GRAVAT Trainer review

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

รูปภาพ

การปั่นจักรยานบนเทรนเนอร์ อาจจะเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับหลายๆคน แต่มันก็เป็นหนทางที่บางคนไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยเฉพาะคนทำงานเช้า-เย็นที่แทบจะหาเวลาว่างมาปั่นจักรยานไม่ได้เอาเสียเลย เพราะแค่เดินทางไปกลับก็มืดค่ำไปเสียแล้ว เทรนเนอร์จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่สามารถ”ปั่นจักรยาน”ได้ทุกเวลาที่ปรารถนา โดยไม่ต้องสนใจ แดด ฝน ลม และรถยนต์

ปัจจุบัน Bike trainer ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับที่เรียกว่า Smart trainer ซึ่งถ้าจะพูดให้เต็มยศ ก็ต้องบอกว่าเป็น FE-C trainer หรือ Fitness Equipment Control ซึ่ง Trainerเหล่านี้จะมี interface สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆผ่านทาง ANT+ หรือ Bluetooth Low Energy ( BLE ) ทำให้สามารถเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ Tablet เพื่อใช้งานร่วมกับ application ต่างๆ หรือ จะใช้ควบคุมผ่าน Garmin Edge รุ่นใหม่ๆเลยก็ยังได้


รูปภาพ


GRAVAT ก็จัดเป็น FE-C trainer อีกตัวหนึ่งในตลาดของ Smart trainer มี interface เชื่อมต่อได้ทั้ง ANT+ และ BLE ด้วยลักษณะโครงสร้างเรียบง่าย ที่สำคัญคือ มันเป็น Direct-Drived trainer ทำให้ไม่จำเป็นต้องยุ่งยากหายางสำหรับปั่นกับเทรนเนอร์แบบลูกกลิ้ง เสียงเงียบ ขนาดกระทัดรัด

การใช้งานก็แสนง่าย จับกางออก แล้วถอดล้อหลังเดิมของจักรยานออก แล้วก็ติดตั้งจักรยานเข้าไป อาจจะต้องปรับเซทเกียร์บ้าง ( คล้ายๆกับการเปลี่ยนล้อหลังใหม่ ) เสียบสายต่อ เสียบปลั๊กไฟ ไฟแสดงสถานะก็จะติดสว่างขึ้น ไม่ต้องรอ ไม่ต้องอุ่นเครื่อง คือ พร้อมใช้งานได้เลย


รูปภาพ

เทรนเนอร์ตัวนี้ ทางผู้ผลิตแจ้งว่า มี power meter มาด้วย และเป็น strain guage ซะด้วยสิ ส่วนตัวควบคุมความหน่วงให้เดาๆเอาก็น่าจะเป็นกลุ่มของระบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ Eddy current brake นั่นแหละ ข้อดีของการที่มีpower meter มาด้วย ก็คือ สำหรับคนที่ไม่มีpower meter มาก่อน ก็สามารถใช้มันในการฝึกแบบ power-zone training ได้เลย และสำหรับคนที่มีpower meter อยู่แล้ว ก็ใช้ power meter เดิมต่อไป ( โดยส่วนตัวแล้ว ค่าpower ที่ได้จากตัว trainer เองจะไม่เท่ากับค่าที่ได้จาก power meter ที่ผมใช้งานอยู่ประจำ ดังนั้นผมจึงเลือกใช้power meter ตัวที่ผมใช้งานอยู่ เพราะเราฝึกโดยการอิงโซน ไม่ว่าpower meter จะอ่านค่าได้มากน้อยแตกต่างกันยังไง เราก็จะอิงโซนที่เราวัดจากpower meter ตัวที่เราใช้ประจำเท่านั้น )

ส่วนเหล่า “มิสเตอร์สเปค” ทั้งหลายที่ใคร่รู้ ใคร่ทราบรายละเอียดต่างๆในเชิงเทคนิค ผมแนะนำให้เข้าไปอ่านที่ http://www.magene.cn/introduce.html แล้วเลือกให้แสดงภาษาอังกฤษ ( EN ) หน้าเวปก็จะเปลี่ยนจากภาษาจีนไปเป็นภาษาอังกฤษให้เข้าใจอะไรได้ง่ายดายขึ้น

ส่วนวิธีการใช้งานนั้น แนะนำให้อ่านที่ http://www.magene.cn/detailSRC/gravatdetailEN.html ก่อนก็จะทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

มาเรียนรู้การใช้งานกัน

ก่อนอื่นต้องปูพื้นนำร่องกันสักนิดว่า Trainerเจ้านี้ผลิตขึ้นจากเมืองจีน ผมเอามาทดสอบ และทดลองใช้ตั้งแต่คู่มือเป็นภาษาจีน ดมๆคลำๆกันอยู่พักใหญ่ๆ ได้รับความช่วยเหลือจากตัวแทนในเมืองไทยมาโดยตลอด จนกระทั่งตอนนี้ทางผู้ผลิตได้พัฒนาSoftware และ manual เป็นภาษาอังกฤษได้เกือบจะสมบูรณ์แล้ว ซึ่งเดิมทีนั้นจะใช้การ download โปรแกรมจากทางเวปมาใช้สำหรับการ calibrate และการปรับตั้งการใช้งาน ซึ่งก็ค่อนข้างจะยุ่งยากพอสมควร ต่อมาจึงได้มีการพัฒนาApp ชื่อ “MageneUtility” สำหรับสั่งงานผ่าน smart phone กันได้เลย โดยจะมีให้ใช้ ทั้ง iOS และ Android โดยเข้าไป download ได้จาก App store และ Android


รูปภาพ


สำหรับ MageneUtility นั้น ผมขอกล่าวเฉพาะในส่วนของ iOS นะครับ ด้วยความที่ผมเป็น”ติ่ง”Apple ก็เลยไม่ได้คบค้าอะไรกับค่ายหุ่นกระป๋อง ก็คงขออภัยมิตรรักนักฟังทั้งหลายที่อาจจะไม่ได้มีรายละเอียดในค่ายของท่าน


สำหรับ MageneUtility ในฝั่งของ iOS จะมี interface เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อเราเสียบปลั๊กเปิดเครื่อง Gravat แล้วเปิด App MageneUtiltity มันก็จะทำการ ค้นหาเจ้า Gravat ผ่านทาง BLE โดยไม่ต้องใช้คำสั่ง pair ผ่านหน้า setting ของ iPhone เลย พอมันเจอ เราก็แค่เลือก”connect” มันก็จะพาเข้าไปสู่หน้าการใช้งาน

รูปภาพ



หน้าการใช้งานก็แสนจะง่าย เพราะมีแค่หน้าเดียว

รูปภาพ

Resistant Control ( พี่จีนก็สะกดภาษาอังกฤษไม่ถูกซะอีก #แต่เลาเข้าใจ ) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 modes คือ

1. Target power หรือ เรียกแบบสากล คือ ERG mode ซึ่งเป็น mode ที่เราจะเลือกให้ smart trainer ทำการสร้างความหน่วงเพื่อให้เราออกแรงปั่นขึ้นไปแล้วได้ค่ากำลังเป็นวัตต์ตามที่เราเซทเอาไว้ พูดง่ายๆก็คือ ไม่ว่าจะปั่นเกียร์ไหน รอบขาเร็วช้าเพียงใด trainerก็จะปรับความหนักให้สุดท้ายแล้วได้ค่าวัตต์ตามที่เราต้องการนั่นเอง ( สูงสุดสามารถปรับได้ถึง 1,000 w )

2. Slope ก็คือ การจำลองความหนืดในลักษณะเลียนแบบการปั่นขึ้นทางลาดชัน ( grade ) มีหน่วยเป็น % เช่นถ้าอยากจะรู้ว่าเนินเสาโทรศัพท์ที่ดอยอินทนนท์ที่เขาว่ามันชันแถวๆ 15% เนี่ย มันหนักยังไง ก็set ค่า Slope ไว้ที่ 15% ( ตั้งได้สูงสุดเท่านี้ ) เวลาปั่นก็เลือกเกียร์เอาเอง เลือกเกียร์ที่ทดแรงที่ท่านคิดว่ายังมีแรงปั่นได้ แค่นี้ก็พอจะ build อารมณ์ได้เลยว่า ปั่นขึ้นดอยอินท์ที่ slope 15% มันเป็นยังไง

3. Resistant Level ( พี่จีนก็ยังสะกดภาษาอังกฤษผิดอยู่ดี ) ซึ่ง mode นี้จะคล้ายๆกับ slope mode นั่นแหละ แต่เป็นการสร้างความหนืดโดยไม่อิงกับค่าความชัน โดยสามารถปรับเลือกระดับความหนืดได้ถึง 11 ระดับ ( 0 - 10 )
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

Calibrate กันง่ายๆ ด้วยคำสั่ง Spin down Calibration

เป็นชุดคำสั่งสำหรับตรวจสอบความคลาดเคลื่อนทางกลไก ซึ่งนั่นก็คือ ความตึงของสายพานภายในนั่นเอง โดยเมื่อเราเลือกเข้าไปในmenuนี้ เราจะต้องทำการปั่นจักรยานเพื่อให้ได้ค่าความเร็วที่โปรแกรมต้องการ

รูปภาพ


ซึ่งมันจะบอกเองแหละว่า ถึงความเร็วที่ต้องการแล้ว จากนั้นก็ให้เราหยุดปั่น แล้วรอให้มันหยุดหมุน


รูปภาพ


ถ้าไม่มีความคลาดเคลื่อนทางกลไก มันก็จะบอกว่า ทำสำเร็จ แต่ถ้าหาก fail มันก็จะมีคำอธิบายให้เราทำการปรับแต่งตัวกดสายพานให้ตึงขึ้น แล้วทดสอบใหม่จนกระทั่งผ่าน

รูปภาพ


โดยปกติแล้ว ผู้ใช้แทบจะไม่ต้องทำ Spin down calibration เลย เพราะผู้จำหน่ายจะทำการตรวจสอบมาให้เรียบร้อยแล้ว ยกเว้นในการกรณีที่ต้องเคลื่อนย้าย ผ่านความสะเทือนมาพอสมควร ก็อาจจะต้องตรวจสอบและปรับแก้กันบ้าง ซึ่งขั้นตอนก็ง่ายมาก ผมเองก็ทำไปแล้วเช่นกัน


Zero Calibration
ก็เป็นชุดคำสั่งในการ set ค่าวัตต์ในขณะที่ไม่มี load ให้เท่ากับ 0 ตัวเลขที่แสดงก็คงจะไม่ต้องใส่ใจจนต้องไปค้นหาความหมายมันหรอกนะครับ แต่เอาแค่คุ้นๆตาไว้บ้าง เอาเป็นว่าถ้าวันดีคืนร้าย ค่าที่ได้นี้มันผิดเพี้ยนไปดั่งฟ้ากับเหว อันนี้น่าจะบอกถึงความเดือดร้อนได้ระดับหนึ่งหละ

รูปภาพ


Early Access to Upgrade
อันนี้ก็สามารถเข้าไปเช็คได้เลยว่า FW ของ Gravat มีการ update แล้วหรือยัง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

การทำงานร่วมกับ Garmin EDGE

Garmin EDGE รุ่นใหม่ๆ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อผ่าน FE-C trainer ผ่านทาง ANT+ protocol ซึ่งเมื่อเข้าไปใน setting แล้วเลือก Sensor เพื่อที่จะ pair กับ Trainer Sensor ซึ่ง เจ้า Gravat นี้ก็สามารถ pair เข้ากับ Garmin Edge ได้อย่างง่ายดาย และเมื่อเราคลิกเข้าไปดูในรายละเอียดต่างๆ Indoor trainer จะมีรายละเอียดต่างๆให้เราดู ( เพียงแต่คำสั่ง Calibrate นั้นจะเป็นคำสั่งที่ไม่สามารถสั่งการผ่าน EDGE ได้ แต่ต้องสั่งผ่าน MageneUtility ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว )

จากนั้นก็กลับไปที่ Setting ใหม่ แล้วเลือกที่ indoor trainer เราก็จะพบตัวเลือกอยู่ถึง 5 แบบ คือ ปั่นตาม course , ปั่นตาม Activity , ปั่นตาม Workout , ปั่นตามค่าความหนืดที่เราเลือก และ ปั่นให้ได้ตามค่าวัตต์ที่กำหนด

ถ้าเราเข้าใจการใช้งาน Garmin ดีพอ เราก็จะทราบว่า เราสามารถสั่งสร้าง course ได้เอง โดยอาจจะสร้างจาก Activity ที่เราเคยปั่นมา หรือ อาจจะกำหนดสร้างเอง โดยสร้างจาก connect.garmin.com ซึ่งจะมี menu Training ที่เราสามารถเลือกสร้าง Course หรือ workout แล้ว สั่ง send to device ผ่านทางโปรแกรม Garmin Express แต่อะไรก็ไม่สนุกเท่ากับการสร้าง courseจากเส้นทางจริงๆ ซึ่งจะมีค่าความสูงเข้ามาเป็นตัวกำหนดระดับความหนักให้สมจริงสมจังด้วย เช่น หากท่านไม่เคยปั่นขึ้นดอยอินทนนท์มาก่อน แล้วท่านก็อยากจะลิ้มรสชาติว่ามันหนักสมคำร่ำลืออย่างไร หรือ จะขึ้นภูทับเบิกก็ได้ ซึ่งก็ง่ายมาก เพียงท่านเลือกสร้าง course จากในแผนที่ แล้วส่งเข้าไปใน Garmin จากนั้นก็สั่งให้ Gravat ทำการจำลองความหนักจาก course เหล่านั้น ท่านก็จะได้อิ่มเอมกับรสชาติของเส้นทางดังกล่าวโดยที่ไม่ต้องไปปั่นเองก็ยังได้ จะไม่เหมือนก็ตรงที่เวลาไหลลง มันไม่มี motor มาช่วยปั่นให้เราไหลลงไปเหมือนกับเราลงเขาจริงๆเท่านั้นแหละ แต่มันจะหนักจริงไรจริงเวลาที่เราต้องขึ้นเขาชันๆ

รูปภาพ

ในภาพตัวอย่างผมจำลอง course ขึ้นมาจากเส้นแยกขึ้นเขาเขียวไปสุดที่ผาตรอมใจ ก็ไม่ชันมากกระมัง แค่ไต่ความสูงขึ้นไปกว่า ครึ่งกม.เอง ฮ่า ฮ่า
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

การทำงานร่วมกับ 3rd party Program อื่นๆ

ตัวที่หลายคนคุ้นเคยกันดีก็คือ Trainerroad ซึ่งสามารถเข้าไปสมัครและจ่ายค่าสมาชิกได้ที่ trainerroad.com แล้วสามารถใช้เจ้า gravat ทำหน้าที่เป็น smart trainer โดยไม่จำเป็นต้องมี power meter มาก่อนเลยก็ได้ โดยเราจะอิงค่า power จาก gravat แทน (​ ในกรณีที่ท่านมี power meter อยู่บนจักรยานอยู่แล้ว ก็แนะนำให้ใช้ค่า power จาก power meter ตัวที่ท่านใช้ประจำเป็นตัวหลักแทนนะครับ )

ในโลกนี้หาของฟรีไม่ได้ง่ายๆ เพราะไม่ว่าจะเป็น Trainerroad , Sufferfest , Zwift สุดท้ายเขาก็จะต้องให้เราสมัครและจ่ายค่าสมาชิกจึงจะสามารถใช้งานโปรแกรมของเขาได้อย่างเต็มที่ แต่สำหรับ Gravat แล้ว เขาจะมีโปรแกรมการฝึกที่สามารถสร้างเป็น Simulation ได้แบบ Zwift แล้วก็ยังมีโปรแกรมการฝึกให้สามารถฝึกตามไปด้วยอีก ซึ่งทางผู้ผลิตทำการออกแบบโปรแกรมส่วนตัวของเขาเองในชื่อว่า OneLap โดยเน้นว่า”ฟรี”

เพียงเข้าไปที่ onelap.cn เลือก interface ภาษาอังกฤษ ( บางหน้ายังเป็นภาษาจีน แต่ก็แนะนำให้ใช้ google translate ช่วยแปลไปก่อนนะครับ , สมัยที่ผมเข้าไปครั้งแรกนี่ นั่งดมๆคลำๆอยู่นาน กว่าจะแกะได้ว่าต้องไปยังไง ) แล้วเลือกว่าจะ download โปรแกรม OneLap ใน platform ใด ซึ่งในตอนนี้ยังมีแค่ 2 platform คือ windows กับ iOS เท่านั้น

หลังจากdownload ก็ให้ทำการติดตั้ง โดยส่วนตัวแนะนำให้ใช้ผ่าน PC จะสะดวกกว่า โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องเชื่อมต่อกับ Gravat ผ่านทาง USB ANT+ key

ขั้นตอนของการติดตั้งอาจจะค่อนข้างเนิ่นนาน และดูเหมือนกับไม่ยอมเสร็จเอาง่ายๆ คือ ต้องอดทนหน่อยนะครับ

ในส่วนรายละเอียดของการใช้งานโปรแกรม OneLap แนะนำให้ศึกษาเอาเองจากการใช้งาน ซึ่งสามารถขอความช่วยเหลือจากทางผู้จำหน่าย Gravat ได้โดยตรงนะครับ

รูปภาพ

อันนี้เป็นหน้าจอจาก iPad นะครับ
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

ความเห็นส่วนตัวของผู้ทดสอบ

หลังจากใช้งาน gravat มานานพอสมควร คือ เริ่มใช้ตั้งแต่เริ่มเปิดตัวไม่นาน ออกFWมาแก้Bug ดมๆคลำๆภาษาจีน จนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นภาษาอังกฤษไปแล้ว ก็พอจะมีข้อสรุปการใช้งานได้ดังนี้

ข้อดี
1. ราคาประหยัด ครับ สำหรับ Smart trainer แบบ direct drive ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆแบบครบชุด ไม่ว่าจะเป็นชุดเฟือง 11 speed , sensor วัดรอบขา ในราคาที่ย่อมเยากว่าค่ายดังๆแบบชนิดว่าต้องกลับมาคิดกันถึงเรื่อง”คุณภาพต่อราคา “ ซึ่งแปลเป็นคำว่าง่ายๆว่า “ความคุ้มค่า” กันเลยทีเดียว
2. ความเสถียร อันนี้บอกเลยว่า Gravat มีความเสถียรมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้งานใน mode ERG บน Trainerroad พบว่า Gravat สามารถตอบรับการ feedback จากโปรแกรมได้เร็วกว่า Wahoo KickR อย่างรู้สึกได้ เพราะใน ERG mode นั้น หากเราปั่นด้วยแรงและรอบขาที่ไม่คงที่ ค่าวัตต์ที่เกิดขึ้นก็จะไม่คงที่ด้วย โปรแกรมจะอ่านและ feedback กลับไปที่ smart trainer เพื่อปรับให้ค่าความหนักกลับมาจนได้ค่า watt ตามที่โปรแกรมต้องการ ถ้าtrainer ตอบสนองได้เร็ว ค่าวัตต์ก็จะแกว่งน้อย หรือ กลับมาอยู่ในค่าที่โปรแกรมต้องการได้อย่างรวดเร็ว (​โดยส่วนตัว Smart Trainer ที่มีความเสถียรและตอบสนองได้เร็วที่สุด เท่าที่เคยผ่านมาก็ คือ Computrainer ซึ่งจัดเป็นระบบที่ค่อนข้างจะไม่ค่อยถูกใจผู้คนนัก เพราะเชื่อมต่อกับ PC ผ่าน USB-Serial interface แต่เพราะว่ามันมี controller ที่เป็น Computer 16bit คอยควบคุมมันเอง จึงทำให้การตอบสนองและความแม่นยำต่างๆอยู่ในระดับที่เรียกว่า”สูง”มาก แต่ราคามันก็ไม่ใช่น้อยเลย และปัญหาหลักก็คือ คุยกับ 3rd party application ได้ไม่กี่ราย )
3. เสียง จัดเป็น direct mount trainer ที่เงียบที่สุดเท่าที่เคยใช้มา เงียบกว่า Wahoo KickR พอสมควร ( ส่วน Lemond Revolution คงไม่ต้องเอามาพูดถึงนะครับ ตัวนั้นนี่ให้เสียงดังพอๆกับเครื่องดูดฝุ่นขนาดยักษ์เลย )
4. น้ำหนักตัว จัดเป็น FE-C trainer ที่มีน้ำหนักน้อยกว่าคู่แข่งเอาเรื่องเลย คือ แค่ 13 กก. เหตุผลหลักก็มาจากโครงสร้างที่ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไร ใช้ชิ้นส่วนหลักๆอยู่ไม่มากเท่ากับยี่ห้ออื่นๆซึ่งส่วนใหญ่จะป้วนเปี้ยนแถวๆ 20 กก. ซึ่งก็เลยเป็นข้อดีในการเคลื่อนย้าย รวมไปถึงสามารถพับเก็บได้ง่ายทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการเก็บรักษา
5. มีโปรแกรมที่พัฒนามาให้ใช้งานร่วมกันได้เป็นอย่างดี คือ OneLap ซึ่งสามารถให้ความสนุก และโปรแกรมการฝึกฝนไปด้วย ที่สำคัญ OneLap คือ”ของฟรี”
6. ข้อสุดท้ายนี่ สำคัญมาก เพราะตัวแทนนำเข้ามีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือ ดูแล และช่วยแก้ปัญหา


ข้อด้อย
1. ไม่มีตัวปรับระดับความสูงในเวลาที่ต้องวางบนพื้นต่างระดับ แต่ก็ยังดีที่ในส่วนที่เป็นข้อพับ สามารถให้ตัวได้นิดหนึ่ง จึงทำให้สามารถปรับตัวให้พอดีกับพื้นที่ไม่ราบเรียบนักได้ ยกเว้นแต่ในกรณีที่พื้นมีความต่างระดับกันมากๆ ก็อาจจะต้องหาวัสดุแข็งๆมาช่วยหนุนเพื่อปรับระดับบ้าง
2. ภาษาในโปรแกรมต่างๆ บางครั้งยังไม่ได้ถูกพัฒนาให้เป็นภาษาอังกฤษไปทุกส่วน เพียงแต่ไม่ถึงกับจะไม่เข้าใจไปเสียเลยทีเดียว เพราะอย่างน้อย”วุ้นแปลภาษา” อย่าง google translate ก็ยังพอช่วยเหลือได้บ้าง
3. ค่า power ที่วัดได้จากตัวของมันเอง ยังมีความแตกต่างจากค่าที่ได้โดยใช้ power meter มาตรฐานที่ติดตั้งบนจักรยาน เท่าที่เปรียบเทียบดู กับ Power2Max type S , Garmin Vector2 ( ทั้ง 2 ตัว วัดวัตต์รวม ไม่ได้วัดจากขาข้างใดข้างหนึ่ง แล้วมาคูณ 2 จึงตัดประเด็นเรื่องขาซ้าย:ขาขวาไม่เท่ากับ 50:50 ออกไป ) ประเด็นหนึ่งก็น่าจะมาจาก algorithm ในการวัด แปลผล และคำนวณของ Gravat อาจจะมีวิธีการที่จำเพาะแตกต่างออกไป ดังนั้นหากผู้ใช้ไม่มี power meter มาก่อน ก็คงไม่ใช่ปัญหา เพราะสามารถยึดถือค่า power ที่วัดได้โดยตรงจาก Gravat แต่ถ้ามี power meter อยู่แล้ว ก็ให้ถือเอาค่า power จาก power meter ที่ใช้เอง โดยยังสามารถอิงความสามารถในการเป็น smart trainer ของ Gravat ได้เช่นกัน


สนใจตัวจริง ก็แวะไปดูในงานที่เมืองทองในช่วงท้ายสัปดาห์นี้ได้เลยนะครับ

http://www.magene.cn/moreSRC/gravatmoreEN.html
แก้ไขล่าสุดโดย lucifer เมื่อ 14 พ.ย. 2017, 16:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
arty118
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 210
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ต.ค. 2014, 13:28

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย arty118 »

ค่าวัตต์เพี้ยนจาก power meter ที่ติดกับ จกย เยอะมั้ยครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

arty118 เขียน:ค่าวัตต์เพี้ยนจาก power meter ที่ติดกับ จกย เยอะมั้ยครับ
ตัวที่ทดสอบใช้งานดู เหมือนจะวัดได้น้อยกว่าประมาณ 10+ watt ครับ เพี้ยนมากกว่า Wahoo KickR นิดหนึ่ง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
arty118
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 210
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ต.ค. 2014, 13:28

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย arty118 »

lucifer เขียน:
arty118 เขียน:ค่าวัตต์เพี้ยนจาก power meter ที่ติดกับ จกย เยอะมั้ยครับ
ตัวที่ทดสอบใช้งานดู เหมือนจะวัดได้น้อยกว่าประมาณ 10+ watt ครับ เพี้ยนมากกว่า Wahoo KickR นิดหนึ่ง
คาลิเบรทแล้วก็ยังต่างกันอยู่ใช่มั้ยครับ
แล้วฟีลลิ่งเวลาปั่นโหมดธรรมดาเป็นไงมั่งครับ ตอนนี้กะลังมองๆเทรนเนอร์แบบ direct drive อยู่ครับ
ที่ราคาไกล้ๆกันก็มี Gravat กะ Tacx Flux นี่ละครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

คือ ทั้ง wahoo และ Gravat นี่ สั่งทำ Spin test calibration แล้วก็ยังไม่ตรงกับ power meter ของจักรยาน เพราะ algorithm มันไม่เหมือนกัน แต่ได้ข่าวว่า model หลังๆ ปรับปรุงให้ใกล้เคียงกับ power meter ที่ใช้บนจักรยานแล้ว ตัวที่ผมเอามาใช้อยู่หลายเดือนนี่เป็นรุ่นแรกสุดเลยครับ

แต่ถ้าปั่นด้วย mode ERG บน Trainerroad แล้วสมูทมากครับ มันทำงานเร็วกว่า Wahoo KickR ที่เคยใช้อยู่อย่างรู้สึกได้เลย

ฟิลลิ่งในเวลาปั่นmodeธรรมดาก็เหมือนกับปั่นเทรนเนอร์ที่ใช้ Eddy current brake ครับ ยิ่งเร็วก็ยิ่งหนัก

ไปทดลองกับตัวจริงที่งานเมืองทองก่อนก็ดีครับ ถูกใจหรือไม่ค่อยว่ากัน
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
visual3dmax
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1356
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ส.ค. 2014, 11:44

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย visual3dmax »

ใช้อยู่เลยครับ คุ้มราคามาก ที่ซื้อเพราะ ตัวแทน บริการดีมาก ประทับใจ กับขาวัต 4iiii
แต่ 10 full gas 10s 30s ปรับหนืดไม่ทัน ผมต้องปลด egr ออก แต่ ถ้าเฟิมแว ใหม่ แก้ได้จะเยี่ยมมาก
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย lucifer »

visual3dmax เขียน:ใช้อยู่เลยครับ คุ้มราคามาก ที่ซื้อเพราะ ตัวแทน บริการดีมาก ประทับใจ กับขาวัต 4iiii
แต่ 10 full gas 10s 30s ปรับหนืดไม่ทัน ผมต้องปลด egr ออก แต่ ถ้าเฟิมแว ใหม่ แก้ได้จะเยี่ยมมาก
ลองเช็ค FW ใหม่แล้วยังครับ แต่เรื่องปรัดหนืดไม่ทันใน 10sec นี่ wahooก็ไม่ได้เก่งกว่าครับ ต้อง computrainer ที่ใช้ CPU ต่างหากมาคุมแหละครับ ถึงจะไวทันได้
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
Auum Jakkaphan
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2017, 21:42
ติดต่อ:

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย Auum Jakkaphan »

https://m.pantip.com/topic/36912061?

อันนี้ผมเคยทำ test ไว้กับ การ์มินครับ
น่าจะพอช่วยขยายความด้านการใช้งานได้ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
OA6789
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 27
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 มิ.ย. 2016, 13:32
Tel: 085-9999-XXX
team: เมียสั่งปั่น
Bike: Java

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย OA6789 »

ขอบคุณนะครับ กำลังสนใจตัวนี้อยู่พอดีครับ
:D ปั่นเพื่อสุขภาพ ปั่นเรื่อยๆ ตามแรงที่มี ไม่ได้แข่งกับใคร :D
รูปประจำตัวสมาชิก
thusiri
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ส.ค. 2008, 21:19
Bike: MERIDA slick rock,C'Dale Rush 400

Re: GRAVAT Trainer review

โพสต์ โดย thusiri »

ราคา เท่าไหร่ครับ (ค้นหาไม่เจอเลย)...ใครเป็นตัวเเทนจำหน่ายครับ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”