วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย pongpipat »

เรียนคุณ winhaha
คงต้องอยู่บนบรรทัดฐานของล้อปกติทั่วไปก่อนน่ะครับ
คือตัดตัวแปรอื่น่จะเป็นความไม่เท่าเทียมออกไป
ในกรณีซี่ลวด ควรเป็นแบบขึงปกติ ไม่คด ไม่สาย ประมาณนี้ครับ

เรื่องซี่ลวด กับ แรงต้านการหมุน หรือแรงฉุด
ก็มีประเด็นได้นะครับ
และผมคิดว่า ประเด็นเรื่อง ซี่ลวดนี้ สามารถสร้างแรงต้านการหมุน หรือแรงฉุด ได้ไม่น้อบเลยทีเดียว
รูปประจำตัวสมาชิก
winhaha
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 544
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2014, 21:27

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย winhaha »

pongpipat เขียน:เรียนคุณ winhaha
คงต้องอยู่บนบรรทัดฐานของล้อปกติทั่วไปก่อนน่ะครับ
คือตัดตัวแปรอื่น่จะเป็นความไม่เท่าเทียมออกไป
ในกรณีซี่ลวด ควรเป็นแบบขึงปกติ ไม่คด ไม่สาย ประมาณนี้ครับ

เรื่องซี่ลวด กับ แรงต้านการหมุน หรือแรงฉุด
ก็มีประเด็นได้นะครับ
และผมคิดว่า ประเด็นเรื่อง ซี่ลวดนี้ สามารถสร้างแรงต้านการหมุน หรือแรงฉุด ได้ไม่น้อบเลยทีเดียว
อ่อครับ งั้นในกรณีที่พี่ว่า คงต้องตั้งซี่ลวดให้ตึงในน้ำหนักเท่ากันก่อน และขอบล้อคงต้องน้ำหนักใกล้เคียงกัน ถูกต้องมั้ยครับ ??

ขอบคุณครับ
ขายติมเรื่อย............ไป
รูปประจำตัวสมาชิก
winhaha
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 544
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2014, 21:27

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย winhaha »

หากเช่นนั้นแล้ว คงต้องเรียนพี่ว่า การทดสอบของพี่จะใช้ไม่ได้กับ ดุม v8 v9 และในขอบของ zipp รุ่นมาตรฐานนะครับ เพราะด้วยขอบ zipp ไม่สามรถตั้งซี่ลวดให้ตึงแข็งแบบชาวบ้านเค้าได้ครับ ยิ่งหากเป็นตัว v8 2014 ลงไปแล้ว ยิ่งอาการหนักเลยครับ
ขายติมเรื่อย............ไป
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย pongpipat »

อันที่จริงแล้ว จะไม่สนใจความต่างเรื่องการตั้งซี่ลวดและขอบล้อก็ได้ครับ เพราะประเด็นคือ เราสนใจแต่ การวัดความลื่นของล้อ

กรณีซี่ลวดตั้งมาตึงไม่เหมือนกัน ถ้าทดสอบแบบไร้โหลด อาจมีผลต่างความลื่นไม่ชัดเจน แต่กรณีทดสอบแบบมีโหลด น่าจะมีความต่างกันอยู่เยอะเลย

แต่กรณีทดสอบตามสมมุตฐานของผม
เป็นการดูสภาพการหมุนในขณะที่ล้อเริ่มจะหยุดหมุน
ซึ่งล้อจะมีความเร็วรอบที่ต่ำมากๆ ณ ขณะนั้น คิดว่า ความตึงความหย่อนของซี่ลวด ไม่น่าจะมีผลต่อการวัดมากนัก

แต่หากทดสอบที่รอบความเร็วสูง ความตึงหย่อนของซี่ลวด จะให้ผลต่างกันมากครับ
Blue Haro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1163
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2009, 20:03
team: วงลงเขา

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย Blue Haro »

ว่าจะไม่ต่อ แล้วแต่ขออีกหน่อยละกันครับ ทดสอบตามวิธีของคุณ มันก็จะได้ผลว่าล้อที่ Unbalance มากมันลื่นกว่าล้อที่ได้Balanceครับ ลองคิดดูดีๆ
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย pongpipat »

ขอบคุณครับ คุณ blue haro

ถ้าเราดูแค่ตอนมันหยุด แล้วมันหมุนกลับ มาหยุดอีกที
ถ้าดูแค่นี้ จะเป็นจริงตามที่คุณพูดครับ คือถ้าล้อมัน unbalance มาก มันจะหมุนถอยมามาก

แต่ที่ผมบอกคือ ดูตอนมันหมุนถอยหลังไปแล้ว และหมุนเดินหน้ากลับมาอีกที ถ้ามันกลับมาจุดเดิม ก็คือมันมีการเสียพลังงานจากการหมุนไปน้อยมาก

ถ้าเราเอาล้อที่ unbalance มากๆมาทดลอง กับดุมที่ไม่ลื่น พอหยุดแล้วมันจะหมุนถอยหลัง และก็หมุนเดินหน้า แต่จะไม่กลับมาที่จุดเดิม จะห่างจากจุดเดิมมาก
เพราะในการหมุนไปกลับ แต่ละครั้ง มันมีการสูญเสียพลังงานไป นั่นเอง

การเปรียบเทียบโดยวิธีนี้จึงไม่เกี่ยวว่า ล้อ unbalance หรือไม่ เพราะเราจะดูเพียงว่า มันหมุนถอยไปและหมุนเดินหน้า กลับมาที่จุดเดิม ตำแหน่งเดิม ที่มันหยุด หรือไม่

เหมือนลูกตุ้ม pendulum ไม่ว่าจะใช้น้ำหนักลูกตุ้มเท่าใด ถ้ามันหมุนไปกลับ แล้วยังยกตัวขึ้นมาสูงได้เท่าเดิม ก็คือมันมีการสูญเสียพลังงานที่จุดหมุนน้อยมาก นั่นเอง
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย lucifer »

จบเรื่องโม่นะ เอามาเข้าประเด็นว่าจะทดสอบยังไงว่าล้อลื่นไหม

อันที่จริงเขาทำกันมาตั้งนานแล้ว วิธีก็ทำได้ไม่ยากเลยด้วยซ้ำไป เพียงแต่การทำในห้องแลบมันง่ายกว่าเพราะสามารถควบคุมปัจจัยได้ เช่น แรงลม ผิวถนน

เขาใช้หลักการของ power meter วัดกำลังที่กระทำให้ล้อหมุน เทียบกันในภาวะเปรียบเทียบเดียวกันหมดครับ วัดว่าต้องใช้กำลังเท่าไหร่ในการหมุนให้ล้อหมุนด้วยความเร็วรอบเท่าไหร่ วัดหากำลังในการทำให้ล้อหมุนด้วยอัตราเร่งเท่าๆกัน และวัดหากำลังในการรักษารอบการหมุนให้คงที่

มันมีคนทดสอบอยู่เหมือนกัน สรุปออกมาแล้วไม่ค่อยน่าสนใจเพราะมันไม่ได้แตกต่างกัน ที่ต่างกันคือแรงมโน แต่ข้อมูลที่คิดเป็นวัตต์แล้วต่างกันนิดเดียว วิทยาศาตร์บอกว่าไม่ต่าง แต่ศิลปศาสตร์บอกว่าแตกต่าง ก็คงจะประมาณนั้น


คราวนี้เราๆท่านๆ อยากจะทดสอบจริงๆ ก็ไม่ยาก แต่ต้องมี power meter กับต้องมีสถานที่ปิดที่ไม่มีกระแสลมภายนอกมารบกวน เช่น เวโลโดรม เพราะถึงจะมีกระแสลม แต่เมื่อวิ่งวนกลับมา ก็จะเฉลี่ยผลของผิวทาง และความเร็วลมไปได้

protocol ง่ายๆ ยากนอกยางในชุดเดียวกัน แรงดันลมยางเท่ากัน จักรยานคันเดียวกัน คนทดสอบคนเดียวกัน ปั่นวนเวลโลโดรมในช่วงเวลาเดียวกัน หรือ อุณหภูมิใกล้เคียงกัน ( ไม่ต้องเป๊ะมากก็ได้ ) ท่าปั่นท่าเดียวกัน ปั่นวนจนได้ความเร็วเฉลี่ยเท่ากัน แล้วหาว่ากำลังเฉลี่ยแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน แค่นี้ก็บอกได้แล้วว่าล้อแต่ละค่ายแตกต่างกันอย่างไร

ถ้าอยากจะทราบว่ามีแรงต้านต่อการเพิ่มความเร็วอย่างไร ก็ใช้วิธีการบันทึก โดยการเร่งความเร็วขึ้นจนได้ค่าความเร็วที่ต้องการ แล้วเอาข้อมูลไปเปิดในโปรแกรม ดูslopของกราฟและความสัมพันธ์ของความเร็ว และกำลัง กับเวลา ว่าสัมพันธ์กันอย่างไร

หรือ ถ้าจะเทียบระหว่างลูกปืนกับลูกปืน ก็ใช้ล้อเดิม วัดเทียบกันระหว่างลูกปืนแต่ละแบบ



หรือ ถ้าคิดว่าจะใช้วิธีการง่ายๆ ก็คือ ไม่ต้องใส่ยาง ใช้ล้อเปล่าๆเลย แล้วจับล้อไว้กับแสตนด์โดยยึดให้แกนดุมอยู่กับที่ แล้วติด speed sensor ไว้กับล้อ แล้วปั่นล้อให้หมุนจนสามารถรักษาความเร็วคงที่ได้ เช่น ปั่นจนหมุนนิ่งๆที่ 40 กม/ชม ก็ได้ ( สำหรับล้อเปล่า ความเร็วรอบการหมุน กับความเร็ว 40 กม/ชม มันก็มีค่าคงที่เหมือนกัน เพียงแค่ตั้งเส้นรอบวงให้เท่ากัน เซนเซอร์มันวัดรอบต่อนาที แล้วมาคูณกับเส้นรอบวงเองแหละ ) ก็เอาอุปกรณ์ที่ปั่นออกมา แล้วจับเวลาว่า ล้อสามารถหมุนต่อไปได้อีกนานเท่าไหร่ วิธีเหล่านี้สามารถทดสอบทำเองได้ง่ายกว่าการใช้power meter ด้วยซ้ำไป




แล้วคิดว่า จะมีคำถามที่บางคนไม่สามารถเอาไปใช้เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันบ้างไหม เช่น
- รู้แล้วเอาไปทำประโยชน์อะไร ? เอาไปแค่โม้กันว่า ล้อเราลื่นกว่าล้อนาย แบบนี้ก็คงจะเอาไว้ได้แค่เมาท์มอยกันในร้านกาแฟหละ
- รู้แล้วช่วยให้ปั่นดีขึ้นหรือเปล่า ? หรือ หายกังขาว่า ล้อนี้ปั่นขึ้นเขาสู้อีกล้อหนึ่งไม่ได้ อัตราในการเร่งความเร็วมันต้องใช้กำลังมากกว่า เปลืองกำลังมากกว่า อืมมม ถ้าสงสัยแบบนี้ แล้วหาคำตอบได้ แบบนี้ก็น่าจะช่วยให้เลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- ถ้ารู้ว่า ความแตกต่างกันทางวิทยาศาสตร์มันน้อยมาก แล้วยังอยากจะดิ้นรนไหม ? แรงมโนมันน่ากลัวกว่าความรู้เยอะนะครับ รู้ไปแล้วบางทีก็ตัดใจไม่ได้


ปัจจัยที่มีผลของการใช้งานจริง ที่ส่งผลอย่างมีนัยยะมากกว่าความลื่นของดุม(ซึ่งไม่ค่อยจะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญนั้น) ได้แก่
1. แรงต้านของอากาศ หรือ ที่เรียกว่า drag ซึ่งเกิดกับล้อขอบสูงในแต่ละ design โดยจะวัดกันในแต่ละทิศทางที่ลมพัดเข้า
2. ความกว้างของขอบล้อ เทียบกับความกว้างของแก้มยาง ซึ่งส่งผลต่อ aerodynamic ของการปั่นที่ความเร็วสูง!!!
3. Rolling resistant ของผิวยาง มีผลเอาชนะความลื่นของดุมได้อย่างมีนัยยะสำคัญมากกว่า แค่สูบลมยางแตกต่าง ความกว้างของหน้ายางแตกต่าง ผิวสัมผัสของหน้ายางกับพื้นถนนในแนวหน้า-หลัง ก็ส่งผลกระทบมากมายแล้ว


รู้แล้วเอาไปประยุกต์ใช้ ให้ได้ผลลัพธ์สูงสุด เช่น แข่ง TT 40 กม. โกนขนหน้าแข้งแล้วเร็วขึ้นอีกเสี้ยววินาที
แต่!!! เสี้ยววินาทีที่เร็วขึ้น อาจจะทำให้เปลี่ยนจากที่สองกลายเป้นที่หนึ่ง และจากคนที่ถูกกล่าวถึงกลายเป็นไม้ประดับ

ทิ้งไว้ให้คิดแค่นี้หละ จะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรมากกว่าแข็งขันหรือเปล่า ?
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย pongpipat »

ขอบคุณสำหรับการแสดงความเห็นครับ
สำหรับประเด็นกระทู้นี้คือ การทดสอบความลื่นของล้อแบบง่ายๆ แบบคนทั่วไปสามารถทดสอบเองได้ ทั้งขาแรง ขาไม่แรง

การทดสอบในห้องแลปก็ดี ในเวโลโดม ก็ดี
ล้วนต้องอาศัยเครื่องมือ ราคาแพง
อีกทั้งการใช้แรงคนปั่นในแต่ละรอบ มีความไม่แน่นอน จากแรงคนมาเกี่ยวข้อง (human error) ความล้า ที่ต่างกัน ค่าวัตต์ที่วัดได้ ก็อาจมี error ได้

ยกตัวอย่างเช่น คนๆเดียวกัน ปั่นโดยใช้ล้อเดิม แต่ไม่ให้รู้ว่าเป็นล้อเดิม ทำการทดสอบ 2 ครั้ง เอาผลวัตต์มาเทียบ ก็อาจมีผลวัตต์ต่างกันได้ แต่ผลวัตต์ที่ต่างกัน ไม่ใช่เพราะล้อ แต่เป็นเพราะคน

ขณะเดียวกันในการทดสอบความลื่น แบบง่าย ย่อมไม่สามารถสรุปได้ทั้งหมด เพราะมีตัวแปรตัวอื่นที่มีผลต่อความลื่น แต่ถูกตัดออกไป เพราะยากจะควบคุม

ล้อที่หมุนได้ลื่นดี ในขณะไร้โหลด อาจกลายเป็นล้อที่หนืดไม่ลื่น เมื่อมีแรงกระทำกดที่ลูกปืน
ล้อที่หมุนได้นาน ขณะไร้โหลด อาจมีการเสียพลังงานที่กระเดื่องโม่น้อยกว่า เป็นต้น

แต่เมื่อล้อลงพื้นถนน มีแรงน้ำหนักกด แรงนี้กระทำถ่ายแรงลงกับลูกปืนที่ดุมล้อเป็นหลัก ลูกปืนที่ตัวโม่ จะไม่ได้รับแรงกดนี้มาก เหมือนลูกปืนที่ตรงดุมล้อ
ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นคุณ gok see ที่ว่า ลูกปืนโม่ ไม่ได้มีผลกับความลื่นของล้อ (โดยเพิ่มคำว่า ขณะปั่นจริง มีแรงกด)

***
ในการแสดงความเห็นเรื่องทดสอบใดๆ ย่อมอาจมีความเห็นต่างได้ เพราะไม่มีการทดสอบใด ที่สามารถทำได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะการทดสอบที่ใช้แรงมนุษย์เข้ามาเกี่ยว จะมีความไม่แน่นอนสูง Repeatability จะไม่ได้คงที่
ความเห็นต่างเรื่องการทดสอบความลื่นของล้อ โดยไม่เอาความรู้สึกของผู้ทดสอบ มาเกี่ยวข้อง มาตัดสินนี้
อาจไม่เป็นที่ถูกใจนัก สำหรับผู้ทำการทดสอบ ทำการรีวิวสินค้า ที่อาจต้องใช้ความรู้สึกของตนเองไปชี้นำผู้อ่าน

แต่อย่างไรก็ดี การแสดงความเห็นต่าง เป็นสิ่งที่ดี ที่จะได้รับข้อมูลหลากหลาย
รูปประจำตัวสมาชิก
cocommnn
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 528
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 23:55

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย cocommnn »

pongpipat เขียน: ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นคุณ gok see ที่ว่า ลูกปืนโม่ ไม่ได้มีผลกับความลื่นของล้อ (โดยเพิ่มคำว่า ขณะปั่นจริง มีแรงกด)
ถ้าคุณมองข้ามตรงจุดนี้ว่าลูกปืนโม่ไม่มีผลขณะปั่นจริง คุณก็น่าจะเข้าใจผิดอีกแล้วนะ
ในเมื่อคุณเข้าใจแล้วว่าลูกปืน4ตลับในล้อหลัง หมุนไปพร้อมๆกันขณะปั่น ดุม2 โม่2
สิ่งที่คุณมองข้ามไปมันก็มีค่าครึ่งหนึ่งในสิ่งที่คุณกำลังหาอยู่เลยนะ
**แต่ถ้าลูกปืนโม่แค่1ตลับ แตก ตาย สนิมกิน และฝืด มันไม่ใช้25%ที่หายไปแน่ๆ ล้อนั้นอาจปั่นไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

แรงคนมาเกี่ยวข้อง (human error) ที่คุณว่าไม่โอเค งั้นเปลี่ยนเป็นมอเตอร์สักตัวปั่นล้อที่แขวนอยู่
แล้ววัดอัตราเร่งจับเวลาจนถึงความเร็วที่คงที่ ด้วยไมล์cateyeธรรมดา เปรียบเทีนบกันระหว่างลูกปืนตลับ2ชุดในล้อเดียวกันก็ได้

ผมว่ากระทู้นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อหาคนมารับรองการทดสอบของคุณที่ว่า ล้อหมุนไปและหมุนกลับมาจุดเดิมซ้ำไปมาๆ แสดงว่าลูกปืนนั้นลื่นที่สุด
***ผมไม่ได้ว่าวิธีนี้ผิดนะ และผมก็เคยใช้วิธีนี้เมื่อนานมาแล้วแค่ไว้สังเกตุเฉยๆว่าตอนประกอบดุมเข้าไปใหม่ หรือตั้งจี่ หรือเปลี่ยนลูกปืนตลับ ล้อมันลื่นพอแล้วนะ ไม่ต้องรื้อมาทำใหม่ แต่หลังๆผมเอาแค่มือหมุนแกนตามความรู้สึกก็พอแล้ว และบางล้อทำการทดสอบแบบที่คุณว่าทำได้ไม่ดีเท่าไหร่แต่มันก็กลับปั่นได้ดีกว่าเพราะprofileของล้อนั้นเหมาะสมกว่า ทำให้ผมเฉยๆกับการทดสอบแบบนี้ และสนใจกับเรื่องอื่นมากกว่าตามที่อ.ลู กล่าวไว้
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย pongpipat »

คณ cocom น่าจะเข้าใจความหมายผิด

การถกเรื่องลูกปืนโม่นี้ เริ่มจาก ความเห็นที่ว่า ล้อบางยี่ห้อหมุนบนขาตั้ง ได้นานตั้ง 7 นาที แต่มาปั่นจรืง ไม่ลื่น ซึ่งผมได้แสดงความเห็นว่า น่าจะเป็นเพราะความลื่นของลูกปืนโม่ ขณะฟรีขา (ซึ่งผิด)
โดยคุณ lucifer ได้มาอธิบายว่าแกนล้อมันถูกยึดตรึง
ลูกปืนโม่ จึงทำงานพร้อมกันขณะปั่นล้อหมุนด้วย (ซึ่งถูกต้อง)

แต่นั่นคือ ขณะฟรีโหลด ไร้แรงกด

เมื่อมีการขี่จริง มีน้ำหนักกดลงที่อาน ถ่ายไปที่เฟรม กดไปที่แกนล้อ ถ่ายแรงผ่านซี่ลวด น้ำหนักที่กดนี้จะไปกระทำ ที่ดุมล้อเป็นหลัก เพราะจุดตรึงซี่ลวด มันอยู่ที่ดุมล้อ ในตำแหน่งใกล้ลูกปืนดุม นั่นคือลูกปืนที่ดุมล้อ จะรับภาระแรงกดนี้เป็นหลัก ในขณะที่ล้อมีน้ำหนักกด

สำหรับลูกปืนโม่ แม้จะอยู่ร่วมแกนล้อเดียวกัน กับดุมล้อ
แต่มันจะไม่ได้รับแรงกด จากน้ำหนัก เป็นหลัก
ลูกปืนที่โม่ จะรับแรงกดดึง จากโซ่ มากกว่า

ดังนั้น ในขณะที่มีน้ำหนักกระทำ ความลื่นของล้อ จะขึ้นกับความลื่นของลูกปืนที่ดุม เป็นหลัก

การไปเปรียบเทียบ ลูกปืนโม่ฝืด มันค่อนข้างอคติเกินไป
พิจารณาจากการการรับแรงของลูกปืนนะครับ
เพราะตำแหน่งของลูกปืน ในแต่ละจุด แม้มันจะติดตั้งอยู่ร่วมแกนเดียวกัน แต่ก๋ไม่ได้หมายความว่า มันจะรับน้ำหนัก (โหลด) เท่ากัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย lucifer »

pongpipat เขียน:ขอบคุณสำหรับการแสดงความเห็นครับ
สำหรับประเด็นกระทู้นี้คือ การทดสอบความลื่นของล้อแบบง่ายๆ แบบคนทั่วไปสามารถทดสอบเองได้ ทั้งขาแรง ขาไม่แรง

การทดสอบในห้องแลปก็ดี ในเวโลโดม ก็ดี
ล้วนต้องอาศัยเครื่องมือ ราคาแพง
อีกทั้งการใช้แรงคนปั่นในแต่ละรอบ มีความไม่แน่นอน จากแรงคนมาเกี่ยวข้อง (human error) ความล้า ที่ต่างกัน ค่าวัตต์ที่วัดได้ ก็อาจมี error ได้

ยกตัวอย่างเช่น คนๆเดียวกัน ปั่นโดยใช้ล้อเดิม แต่ไม่ให้รู้ว่าเป็นล้อเดิม ทำการทดสอบ 2 ครั้ง เอาผลวัตต์มาเทียบ ก็อาจมีผลวัตต์ต่างกันได้ แต่ผลวัตต์ที่ต่างกัน ไม่ใช่เพราะล้อ แต่เป็นเพราะคน

ขณะเดียวกันในการทดสอบความลื่น แบบง่าย ย่อมไม่สามารถสรุปได้ทั้งหมด เพราะมีตัวแปรตัวอื่นที่มีผลต่อความลื่น แต่ถูกตัดออกไป เพราะยากจะควบคุม

ล้อที่หมุนได้ลื่นดี ในขณะไร้โหลด อาจกลายเป็นล้อที่หนืดไม่ลื่น เมื่อมีแรงกระทำกดที่ลูกปืน
ล้อที่หมุนได้นาน ขณะไร้โหลด อาจมีการเสียพลังงานที่กระเดื่องโม่น้อยกว่า เป็นต้น

แต่เมื่อล้อลงพื้นถนน มีแรงน้ำหนักกด แรงนี้กระทำถ่ายแรงลงกับลูกปืนที่ดุมล้อเป็นหลัก ลูกปืนที่ตัวโม่ จะไม่ได้รับแรงกดนี้มาก เหมือนลูกปืนที่ตรงดุมล้อ
ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นคุณ gok see ที่ว่า ลูกปืนโม่ ไม่ได้มีผลกับความลื่นของล้อ (โดยเพิ่มคำว่า ขณะปั่นจริง มีแรงกด)

***
ในการแสดงความเห็นเรื่องทดสอบใดๆ ย่อมอาจมีความเห็นต่างได้ เพราะไม่มีการทดสอบใด ที่สามารถทำได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะการทดสอบที่ใช้แรงมนุษย์เข้ามาเกี่ยว จะมีความไม่แน่นอนสูง Repeatability จะไม่ได้คงที่
ความเห็นต่างเรื่องการทดสอบความลื่นของล้อ โดยไม่เอาความรู้สึกของผู้ทดสอบ มาเกี่ยวข้อง มาตัดสินนี้
อาจไม่เป็นที่ถูกใจนัก สำหรับผู้ทำการทดสอบ ทำการรีวิวสินค้า ที่อาจต้องใช้ความรู้สึกของตนเองไปชี้นำผู้อ่าน

แต่อย่างไรก็ดี การแสดงความเห็นต่าง เป็นสิ่งที่ดี ที่จะได้รับข้อมูลหลากหลาย
นี่ก็เป็นอีกประเด็น ที่ท่านยังขาดความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ research methodology
จะทำ research ไปทำไม ถ้าไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ ถ้าวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ก็ไม่สามารถคำนวณหาค่าความเป็นไปได้ที่จะแปลผลว่า ผลการทดสอบนั้นน่าเชื่อถือแค่ไหน อธิบายง่ายๆ โอกาสที่ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันนั้น แตกต่างกันเพราะฟลุค หรือ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ความล้าความสดมันฟ้องออกมาได้ด้วยการคำนวณหาว่าค่า p ที่ได้นั้น มีนัยสำคัญแค่ไหน

อีกอย่างหนึ่ง คุณไม่รู้จักความสัมพันธ์ระหว่าง power กับ ความเร็ว การออกแบบการทดสอบเขาสามารถออกแบบเพื่อตัดปัญหาเรื่องการล้าออกไปได้ เช่นใช้ delta power มาcompare กับ delta speed หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงกำลัง
กับ อัตราการเปลี่ยนแปลงของความเร็ว เช่น การออกกำลังโดยเพิ่มค่า Power avg 3 วินาที ไปเรื่อยๆ จนได้ความเร็วที่ต้องการ เราก็สามารถนำค่า delta Power avg 3sec ในช่วงตั้งแต่ความเร็วคงที่ค่าหนึ่ง เพิ่มขึ้นไปยังความเร็วคงที่อีกค่าหนึ่ง โดยเทียบความแตกต่างของกำลัง / ความแตกต่างของความเร็ว พูดให้เข้าใจยากๆอีกนิดก็คือ เรากำลังหาอัตราการเพิ่มขึ้นของกำลังต่อ1หน่วยความเร็วต่างหาก

คือมันเป็นความสัมพันธ์กันบนปัจจัยเดียวกัน เช่น ที่อุณหภูมิเดียวกัน ( บ้านเรามันต่างกันน้อยมาก เพราะมันแทบจะอยู่ในช่วงเดียวกัน ) rolling resistance ควบคุมด้วยแรงดันลมยาง ยางนอกเส้นเดิม ผิวทางเส้นเดิม จะมีเรื่องที่ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า ที่ความเร็วเฉลี่ยเท่ากัน จะใช้กำลังเฉลี่ยเท่ากัน เพราะถ้าคุมเรื่องแรงต้านอากาศ แรงต้านการหมุนไปหมดแล้ว สองสิ่งนี้จะสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น ความเร็วเฉลี่ยเท่ากัน แต่ใช้กำลังมากน้อยต่างกัน ก็คงจะแปลผลง่าย แต่จริงๆแล้วมันแตกต่างกันไม่มากนัก เพราะดุมล้อมันลื่นแตกต่างกันน้อยมาก( ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ )

ยกตัวอย่างง่ายๆ เมื่อวานนี้ ผมปั่นเทรนเนอร์ตัวที่ผมปั่นประจำ ถ้าผมจะปั่นให้ได้ความเร็วเฉลี่ยที่ 30.9กม/ชม ผมจะต้องออกแรงเพื่อสร้างกำลังเฉลี่ยที่ 173 วัตต์ ถ้าผมออกแรงน้อยกว่า 173วัตต์ ความเร็วก็ไม่ถึง 30.9 กม/ชม ถ้าล้าก็ออกแรงสร้างกำลังได้น้อย ความเร็วก็จะหล่นลงมา ดังนั้นถ้าต้องการ 30.9 กม/ชม ต้องออกแรงสร้างกำลังเฉลี่ยให้ได้ 173วัตต์ ถ้ามากกว่านี้ก็เร็วกว่า และถ้าน้อยกว่าก็จะช้ากว่า

กำลังหรือ power วัดความสดความล้าได้ แต่อัตราการเพิ่มกำลังจะสัมพันธ์ไปกับอัตราการเพิ่มความเร็ว

ถ้าล้า อัตราในการเพิ่มกำลังก็ช้าลง , ถ้าสด อัตราในการเพิ่มกำลังก็ดีขึ้น
ถ้าล้า อัตราในการเพิ่มความเร็วก็จะช้า , ถ้าสด อัตราในการเพิ่มกำลังก็จะดีขึ้น

แต่ ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วกับกำลังจะเป็นสัดส่วนของยกกำลังสาม เช่น ถ้าเร่งความเร็วขึ้นอีก 2 เท่า ก็ต้องเพิ่มกำลังขึ้นอีก 8เท่า

ดังนั้น ไม่ว่าล้าหรือไม่ล้า อัตราในการเพิ่มกำลัง จะสอดคล้องไปกับอัตราการเพิ่มความเร็วยกกำลังสาม โดยจะถูกสอดแทรกด้วยค่าตัวแปรที่เกิดจากความต้านทานต่อการหมุนที่แตกต่างกันไป ซึ่งนั่นก็คือความต้านทานต่อการหมุนของตลับลูกปืนนั่นเอง

นี่ก็เป็นตัวอย่างง่ายๆในการออกแบบการทดสอบเพื่อตัดประเด็นเรื่องความล้าออกไป เพราะเราจะมาหาความสัมพันธ์กันถึงอัตราการเพิ่มกำลังกับอัตราการเพิ่มความเร็ว โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆที่ส่งผลต่อการหมุนออกไป


#น่าจะมีความลำบากในการทำความเข้าใจอยู่บ้างนะ :D


แต่เมื่อล้อลงพื้นถนน มีแรงน้ำหนักกด แรงนี้กระทำถ่ายแรงลงกับลูกปืนที่ดุมล้อเป็นหลัก ลูกปืนที่ตัวโม่ จะไม่ได้รับแรงกดนี้มาก เหมือนลูกปืนที่ตรงดุมล้อ
ขอโทษด้วยที่ต้องกล่าวซ้ำว่า คุณยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของดุมล้ออย่างแท้ทรู
เมื่อคุณออกแรงกดบันได แรงตึงโซ่จะไปฉุดเฟือง เฟืองจะไปฉุดโม่ หนวดกุ้งในโม่จะไปฉุดดุมล้อให้หมุน ณ momentนั้น ลูกปืนทั้ง 2 ตลับภายในโม่ จะทำหน้าเป็นจุดหมุนเช่นเดียวกันกับลูกปืนดุมล้อทั้ง 2 ตลับนั้นด้วยเช่นกัน แปลว่าถ้าออกแรงกดบันได จุดหมุนของล้อหลังจะอาศัยการทำงานของลูกปืนตลับทั้ง 4 ตลับนั้น ทำงานไปพร้อมๆกัน ดังนั้นถ้าลูกปืนตลับของโม่เกิดอาการเน่า เป็นสนิม ความฝืดต่อการหมุนก็จะบังเกิดขึ้นจากตลับนั้น แต่เมื่อปล่อยไหลให้ชุดฟรีในโม่ทำงานแยกการทำงานของโม่ออกจากดุมแล้ว เมื่อนั้นลูกปืนเน่าๆตลับนั้นก็จะไม่หมุน และไม่กลับมาสร้างความฝืดให้กับการหมุนของทั้งระบบอีก จึงทำให้ไม่มีผลในการสร้างความต้านทานต่อการหมุนโดยรวมนั่นเอง

ในความเป็นจริงนั้น จำนวนตลับลูกปืนยิ่งน้อยเท่าไหร่ จุดหมุนนั้นก็จะมีความต้านทานต่อการหมุนน้อยลงไปเท่านั้น

เพราะในตลับลูกปืนเองก็ยังมีความต้านทานภายใน ไม่ว่าจะเป็นความต้านทานต่อการหมุนอันเกิดจากจารบีที่ขัดขวางการหมุน ( ถึงตัวมันจะช่วยหล่อลื่น แต่ตัวมันเองก็ขัดขวางการหมุนด้วย ) ความต้านทานที่เกิดจากผิวของBall หมุนบดไปกับผิวของ race ,ความต้านทานที่เกิดจากตัวซีลกันฝุ่นของตลับลูกปืน

ดังนั้นยิ่งมีจำนวนลูกปืนตลับมากเท่าไหร่ ความต้านทานรวมๆต่อการหมุนของแต่ละตลับมารวมกันก็จะมีค่ามากขึ้นตามไปด้วย

** แต่การมีลูกปืนมากตลับ ดุมล้อจะมีความมั่นคงเพิ่มขึ้น ** จุดสมดุลย์จึงมาลงที่ อยู่ในส่วนของดุม 2 ตลับ อยู่ในโม่อีก 2 ตลับ ( หรือ อยู่ในโม่เพียง 1 ตลับ แล้วเพิ่มบูชชิ่งมาประคองให้ ดุมกับโม่อยู่ใน Axis เดียวกัน ซึ่งบูชชิ่งเองก็จะทำงานเฉพาะในจังหวะยกให้ชุดฟรีทำงานเท่านั้น , Mavic คือ ต้นความคิดนี้ )


ดังนั้นแนวคิดเรื่องใช้ลูกปืนเรียงเม็ด ปรับความตึงด้วยจี๋ ( Cup and cone system ) 2 ชุด หัวท้าย ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันมาโดยตลอด และหากปรับตั้งกันดีๆแล้ว ดุมที่ใช้ลูกปืนเรียงเม็ดคุณภาพดีๆ และปรับตั้งอย่างมีคุณภาพ จะมีความต้านทานต่อการหมุนที่น้อยกว่าดุมที่ใช้ลูกปืนตลับรวมกัน 4 ตลับแบบไม่ต้องสงสัย จะมีข้อด้อยเพียงแค่ แนวaxis ของดุมกับโม่อาจจะไม่ได้แนวเดียวกันเป๊ะ เราจึงมองเห็นการส่ายของชุดเฟืองในขณะที่ยกฟรี ซึ่งจะเห็นได้บนดุมล้อหลังของShimano



สุดท้าย การทดสอบหาความลื่นกันแบบ"มโน"ที่ไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาชี้วัดหรือแปลผล ย่อมจะไม่สามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน

ปล. กรุณาอ่านช้าๆ อ่านที่ละบรรทัด ตัดซึ่งมิจฉาทิฎฐิออกไปให้หมดก่อน คุณจะได้ความรู้ที่ผมสะสมมาตลอดการ"เล่น"จักรยานมามาเกือบ 20 ปี วิธีในการอธิบายของผมอาจจะไม่ประนีประนอม แต่ผมจะพูดกันแต่"ข้อเท็จจริง" และไม่เอา"มโนคติ"มาตัดสิน และคุณน่าจะดีใจนะที่มีคนที่ยอมเสียเวลามานั่งพิมพ์อะไรยืดยาวเพื่อช่วยเสริมความเข้าใจให้กับคุณ เพราะไม่เช่นนั้นคุณก็ยังเชื่ออยู่ว่าแกนดุมหมุน สวนทางกับโม่ตลอดเวลา

สุดท้าย ผมศึกษา และทำเข้าใจกับเรื่องของ power meter มาพอสมควร อย่างน้อยก็รู้ว่ามันบอกอะไรได้มากน้อยแค่ไหน มันบอกได้ว่าคุณล้าหรือคุณสด คนเก่งหรือคุณกรอบ โดยที่ไม่ต้องมาสงสัยเลยว่ามันจะ error จนกลายเป็น Human error เพราะมันคือ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ กำลังเป็นตรรกะที่ซับซ้อนกว่าความรู้สึกเยอะครับ

Human error เกิดได้กับการออกแบบการทดสอบที่ไม่ซับซ้อน และไม่มีตรรกะตรวจสอบทับซ้อน แต่ถ้าเข้าใจ และเอาสมการที่เกี่ยวข้องกับ Human error 2 อัน มาเทียบกัน ค่า human error ก็จะถูกตัดออกไปจากการเปรียบเทียบนั้นได้ เช่น อัตราการเพิ่มของกำลังมีความล้ามาเกี่ยวข้อง อันนี้จริงแน่นอน , และอัตราการเพิ่มของความเร็วมีความล้าเข้ามาเกี่ยวข้องกันอีก

แต่ถ้าเอาอัตราการเพิ่มของกำลัง กับ อัตราการเพิ่มของความเร็วมาหาความสัมพันธ์กัน เช่นนั้น ความล้าก็จะถูกตัดทิ้งออกไป

วิธีมีมากมายครับ อยู่ที่เราเข้าใจแก่นของมันแค่ไหนเท่านั้นเองแหละ

สุดท้าย ก็ยังสงสัยอยู่ว่า ถ้าไม่ได้แข่งขันชิงรางวัล และไม่ได้รำ่รวยมีเงินถุงเงินถังที่จะไปเสียเงินกับของแพงๆ การทราบว่าล้อไหนลื่นกว่าล้อไหนมันได้ประโยชน์คุ้มค่าจริงๆหรือครับ หรือ คิดว่าถ้ารู้แล้วจะได้เลือกเสียเงินให้คุ้มค่า ( อันนี้น่าสรรเสริญ )

สุดท้ายของสุดท้าย ก็จะขอยืนยันว่า สิ่งที่คุณสงสัย มีคนเคยทำการศึกษาเปรียบเทียบมาแล้ว ผลที่ได้มันไม่ได้มากมายจนถึงขั้นคุ้มค่าน่าเสียเงินเพื่อความลื่นที่ประหยัดวัตต์ได้ 2-3 วัตต์ ที่กำลัง 250-300 วัตต์ พูดหยาบก็แค่ 1%
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย lucifer »

แถมให้อีกนิดหนึ่ง จะได้รู้ว่า ลูกปืนตลับภายในโม่นั้นถูกให้ความสำคัญแค่ไหน

อันนี้คือ สเปคลูกปืนดุมล้อหลัง ยี่ห้อหนึ่งของไต้หวัน ซึ่งBrand นี้ทำของ OEM ส่งให้ค่ายจักรยานมาหลายค่ายเลยทีเดียว

ลูกปืน 4 ตลับ ประกอบด้วยเบอร์ 6802 (15mm x 24mm x 5mm ) x 1 กับ 15267 (15mm x 26mm x 7mm ) x 3
คือถ้าไม่รื้อมันออกมาด้วยมือตัวเอง ก็ยังเชื่อว่า ตลับ 6802 ซึ่งเล็กกว่าเพื่อนจะอยู่ฝั่งเดียวกับโม่ แต่ความจริงมันอยู่ด้านซ้ายมือ หรือ ฝั่ง non-drive side ส่วน อีก 3 ตลับทีใหญ่กว่า จะไปอยู่ในโม่ซะ 2 และอยู่ที่ส่วนริมของดุมหลังทางด้านขวาอีก 1 กลายเป็นว่า ฝั่ง drive side มีลูกปืนตลับใหญ่อยู่ถึง 3 ตลับ ทั้งนี้ก็เหมือนที่เข้าใจกัน ฝั่งdrive side จะรับโหลดมากกว่าฝั่ง non-drive side

และผู้ออกแบบแทบทั้งหมด จะคำนึงถึง"ความลื่น" และ"ความมั่นคง"ในขณะที่ออกแรงกดบันได ในขณะช่วงปล่อยบันไดให้ล้อหมุนฟรีนั้น มีน้อยรายที่มองกันทะลุ อย่างเช่น Zipp ที่หันมาใช้ระบบฟรีไร้เสียงที่ทำงานด้วยแม่เหล็ก ทำให้ในช่วงยกฟรีนั้น ก็แทบจะไร้ซึ่งความเสียดทานแบบที่โม่มาตรฐานทั่วไปมี
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย pongpipat »

น่าจะเข้าใจความหมายของผมผิด
หรือผมอาจเขียนอธิบายผิดเอง เพราะเขียนมากไป

เรื่องลูกปืนในโม่ กับ ลูกปืนในดุม
ผมหมายถึง แรงกดที่เกิดจากน้ำหนักตัวคนที่นั่งปั่น
จะกระทำกับลูกปืนที่ดุมล้อ มากกว่า (ใช้คำว่า เป็นหลัก)
ส่วนลูกปืนที่โม่ ผมได้เขียนไว้แล้วว่า รับแรงจากการกดดึงของโซ่ เป็นส่วนใหญ่

ถ้าเรานั่งปั่นจักรยาน น้ำหนักที่กระทำกับล้อ จะมีผลกับลูกปืนที่ดุมล้อ มากกว่า
ส่วนแรงกดที่ดึงโซ่ จะมีผลกับ ลูกปืนในโม่
ถ้าเราไม่ได้ออกแรงกดบันได แรงจากโซ่ที่ไปขับเฟือง ก็จะเหลือแค่แรงตึงโซ่
ดังนั้นเวลาล้อหมุน ในขณะเวลานี้ จะเป็นผลจากความลื่นของลูกปืนที่ดุมล้อเป็นหลัก


ส่วนเรื่องการตั้งกระทู้แสดงความเห็นเรื่องความลื่นของล้อนี้ ผมเห็นด้วยว่า ความลื่นของล้อ เมื่อเทียบกับแรงต้านการหมุนจากหน้ายาง แรงต้านจากทิศทางลม เทียบกันแล้ว ความลื่นของล้อ กลายเป็นมีนัยสำคัญน้อยกว่า

แต่การตั้งกระทู้แสดงความเห็นย่อมเป็นสิทธ์ เพื่อฟังความเห็นต่าง ไม่ว่าจะตั้งคำถามเพื่อไปหาซื้อล้อสำหรับแข่งขันก็ดี หรือ ซื้อเพื่อตามแฟชั่นก็ดี ล้วนเพื่อหาเหตุผลที่เป็นประโยชน์ เพื่อการตัดสินใจ

ผมเองแม้อยู่ในฐานะที่หาซื้อล้อสมรรถนะสูงได้ไม่ยาก
แต่ก็อยากทราบ อยากฟังความเห็นต่างๆ จริงๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
แม้ผมไม่ได้คิดไปแข่ง แต่ก็อยากให้การปั่นพัฒนาขึ้น
จึงเป็นที่มาของคำถามต่างๆ

ผมมาปั่นจักรยาน เพราะเห็นพี่ข้างบ้าน เขาอายุ 60 แล้ว แต่แกปั่นจักรยานได้ดีมาก เป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งให้ผมคิดว่า ผมก็น่าจะทำแบบเขาได้ เลยเป็นที่มาของการพัฒนา และศึกษาการปั่น

อะไรที่จะช่วยให้เราปั่นได้ดีขึ้น ประหยัดแรงได้ แม้เล็กน้อย เราก็สนใจ เพราะมันจะยิ่งทำให้เราอยากปั่นอยากพัฒนาเพิ่มไปอีก

ผมเห็นคนแถวบ้านอีกคน ที่ปั่นดีมาก ใช้รถดี ใช้อุปกรณ์ซ้อมดี แต่พอนานๆไป แกกลับกลายเป็นเบื่อๆ แล้วสุดท้ายก็เลิกปั่นไป
ซึ่งผมคิดว่า เพราะแกซื้อล้อ ซื้อรถ ซื้อข้าวของต่างๆ ตามคำบอกต่อๆกันมา โดยแกไม่ได้ศึกษาข้อมูลมากนัก
พอปั่นแล้ว ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง เลยกลายเป็นเบื่อ
ซึงหลายคนคงเคยมีอารมณ์เช่นนี้ และผมเองก็ไม่อยากเป็นแบบนี้

ต้องขออภัยที่มีคำถามมากมาย
และขอขอบคุณที่ให้คำแนะนำครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
scotchbrite
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 54
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 14:25
Bike: Trinx FM260, JAVA CL16s
ตำแหน่ง: Bangkok
ติดต่อ:

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย scotchbrite »

จริง ๆ ไอ้ที่ดูล้อหมุนก็ฟังดูโอเคแล้วนะครับ
ล้อจะ balance ไม่ balance ช่างหัวมัน
ถ่วงให้ balance ซะก่อน
เสร็จแล้วมีน้ำหนักที่อ้างอิงได้ กี่กรัมก็จดไป
ถ่วงห่างจากจุดหมุนเป็นระยะเท่าไหร่ ก็จดไป
น้ำหนักใช้เวลาเท่าไหร่ในการร่วงลงมาจุดต่ำสุด
หรือใช้เวลาเท่าไหร่ในการแกว่งจนหยุด
มีน้ำหนัก มีระยะจากจุดหมุน
ใส่สูตร หา friction ตรงจุดหมุน
Gok See
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 449
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2016, 08:18
ติดต่อ:

Re: วิธีดูความลื่นของดุมล้อแบบง่ายๆ

โพสต์ โดย Gok See »

อย่าไปคิดไรมากเลย ลื่นไม่ลื่นอยู่ที่ลูกปืนกะจารบี อยากดุมลื่นก็ใช้ลูกปืนคุณภาพสูง จารบีตอนนี้ผมใช้แบบกระป๋องลื่นมากครับเพราะมันไม่เหนียว ปั่นซักระยะรื้อออกมาดูจารบีก็ยังติดดี ผมให้ผ่าน เพราะโหลดแบบจักรยานไม่จำเป็นต้องใช้จารบีที่ออกแบบมาใช้กับความเร็วหลายพันรอบต่อนาที

ผมถึงบอกแกะลูกปืนมาวัดอย่างเดียวไม่ต้องสนใจล้อ ถ้าคุณจะวัดแต่ความลื่นอย่างเดียวน่ะ แต่ลูกปืนก็มีคนวิจัยไปหมดแล้ว ซึ่งในทางวิชาการเขาไม่มาทำเรื่องที่คนทำไปแล้วหรอก

ผมจึงคิดว่า ไม่รู้จะไปหาวิธีวัดทำไม เพราะผู้ผลิตลูกปืนเขาวัดเขาวิจัยกันหมดแล้ว
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”