หน้า 1 จากทั้งหมด 2

กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 13 ก.ย. 2016, 17:34
โดย giro
กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน
รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?



ในการปั่นจักรยาน ต่อให้ไม่รู้อะไรมาก่อนเลย คนที่เพิ่งหันมาสนใจการปั่นจักรยานก็คงเดาได้ไม่ยากว่า สิ่งที่ต้องใช้ออกแรงมากที่สุดก็คงเป็นขาของเรานั่นเอง แต่เมื่อมองลึกลงไปถึงระดับการออกแรงอย่างละเอียด แม้แต่คนที่ปั่นจักรยานมาอย่างยาวนานเองน้อยคนที่จะรู้ว่า แล้วกล้ามเนื้อของเราในแต่ละส่วน ออกแรงอย่างไรบ้างเพื่อให้จักรยานเคลื่อนที่ไปได้อย่างที่ใจต้องการ ซึ่งสิ่งเหล่านาี้ อาจเป็นกุญแจไขกล่องลับในการแก้ปัญหาของการปั่นแต่ละท่านได้ แต่ก่อนที่จะไปถึงการแก้ปัญหา เราคงต้องมาทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อขาของเราก่อนว่าโดยรวมๆแล้ว มันเป็นอย่างไร
รูปภาพ
ผมคงไม่พาทุกท่านไปคุ้ยกันถึงขั้นผ่ากล้ามเนื้อขา ดูกันทีละกลีบไปเลยว่ามีชื่ออะไรบ้าง เพราะเชื่อว่า คงไม่ได้นำไปคิดกันถึงขั้นนั้น แต่เบื้องต้น อยากให้ทราบกันวว่า ในการออกแรงปั่นจักรยาน กล้ามเนื้อขาของเราต้องทำงานประสานกันทุกๆส่วน แตกต่างกันออกไปในมุมต่างๆของวงรอบที่ปั่น และเทคนิคการออกแรงที่ใช้ ซึ่งกล้ามเนื้อแต่ละส่วนก็สร้างกำลังและทำงานได้โดยมีขีดจำกัดแตกต่างกันด้วย ถ้าอธิบายกันง่ายๆ กล้ามเนื้อแต่ละมัด ทั้งใหญ่และเล็ก มีหน้าที่รับผิดชอบในช่วงระยะของการขยับร่างกายที่แตกต่างกันไป ช่วงไหน มุมไหน แบบไหน ของใคร ของมัน มากน้อยแตกต่างกันไปตามกลไกของร่างกายที่ธรรมชาติได้สรรสร้างมา



รูปภาพ
ร่างกายเราขยับได้ด้วยกล้ามเนื้อ ที่ยืดและหด ตามข้อต่อต่างๆ ที่ยึดักันเอาไว้ด้วยเส้นเอ็น เมื่อกล้ามเนื้อกลุ่มหนึ่งหดตัว อีกกลุ่มก็ยืดตัวออก ทำงานสอดคล้องกันไปเรื่อยๆ ซึ่งการยืดและหดนี้เองที่ร่วมกันสร้างจนเกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในมุมของการปั่นจักรยาน การวนขาไปรอบๆบันไดนั้น ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน ออกแรงต้านกับแรงต่างๆเพื่อผลักดันให้จักรยานของเราพุ่งทะยานไปอย่างที่ใจต้องการ ใน 1 รอบวง กล้ามเนื้อทั้งหลายทำงานสอดประสานกันอย่างซับซ้อน ซึ่งการขยับ(ยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อ) เหล่านี้ ตจ้องการพลังงานที่จะทำให้กล้ามเนื้อทั้งหลายยืดและหดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นระบบพลังงานแบบไหนก็ตาม แต่หากพลังงานหมด หรือเกิดสารอื่นๆเข้ามาตกค้างมาก (หรือเกิดความไม่สมดุลย์ของแร่ธาตุตัวช่วยให้กระบวนการต่างๆไปได้อย่างราบลื่น) กล้ามเนื้อก็จะหมดสภาพการยืดหดตัว หดเกร็งแต่ไม่สามารถคลายตัวออกได้ ซึ่งเข้าใจกันง่ายๆแบบเหมาๆว่า "ตะคริว" นั่นเอง
รูปภาพ
ยิ่งกว่านั้น ควาามซับซ้อนยังคงมีต่อไปเมื่อกล้ามเนื้อที่ทำงานแตกต่างกัน มีขนาด ความแข็งแรง ความทนทานแตกต่างกันออกไป ดังนั้น ใน 1 รอบวงการปั่น กล้ามเนื้อแต่ละส่วนจะสร้างกำลังและออกแรงแตกต่างกัน (ขึ้นอยู่กับการเซ็ทอัพรถที่ระยะต่างๆด้วยนะครับ) ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานชิ้นใดชิ้นหนึ่งหนักจนเกินไป หรืออาการล้าสะสมของการทำงานเป็นระยะเวลานาน การออกแรงที่ไม่เหมาะสม ก็กลายเป็นเหตุสำคัญที่คาดไม่ถึงของอาการตะคริว ซึ่งแม้จะป้องกันอย่างไรก็ตาม สุดท้ายหากใช้แรงและกล้ามเนื้อไม่เหมาะสม ก็เลี่ยงไม่ได้อยู่ดีนั่นเอง


รูปภาพ
กล้ามเนื้อของเราทำงานได้อย่างไร?
เส้นใยเล็กๆในกล้ามเนื้อนับพันรวมตัวกันเป็นเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ซึ่งเส้นใยเหล่านี้ได้รับสัญญาณจากสมองสั่งการให้ก่อให้เกิดการขยับตัว ซึ่งในจักรยานมีกล้ามเนื้อหลักๆที่ถูกใช้งานได้แก่ quadriceps และ hamstrings ที่ขาช่วงบน กับ gastrocnemius และ soleus ที่ขาช่วงล่าง กล้ามเนื้อเหล่านี้ทำงานตามลำดับสอดคล้องกันเพื่อสร้างให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบเป็นวงกลมของขา (ลักษณะการปั่นจักรยาน)

อะแนโรบิค VS แอโรบิค
เมื่อสมองสั่งการมาที่กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อก็ใช้พลังงานที่เกรียกกันว่า ATP เป็นแหล่งพลังงานในการสร้างให้เกิดการขยับส่วนนั้นๆ ซึ่งหากนำเอา ATP ที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อออกมาใช้โดยทันที ก็จะหมายถึงระบบการทำงานแบบอะแนโรบิค สามารถใช้พลังงานในกล้ามเนื้อได้เร็ว เร่งด่วน แต่มีจำนวนจำกัด เพราะกล้ามเนื้อต้องดึงเอาพลังงานสะสมในตัวเองออกมา จะมากจะน้อยก็อยู่ที่ขนาดและความสามารถในการสะสมของกล้ามเนื้อนั้นๆ หากการออกแรงนั้นยังคงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายก็ต้องการระบบพลังงานแบบอื่นๆที่ทำงานได้ต่อเนื่องยาวๆมาใช้แทน ซึ่งสามารถป้อนพลังงานได้เรื่อยๆ รองรับการทำงานได้ทั้งระดับกลางและต่ำ เพราะมีกระบวนการในการสังเคราะห์เป็นพลังงานมากกว่า เช่นสัดส่วนของการใช้ไขมันในช่วงระดับความหนักต่ำ ที่ให้พลังงานต่อเนื่องได้เยอะ เป็นเวลานานแต่ใช้เวลานานกว่าจะได้มา หรือระบบการทำงานด้วยคาร์โบไฮเดรต และระบบพลังงานแบบ ไกลดคไลซิส ที่ดึงพลังงานสะสมในรูปแบบไกลโคเจนออกมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน สามารถส่งพลังงานได้มาก และต่อเนื่องกันเป็นเวลาหนึ่ง รวดเร็ว แต่มีจำนวนจำกัดเช่นกัน
รูปภาพ
นอกจากพลังงานที่ไม่เพียงพอ ปัจจัยอีกหนึ่งประการที่ขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อคือกรดแล็คติคที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์พลังงาน หากกระแล็คติคมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากการทำงานที่หนักหน่วง ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ แม้ว่าพลังงานจะถูกเติมกลับไปอย่างสม่ำเสมอก็ตาม ร่างกายก็ต้องการหยุดพักและเลิกการทำงานนั้นๆ ดังนั้น หากกรดแล็ติคเยอะถึงระดับหนึ่งแล้วส กล้ามเนื้อก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ เกิดอาการหดเกร็ง (ตะคริว) นั่นเอง คล้ายๆกับการเปรียบเทียบได้ว่ากรดแล็คติคเป็นสารที่ร่างกายผลิตออกมา (เป็นผลจากกระบวนการพลังงาน) ป้องกันไม่ให้เราต้องทำงานหนักจนเกินขีดความสามารถ (หากลดระดับความหนักลง ร่างกายสามารถเปลี่ยนเอากรดแล็คติคแปลงกลับมาเป็นพลังงานได้ใหม่)

สรุปง่ายๆกันตรงนี้ว่า ร่างกายเรา มีทั้ง พระเอก และขวากหนาม ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับการทำงานของกล้ามเนื้อ ในเมื่อพลังงานต่างๆเป็นดั่งแหล่งกำลังสนับสนุนแบบต่างๆที่ี่พ่อพระเอกของเราใช้ กรดแล็คติคก็เป็นคล้ายหนึ่งในขวากหนามที่ร่างกายสร้างมาอย่างช่วยไม่ได้ (และอย่าลืมขวากหนามที่ตัวเราเองสร้างโดยรู็เท่าไม่ถึงการ เช่นการขาดน้ำ ขาดสารอาหาร แร่ธาติ หรือแม้แต่การเซ็ทรถไม่เอื้อต่อการออกแรง)
รูปภาพ
แล้วเราจะใช้มันอย่างมีประสิทธิภาพ
ได้อย่างไร?

กีฬาทุกๆชนิด มีกลุ่มกล้ามเนื้อหลักที่ถูกใช้ในกีฬานั้นๆแตกต่างกันออกไป จากรูปแบบการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่เหมือนกันของกลุ่มกีฬาแต่ละชนิด การพัฒนากายภาพพื้นฐานของกีฬาต่างๆก็คือการพัฒนาและใช้งานกล้ามเนื้อเหล่านั้นให้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะด้านระบบพลังงาน ความแข็งแรง ความทนทาน ความยืดหยุ่น และกระบวนการในการฟื้นฟู แต่ก่อนที่จะไปลงลึกระดับการพัฒนาเชิงกีฬาเพื่อความเป็นเลิศขนาดนั้น ลองมาดูในระดับกีฬาเพื่อความเป็น"เริ่ด" ของเราๆง่ายๆกันครับ

กำเนิดการออกแรงแห่งพลัง
สำหรับท่าปั่นจักรยานเสือหมอบโดยมาตรฐานแล้ว แรงกำเนิดของกำลังขับเคลื่อนส่วนใหญ่เกิดที่ระหว่างช่วง 12 นาฬิกา ถึง 5 นาฬิกา ของวงรอบการปั่น เป็นช่วงที่กลุ่มกล้ามเนื้อพื้นฐานทำงานมากที่สุด ไล่ลงมาตั้งแต่กล้ามเนื้อช่วงสะโพก ที่คลายตัวออกจากอีกกลุ่มกล้ามเนื้อทางด้านหลัง กำเนิดการเคลื่อนที่จากขาที่งอยกขึ้นให้ยืดคลายออก รวมกับกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยืดเข่าที่กำลังงอให้ค่อยๆกางทำมุมกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแหล่งกำเนิด"พลัง" ในการขับเคลื่อนวงรอบการปั่นในช่วงนี้

ช่วงระหว่าง 6 นาฬิกา กลับมาถึง 12 นาฬิกา มีกล้ามเนื้อขาอีกหลายๆส่วนช่วยกันพาให้ลูกบันไดวนกลับขึ้นมาที่เดิมก่อนจะเริ่มวนรอบใหม่อีกครั้ง แต่การออกแรงเหล่านั้นถือเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับแรงกระทำในขาลงจากขาจานอีกหนึ่งข้าง(ฝั่งตรงข้าม) ที่ก่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้ามากกว่า การออกแรงช่วยพาเอาลูกบันไดวนกลับขึ้นไปใหม่ถือเป็นกำไรเล็กน้อยที่ช่วยให้วงรอบการออกแรงสมบูรณ์ได้ กำเนิดพลังมาจากกล้ามเนื้อขาด้านหลัง รวมถึงถึงกลุ่มกล้ามเนื้อหลงช่วงล่างและบั้นท้าย ที่ออกแรงได้มากกว่า
รูปภาพ
แนวคิดเดิมของการออกแรงในการปั่นจักรยานคือการออกแรงวงรอบให้ "เป็นวงกลม" ที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทว่าในระยะหลัง วิทยาศาสตร์การกีฬาได้เปลี่ยนแนวคิดใหม่ เพราะพบว่า (โดยเฉพาะในนักปั่นสมัครเล่น) เมื่อนักจักรยานพยายามออกแรงวงรอบการปั่นให้เป็นวงกลม หมายถึง นักจักรยานกำลังพยายามลดแรงกระทำในช่วง 12 นาฬิกาถึง 5 นาฬิกาลง เพื่อให้สมดุลย์กับช่วงหลังของวงการปั่น และในท้ายที่สุด นักจักรยานจะขาดแรงบิดตลอดรอบวงที่มากพอที่จะออกแรงให้จักรยานไปได้ด้วยความเร็วตามที่ต้องการ เมื่อต้องการเพิ่มความเร็ว ก็จะเพิ่มการออกแรงทั้งรอบวง

ทีนี้ผลเสียก็จะตามมาทันที เพราะกล้ามเนื้อเล็กๆหลายๆส่วนที่ทำหน้าที่ประสานกันในวงรอบการปั่นหลัง กำเนิดแรงได้น้อยในองศาออกแรงท่าปั่นจักรยาน และล้าตัวได้เร็วกว่ามาก การพยายามออกแรงเพิ่มจนมากเกินไป ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไป ก็จะทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนักจนทนไม่ไหวและหมดสภาพในการออกแรงไปในที่สุด ในภาคปฏิบัติ เมื่อนักปั่นคนนั้นๆ รู้ตัวว่ากำลังจะเป็นตะคริวขาช่วงหลังที่ใช้วนรอบการปั่นกลับขึ้นมา สามัญสำนึกพื้นฐานก็คือพยายามออกแรงช่วงวงรอบช่วงแรกเพิ่มทดแทน และในท้ายที่สุด การออกแรงที่เกินกำลังนั้นๆ ก็จะกลายเป็นสะเหตุหนึ่งของภาวะ "ะคริว" ที่มาถึงได้แม้ว่าจะผ่านการฝึกซ้อมมาอย่างมากมาย
รูปภาพ
อย่าลืมนะครับว่าการฝึกซ้อม อาจผ่านทั้งความแข็งแรงและความทนทานมามาก แต่ทั้งหมด ล้วนผ่านมาบนแนวคิดของวงรอบการปั่นที่กลมสมบูรณ์ (ลดแรงกระทำช่วงแรก) เมื่อต้องเน้นออกแรงมากๆ ถึงไม่อธิบายก็รู็ว่ามันคือการกำลังฝืนทำในสิ่งที่ไม่เคยฝึกหัดมาก่อนนั่นเอง

ดังนั้นในยุคโมเดิร์นนี้ การออกแรงที่สมบูรณ์แบบหมายถึง การออกแรงที่ได้สัดส่วนของแรงช่วงแรกและช่วงหลังสอดคล้องกับสภาพร่างกายของผู้ปั่น บางคนอาจมีแรงกดมาก ก็ใช้แรงกดเป็นหลัก ใช้แรงช่วงหลังเป็นรอง ซึ่งการจะหาจุดสมดุลย์นี้ได้ต้องมีผู้เขี่ยวชาญคอยช่วยประเมิน อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งแปลว่าสมัยใหม่นี้ไม่เน้น"วน" บันไดแล้วนะครับ ... ไม่ได้หมายถึงให้ออกมาย่ำกดกันอย่างเดียวแน่นอน


การช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ
ในเมื่อทุกอย่างก็ไปได้ด้วยดีแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้สมดังใจ ก็คงต้องมามองหาตัวช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อกันบ้างล่ะครับ เริ่มตั้งแต่ ตัวสเราเอง ไปจนอุปกรณ์บางอย่างที่อาจช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ต่อเนื่องดีมากขึ้น หรือช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานหนักต่อเนื่องกันได้
รูปภาพ
การสร้างความแข็งแรง
พวกเวทเทรินนิ่ง หรือท่าบริหารแบบต่างๆ เพิ่มความแข็งแรงเฉพาะส่วนได้เร็วกว่าการพยายามสร้างบนจักรยานมากนัก โดยเฉพาะส่วนที่เฉพาะเจาะจงมากๆ ซึ่งโดยรวมจะประหยัดเวลามากกว่า เพราะการเน้นการสร้างความแข็งแรงในกล้ามเนื้อเฉพาะที่ จะไม่เกิดความล้าในกล้ามเนื้ออื่นๆที่เกี่ยวเนื่อง เราจึงสามารถเล่นความแข็งแรงของทุกชิ้นส่วนได้ในเวลาที่เหมาะสมของแต่ละส่วน
รูปภาพ
ความเร็ว
ความเร็ว(ความถี่) ของรอบวงการปั่นมีความสำคัญต่อการออกแรง เพราะรอบการปั่นที่มากขึ้น หมายถึงระยะเวลาในการเกิดโหลดและแรงบิดต่อหนึ่งจุดจะสั้นลง โดยเฉพาะในกล้ามเนื้อมัดเล็กๆที่ล้าได้ง่ายหากต้องแบกรับแรงบิดเอาไว้นานๆ อย่างไรก็ตาม การฝึกเพื่อพัฒนาความเร็วของขา เป็นกระบวนการที่ต้องค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลาสร้างทักษะนี้ขึ้นมา และรอบขาที่เร็วเหมาะสมของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ไม่ได้แปลว่ายิ่งเร็วยิ่งดีกว่า
รูปภาพ
การยืดกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อที่ผ่านการยืดเหยียดก่อนการออกกำลังกาย และทำอย่างสม่ำเสมอ จะมีความสามารถในการออกแรงยืดสุดและหดที่สุดดีกว่า หากทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ กล้ามเนื้อส่วนต่างๆที่ผ่านการฝึกก็จะมีศักยภาพในการยืดและหดตัวมากที่สุดมากกว่ากล้ามเนื้อที่ไม่เคยฝึกความยืดหยุ่นมาก่อน นอกจากสร้างกำลังได้มากกว่า ยังลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบาดเจ็บอีกด้วย
รูปภาพ
สารอาหาร และน้ำดื่มที่เพียงพอ
อย่างที่อธิบายไปข้างต้นแล้วครับ ถึงแม้เราจะเตรียมและฝึกทุกอย่างมาอย่างดีแค่ไหน หากการเติมพลังงานและน้ำไม่สอดคล้องกับระบบพลังงานก็ไปจบลงที่การทำงานที่ล้มเหลวอยู่ดี พลังงานแต่ละช่วง มีกระบวนการแตกต่างกัน การเลือกบริโภคไม่ว่าจะเป็นพลังงาน หรือแร่ธาตุอย่างเหมาะสม ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะน้ำดื่ม เชื่อหรือไม่! ขาแรง นักแข่งบางคน ร่างกายทนทรมานกับการฝืกด้วยน้ำดื่มที่ไม่พอเพียงมาจนไม่เกิดการพัฒนา สังเกตุง่ายๆว่าหลังปั่น เราๆปวดปัสสาวะกันหรือไม่ หากปวดแล้วถ่ายออกมาใสปกติ นั่นถือว่าดีต่อสุขภาพและการพัฒนา หากปั่นเสร็จไม่เคยปวด หรือถ่ายออกมาสีเข้ม จงเรียนรู็เอาไว้ว่า แม้ร่างท่านจะข่มทนได้ แต่นั่นคือการทำลายสุขภาพของท่านมากกว่าการออกกำลังกายที่ดี อดทน กับ ฝืนทน ต่างกันเพียงเส้นบางๆ ที่หากไม่รู็ ก็จะก้าวข้ามไปได้
รูปภาพ
ตัวช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ
มีอุปกรณ์หลายๆอย่างที่ถูกออกแบบมาให้ช่วยกล้ามเนื้อในการยืดและหดตัวได้ขณะออกกำลังกาย แนวคิดก็คือการใช้เส้นใยพิเศษมีช่วยให้การยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อแต่ละมัดทำได้ง่ายมากขึ้น เหมือนช่วยเสริมแรงการขยับได้ ในระยะยาวๆ เช่นบนระยะทางยาวๆ อุปกรณ์การแต่างกายเหล่านี้ ช่วยรักษาถนอมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ตลอดระยะเวลาการออกกำลังกาย
รูปภาพ
การดูแลรักษาฟื้นฟูที่เหมาะสม
แม้ว่าภายหลังการปั่นจะไม่เกี่ยวกับคุณภาพของการปั่นในครั้งนั้น แต่มันเกี่ยวอย่างชัดเจนกับคุณภาพในการปั่นในครั้งต่อๆไป เพราะการออกกำลังกาย การฝึกซ้อม หรือการพัฒนาจักรยาน พูดในทางกลับกันมันก็คือการเอาร่างกายมาใช้งานให้หนักแล้วรักษาฟื้นฟูให้คืนสภาพ เพื่อให้กลับมาแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะสม การบำบัดด้วยกระบวนการต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ตัวช่วยที่เข้ามามีส่วนในการพยุง ซัพพอร์ทกล้ามเนื้อเอาไว้ ช่วยเร่งการหมุนเวียนของเสียในกล้ามเนื้อ ลดการคั่งของของเสียเหล่านั้น ทั้งหมดล้วนเป็นหัวใจในการพัฒนากล้ามเนื้อเพื่อวันต่อไปที่ดีขึ้น
รูปภาพ
ฟิตติ้งที่เหมาะสม
องศาที่เราต่าง แม้ต่างกันเพียงนิด แต่ด้วยร่างกายของแต่ละคนที่แตกต่างกัน พื้นฐานทางกายภาพที่ไม่เหมือนกัน จักรยานทุกคันของทุกคนจึงไม่เหมือนกัน ยิ่งกับนักจักรยานสมัครเล่นที่ร่างกายมีความแข็งแกร่ง ยืดหยุ่นคนละโลกกับนักปั่นอาชีพ องศา ระยะเบาะ การนั่ง ทุกๆอย่างที่ต่างกันเพียงไม่กี่มิลลิเมตร ส่งผลกับการใช้กล้ามเนื้อที่เป็นสัดส่วนแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งในท้ายที่สุด ก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญของอาการบาดเจ็บหรือความล้มเหลวของระบบการทำงานของร่างกาย มีนักปั่นไม่น้อยที่แก้ปัญหาอย่างไรก็ไม่จบเสียที จนสุดท้าย ปัญหามาจบที่การเซ็ทรถใหม่ ก็ไม่เคยเกิดอาการต่างๆขึ้นอีกเลย


เรียบเรียงจาก
Trainingpeak, Bicycling, Roadbke Action และ และเนื้อหาบรรยาย โดย Chris Carmicharl[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 017518.jpg[/homeimg]

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 15 ก.ย. 2016, 06:37
โดย noom_youngzone
ขอบคุณครับ เนื้อหาเป็นประโยขน์มาก

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 15 ก.ย. 2016, 06:58
โดย gungyman
มีประโยชน์มากขอบคุณครับ

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 15 ก.ย. 2016, 07:58
โดย สนอง สุพรรณ1
ขอบคุณครับ

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 15 ก.ย. 2016, 09:08
โดย visual3dmax
สาระครบครัน เยี่ยมครับ :mrgreen: :P

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 15 ก.ย. 2016, 09:30
โดย krissada
เยี่ยมครับ ติดตามอ่านตลอด

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 15 ก.ย. 2016, 10:00
โดย ลิงกังปั่นหมอบ
คิดอึกที ผมขอแก้ดีกว่า

ไม่ใช่ประเด็นของกระทู้

ว่าแต่ พี่ giro นำสาระดี ๆ มาให้อ่านกันอีกแล้ว ขอบคุณครับ

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 15 ก.ย. 2016, 18:07
โดย bouum2
ข้อมูลแน่นมากๆครับ

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 17 ก.ย. 2016, 10:45
โดย ANUCHID
ขอบพระคุณ มากๆๆครับสำหรับข้อมูลดีๆๆ ติดตามอ่านตลอด ครับ

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 17 ก.ย. 2016, 16:16
โดย simpleBE
อ่านไม่ค่อยรู้เรื่องเลยครับ ดูภาพประกอบแล้วเสียสมาธิมากๆ 555

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 19 ก.ย. 2016, 11:29
โดย NRnanofiber
อนุญาตแนะนำสินค้านะครับ วันนี้มีสินค้าแบรนด์ NRnanofiber มาแนะนำครับ

วันนี้มีกางเกง Compression ที่จะช่วยในเรื่อง ลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เข่า และ การเป็นตะคริว!!
มานำเสนอ


กางเกง พยุงเข่าและสะโพกนาโนไฟเบอร์ รุ่นคลาสสิค

ทำจากเส้นใยพิเศษใช้เทคโนโลยีจากประเทศเบลเยียม ด้วยหลักการโซนคอมเพลชชั่น ถักทอตามลายกล้ามเนื้อ (Body mapping) กางเกงจะล็อคข้อต่อกล้ามเนื้อเฉพาะจุด ซึ่งต่างจากคอมเพลชชั่นทั่วไป คือ ทำให้รู้สึกใส่สบาย ดูเพรียว เหมือนเป็นผิวหนังชั้นที่สอง ขณะเดียวกันป้องกันผู้ใส่จากอาการบาดเจ็บ หรือ ผู้ใส่ที่มีอาการบาดเจ็บอยู่แล้วในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน

คุณสมบัติพิเศษ ของ กางเกงCompression

-พยุงเข่าและข้อต่อสะโพก ป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและตะคริวเวลาออกกำลังกาย

-กระชับเฉพาะจุด แล้วรู้สึกใส่เหมือนไม่ได้ใส่และไม่อึดอัด เหมือนเป็นผิวชั้นที่สอง ใส่ข้างนอกหรือข้างในก็ได้ไม่ร้อน

-ใส่แล้วกระชับเข้ารูปร่าง ไม่เห็นไขมันเด้งย้วย

- ลดอาการเส้นเลือดขอด ปวดน่อง และ ออฟฟิศซินโดรม

-ไม่ดูดซึมน้ำซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นและเชื้อราที่สำคัญคุณสมบัตินี้ติดอยู่ในเส้นด้ายไม่ได้เกิดจากการเคลือบสาร จึงเป็นคุณสมบัติถาวรไม่ว่าจะซักกี่ครั้งก็ตาม

-เจลรองนั่งนาโนไฟเบอร์ หนากว่าเจลรองปกติ 1 เท่า วัสดุทำจากเจลนาโน เจลนาโนมีคุณสมบัติอุณหภูมิที่ต่ำกว่า เจลจะร้อนช้ากว่าเจลปกติ ทำให้ผู้ใส่รู้สึกสบายไม่ร้อน!

* สินค้ารับประกันคุณภาพ ยินดีคืนเงิน


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสั่งซื้อได้ที่
http://www.nrnanofiber.com
Facebook : NRnanofibersports
Line : nanofiberbikepant
IG : nr_nanofiber
Tel : 096-567-7478

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 23 ก.ย. 2016, 22:06
โดย หมู..พุทธมณฑล..
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับผม

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 24 ก.ย. 2016, 19:36
โดย foresthang
ขอบคุณครับ

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 25 ก.ย. 2016, 21:32
โดย Ekarin@3brosbikes
น่าสนใจครับ

Re: กล้ามเนื้อขา กับการปั่นจักรยาน รู้หรือไม่ว่าเราออกแรงอย่างไร?

โพสต์: 29 ก.ย. 2016, 11:58
โดย RooBix
ขอบคุณครับ