ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย giro »

ปัญหาหัวใจ
รูปภาพ


คราวนี้ไม่ใช่เรื่องราวของหัวใจอันอ้างว้าง หรือความโสดสนิทเอาเศร้าหมองของนางแบบสาวนะครับ เรื่องนั้นไปแก้ไขด้วยตัวเอง แต่ที่ต้องจับมาทดลองกันหน่อยเพราะเป็นปัญหาที่หลายๆคนสนใจกันมาก และเกี่ยวข้องกับการปั่นจักรยานโดยตรงเลย เมื่อเราใช้"ชีพจร" เป็นตัวบ่งบอกทั้งการตอบสนองและเป็นเครื่องชี้วัดการปั่นและพัฒนาการโดยรวมของการปั่นจักรยาน ซึ่งหนึ่งในปัญหาหลักที่พบกันบ่อยมากที่สุดคือ "หัวใจสุง" หรือว่ากันตามหลักการก็หมายถึง "อัตราการเต้นของหัวใจสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น" ซึ่งมีสาเหตุเป็นไปได้มากมายตั้งแต่ปัญหาด้าน"กรรม" หรือตัวของผู้ปั่นเองมีกายภาพเช่นนั้นไปจนปัญหาโลกแตกซึ่งก็คือ "ความแน่นอนของฮาร์ทเรทโมนิเตอร์" หรือว่ากันอีกอย่างก็คือ เครื่องมือวัดที่มีความคลาดเคลื่อนได้นั่นเอง
รูปภาพ
หนูทดลองในกรณีนี้คือ "น้องมิณมิณ" สมาชิกในทีม Bike And Body Cycling ที่มีขนาดสารร่างที่จิ๋วที่สุด หรือถูกเรียกกันติดปากว่า"สเมิร์ฟ" ความสูงที่แทบจะคร่อมจักรยานไม่ได้ น้ำหนักตัวไม่เกิน 45 กก. ยังไม่นับขนาดเท้า เสื้อ และหมวก ที่แทบจะใส่ไซส์เล็กสุดของทุกยี่ห้อไม่ได้ด้วยซ้ำ ที่กลายเป็นบ่อเกิดของปัญหาหัวใจในครั้งนี้ต้องมาขุดคุ้ยกัน
รูปภาพ
ปัญหาที่พบ
ในการปั่นโดยทั่วไป บนทางราบปกติ ที่ระดับความหนักและความเร็วปกติของค่าเฉลี่ยของร่างกายสมาชิกในทีมโดยรวม ส่วนมากแล้วทุกคนจะมีหัวใจตอบสนองอยู่ในช่วงที่สมเหตุสมผล ยกตัวอย่างเช่น ที่ระดับความหนักของ Pace 2 หรือช่วงแอโรบิคทั่วไป สมาชิกโดยส่วนมากจะมีหัวใจเต้นอยู่ที่ 100-125 ครั้งต่อนาทีจากการติดตามเช็คทุกครั้งขณะปั่น แต่ "น้องมิณมิณ" จะมีหัวใจเด้งไปอยู่ที่ 160+ ให้ตกใจกันทันที และหากเร่งขึ้นไปเรื่อยๆ ในขณะที่คนอื่นกำลังเริ่มเหนื่อยกับหัวใจเต้นราวๆ 160 ครั้งต่อนาที น้องมิณมิณ จะมีหัวใจเต้นราวๆ 180 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป และยังสามารถยืนระยะนั้นต่อไปได้
ถามตอบกันได้สั้นๆ เป็นที่ฉงน สงสัยของทุกคนทั้งในทีมและนอกทีมที่อยู่รอบๆตัวเป็นอย่างยิ่ง
รูปภาพ
ดังนั้นในครั้งนี้มีโอกาสผมจึงนัดมาเพื่อทำการทดลองง่ายๆเพื่อขอดูการตอบสนองของหัวใจที่มีต่อความหนักในแต่ละช่วงอย่างจำเพาะเจาะจงสักนิด เพื่อตัดปัจจัยหลายๆอย่างออกไป กล่าวคือ หากหัวใจตอบสนองไล่มาต่อความหนักเป็นเหตุเป็นผลกันก็แปลว่าจริงๆแล้วหัวใจอาจไม่ได้มีปัญหาร้ายแรงหรือมีการตอบสนองแต่ละช่่วงผิดปกติ จะได้วางสมมุติฐานไปที่เรื่องอื่น หรือถ้าไปที่เรื่องอื่นแล้วยังแก้ไม่ได้ ขั้นต่อไปคงต้องเข้าแล็บทดสอบสมรรถภาพทางการกีฬากันจริงจังต่อไป



วิธีการทดสอบเบื้องต้น
รูปภาพ
เพื่อสังเกตุดูการตอบสนองของหัวใจในแต่ละช่วงความหนักในการออกแรงผมเลือกใช้วิธีระบุความหนักค่อยๆไล่ไปแต่ละช่วงขึ้นไปเรื่อยๆอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากนั้นปล่อยให้พักสักครู่แล้วเริ่มทำใหม่เพื่อดูเทร็นด์ในการตอบสนองเทียบกันและห่าค่าที่น่าจะไม่มีปัจจัยอื่นๆมาเกี่ยวข้องมากนัก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการระบุความหนักในครั้งนี้ก็คือ
-เทรนเนอร์ที่วัดวัตต์ได้ ใช้ BKOOL และซอฟท์แวร์ที่แสดงค่าวัตต์ได้ในระดับ +-5% ซึ่งเกินพอสำหรับระยะเวลาในการทดลองครั้งนี้ ทั้งยังเป็นอุปกรณ์เดิมที่เจ้าตัวใช้ในการทดสอบหาค่าวัตต์ส่วนตัว(FTP)อยู๋แล้วจึงไม่มีผลเรื่องความแตกต่างอย่างแน่นอน
-ฮาร์ทเรทโมนิเตอร์ เลือกใช้แบบพื้นฐานง่ายที่สุด สายคาดของการ์มินนั่นเอง แน่นอนครับว่ามันไม่ใช่ระบบที่แม่นยำที่สุดแต่ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือจริงๆของที่ใช้อยู่ ผมอยากเห็นว่ามีการกระโดดหรือค่าสวิงหรือไม่
มาดูรายละเอียดการทดสอบกันครับ
รูปภาพ
FTP ของผู้ทดสอบ 126 วัตต์
อัตราชีพจรสูงสุดที่วัดได้ 204 ครั้งต่อนาที
อัตราชีพจรขณะพัก 45 ครั้งต่อนาที
วอร์มอัพจนหัวใจขึ้นมาอยู๋ในช่วงพร้อมตอบสนอง (10 นาที)
ระดับความหนักเบา 50-70 วัตต์ หรือช่วงโซน 1 และคาบเกี่ยว (3 นาที)
ระดับความหนักแบบสบายๆ 65-85 วัตต์ หรือคาบเกี่ยวโซน 2 (3 นาที)
ระดับความหนักแบบปานกลาง 80-100 วัตต์ (3 นาที)
ระดับความหนักแบบเข้มข้น 95-115 (3 นาที)
ระดับความหนักช่วงเทรสโชลด์ 110-130 (3 นาที)
ระดับความหนักช่วงระดับสูง ตั้งแต่ 130 วัตต์ไล่ไปจนสูงสุดที่ทำได้ใน 3 นาที
พักให้หัใจลดลงมา ในช่วง 5 นาทีที่ความหนัก 30-40 วัตต์แล้วเริ่มใหม่อีกครั้ง

กราฟแสดงผลการทดสอบ
รูปภาพ
นี่คือ live record จากระบบที่บันทึกได้ ซึ่งค่าหัวใจสูงสุดที่บันทึกไว้คือ 199 ครั้งต่อนาที ที่ 309 วัตต์ แต่ถ้ามาจับแยกเป็นช่วงข้อมูลจะได้ดังนี้ครับ
ครั้งที่ 1
50-70w เฉลี่ย 135bpm
65-85w เฉลี่ย 143bpm
80-100w เฉลี่ย 142bpm
95-115w เฉลี่ย 157bpm
110-130w เฉลี่ย 161bpm
130-full gas เฉลี่ย 192bpm
ครั้งที่ 2
50-70w เฉลี่ย 149bpm
65-85w เฉลี่ย 156bpm
80-100w เฉลี่ย 168bpm
95-115w เฉลี่ย 171bpm
110-130w เฉลี่ย 174bpm
130-full gas เฉลี่ย 194bpm
รูปภาพ
นอกจากนั้นยังได้ทดลองดูการตอบสนองของความหนักของอัตราการเต้นหัวใจของน้องมิณมิณเทียบเป็นคะแนนความหนักตั้งแต่ 0-10 คะแนนเพื่อเช็คว่าหัวใจเท่าไหร่ รู็สึกอย่างไรบ้าง
รูปภาพ


การตีความจากผลการทดลอง
จากเดิมสมมุติฐานที่ผมต้องการศึกษาคือช่วงของการตอบสนองในแต่ละช่วงว่ามีอัตรากระโดดมากหรือน้อยอย่างไรบ้าง เพราะหากมีการกระโดดจะได้ไปเจาะที่ช่วงนั้นอีกที แต่จากที่ดูแล้วก็มีทิศทางของการตอบสนองไปในทางที่สอดคล้องกับการออกแรง ไม่ได้มีช่วงไหนที่กระโดดมากจนเกินไป อาจมีช่วงที่สวิงไปเนื่องจากเจ้าตัวขี่ไม่นิ่งเองแต่ก็เป็นปกติของช่วงระดับความหนักตั้งแต่ต้น Tempo จนถึง Sweetspot และช่วง Threshold ระยะแรก ที่หากไม่ซ้อมจนชินก็จะยากที่จะแยกแยะเกลี่ยความหนัก
รูปภาพ
ดังนั้นเราพอจะสรุปกันได้เลยว่าจริงๆแล้วการตอบสนองของอัตราชีพจรของน้องมิณมิณ ไม่ได้มีอะไรผิดปกติจากคนอื่นๆจนต้องไปตรวจเชิงลึกกับสถาบันการแพทย์ หากจะไปตรวจจริงๆน่าจะไปเน้นที่การตรวจทางสมรรถภาพการกีฬาไปเลย เพื่อดูการตอบสนองของเคมีในร่างกายของแต่ละช่วงด้วย


รูปภาพ
แล้วทำไมหัวใจจึงสูงมาก?
สมมุติฐานแรกที่ผมมีเอาไว้ก่อนจะมาทำการทดลองนี้คือ "ร่างกายที่เล็กจิ๋ว" ไม่ต่างจากเด็ก (แม้สีหน้าจะบ่งบอกอายุจริง) มีแรงออกได้น้อยนิดเหมือนเด็กไปด้วย เราไม่พูดถึงบนเขานะครับกรณีนี้ขอว่ากันที่ทางราบเป็นหลักก่อน เพราะบนทางราบแน่นอนว่ากฏฟิสิกส์พื้นฐานมวลน้อยใช้แรงน้อยในการขับเคลื่อนก็จริง แต่มวลน้อยก็มีโมเมนตัมน้อยไปด้วย และเมื่อถูกแรงกระทำใดๆก็ตามก็สูญเสียแรงเฉื่อยไปได้มากนักเอง ฟังดูยุ่งยาก ต้องมาแปลกันภาษาจักรยานหน่อยครับ

น้ำหนักตัวที่แสนจะน้อย (และจักรยานที่เบาหวิวๆ เฟรมไซส์สเมิร์ฟชั่งแล้วต่ำเจ็ดขีด) ใช้แรงไม่มากในการออกตัวและเร่งความเร็ว เฟรมสติฟไม่ได้ทอนกำลังส่งไปมากนัก ในทางกลับกันเมื่อโดนลมกรรโชกแรงเข้าใส่ไม่ว่าจะทิศไหนก็ตามก็ส่งผลกับความเร็วมากกว่าคนอื่นๆจนน่าตกใจ และนั่นกลายเป็นหนังชีวิตของเธอที่ปกติซ้อมกันอยู่ที่สกายเลน ที่มีลมแรงทุกฤดูกาล และเอาเข้าจริงบนทางราบ คนสองคนที่น้ำหนักตัวต่างกันมากๆหลายๆสิบกิโลกรัม แต่กลับใช้สัดส่วนกำลังวัตต์ขับเคลื่อนไม่ได้แตกต่างกันมากเท่ากับสมการทางตรงบนกระดาษเสมอไป ยกตัวอย่างง่ายๆนะครับ

ผมมีน้ำหนัก 60 กก. ใช้กำลังขับเคลื่อนไป 160 วัตต์ แต่ที่ 160 วัตต์นั้นเป็นโซน 3 ต้นๆของผมในขณะที่น้องมิณมิณต้องใช้พลัง 120 วัตต์ในการขับเคลื่อนซึ่งน่ันคือโซน 4 ของเธอ ก็ไม่แปลกที่ด้วยสถานการณ์นั้นๆ หัวใจผมจะเต้นราวๆ 150 ครั้งต่อนาทีและน้องเขาจะเต้น 170 ครั้งต่อนาที ยิ่งเมื่อลมกรรโชกมาแรง เธอยิ่งได้รับผลมันมากขึ้นและต้องออกแรงเติมเข้าไป"ล้น" มากขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้น นี่คือวาระกรรมที่เรียกว่า "กรรมของคนตัวเล็ก" ซึ่งทำให้ทุกครั้งที่ปั่นกับชาวบ้านชาวช่อง ต้องทนปั่นอยู่บนโซน 3.5-4 ขึ้นไปตลอดเวลา และมันก็ตอบสนองสอดคล้องออกมาที่ผลการปั่นด้วยจริงๆเพราะเธอสามารถทนปั่นกับคนอื่นๆได้ในระยะเวลาราวๆ 2-3 ชม. เป็นปกติ ซึ่งนั่นคือพิกัดมาตรฐานของการทนช่วงเวลานั้นไปนานๆ ร่างกายก็จะกรอบ ล้า มากๆ เผลอๆหม้อน้ำระเบิดไปก่อนจบด้วยซ้ำ

ผลเสียทางอ้อมที่ตามมาก็คือ แทบจะไม่สามารถซ้อม endurance หรือการปั่นแบบ low intensity/ high volume แปลง่ายๆคือปั่นเบาๆแต่นานได้เลย ถ้าปั่นคนเดียวก็ต้องทนกับความเร็วที่แสนจะน้อยนิด ประกอบกับช่วงโซนที่แสนจะแคบจากวัตต์ตั้งต้น(FTP)ที่ไม่สูงมากทำให้มีโอกาสปั่นจนล้นพ้นโซนได้ง่ายๆ แค่ลมกระแทกมาก็มีผลแล้ว ทั้งหมดนี้ส่งผลทางอ้อมให้น้องมิณมิณมีระบบความทนทานในช่วงต่ำที่ไม่ดี และมันยืนยันออกมาจากการทดลองที่ช่วงพัก 5 นาทีต่อให้ลดความหนักลงไปขนาดนั้นก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ และเมื่อเริ่มรอบที่สอง หัวใจจึงสูงกว่ารอบแรกในเกือบจะทุกๆช่วง(ช่วงสุดท้ายยังไงๆมันก็ได้แค่นั้นแหละครับ)


รูปภาพ
หนทางแก้ปัญหาสำหรับคนที่มีปัญหาแนวทางเดียวกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าการปั่น low intensity ช่วยในการเพิ่มความทนทานของระบบต่างๆและมีส่วนพัฒนาอัตราชีพจรให้ดีขึ้นจากพื้นฐานการทำงานของระบบต่างๆที่ดีขึ้น ดีขึ้นในที่นี้คือ ลดต่ำลงที่การออกแรงเท่าเดิม แถมยังช่วยให้การฟื้นตัวของร่างกายเมื่อลดความหนักลงมาทำได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย แต่ก็ต้องเพิ่ม"กำลัง"ที่ทำได้ต่อหนึ่งช่วงเวลาเพื่อรองรับความเข้มข้นของการปั่นร่วมกับคนอื่นได้ และสุดท้ายคือลดภาระของการเคลื่อนที่ลงให้มากที่สุด
ดังนั้นแนวทางการแก้ปัญหาจึงถูกแบ่งออกเป็น 3 ประการได้แก่


รูปภาพ
1.Low Intensity Ride
ไม่ว่าจะเรียกมันว่า "เอ็นดูแรนซ์" หรือ "โซนสอง" หรือ "ปั่นโซนซอย" มันก็หมายถึงการปั่นจักรยานที่ระดับความเข้มข้นต่ำๆระยะเวลานานๆ ที่ทุกคนเข้าใจกันนั่นแหละครับ สิ่งที่ได้คือการพัฒนาระบบแอโรบิคที่ดี หลอดเลือด ระบบทางเดินโลหัด กล้ามเนื้อเส้นใยเล็ก และความทนทานของกล้ามเนื้อมัดเล็กที่ต้องทำงานนานๆ ระบบเหล่านี้พัฒนาได้ยากในระดับความเข้มข้นสูง ดังนั้นในทุกๆตำราก็ไม่เคยละทิ้งการฝึกซ้อมแบบนี้ จะมากหรือน้อย ต้องจัดสมดุลย์ให้เหมาะสม ที่ผ่านมาต่อให้น้องมิณมิณไปปั่นกับคนอื่น 3-4 ชม. มันก็ไม่ใช่การปั่นแบบความเข้มข้นต่ำ แต่มันคือการลากสังขารไปกับคนอื่นที่ความเข้มข้นสูงกว่าชาวบ้าน ซึ่งไม่ได้ประโยชน์ในด้านนี้เลย ผมว่าผู้หญิงและคนตัวเล็กน่าจะมีปัญหาเดียวกันไม่มากก็น้อย

ทางออกเบื้องต้นระยะแรก...ไปปั่นคนเดียวครับ


รูปภาพ
2.FTP Boost
ถ้าใจยังรักจะปั่นจักรยานแข่งขัน ยังชอบที่จะไปกับเพื่อนด้วยความเร็วและสนุกกับเพื่อนได้ อย่างไรก็คงต้อง"บูส"พลังที่สามารถทำได้ ซึ่งในกรณีนี้ก็คือการเพิ่ม FTP ในการจำกัดโซนให้ได้ก่อนในระยะแรกๆ จากนั้นระยะที่สองทำการบูสระดับช่วงพิกัด 8-15 นาทีให้ได้สัดส่วนมากกว่า เพราะการขี่(แข่ง)จักรยานถนนมันคือการเร่งความเร็ว และชลอ ซ้ำๆกันไปเรื่อยๆโดยแต่ละช่วงยาวนานบ้าง สั้นบ้างปะปนกันไป หากสามารถออกแรงได้เพียงพอกับสถานการณ์นั้นๆได้ก็ย่อมมีโอกาสรอดได้มากขึ้น ซึ่งการบูส FTP ทุกสำนักใช้แนวทางใกล้เคียงกันโดยกำหนดการปั่นมาเป็นเซ็ทๆแบบอินเทอร์วัล เน้นความหนักไปที่โซน 3.5-4.0 หรือช่วง sweetspot ซึ่งพบว่าสามารถพัฒนาได้เร็วที่สุดในระยะเวลาน้อยที่สุดและส่งผลกับ FTP มากที่สุด ในเวลาไม่กี่สัปดาห์สามารถเพิ่มวัตต์พื้นฐานได้อย่างรวดเร็วและสร้างความล้าสะสมน้อยกว่าการปั่นระยะเวลานานๆ

ข้อนี้แก้ไม่ยากแต่อาจจะน่าเบื่อหน่อย ที่สำคัญคือการ"กำหนดโซน" ที่ต้องแม่นยำหน่อย ไม่ว่าจะใช้หัวใจหรือวัตต์ในการกำหนดต้องเลือกใช้และทดสอบจนได้โซนที่ค่อนข้างเป๊ะ เพราะเราเล็งหาพิกัดช่วงการซ้อมที่ค่อนข้างแคบ โอกาสเพี้ยน ผิด หลุดไปจากสิ่งเร้าภายนอกทั้งอากาศ ความล้า อาหาร มีได้ไม่ยาก


รูปภาพ
3.ปรับท่าขี่ใหม่ทั้งหมด
เป็นกรรมของคนตัวเล็กที่เมื่อเซ็ทจักรยานให้ขี่ได้ ก็จะเซ็ทให้ได้ท่าขี่ที่"ดุดัน"ได้ยาก เพราะช่วงระยะก้ม หรือ stack ของจักรยานก็จะค้ำอยู่ให้ก้มลงไปได้ยาก ระยะเอื้อมก็ไปได้น้อยเนื่องจากความสูงที่น้อยกว่า นั่นทำให้รถที่ได้มามีท่าการขี่ที่เป็นภาระมาก ทางแก้แรกๆก็คือปรับร่างกาย การวางระเบียบของมุมองศาคอ หลัง ศอก ต้องแก้ไข่ใหม่หมด ซึ่งระยะแรกอาจไม่ต้องฟิตรถใหม่แต่ปรับแก้ที่ตัวเราเองได้ไม่ยาก ต่อมาคือการบริหารร่างกายให้ยืดหยุ่นและแข็งแรงมากขึ้นพอที่จะพัฒนาท่าขี่ได้มากขึ้นโดยไม่เป็นภาระกับร่างกายต้องทนทรมาน

การค่อยๆปรับท่าขี่ให้ลู่ลม การบริหารกล้ามเนื้อแกนกลาง และการยืดเหยียดเป็นทางออกที่แก้ปัญหานี้ได้ในทางอ้อม เพราะคนที่ตัวเล็กๆต้องพยายามเป็นภาระทางอากาศให้น้อยลงที่สุด และสามารถทำได้ไม่ยากเพราะมีปริมาตรและพื้นที่ผิวน้อยกว่าคนอื่นอยู่แล้ว



ข้อสังเกตุในการทดลองและก้าวต่อไป
HRM หรือ Heart Rate Monitor ที่ใช้ๆกันนั้นมีความเพี้ยนและตอบสนองที่สามารถผิดพลาดได้ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในความไม่มั่นใจแรกสุดในส่วนตัวผมเอง แต่อย่างน้อยตอนนี้ผลที่ได้ถือว่าพอรับได้ไม่มีค่าที่น่าจะใช้งานไม่ได้เพราะยืนดูเลขอยู่เกือบตลอด กราฟก็ไม่ได้แสดงอะไรผิดปกติ อย่างไรก็ตาม หากทดสอบในแล็บที่แม่นยำกว่านี้ก็ย่อมดีกว่า รวมถึงตัว drill ที่ใช้ทดสอบเองก็ยังไม่ได้เจาะจงให้เข้มข้นมากๆ เพราะส่วนตัวผมเล็งไปที่ช่วง 50-100%FTP มากกว่า เท่าที่สังเกตุมาช่วงล้นพ้นเกินนั้นไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก มีเพียงเซ็ทสั้นๆที่ทดองให้ไปหา peak ของหัวใจดูว่าเมื่อขึ้นไปแล้วจะลดลงมาได้เร็วแค่ไหน ถ้าจะทำการทดลองตรวจกันจริงจัง คงต้องเจาะจงให้ครบทุกช่วงเพื่อความมั่นใจ อย่างไรก็ดีผมก็ไม่ใช่คนที่จะมาเจาะเลือดมานั่งวัดกรด มาวัดอัตราการดึงอ็อกซิเจน และการตอบสนองอื่นๆในเลือดได้อยู่แล้ว จึงไม่คิดว่าจำเป็นต้องมาวัดกันถึงขนาดนั้นในครั้งนี้


รูปภาพ
สรุป
เอาแค่จากการทดลองนี้ ผมยืนยันได้ 1 ประการว่า คนตัวเล็กมีภาระในการปั่นทั่วไปที่ส่งปัญหาได้มากกว่า และไม่ใช่เรื่องของความผิดปกติทางร่างกายที่เป็นประเด็น มันเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อการซ้อมในกิจวัตรปกติที่นำมาต่อด้วยพัฒนาการทางกายภาพที่สะท้อนออกมาเช่นนี้ ทว่ากลับกันหากจับไปขึ้นเขา ด้วยสัดส่วนวัตต์ต่อน้ำหนัก และน้ำหนักตัวเช่นนี้ เธอสามารถขึ้นเขาได้"ฉิว" แบบที่ผู้ชายหลายๆคนตามไม่ได้เลยทีเดียวครับ เป้าหมายต่อไปหากสามารถเพิ่ม FTP ขึ้นไปได้ถึง 160 วัตต์ จะกลายเป็น 1 ในสาวขาแรงบนเขาที่ชายชาตรีต้องได้แต่มองตาม!
รูปภาพ
เอาไว้อีกสัก 2-3 เดือน มาติดตามต่อว่าทางแก้ปัญหานี้ จะส่งผลออกมาแบบไหนนะครับ เพราะสิ่งหนึ่งที่น่าจับตามองก็คือ กระบวนการซ้อมแบบไหน และการฝึกหัดทักษะอย่างไรบ้างที่จะนำมาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เร็วที่สุดโดยที่พัฒนาได้ยั่งยืนด้วย
ขอลาไปด้วยหน้าหลังทดสอบเสร็จของนางแบบเราในบทความนี้
รูปภาพ[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 945201.jpg[/homeimg]


บทความเกี่ยวเนื่อง
มาฝึกซ้อมและพัฒนาการปั่นกันเถอะ ตอนที่ 2 “Heart Rate”
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1212211
Base Training บัญญัติ 6 ประการ ตอนที่ 2
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1236258
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
chaichoosit
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 949
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2009, 19:06
team: ไบค์กาเอ
Bike: Jamis---Java---Mosso---S work

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย chaichoosit »

สาระดีๆที่ควรรู้ ขอบคุณครับ
บรรดาผู้ที่เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลายหายเหนื่อยเป็นสุข มัทธิว 11.28

พระเยซูรักท่าน ฮา เล ลู ยา
AeK-WS
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 210
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ต.ค. 2013, 19:03
Bike: bianchi nirone 7 , BMC Granfondo GF02

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย AeK-WS »

ผมมีปัญหาแบบนี้เหมือนกันครับ

ผมเป็นตัวเล็ก สูง 160 หนัก 50 อายุ 24 ปี
เวลาปั่นกะกลุ่ม ความเร็วเกิน 35 จน 40 กว่าๆ หัวใจก็เต้นโซน 4 ถึง 5 เป็นประจำ แทบไม่แตะโซน 3 เลย
แต่ก็ไม่ได้เหนื่อยอะไรมากมาย หัวใจถึกมากๆครับ
ปั่นได้จนจบ ไม่มีหลุดกลุ่มเลย ขึ้นไปเป็นหัวลากด้วยครับ
อาการเจ็บหน้าอก หน้ามืด หรือ หายใจไม่สะดวกก็ไม่เคยมี
แต่ถ้าหยุดไปนานๆ แล้วมาอัด จะจุกตรงลิ้นปี่บ้างครับ
แต่ถ้าออกปั่นประจำ ไม่มีปัญหาอะรเลยครับ

ต่างจากคนอื่นๆ ที่หัวใจเต้นต่ำกว่าผม แต่ก็ยังมีหลุด
เอาหัวใจของเขามาเทียบดู เขาตกใจกันหมดเลยครับ
หัวใจเดือดมากๆ

ผมก็ปั่นเก็บเอน หลายๆชั่วโมงบ่อยๆ แต่หัวใจก็ไม่ค่อยต่ำลงมาเลยครับ
ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าเป็นเพราะอะไร
กรรมพันธุ์ของเราด้วยรึเปล่า
รถไม่แพง แรงก็ไม่มี T^T
klaza
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 90
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2014, 19:07

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย klaza »

ยอดเยี่ยมครับ ขอบคุณสำหรับบทความดีๆความรู้เพียบครับ
TBK
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 122
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ค. 2011, 22:45
Tel: 081 835 8486
team: Cool70
Bike: Surly
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย TBK »

ขอบคุณมีประโยชน์มากครับ
Blue Haro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1163
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2009, 20:03
team: วงลงเขา

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย Blue Haro »

คุณ Giro ตั้งใจเอาไว้ห้อง Roadbike หรือเปล่าครับเอาไว้ในห้อง Downhill กรงว่าคนจะไม่ค่อยเข้ามาดูกัน
Golfy_Nopadol
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 44
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2015, 11:39
Tel: 0882939489
team: Takfa
Bike: Giant TCR SL
ตำแหน่ง: ์นครสวรรค์
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย Golfy_Nopadol »

ขอบคุณบทความที่ดีๆแบบนี้ครับ เคยเจอ น้องมิณ กับ น้องเบลล์ ตอนงาน TC100 นครปฐม ดูน้องก็ปั่นตามได้ตลอด ไม่คิดว่าหัวใจจะสูงขนาดนี้
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย giro »

ผมวางผิดห้องครับ เดี๋ยวจับย้าย
แว๊บบ ย้ายแล้ว ปัจจุบันตอนนี้โผล่ห้องเสือหมอบแล้ว
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
kittisuk1979
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 448
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2014, 11:35
Tel: 0968745979
Bike: araya muddy fox

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย kittisuk1979 »

ขอบคุณครับ อ่านแล้วได้ความรู้เยอะมากๆ
ปั่นเข้าไป ยังไง ก็สุขภาพ :D
line :wizards0005
Hxs
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 509
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ม.ค. 2016, 08:28
Bike: Avenger R8
ตำแหน่ง: Louiaiana

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย Hxs »

ผมก็มีอาการนี้ครับ สูง 169cm หนัก 65kg
Resting Heart rate วัดตอนพึ่งตื่น 56BPM (แกว่งขึ้นลงบ้าง ต่ำสุด 54 นอนไม่ค่อยหลับขึ้นถึง 61)
แต่ Heart rate ตอนปั่นจักรยาน สูงจนน่าแปลกใจ
ยังไงก็จะติดตามขอคำแนะนำด้วยนะครับ
13725057_10153778424452061_1790993918267573526_o.jpg
13725057_10153778424452061_1790993918267573526_o.jpg (45 KiB) เข้าดูแล้ว 11425 ครั้ง
แก้ไขล่าสุดโดย Hxs เมื่อ 04 ส.ค. 2016, 05:22, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง
ตัวเล็กก็ยอมรับความจริงบ้าง อย่าหลอกตัวเองแล้วใช้อุปกรณ์ไซส์เกินตัวเลย
สูง 169cm, frame size=50, crank length=165mm, bar width=38cm
รูปประจำตัวสมาชิก
วันชัย คำแพง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1666
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ส.ค. 2008, 07:13
Tel: 0626825062
team: ชมรมวิ่ง พิทักษืหัวหิน
Bike: เหล็กตราหมากลุ๊ก หนักโคตรแต่ทน

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย วันชัย คำแพง »

ขอบคุณครับที่เอามาแชร์ จะคอยติมตามเพราะนี่คือปัญหาที่ตัวผมเป็นเลย คนตัวเล็กต้องคอยเติมตลอด
ผมสูง 160 หนัก47เอง แถมขึ้นเลขสี่แล้วด้วย เวลาไปกับเพื่อน 40+ที่ไรต้องใช้พลังงานเยอะก่วาเขาตลอด
ทำให้อาการหมดมาเยือนเร็วกว่าปกติ น่าจะตัวเล็กกว่านางแบบอีกมั๊งเรา55
รูปประจำตัวสมาชิก
punya467
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2222
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2012, 14:55
team: Rayong road bike, On/Off cycling
Bike: NICH LTD

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย punya467 »

อ่านจบ ผมนึกถึงคนนี้เลย คุณกุ๊ก แมวทอง
ลูกเผลอแล้วเจอกัน
Deamonicus
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 313
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2014, 21:58
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย Deamonicus »

สูง 170 หนัก 60 เป็นเหมือนกันเลยครับ ftp 20 min 220
ไปกับกลุ่มเพื่อนตัวโตๆ ลากกันยาวๆ hr ผมเทียบกับเพื่อน hr zone 4-5 ตลอดแช่ 200 watt เพื่อนๆ ยังhr zone 3-4 กันอยู่เลย
หลังๆ เลยมาขึ้น trainer และปั่นเดี่ยวแทน ตามกลุ่มไม่ค่อยไหวละ
chalit_lee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 461
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ธ.ค. 2011, 09:09
Bike: หมอบBainchi
ติดต่อ:

Re: ปัญหาหัวใจ กรณีศึกษาเบื้องต้นคนหัวใจสูง สมมุติฐานของต้นเหตุและแนวทางการทดลองแก้ปัญหา

โพสต์ โดย chalit_lee »

มิน่าล่ะเพิ่งเข้าใจ ทำไมเวลาปั่นที่สกายเลนช่วงสายๆลมแรงๆ หม้อน้ำแตกทุกที เพื่อนๆที่ปั่นด้วยกันก็หาว่าแกล้ง เพราะเวลาปั่นตอนเย็น(ลมไม่แรงมาก)ฟอร์มผิดกันเป็นหนังคนละม้วน ผมเป็นคนตัวเล็กสูงแค่158เอง แต่HR. max สูงมากเหมือนกันที่ 200 ทั้งๆที่อายุก็มากแล้ว(44ปี) สงสัยต้องเปลี่ยนวิธีซ้อมแล้ว ขอบคุณครับสำหรับบทความดีๆ :D

ป.ล.น้องต้นเรื่องน่ารักมากครับ :P
จักรยานคือมายา แรงขาสิของจริง
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”