
ความรู้พื้นฐานจักรยาน # 9 Center Lock มาตรฐานใบดีสเสือหมอบ พ.ศ. นี้
Moderator: Cycling B®y, spinbike, velocity
หลังจากที่ Shimano ได้ออกอะไหล่ Shimano Dura-Ace -R9100 ที่มีมือเกียร์รวมดีสเบรกมาเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้ นั่นเป็นตัวบ่งบอกว่าทิศทางตลาดของเสือหมอบ เริ่มมีการใช้ดีสเบรกกันแพร่หลายมากขึ้น ด้วยความที่ Dura-Ace เป็นอะไหล่เสือหมอบรุ่นเรือธงของ Shimano เมื่อรุ่นเรือธงมีทางเลือกดีสเบรกแล้ว รุ่นล่างๆลงมาก็จะมีทางเลือกดีสเบรกๆตามรุ่นเรือธงเช่นกัน
Shimano เปิดตัวระบบดีสเบรกแบบ Center Lock ครั้งแรกในปี 2003 โดยเริ่มใช้กับอะไหล่ XTR รุ่น 960 ซึ่งก่อนหน้านั้นระบบดีสเบรกมีมากหมายหลายมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น ใบดีส 3 รู / 4 รู / 5 ร และมาจบที่ มาตรฐาน ISO 6 รู หลังจากที่ Shimano เปิดตัวระบบดีสเบรก Center lock ก็มีผู้ผลิตดุมและล้อ หลายรายใช้ระบบดีส Center lock ตาม
ก่อนจะไปดูระบบดีส Center Lock เรามาดูระบบดีส ISO กันก่อน
ระบบดีส ISO เป็นมาตรฐานระบบการยึดใบดีสด้วยน็อต 6 ตัว หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีระบบการยึดใบดีสด้วยน็อต 3/4/5 ตัว จนพัฒนามาจบที่ระบบยึดใบดีสด้วยน็อต 6 ตัว ที่ดุมล้อจะมีรูปให้ยึดน็อต 6 ตัว และ ที่ใบดีสก็จะมีรูให้ร้อยน็อต 6 ตัว ตำแหน่งตรงกันทั้งดุมล้อ และุ ใบดีส
การติดตั้งใบดีส ISO จะต้องวางใบดีสให้ตำแหน่งการหมุนของใบดีส ถูกต้องกัยทิศทางการหมุนเคลื่อนที่ของล้อ
การยึดใบดีสเข้ากับดุมล้อจะยึดด้วยน็อต 6 ตัว
จากนั้นให้ทำการขันยึดใบดีสเข้ากับดุมล้อ
จะเห็นว่าวิธีการและขั้นตอนการติดตั้งใบดีส ISO เข้ากับดุมล้อ ต้องใช้ทักษะในการขันยึดที่ละเอียดเพื่อให้เมื่อติดตั้งแล้วใบดีสมีการยึดที่แข็งแรงและใบดีสตรง
ระบบดีส ISO เป็นมาตรฐานระบบการยึดใบดีสด้วยน็อต 6 ตัว หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีระบบการยึดใบดีสด้วยน็อต 3/4/5 ตัว จนพัฒนามาจบที่ระบบยึดใบดีสด้วยน็อต 6 ตัว ที่ดุมล้อจะมีรูปให้ยึดน็อต 6 ตัว และ ที่ใบดีสก็จะมีรูให้ร้อยน็อต 6 ตัว ตำแหน่งตรงกันทั้งดุมล้อ และุ ใบดีส
การติดตั้งใบดีส ISO จะต้องวางใบดีสให้ตำแหน่งการหมุนของใบดีส ถูกต้องกัยทิศทางการหมุนเคลื่อนที่ของล้อ
การยึดใบดีสเข้ากับดุมล้อจะยึดด้วยน็อต 6 ตัว
จากนั้นให้ทำการขันยึดใบดีสเข้ากับดุมล้อ
จะเห็นว่าวิธีการและขั้นตอนการติดตั้งใบดีส ISO เข้ากับดุมล้อ ต้องใช้ทักษะในการขันยึดที่ละเอียดเพื่อให้เมื่อติดตั้งแล้วใบดีสมีการยึดที่แข็งแรงและใบดีสตรง
ระบบดีส Center lock ออกแบบโดยการทำร่องที่ดุมล้อ และ ร่องที่รูของใบดีส ซึ่งทั้งคู่สามารถสวมลงกันล็อคพอดี คล้ายๆกับการสวมเฟืองหลังเข้ากับโม่ของดุมหลัง จากนั้นจะขันน็อตแหวนล็อคใบดีสแบบเดียวกับการขันยึดเฟืองหลัง (ใช้เครื่องมือตัวเดียวกับขันเฟืองหลังได้)
ภาพร่องที่ดุมล้อ ที่มีการเซาะร่องรับพอดีกับร่องของใบดีส
ส่วนที่ใบดีสจะมีการเซาะร่องในรูของใบดีสที่จะมารวมกับดุม ให้ใบดีสขบกันกับดุมล้อ
การขันยึดใบดีส Center Lock ถ้าหากเป็นดุมแบบแกนปลดจะนิยมใช้ผ้าปิดแบบขันเฟือง ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือตัวเดียวกับที่ขันเฟืองขันปิด-เปิดได้
หน้าตาของเครื่องมือขันฝาปิดเฟืองที่สามารถนำมาใช้ขันฝาปิดใบดีส Center lock ได้
สำหรับดุมล้อที่แกนสอดของเสือหมอบ(แกน 12 ม.ม.) สามารถใช้ฝาปิดได้สองแบบ คือ ผาปิดแบบขันวงนอก ที่ใช้ตัวขันกะโหลกเป็นตัวขัน และ ฝาปิดแบบขันด้านใน ขึ้นอยู่กับขนาดแกนดุมล้อ หากแกนดุมล้อใหญ่ต้องใช้ฝาปิดดีสแบบขันด้านนอก ถ้าหาแกนดุมเล็กสามารถใช้ฝาปิดดีสแบบขันด้านใน
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าดีสเบรกระบบ Center Lock จะมีข้อดี และ ใช้งานสะดวกมากกว่าระบบ ดีส ISO ไม่ว่าจะเป็นความสะดวกในการติดตั้งใช้งาน และ น้ำหนักที่เบากว่า นั่นจึงเป็นเหตุผลให้ผู้ผลิตอะไหล่เสือหมอบอีก 2 ราย คือ Campagnolo และ SRAM ผลิตใบดีสระบบ Center Lock ออกมาสู่ตลาด
ใบดีส Center Lock ของ Shimano
ใบดีส Center Lock ของ Campagnolo
ใบดีส Center Lock ของ SRAM
ใบดีส Center Lock ของ Shimano
ใบดีส Center Lock ของ Campagnolo
ใบดีส Center Lock ของ SRAM
ตัวแปรที่สำคัญตัวหนึ่งที่บ่งบอกว่าระบบ Center Lock กำลังจะได้รับความนิยมในวงการเสือหมอบ คือ Chris King ผู้ผลิตดุมล้อชื่อดัง ได้ผลิตดุมที่ใช้ดีส Center Lock ออกสู่ตลาด หลังจากที่ Shimano ผลิตระบบ Center lock ออกสู่ตลาดนานนับ 10 ปี
ขนาดใบดีสเบรกของเสือภูเขา จะมี 4 ขนาด คือ 203 ม.ม. (8 นิ้ว) 180 ม.ม.(7 นิ้ว) 160 ม.ม. (6 นิ้ว) 140 ม.ม.(5 นิ้ว)
แต่สำหรับเสือหมอบนั้นจะใช้ใบดีสแค่ 2 ขนาด คือ 160 ม.ม.(6 นิ้ว) กับ 140 ม.ม.(5 นิ้ว)
ปัจจุบันระบบคาลิเปอร์ดีสเบรกแบบ Flat mount ได้กลายเป็นมาตรฐานของเสือหมอบไปแล้ว
* อ่านเครื่องดีสเบรกเสือหมอบเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=60&t=1588496 *
รูปแบบการติดตั้งใบดีสเสือหอบจะมีใช้งานอยู่ 3 รูปแบบคือ
1.ใบดีสหน้า 140 ม.ม. หลัง 140 ม.ม.
แบบนี้เหมาะสำหรับเซ็ทรถให้เบาเป็นพิเศษ สำหรับการใช้เฉพาะด้านเช่นการขี่ขึ้นภูเขาโดยเฉพาะ
2.ใบดีสหน้า 160 ม.ม. หลัง 140 ม.ม.
เป็นการเซ็ทรถสำหรับการแข่งขันที่เน้นเบา และ ประสิทธิภาพในการเบรกไม่ได้ลดลง เพราะในการลดความเร็วของรถหลักๆเราจะใช้แรกจากการเบรกของเบรกหน้ามากกว่าเบรกหลัง เป็นการเซ็ทที่ UCI อนุญาตให้ลงทำการแข่งขันได้
3.ใบดีสหน้า 160 ม.ม. หลัง 160 ม.ม.
เป็นการเซ็ตเบรกมาตรฐานส่วนใหญ่ของรถจากโรงงาน
* อ่านเครื่องดีสเบรกเสือหมอบเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php?f=60&t=1588496 *
รูปแบบการติดตั้งใบดีสเสือหอบจะมีใช้งานอยู่ 3 รูปแบบคือ
1.ใบดีสหน้า 140 ม.ม. หลัง 140 ม.ม.
แบบนี้เหมาะสำหรับเซ็ทรถให้เบาเป็นพิเศษ สำหรับการใช้เฉพาะด้านเช่นการขี่ขึ้นภูเขาโดยเฉพาะ
2.ใบดีสหน้า 160 ม.ม. หลัง 140 ม.ม.
เป็นการเซ็ทรถสำหรับการแข่งขันที่เน้นเบา และ ประสิทธิภาพในการเบรกไม่ได้ลดลง เพราะในการลดความเร็วของรถหลักๆเราจะใช้แรกจากการเบรกของเบรกหน้ามากกว่าเบรกหลัง เป็นการเซ็ทที่ UCI อนุญาตให้ลงทำการแข่งขันได้
3.ใบดีสหน้า 160 ม.ม. หลัง 160 ม.ม.
เป็นการเซ็ตเบรกมาตรฐานส่วนใหญ่ของรถจากโรงงาน
สำหรับการปรับตั้งขนาดคาลิเปอร์เบรกของ Flat mount ในล้อหน้า จะสามารถใช้ดีสขนาด 160 หรือ 140 ม.ม. ด้วยการกลับด้านอะแดบเตอร์ยึดคาลิเปอร์เบรกขึ้น-ลง สลับกัน
ส่วนคาลิเปอร์ดีสหลัง หากติดตั้งกับเฟรมโดยตรงจะเป็นการใช้ใบดีส 140 ม.ม. ห้าต้องการใช้ใบดีส 160 ม.ม. จะต้องใช้อะแดปเตอร์หนุน
ภาพการติดตั้งคาลิเปอร์เบรกแบบ Flat mount เข้ากับ Chain stay โดยตรง
การติดตั้งคาลิเปอร์เบรกแบบ Flat mount เข้ากับ Chain stay โดยตรง จะเป็นการเลือกใช้ใบดีส 140 ม.ม.
ส่วนการใช้ใบดีสหลังขนาด 160 ม.ม. จะต้องใช้อะแดบเตอร์หนุน
ภาพการติดตั้งคาลิเปอร์เบรกแบบ Flat mount เข้ากับ Chain stay โดยตรง
การติดตั้งคาลิเปอร์เบรกแบบ Flat mount เข้ากับ Chain stay โดยตรง จะเป็นการเลือกใช้ใบดีส 140 ม.ม.
ส่วนการใช้ใบดีสหลังขนาด 160 ม.ม. จะต้องใช้อะแดบเตอร์หนุน
สุดท้ายขอจบด้วย วีดีโอสรุปการติดตั้ง Flat Mount จาก SRAM ให้ดูกันง่ายๆก็แล้วกันครับ ใครมีอะไรสงสัยก็โพสถามได้ในกระทู้นี้คับ ไว้เจอกันใหม่