หน้า 1 จากทั้งหมด 3

ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 12 มิ.ย. 2018, 19:15
โดย iflytoda
คือเห็นโจมตีแฟรมจีน แฟรมไต้หวัน กันเยอะมาก

แต่เห็นคนรู้จักใช้ทั้ง Cervelo, Canyon, Argon แบรนดังๆทั้งนั้นก็เห็นมีปัญหาแฟรมร้าว, ตะเกียบร้าว, front derailleur hanger หลุด, Seat post ร้าว ให้เห็นเหมือนกันจากการใช้งานปกติ

อย่างเห็นในคลิปแบรน Factor ราคาแฟรมอย่างเดียว 2 แสน+ ก็เห็นมีปัญหากันมาแล้ว (ถึงทาง Factor จะออกมาบอกว่าจริงๆแล้วเกิดจากการใส่น็อตไม่ดี แต่สังเกตุตอน Aerobar หลุดมันหลุดมาทั้งอันเลย ปกติ Aerobar ทั่วไปใส่น็อตทั้งหมด 4 ตัว ซึ่งถ้าไขน็อตไม่ดีจริงน่าจะหลุดมาตัวเดียวอีก 3 ตัวยังน่าจะยังพอมีแรงช่วยยึดอยู่)

[youtube]https://www.youtube.com/watch?v=QCQPuKLIB10[/youtube]

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 12 มิ.ย. 2018, 20:57
โดย หลักลาย โป้งๆชึ่ง
เฟรมที่มีแบรนมีรับประกันหลังการขายที่มั่นใจกว่ามีความน่าเชื่อถือและการโฆษณาที่ดีกว่า มีตัวแทนจำหน่ายที่ชัดเจน
ถ้าตามความเห็นก็เหมือนไปซื้อรถยนต์ที่ ศูนย์แหละครับเวลามีปัญหาก็มั่นใจได้ว่ากลับเอาไปซ่อมที่ตัวแทนได้ ไม่เหมือนซื้อรถนำเข้าแบบจดประกอบ(Invoice) ที่ต้องเสี่ยงกับสภาพรถและการประกันหลังการขาย

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 12 มิ.ย. 2018, 21:05
โดย Gok See
มันเป็นเรื่องที่คนหลอกตัวเองไงล่ะ อย่าลืมว่าของ oem มียอดขายมากกว่าเฟรมแพง ๆ เป็นร้อยเป็นพันเท่า ถ้ามันมีปัญหาพอกันก็หมายความว่า ความน่าจะเป็นที่ของแพงจะพังมีสูงกว่าของ oem หลายร้อยหลายพันเท่า

แต่ยังไงก็ไม่น่าใช้ของ oem หรอก มันไร้สุนทรียศาสตร์

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 12 มิ.ย. 2018, 21:23
โดย teemai
ทำไมต้องไปเรียกome ให้งง

ของปลอม ก็คือของปลอมสิครับ

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 12 มิ.ย. 2018, 22:42
โดย Runbird
ความเสียหายไม่ว่าจะเกิดจากข้อผิดพลาดในการผลิตหรือการใช้งานปกติ เกิดขึ้นได้กับสินค้าทุกชนิด

ถ้ามีคนเอาเฟรม (เฟรม นะครับ ไม่ใช่แฟรม) ของแบรนด์แท้ ๆ มาวางคู่กับเฟรม OEM ซึ่งมาจากโมลด์เดียวกัน วัสดุเดียวกัน สรุปว่าเหมือนกันทุกอย่างแต่ OEM ไม่ติดแบรนด์ ไม่ผ่านเจ้าของแบรนด์

แล้วบอกว่า "ให้ฟรี" เชิญเลือกหยิบไปได้ 1 เฟรม เราจะเลือกหยิบเฟรมไหน? หยิบเฟรมแบรนด์ หรือเฟรม OEM?

ถ้าหยิบเฟรมแบรนด์...หยิบเพราะอะไร?....มันก็ความรู้สึกเดียวกันนั่นแหละครับ.....

กรณีเสียเงินซื้อ คนซื้อเค้าซื้อเฟรมแบรนด์แท้ในราคา... เฟรม+ความสบายใจ+ความพึงพอใจ+ความมั่นใจ และ+ความภูมิใจสูงสุด..ส่วนความเสียหายอะไรก็แล้วแต่ที่เกิดหลังจากใช้ไปแล้ว...ไปว่ากันเรื่องการรับประกัน...ซึ่งส่วนใหญ่เฟรมแบรนด์เจ้าของแบรนด์จะดูแลให้เป็นอย่างดี....แต่ถ้า OEM อาจจะต้องวัดดวง...หรือบางทีก็เจอทางตัน

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 12 มิ.ย. 2018, 22:53
โดย Paxxa
ไม่เข้าใจเฟรม oem มันคือไร ระหว่างของที่บริษัทจักรยานสั่งทำแต่หาวิธีไม่ตีตราแบรนด์แล้วเอาออกมาขาย หรือ ของปลอมแต่ทำเหมือน(รูปลักษณ์เหมือนแต่ไส้ในไม่ใช่)แล้วมาบอกว่า oem นะ แค่ไม่ตีแบรนด์ มันคืออย่างไหนกันแน่ครับ

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 12 มิ.ย. 2018, 23:16
โดย Runbird
Paxxa เขียน:ไม่เข้าใจเฟรม oem มันคือไร ระหว่างของที่บริษัทจักรยานสั่งทำแต่หาวิธีไม่ตีตราแบรนด์แล้วเอาออกมาขาย หรือ ของปลอมแต่ทำเหมือน(รูปลักษณ์เหมือนแต่ไส้ในไม่ใช่)แล้วมาบอกว่า oem นะ แค่ไม่ตีแบรนด์ มันคืออย่างไหนกันแน่ครับ
ในที่นี้น่าจะว่ากันเรื่องสินค้า OEM (Original Equipment Manufacturer) ซึ่งออกมาถึงมือลูกค้าใน 2 รูปแบบ

1. ของที่เจ้าของแบรนด์จ้างให้ผลิตตามสเปกที่เจ้าของแบรนด์ต้องการเพื่อนำไปติดแบรนด์และผ่านกระบวนการ QC ก่อนวางตลาด (ออกทางประตู) แต่ผู้รับจ้างผลิตหาวิธีไม่ส่งให้เจ้าของแบรนด์เป็นบางส่วน รวมทั้งของที่ผลิตออกมาแล้วมีตำหนิบ้างและดูแล้วว่าส่งให้เจ้าของแบรนด์ต้องถูกปฏิเสธไม่รับแน่ ๆ ....นำออกขายทางช่องทางอื่นๆ คู่ขนานไปกับเจ้าของแบรนด์ ซึ่งแน่นอนว่าราคาจะถูกกว่า (แบบนี้เรียกว่าข้ามกำแพงออกมา)

2. ของที่เจ้าของแบรนด์เลิกจ้างให้ผลิตแล้ว หมดสัญญาในการควบคุมไม่ให้ผู้รับจ้างละเมิดแล้ว ผู้รับจ้างผลิตเห็นว่ายังขายได้อยู่ก็เลยผลิตตามสเปกเดิมออกขายเอง โดยไม่จำเป็นต้องส่งให้เจ้าของแบรนด์อีกต่อไป

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 00:51
โดย Ferruccio
Carbon fiber คือพลาสติก ต่อให้เทคโนโลยีเลิศเลอยังไง มันก็คือพลาสติกอยู่วันยังค่ำ
ของพวกนี้กำไรเยอะ พวกเฟรมโลหะถึงไม่ค่อยมีการพัฒนา ของจีนที่มีมาตราฐานก็มี
เอาอะไรกับเทคโนโลยีที่ได้มาจากการเลียนแบบ เจ้าของเทคโนโลยีคือใคร
ถ้ามีเงินซื้อรถสปอร์ต ใครบ้างจะซื้อฮุนไดหรือแดวู !

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 08:38
โดย arty118
ที่นี่เอาคำว่า OEM มาใช้กันผิดๆน่ะครับ เฟรมปลอมก็คือเฟรมปลอม ไม่ใช่ OEM ไม่มีการควบคุมคุณภาพเหมือนเฟรมแท้ ไม่มีการเรียงคาร์บอนเพื่อรับแรงแบบเฟรมแท้ เอาแค่หน้าตาเหมือนเท่านั้นแหละครับ ใครอยากใช้ก็เสี่ยงกันเองครับ แต่อย่ามาปั่นไกล้ผมนะ เดี๋ยวเฟรมหักกลางทางมาล้มใส่ผม :P

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 09:27
โดย Runbird
Ferruccio เขียน:Carbon fiber คือพลาสติก ต่อให้เทคโนโลยีเลิศเลอยังไง มันก็คือพลาสติกอยู่วันยังค่ำ
ของพวกนี้กำไรเยอะ พวกเฟรมโลหะถึงไม่ค่อยมีการพัฒนา ของจีนที่มีมาตราฐานก็มี
เอาอะไรกับเทคโนโลยีที่ได้มาจากการเลียนแบบ เจ้าของเทคโนโลยีคือใคร
ถ้ามีเงินซื้อรถสปอร์ต ใครบ้างจะซื้อฮุนไดหรือแดวู !
อ้าว....กลายเป็นพลาสติกไปซะแล้ว :shock: :shock: :shock: คาร์บอนไฟเบอร์มันนำไฟฟ้า แต่พลาสติกเป็นฉนวนไฟฟ้าไม่ใช่หรือครับ?

ชาวจักรยานเรายังเรียกเฟรมคาร์บอนกันเล่น ๆ แต่เข้าใจว่า "เฟรมถ่าน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เส้นใยคาร์บอน (อังกฤษ: Carbon (fiber)) หรือไฟเบอร์แกรไฟต์ แกรไฟต์คาร์บอน หรือ CF เป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์ที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบอย่างน้อยร้อยละ 90 โดยเส้ยใยคาร์บอนจะมีขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 ไมโครเมตร

ในการผลิตเส้นใยคาร์บอน คาร์บอนอะตอมจะถูกผูกมัดร่วมกันในผลึกจำนวนมากหรือน้อยตามแนวขนานกับแกนยาวของเส้นใยเป็นแนวคริสตัล โดยให้อัตราส่วนความแข็งแรงของเส้นใยต่อปริมาณสูง (ทำให้มันแข็งแกร่งสำหรับขนาดของมัน) เส้นใยคาร์บอนหลายพันเส้นจะถูกรวมเข้าด้วยกันในรูปแบบกลุ่มเส้นใยซึ่งอาจจะนำถูกมาใช้ด้วยตัวมันเองหรือทอเป็นผ้า

คุณสมบัติของเส้นใยคาร์บอนคือ มีความแข็งแรงสูง ต้านทานแรงดึงสูง น้ำหนักเบา ทนต่อสารเคมีสูง ทนต่ออุณหภูมิสูง และอัตราการขยายตัวต่อความร้อนต่ำ เส้นใยคาร์บอนจึงเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากในอุตสาหกรรมการบินและวิศวกรรมอวกาศ การทหาร มอเตอร์สปอร์ต และการแข่งขันกีฬาอื่นๆ แต่เส้นใยคาร์บอนมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับเส้นใยชนิดอื่น อาทิ เส้นใยแก้วหรือเส้นใยพลาสติก

เส้นใยคาร์บอนมักจะใช้ร่วมกับวัสดุอื่นๆ ในรูปแบบคอมโพสิท ซึ่งจะเรียกว่า "คาร์บอนไฟเบอร์เสริมโพลิเมอร์" แต่มักจะเรียกสั้นๆ ว่า "คาร์บอนไฟเบอร์" มากกว่า ซึ่งมีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักที่สูงมากและมีความแข็งมากแม้ว่าจะค่อนข้างเปราะ อย่างไรก็ตามเส้นใยคาร์บอนจะประกอบด้วยวัสดุอื่นๆ เช่นเดียวกับแกรไฟต์ในรูปแบบคาร์บอน-คาร์บอนซึ่งมีความทนทานต่อความร้อนสูงมาก






Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 17:09
โดย edonkey
ถ้าพวกที่บอกเป็นเฟรม OEM แบบนี้ มั่นใจได้ว่าของไม่ดี
เพราะมันไม่ดีตั้งแต่ที่เอาคำว่า OEM มาใช้ละครับ แค่จะขายยี่ห้อตัวเอง ยังไม่กล้าทำ ต้องก๊อปของเขามาตียี่ห้อ

แต่ถ้าเฟรมแบรนด์จีน จะก๊อปรูปทรงมา หรือเอาโมลด์ (ที่หมดสัญญา) มาใช้ต่อ แล้วตีแบรนด์ของตัวเอง
แบบนี้คุณภาพยังน่าเชื่อถือกว่า อย่างน้อยก็กล้าทำแบรนด์ตัวเองออกมาขาย

แต่ถ้าจะให้ดีเท่าของเจ้าของแบรนด์ คงเป็นไปไม่ได้ ไม่งั้น iPhone คง OEM แบบเหมือนแท้สัก 95% มาขายกันเกลื่อน
มันต้องมีบางอย่าง ที่เจ้าของแบรนด์เก็บเป็นความลับ เป็น know how หรือเป็นลิขสิทธิ์ ทำให้ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 17:22
โดย Ferruccio
ก็พลาสติกเสริมใยถ่านไงครับ ง่ายๆ แบบนี้แหละ มันนำไฟฟ้าตรงเส้นใยแล้วเคลือบเรซิ่นหนาปึกนำไฟฟ้าด้วยเหรอ
ขี่ตากฝนระวังฟ้าผ่า ดูเฟรมที่แตกขาดแยกชิ้นจากกันสิครับ ดูยังไงก็พลาสติก แล้วทุกวันนี้มันก็ไม่ได้แพงมามายแล้ว
แต่มันใช้เครื่องจักรเครื่องมือในการผลิตชิ้นงานเยอะ ไม่งั้นอาตี๋อาหมวยนั่งทำกันตามแฟลตเหมือนของปลอมทั่วไปแล้ว
ส่วนที่แพงๆ อยู่ในอังกฤษโน่นเมืองหลวงมอเตอร์สปอร์ต ทุกวันนี้เสริมเส้นใยไทเทเนี่ยมแล้วครับ แต่ยังไม่มาถึงจักรยาน
ดู F1 เปลือกบอดี้ต้องรับน้ำหนักกดลงเท่าไหร่เวลาวิ่งด้วยความเร็วสูงๆ แค่สะกิดเกี่ยวกันนิดเดียวก็เห็นมันแตกกระจาย
เว็บที่ท่านดูมาก็มีคำว่าพลาสติกให้เห็นอยู่นี่ครับ

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 17:50
โดย winhaha
Ferruccio เขียน:ก็พลาสติกเสริมใยถ่านไงครับ ง่ายๆ แบบนี้แหละ มันนำไฟฟ้าตรงเส้นใยแล้วเคลือบเรซิ่นหนาปึกนำไฟฟ้าด้วยเหรอ
ขี่ตากฝนระวังฟ้าผ่า ดูเฟรมที่แตกขาดแยกชิ้นจากกันสิครับ ดูยังไงก็พลาสติก แล้วทุกวันนี้มันก็ไม่ได้แพงมามายแล้ว
แต่มันใช้เครื่องจักรเครื่องมือในการผลิตชิ้นงานเยอะ ไม่งั้นอาตี๋อาหมวยนั่งทำกันตามแฟลตเหมือนของปลอมทั่วไปแล้ว
ส่วนที่แพงๆ อยู่ในอังกฤษโน่นเมืองหลวงมอเตอร์สปอร์ต ทุกวันนี้เสริมเส้นใยไทเทเนี่ยมแล้วครับ แต่ยังไม่มาถึงจักรยาน
ดู F1 เปลือกบอดี้ต้องรับน้ำหนักกดลงเท่าไหร่เวลาวิ่งด้วยความเร็วสูงๆ แค่สะกิดเกี่ยวกันนิดเดียวก็เห็นมันแตกกระจาย
เว็บที่ท่านดูมาก็มีคำว่าพลาสติกให้เห็นอยู่นี่ครับ
สงสัยคำว่า พลาสติก ครับ ช่วยแตกประเด็นให้หน่อยครับ สงสัยจริงๆ นะไม่ได้กวน เพราะตามความเข้าใจผม plastic มันคือ โพลิเมอร์ที่ได้จากการสกัดจากน้ำมัน งงครับ

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 17:52
โดย winhaha
แล้วก็ oem ที่หมายถึง หมายถึง fourteen vs.hong fu ใช่มั้ยครับ ไม่ใช่หมายถึง ของปลอมในจีนนะ ???

Re: ทำไมคนกลัวแฟรมจักรยาน OEM กัน ทั้งๆที่แบรนดังๆก็มีปัญหาเหมือนกัน

โพสต์: 13 มิ.ย. 2018, 20:54
โดย Runbird
เรซิน มีทั้งเรซินจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์ เรซินจากการสังเคราะห์ก็คือ "พลาสติกเหลว" ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถทำให้แข็งตัวได้หลายวิธี

เรซินมาเป็นส่วนประกอบในการทำคาร์บอนไฟเบอร์ เพื่อช่วยเสริมการยึดเหนี่ยวของเส้นใยคาร์บอนซึ่งมันแข็งแรงโดยตัวมันเองอยู่แล้ว ข้อมูลจากวิกิพีเดียซึ่งผมเชื่อว่ามั่วน้อยที่สุดแล้วที่ผมอ้างอิงมา

"เส้นใยคาร์บอนมักจะใช้ร่วมกับวัสดุอื่นๆ ในรูปแบบคอมโพสิท ซึ่งจะเรียกว่า "คาร์บอนไฟเบอร์เสริมโพลิเมอร์" แต่มักจะเรียกสั้นๆ ว่า "คาร์บอนไฟเบอร์" มากกว่า"

ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่า เส้นใยคาร์บอนคือวัสดุหลัก วัสดุอื่นนำมาเสริม (เป็นคอมโพสิท) ตอนนี้กลายเป็นพลาสติกเสริมใยถ่านไปซะอีก :shock:

ทำแผ่นคาร์บอนไฟเบอร์มันก็ไม่ต่างอะไรจากงานเปเปอร์มาเช่

เส้นใยคาร์บอน = กระดาษ ล้วนแต่เป็นแกนของงาน

เรซิน = กาว ล้วนแต่เป็นส่วนประกอบของงาน

กระดาษ+กาว ออกมาเป็นเปเปอร์มาเช่ (แผ่นกระดาษเคลือบกาว) หรือผมจะต้องเรียกงานเปเปอร์มาเช่ว่า "แผ่นกาวเสริมกระดาษ" :roll: ถึงจะถูก :roll:

สรุปว่าผมไปอาบน้ำ ประแป้ง กินข้าว กลับไปนั่งเลคเชอร์หลังห้องดีกว่า.....ขอบคุณครับ

ปล. - ถ้ากระทู้นี้คือการเปรียบเทียบระหว่าง "เฟรมแท้" กับ "เฟรมปลอมลอกเลียนแบบ" ผมก็ขอถอนความเห็นท้ั้งหมด...

- แต่ถ้าเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง "เฟรมที่ผลิตออกมาจากโรงงานแล้วผ่านกระบวนการของเจ้าของแบรนด์ก่อนวางตลาด" กับ "เฟรมที่ผลิตออกมาแล้วแต่ไม่ผ่านกระบวนการของเจ้าของแบรนด์ จะด้วยวิธีใดก็แล้วแต่ แต่ขายได้โดยไม่ติดแบรนด์" (OEM) ผมก็ขอยืนความเห็นทั้งหมดเหมือนเดิม