัยก่อนที่ยังเป็นเกียร์ 8 สปีด เขาจะแนะนำให้ตั้งตรงกันพอดี แต่พอเป็น 10สปีด ช่องไฟมันจะแคบลงมากขึ้น การตั้งสกรูในลักษณะนี้จะเป็นผลดีมากกว่า )


3. ปรับตั้งสกรูตัว L ( เบื้องต้น )

สกรูตัว L จะมีบทบาทก็ต่อเมื่อเราใช้เฟืองหลังตัวใหญ่สุด มีหน้าที่เป็นปราการด่านสุดท้ายที่จะป้องกันไม่ให้ตีนผีขยับตัวมากเกินไปจนกระทั่งดันโซ่หล่นออกจากเฟืองใหญ่ตกไปอยู่ระหว่างเฟืองกับซี่ล้อ
screw-low.jpg
screw-low.jpg (85.57 KiB) เข้าดูแล้ว 49557 ครั้ง
ผลักตีนผี( ผลักที่ขาบนนะครับ )ให้ขยับตัวเข้าไปจนสุดระยะเลยนะครับ ผลักค้างเอาไว้ แล้วเล็งว่าเฟืองจอกกี้กับเฟืองหลังใหญ่สุดนั้น อยู่ตรงกันหรืออยู่เยื้องกันยังไง เราจะปรับสกรูตัว L จนกระทั่งยอดเฟืองจอกกี้จะต้องตรงกับยอดเฟืองใหญ่สุด
ถ้าเราขันสกรูตัว L เข้าใน ( ตามเข็มนาฬิกา ) ตีนผีจะขยับเข้าในได้น้อยลง แต่ถ้าเราคลายสกรูตัว L ออก ( ทวนเข็มนาฬิกา ) ตีนผีก็จะถูกผลักให้ขยับเข้าด้านในได้มากขึ้น เอาแค่นี้ก่อน แล้วค่อยไปปรับเพิ่มเติมในช่วงจูนเกียร์

( อ่านต่ออีก post นะครับ ลงรูปได้แค่นี้ )
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
nathapol
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 470
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2013, 13:22
Tel: o-8-9-4-9-9-o-1-o-3

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย nathapol »

จริงๆ ผมเคยอ่าน และผ่านตา จาก bikelove มาแล้วหละครับ

:? แต่ผมอยากจะแกล้ง อ.ลู ไปอย่างนั้นเองครับ




โทษฐาน ขยันพิมพ์จัง :lol: พิมพ์ละเอียด ซะจนไม่รู้จะถามอะไรต่อ :twisted:





ปล. ขอบคุณ อ.ลู เช่นเคยครับ :roll:
Does speed cost money???
Chatda
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 650
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ม.ค. 2012, 11:39
Tel: 081-6808898
team: "บ้ากามBIKE" by 9911 bike
Bike: ผีเฝ้าเทรนเนอร์
ตำแหน่ง: ดาวพลูโต

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย Chatda »

ผมคนนึงล่ะที่ทำไม่เปน จักรยานทั้งคันทำไม่เปนอยู่ตอนจูนเกียร์นี้แหล่ะ พอทำได้แต่ไม่เป๊ะ:D .ขอบคุณคับ...เอาไว้อ่านลัะรองหัดทำ :) บ้าง...
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย lucifer »

nathapol เขียน:จริงๆ ผมเคยอ่าน และผ่านตา จาก bikelove มาแล้วหละครับ

:? แต่ผมอยากจะแกล้ง อ.ลู ไปอย่างนั้นเองครับ




โทษฐาน ขยันพิมพ์จัง :lol: พิมพ์ละเอียด ซะจนไม่รู้จะถามอะไรต่อ :twisted:





ปล. ขอบคุณ อ.ลู เช่นเคยครับ :roll:
ไม่เป็นไรครับ วันนี้เป็น day off ครับ แล้วฆ่าเวลารอเวลาไปฟังสวดพระอภิธรรมด้วย ก็เลยจัดให้ตามขอ


4. ร้อยโซ่กันหละ

คำถามแรกคือ ใช้โซ่ยาวแค่ไหนดี

1. ในกรณีที่ใช้เฟืองหลังใหญ่สุดไม่เกิน 27T ก็จะใช้วิธีการร้อยโซ่ผ่านจานหน้าใหญ่สุด ผ่านสับจาน ผ่านตีนผี ผ่านเฟืองหลังตัวเล็กสุด ความยาวโซ่ที่เหมาะสมคือ ความยาวโซ่ที่ทำให้ขาของตีนผีตั้งฉากกับพื้นพอดี ( ดูจากในรูปนะครับ )
2. ในกรณีที่ใช้เฟืองหลังใหญ่สุดเกิน 27 T เช่น เฟือง 11-28 หรือ เฟือง 11-32 ถ้าเป็นเช่นนี้ก็ อย่าเพิ่งติดตั้งตีนผีนะครับ เพราะเราจะวัดความยาวโซ่โดยการคล้องโซ่ผ่านเฟืองหลังใหญ่สุด และจานหน้าใหญ่สุด แล้วเอาโซ่มาชนกัน แล้วบวกไปอีก 1 คู่ ก็จะเป็นความยาวโซ่ที่ลงตัวเพียงพอที่จะสามารถใช้เกียร์ต้องห้าม ( หน้าใหญ่ หลังใหญ่ ได้โดยที่ตีนผีไม่พัง ) ( ถ้าใช้เฟือง 11-32 ก็แนะนำให้ใช้ตีนผีเสือหมอบตัวขายาว ไม่งั้นจะกลายเป็นโซ่ยาวเกินไป โดยเวลาที่เก็บเกียร์ในตำแหน่งหน้าเล็ก หลังเล็ก โซ่จะสีกันเอง ) ( ดูจากรูปนะ )
chain-length.jpg
chain-length.jpg (85.06 KiB) เข้าดูแล้ว 49171 ครั้ง
ส่วนการร้อยโซ่ผ่านตีนผีนั้น อยากจะให้ดูดีๆนิดหนึ่ง บางคนร้อยผิด แล้วบอกว่ามีเสียงแปลกๆ จูนยังไงก็ไม่อยู่ :mrgreen:
chain-path.jpg
chain-path.jpg (96.33 KiB) เข้าดูแล้ว 49544 ครั้ง

5. จูนเกียร์

หมุนตัวปรับความตึงของสายเกียร์ตีนผีที่ตัวตีนผีเข้าไปให้สุดก่อน แล้วถอยหลังออกมาสัก ครึี่งรอบ
กดมือเกียร์ตัวเล็กจนมั่นใจว่าตำแหน่งมือเกียร์ตรงกับเฟืองเล็กสุดแล้ว
ร้อยสายเกียร์เข้าในตีนผี ดูให้ดีนะครับ มันจะมีร่องสำหรับพาดสายเกียร์แถวๆหัวสกรู คลายมันออกมาดูก่อนก็ได้ จะได้ร้อยสายเกียร์ได้ถูกตำแหน่ง เอาคีมดึงสายเกียร์ให้ตีง แล้วขันสกรูยึดสายเกียร์ให้แน่น (​ประมาณ 5 N.m ก็พอ )

หมุนบันไดเดินหน้า แล้วเปลี่ยนเกียร์ให้โซ่ขึ้นมา 1 เฟือง ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ขึ้นหรอก เพราะสายเกียร์ยังมักจะหย่อนไปนิดหนึ่ง ก็ให้คลายหรือหมุนตัวปรับความตึงสายเกียร์ตีนผีออกทีละนิด จนกระทั่่งเกียร์เปลี่ยนขั้นไป 1 เฟือง จากนั้นก็ไล่เกียร์ขึ้นไปสักกลางๆเฟือง หรือ เกือบสุดเลยก็ได้ แต่ยังไม่สุด ยิ่งไล่เฟืองไปมากเท่าไหร่ จะยิ่งต้องปรับจูนเกียร์ให้ละเอียดมากขึ้น และจะเห็นผลลัพธ์ชัดเจนขึ้นนั่นเอง

หลักการง่ายๆ
- ถ้าเปลี่ยนเกียร์ขึ้นเฟืองใหญ่ได้ลำบาก แต่ลงเฟืองเล็กได้ง่ายมาก ร่วมกับการส่งเสียงกวน แปลว่าสายเกียร์หย่อนไป ก็ให้หมุนตัวปรับความตึงออก ( มองจากทางด้านหลัง คือ หมุนทวนเข็มนาฬิกา )
- ถ้าเปลี่ยนเกียร์ขึ้นเฟืองใหญ่ได้ง่าย แต่ลดลงเฟืองเล็กได้ลำบาก ร่วมกับการส่งเสียงกวน ก็แปลว่าสายเกียร์ตึงไป ก็ให้หมุนตัวปรับความตึงเข้า (​ มองจากทางด้านหลัง คือ หมุนตามเข็มนาฬิกา )

เมื่อลงตัวแล้ว ก็ค่อยเปลี่ยนเกียร์ไปจนถึงเฟืองใหญ่สุด แล้วดูว่าเข้าเกียร์นี้ได้ง่ายหรือไม่

- ถ้าเข้ายาก รู้สึกว่าเกียร์แข็งมาก หรือ ต้องฝืนมาก ก็แปลว่า สกรูตัว L ที่เราตั้งไว้ตอนแรกนั้น เราขันเข้ามากไปนิดหนึ่ง ก็ให้คลายออกมาทีละ 1/8 รอบ จนกระทั่งสามารถเปลี่ี่ยนเกียร์ได้อย่างราบรื่น จนไม่มีการฝืน
- ถ้าเข้าได้ง่าย ไม่ลำบาก ก็ให้ลองกดชิฟเตอร์ไปอีกหน่อย แล้วดูว่า ตีนผียังขยับตัวต่อไปได้อีกหรือเปล่า ถ้าไม่ขยับตัว หรือ ขยับได้นิดดดดดหนึ่ง ก็ Bingo แปลว่าสมบูรณ์หละ แต่ถ้ามันขยับไปได้เยอะ ก็แปลว่าเราคลายมันออกมามากไปหน่อย ไม่สามารถหยุดตีนผีได้ ( เวลาเอาไปใช้งานอาจจะเกิดโศกนาฏกรรมได้ ) ก็ให้ลองหมุนมันเข้าไปทีละ 1/8 รอบ จนกระทั่งทุกอย่างลงตัว


6. B-tension Screw
screw-B.jpg
screw-B.jpg (57.68 KiB) เข้าดูแล้ว 49544 ครั้ง
ปรับเกียร์ไปที่จานหน้าเล็ก เฟืองหลังใหญ่สุดนะครับ แล้วให้เอามือดันตีนผีให้มันขยับไปด้านหน้า แล้วปล่อยมือ แล้วหมุนบันไดถอยหลัง แล้ว ดูว่าเฟืองจอกกี้อยู่ใกล้ชิดกับเฟืองใหญ่สุดแค่ไหน เขาบอกว่าให้คลายสกรูตัวนี้ออกจนกระทั่งเฟืองจอกกี้อยู่ใกล้ชิดกับเฟืองใหญ่เท่าที่จะใกล้ได้ ( สมัยก่อนบอกไว้ว่า ราวๆ 1 mm ) ซึ่งจะเห็นผลได้ชัดในกรณีที่ใช้กับเฟืองหลังใหญ่ๆ เช่น เฟือง 28T หรือ 32T ถ้ามันใกล้กันเกินไป จนมันทะเลาะกัน ก็ให้หมุนสกรูเข้าจนกระทั่งมันอยู่ห่างกันราวๆ 1 mm ก็น่าจะพอแล้ว

ในประสพการณ์ของผม ผมไม่ค่อยรู้สึกว่า B -tension screw จะเป็นตัวสร้างปัญหาชีวิตอะไรให้กับเราเลย ปรับแค่พอเป็นพิธีเท่านั้นแหละ :lol: โดยเฉพาะสำหรับ Shimano ด้วยแล้ว สกรูตัวนี้ไม่ค่อยสร้างปัญหาให้เลยจริงๆ บางทีไม่ได้ปรับแต่งอะไรมากมายก็ไม่ค่อยจะสร้างเรื่องราวนัก ผิดกับ SRAM จะต้องปรับตั้งให้ได้ตามคู่มือกันเลย



เยอะหน่อย อย่างน้อยก็น่าจะละเอียดขึ้น หลายคนที่ตั้งเองไม่เป็น จะได้เอาไปใช้เป็นประโยชน์ได้

ได้เวลาเปลี่ยนชุด ไปวัดหละครับ

ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน
แก้ไขล่าสุดโดย lucifer เมื่อ 13 ส.ค. 2014, 18:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
Finrod
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 570
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2012, 00:46
Bike: BMC teammachine SLR02

Re: อยากรู้เรื่องการติดตั้งสับจานหมอบคับพี่ๆ

โพสต์ โดย Finrod »

ละเอียด อ่านง่าย
ขอบคุณป๋าลูสำหรับจิตสาธารณะครับ :)
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”