แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย giro »

แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ
cover.jpg
cover.jpg (277.78 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
กระแสจักรยานได้"บูม"สุดขีดในบ้านเรามาได้รวมระยะเวลาถึงวันนี้ก็เกือบๆ 3 ปีแล้ว จากจุดเริ่มต้นของกระแสจักรยานแฟชั่นเมื่อเกือบ 5 ปีก่อน มาสู่กระแสแห่งการออกกำลังกาย จนเกิดเป็น "เสือหมอบฟีเว่อร์" เมื่อยอดขายจักรยานพลิกผันกลับหน้ามือเป็นหลังมือ นอกจากยอดขายพุ่งกระฉูดถึงระดับการเติบโต "เลขสามหลัก" ในหลายๆเจ้า กลายเป็นจุดพลิกของการรับรู้และเลือกซื้อจักรยานซักคันของคนในสังคมไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อ 8 ปีก่อนใครจะมาเลือกซื้อเสือหมอบคงต้องผ่านพ้นกับคำทักท้วงมากมายถึงเหตุอัน"ไม่เหมาะสม" แต่ทุกวันนี้ กระแสสังคมได้พิสูจน์แล้ว่าเสือหมอบกลายเป็นหนึ่งในทางเลือกของการออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพในทุกมุมเมือง
race1.jpg
race1.jpg (327.07 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
และเมื่อการออกกำลังกายเติบโตจากจุดเริ่มต้นของคนรักสุขภาพ ไม่นานสิ่งที่งอกงามตามไปด้วยคือ"การแข่งขัน" ซึ่งอย่าปฏิเสะเลยครับ ในตัวมนุษย์เรามีจีเนติคหรือสายพันธุ์ของการแข่งขันติดมาด้วยตั้งแต่เกิดทุกคน แม้แต่คนที่บอกว่า"ไม่สนใจการแข่งขัน" แต่ผมก็เห็นเวลาปั่นแต่ละครั้งเอา "เอวี" มานั่งดูหลังปั่น หรือคอยดูเวลาที่ปั่นว่าได้เวลาเท่าไหร่ ยังไม่นับความต้องการพิชิตเส้นทางไกลขึ้น ซึ่งในทางกลับกันมันก็คือต้องการไปให้ได้เร็วขึ้นในระยะทางเท่าเดิมนั่นเอง จนเกิดเป็นงานแข่ง"วัดใจ" หรือ "ใจเกินร้อย" กระจายไปทั่วทุกหัวระแหง และมีงานจักรยานระดับยอดนิยม เป็นที่กล่าวขสัญถูกจัดเพื่อรองรับทั้งงานเก่าที่เติบโตจนยิ่งใหญ่อย่าง"ทัวร์ออฟหัวหิน" หรือการเติบโตของงนแข่งจักรยานมหาชน"ทัวร์เดอฟาร์ม" ตลอดจนงานใหญ่ระดับเซเล็บแบบ"เวิลด์เทรเวลจอย อีสท์โคสท์ชาเลนจ์" ยังไม่นับกระแสงานแนวๆที่กำลังเป็นที่สนใจมากๆอีกหลายๆงานอย่าง "บางกอกไครทีเรียม" เรียกว่าถ้านั่งไล่ชื่อการแข่งดังๆร่วมกับงานแข่งสุดท้าทายของ"แอลอาร์ที" รับรองว่าเดือนหนึ่งๆมีงานแข่งให้ลงได้อย่างน้อยเดือนละหนึ่งงาน และอาจต้องทำใจเลือกงานที่รักที่ชอบในบางช่วงของปี
race2.jpg
race2.jpg (20.28 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
แต่... อะไรคือพัฒนาการที่ยั่งยืน? การมีงานแข่งจัดอย่างมากมายย่อมเป็น"กิจกรรม" ที่กระตุ้นให้นักปั่นต่างๆมีความท้าทายและเป้าหมายในการปั่นจักรยานต่อไป ยิ่งปั่นต่อไปก็ยิ่งมีธุรกิจจักรยานอยู่ต่อไป การซื้อขายยังคงแข่งขัน คนได้เปรียบคือผู้บริโภค คนเข้าถึงได้ง่าย ราคาหลากหลาย เกิดนักปั่นหน้าใหม่ และเป็นตัวเลือกสู่การพัฒฒนากีฬาจักรยานอย่างเป็นระบบต่อไป มันผูกกันมาเป็นลูกโซ่ จะเป็นดอกไม้ประดับเล็กๆ แต่จักรยานทุกชนิดล้วนเป็นหนึ่งในภาพประกอบของสวนพฤษศาสตร์ขนาดใหญ่ของจักรยานไทยนั่นเอง
คำถามที่ยังคาใจก็คือ ... มันยั่งยืนเพียงใด
race3.jpg
race3.jpg (33.6 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
ผมคงไม่สามารถบังอาจมานั่งพูดได้ว่าอะไรคือการเกาะกระแสสร้างกิจกรรมของภาคต่างๆ ผมเชื่อว่า(เชื่อ)ทุกท่านจัดงานต่างๆด้วยใจที่ประสงค์ต่อส่วนรวมไม่มากก็น้อย คงไม่มีใครเริ่มต้นจัดงานด้วยฟันธงว่าข้าจะมาฟันกำไรให้บาน น้ำขึ้นรีบตักเอาไว้ กระแสลงเมื่อไหร่ก็เลิกจัด (เชื่อ) แต่ มีจุดสังเกตุหลายอย่างที่อยากจะนำมาบอกเล่าว่าเมื่อแลบ้าน(นอก)เขา แล้วส่องมามองเรา มีหลายจุดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มันอาจจะดี หรือไม่ดี แต่การมองและศึกษาเอาไว้ ก็ย่อมดีกว่าก้มหน้าก้มตา"มุด"ทำไปแบบไม่มีทิศทางใช่มั้ยครับ
race4.png
race4.png (233.91 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
ผมขอยกตัวอย่างระบบการจัดการการพัฒนาจักรยานของ"สมาพันธ์จักรยานสหรัฐอเมริกา" เอาเป็นว่าเนื่องจากผมบังเอิญมีโอกาสได้ไปอยู๋เมืองนอกเมืองนามาบ้าง ได้ไปขี่จักรยาน ได้ไปสัมผัสกับมันมานิดๆหน่อยพอเป็นน้ำจิ้มให้ได้เห็นสิ่งดีๆที่น่าจะเอามาทบทวนเรา ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญกีฬาจักรยานหรอกนะครับ ทุกอย่างที่ลงเอาไว้ สามารถดาวน์โหลดได้จากคู่มือการแข่งของทางสหรัฐฯเค้า ที่ทุกคนที่สมัครแข่งสามารถอ่านได้ แค่เอามาแปลเป็นภาษาไทยให้อ่านกันสนุกๆเท่านั้น
เอาล่ะครับมาเริ่มกัน หลังจากร่ายมาเสียยาว
race5.jpg
ระบบการจำแนกการแข่งขัน
เริ่มต้นมาจำแนกการแข่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆก่อนนะครับ กลุ่มแรกที่จะไม่พูดถึงมากนักคือ"คลับเรซ" หรือการจัดแข่งแบบอิสระไม่มีการเข้ามาจัดการดูแลโดยสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯ อาจขอความร่วมมือในการช่วยเหลือเช่นด้านเทคนิคและการจัดการ แต่ไม่มีผลสะสมในระบบการแข่ง ซึ่งมีน้อยมากครับ ส่วนมากจัดกันเองสนุกๆระหว่างสโมสรต่างๆเป็นงานอุ่นเครื่อง มักเป็นการแข่งแบบไทม์ไทรอัล(จับเวลา) อีกประเภทที่เราเอามาคุยกันวันนี้ได้แก่การแข่งแบบทั่วไปหรือได้รับการรับรองโดยสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯผ่านตัวแทน,สโมสร หรือองค์กรท้องถิ่นที่ขอความร่วมมือมาอย่างเป็นทางการ มีรูปแบบการจัดที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศและผลการแข่งขันใช้ในกระบวนการพัฒนาระดับการแข่งได้
race6.jpg
อ่านมาถึงตรงนี้ใครไม่สนใจการแข่งจักรยานคงเบือนหน้าหนี อย่าเพิ่งครับ ผมขอเล่าก่อนว่า ในบ้านเรานักปั่นหลายแสนคน ...มีกี่คนที่มีบัตรนักกีฬาจักรยาน?? แต่ในสหรัฐอเมริกาที่มีการแข่งจักรยานเยอะแยะมากมายทั้งวันสุดสัปดาห์และวันธรรมดา นักปั่นที่จริงจังมากกว่าปั่นเอาแรงออกเหงื่อเกือบทุกคนคยมีบัตรแข่งขันมาแล้วอย่างน้อยๆหนึ่งครั้งในชีวิต อะไรคือปัจจัยตรงนั้น มาดูกันต่อครับ
race7.jpg
race7.jpg (60.67 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
เมื่อจำเพาะเจาะจงมองกันเฉพาะการแข่งที่รับรองผ่านสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯ มีระบบการจัดการแบ่งระดับการแข่งขันหรือเรียกกันง่ายๆว่า"แคทตากอรี่" (เรียกกันสั้นๆว่า"แคท") ต่างๆดังนี้
การแบ่งระดับการแข่งจักรยานถนนและลู่
ELITE หมายถึงมืออาชีพ, โปรทีม
CAT1 ระดับสูงสุดของมือสมัครเล่น ซึ่งบ่อยครั้งที่มีขึ้นไปกระทบโปรคว้าแชมป์รายการต่างๆเช่นการชิงแชมป์ประจำรัฐ
CAT2 ระดับรองสูงสุดของมือสมัครเล่น มีรูปแบบการแข่งเหมือนกับระดับสูงสุดแต่ความเข้มข้นต่ำกว่า
CAT3 ระดับกลางของมือสมัครเล่นและเป็นระดับเริ่มต้นของการแข่งอย่างจริงจัง
CAT4 ระดับเริ่มต้นการแข่งจักรยานถนน มีการแข่งทุกอย่างยกเว้นการแข่งแบบทัวร์(เสตจเรซ หรือการแข่งหลายวัน)
CAT5 ระดับเริ่มต้นของการแข่งจักรยานถนน ทุกคนต้องเริ่มและผ่านระดับนี้มา ไม่ว่าเก่งแค่ไหนเมื่อเริ่มลงทะเบียนต้องเข้ามาเร่ิมที่ระดับนี้ และถือเป็นบันไดก้าวแรกที่สำคัญ
MASTER สำหรับรุ่นอาวุโส
race8.jpg
*หมายเหตุ สำหรับรุ่นผู้หญิงแบ่งเป็น 4 ระดับ(ELITE, CAT1-4) ส่วนการแข่งไซโคลครอสแยกเป็น 4 ระดับ และ 3 ระดับสำหรับประเภทเสือภูเขา
race16.jpg
race16.jpg (74.22 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
การแบ่งระดับแบบนี้มันดีอย่างไร? คำถามนี้ผมยังไม่ตอบนะครับ มาดูรายละเอียดกันก่อนว่าแล้วแต่ละระดับมันเลื่อนชั้นกันอย่างไร...
...แน่นอนว่าถ้าเป็นหน้าใหม่ซิงๆไม่ว่าอายุเท่าไหร่ก็ตาม มาถึงก็สมัครแข่ง จะสัมครออนไลน์แล้วจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี หรือไปสมัครใบผ่านหน้างานจ่ายเป็นงานๆไปก็ได้(ถ้าจะแข่งบ่อยๆแน่ๆก็จ่ายรายปีคุ้มกว่าเยอะมากครับ ถ้าแข่งสนุกๆไปจ่ายเป็นงานๆไปก็ได้) ก็ต้องเริ่มกันที่"แคทห้า"(CAT5) หรือระดับเริ่มต้นกันก่อน คุณจะเป็นทีมชาติไทยไปอยู่ที่นั่น เริ่มแข่งงานแรกก็ไม่พ้นต้องมาไต่ระดับครับ หลักเกณฑ์การขอเลื่อชั้นจาก CAT5 ขึ้นไป CAT4 ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย ต้องจบการแข่งขันที่รับรองโดยสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯอย่างน้อย 10 รายการ ซึ่งงานเหล่านั้นต้องมีระยะทางอย่างน้อย 24 กม. สำหรับการแข่งแบบแมสสตาร์ท และ 16 กม.สำหรับการแข่งแบบไครทีเรียม
race17.jpg
24 กม.แข่งแมสสตาร์ท, 16 กม.ไครทีเรียม ...ขี่สนามเขียวหนึ่งรอบ!? ถูกแล้วครับอ่านไม่ผิดและผมไม่ได้แปลผิดด้วย เพราะ ระยะทางการแข่ง CAT5 ส่วนมากถูกออกแบบมาเท่านั้นจริงๆ จุดประสงค์ของระดับนี้คือการเป็นระดับเริ่มต้นของมือใหม่ ที่มีเวลาในการซ้อมจักรยานแค่สัปดาห์ละ 1 ชม.ก็มาแข่งได้แล้ว เค้าให้ความสำคัญกับก้าวแรกเสียยิ่งกว่าสิ่งอื่น ก้าวแรกที่ดี มีคุณภาพ คือก้าวที่จะสร้างนักปั่นอาชีพอย่าง ทีเจย์ แวนเกรเดร็น ไปแข่งตูร์เดอฟร็องซ์ไงครับ ที่สำคัญอีกอย่างก็คือในงานแข่งเกือบทุกงานที่จัดภายใต้การดูแลและร่วมมือของสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯ จะต้องมี CAT5 ทุกงาน ทุกที่ รวมไปถึงงานแข่งไครทีเรียมแบบ"ซีรีส์" (เช่นแข่งทุกสัปดาห์ มีการเก็บคะแนนสะสมเพื่อชิงแชมป์รวมของทั้งซีรีส์) สัปดาห์หนึ่งมีกันตั้งแต่ 1-3 งาน นั่นแปลว่า ขอให้คุณเริ่มต้นแข่งจักรยานกับระบบนี้ แข่งไปราวๆเดือนกว่าๆ ก็จะไต่ขึ้น CAT4 ได้แล้วนั่นเอง (จะไม่ขึ้นก็แล้วแต่คุณครับ นั่งกวาดถ้วยแม้วเหมียวไป แข่งครั้งละชั่วโมง แต่ผู้จัดส่วนมากจะมีระบบการจัดการเช่นถ้าได้แชมป์ CAT5 ติดกัน 3 รายการ จะเตะบังคับให้ลง CAT4 ครับ กฏแบบนี้ผู้จัดสามารถใส่เข้าไปได้เองไม่เกี่ยวกับสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯ) คุณพระ... CAT5 ระยะสั้นยิ่งกว่าถ้วยวัดใตบ้านเราเสียอีก(ผมคิดในใจ)
race18.jpg
race18.jpg (71.11 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
ความท้าทายมันอยู่ที่ CAT4 ครับ เมื่อผ่านการเป็น"มือใหม่หัดแข่ง" มาแล้ว ระยะทางจะยาวขึ้น ความท้าทายจะมากขึ้น(เส้นทาง CAT5 ส่วนมากตัดเส้นทางยากๆทิ้งไปหมด ภูเขานี่แทบไม่ต้องพบเจอ ทางตรงๆยาวๆเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือวนรอบเล็กๆแค่ 2-3 รอบก็จบแล้ว) ความสนุกของการแข่งจริงๆมาอยู่ที่ CAT4 นี่แหละครับ เมื่อเกณฑ์ในการเลื่อนชั้นไปสู่ CAT3 บังคับให้นักปั่นต้องพัฒนาตัวเองกันอย่างสนุกสนาน มีข้อกำหนดในการเลื่อนชั้นดังนี้
race23.jpg
การเลื่อนชั้นจาก CAT4 ไปสู่ CAT3 (ข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อรวมกันก็ได้)
-จบการแข่งขันในระดับ CAT4 อย่างน้อย 25 สนามที่มีจำนวนผู้ร่วมแข่งอย่างน้อย 10 คน
-จบการแข่งขันพร้อมกลุ่มเปโลตอง CAT4 ที่มีผู้แข่งขันมากกว่า 30 คนอย่างน้อง 10 รายการ
-จบการแข่งขันพร้อมกลุ่มเปโลตอง CAT4 ที่มีผู้แข่งขันมากกว่า 50 คน อย่างน้อย 20 รายการ
-สะสมแต้มแข่งขันอย่างน้อย 30 แต้ม โดยแต้มการแข่งขันได้จากอันดับในการแข่งรายการต่างๆ และการเข้าร่วมอบรมกับหน่วยงานที่ได้รับความร่วมมือจากสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯ ภายใน 12 เดือน

มาแปลกันง่ายๆก็คือถ้าแข่งงานเล็กๆคนแข่งในรุ่นมี 10 คนขึ้นไปก็แข่งสะสมไป 25 สนาม หรือถ้างานใหญ่หน่อย มากกว่า 30 คนก็จบพร้อมกับกลุ่มใหญ่(อย่าหลุดกลุ่ม)ให้ได้ 10 สนาม และงานใหญ่ๆดังมากๆที่แข่งกันมากกว่า 50 คน ก็หมกกลุ่มไปให้ได้ 20 สนามก็เป็นอันว่าผ่านเกฑ์ให้เลื่อนไปสู่ระดับ CAT3 เพื่อแข่งทัวร์หรือรายการที่ยากขึ้นได้แล้ว ก็เช่นเดียวกับ CAT5 ครับ รายการสำคัญหลักๆแทบทุกรายการจะมีระดับ CAT4 และมีให้ลงกันได้เต็มที่เดือนๆนึงลงกันได้ 10-15 งาน ก็มี ดังนั้นขอเพียงมาแข่งและรักษาระดับเอาไว้ได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยๆก็มีโอกาสเลื่อนชั้นได้ไม่ยาก
race19.jpg
ถ้าเป็นขาแรงหน่อย หรือสมมุติระดับทีมชาติไทยบังเอิญย้ายบ้านไปอเมริกา ขาขนาดกระทืบ CAT4 เล่นสบายๆ ก็สะสมแต้มอันดับไปเรื่อยๆ ตามตารางดังนี้
แต้มสะสมรายการแข่งขันแมสสตาร์ท
table road.jpg
table road.jpg (121.08 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
แต้มสะสมรายการแข่งขันไครทีเรียม
table crit.jpg
table crit.jpg (99.43 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
จากตารางการให้คะแนนของการแข่งขัน สมมัติว่าได้แชมป์ CAT4 รายการใหญ่ๆมา 3 รายการก็สามารถขยับขึ้นไปเล่น CAT3 ได้แล้ว หรือในอีกทางหนึ่ง ก็เป็นทางเลือกทั้งการวางแผนแข่งและซ้อมของแต่ละคนได้ว่าจะเน้นไปเก็บแต้มรายการไหนบ้าง (สำหรับขาแรง) ก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่าหากสะสมแต้มเหล่านี้ได้ ก็มีโอกาสได้เลื่อนชขั้นเร็วกว่าแค่สะสมผลงานการแข่งให้จบตามเกณฑ์เฉยๆอย่างแน่นอน

การอบรมต่างๆ หรือแม้แต่พวกแคมป์ฝึกสอนที่คิดเงิน หลายๆสำนักมีการผูกเชื่อมกับสมาพันธ์จักรยานสหรัฐฯ สามารถนำเอา"หน่วยกิต"ของการอบรมนั้นๆไปสะสมแต้มเพื่อเลื่นชั้นได้เช่นกัน เนื้อหาการอบรมของระดับ CAT4 ส่วนมากก็คือการ"แข่งให้ปลอดภัย" และกติกาสำคัญต่างๆที่นักแข่งควรรู้ รวมถึงข้อปฏิบัติเพื่อเป็นนักจักรยานที่ดี เพราะเมื่อขึ้นไป CAT3 การแข่งขันจะเริ่มร้อนแรงขึ้น อันตรายขึ้น การอบรมต่างๆเหล่านี้เป็นตัวช่วยคัดกรองและเตรียมความพร้อมนักจักรยานได้เป็นอย่างดี
race20.png
ที่ระดับ CAT3 การแข่งขันจะเริ่มเข้มข้นมากขึ้น มีเส้นทางที่ท้าทายและระยะทางที่ยาวขึ้น ให้สอดคล้องกับระดับความสามารถของคนที่ก้าวขึ้นมาสู่ชั้นนี้ได้ ที่สำคัญ มีรายการทัวร์สมัครเล่นให้ได้ลงแข่งกันอีกด้วย ดังนั้นเกณฑ์ในการผ่าน CAT3 ไปสู่ CAT2 เริ่มที่จะยากขึ้นกว่า สองระดับแรกแล้ว ซึ่งในความเป็นจริงเชิงปฏิบัติที่ระดับ CAT3 ถือเป็นระดับยอดนิยมของนักแข่งสมัครเล่นส่วนใหญ่ ที่มักจะมาตันหรือคงอันดับเอาไว้ที่ระดับนี้ เพราะหากต้องการก้าวผ่านระดับนี้ขึ้นไป หมายถึงทั้งวินัยการซ้อมและรูปแบบการพัฒนาต้องจริงจังมากกว่าแค่ขี่วันหยุดสุดสัปดาห์ อีกทั้งต้องเร่ิมมีการทำงานระบบทีมเวิร์คเข้ามาเกี่ยยวข้อง เป็นที่น่าสังเกตุว่าทีมระดับ"กึ่งสมัครเล่น" หรือสโมสรกึ่งสมัครเล่นที่เริ่มให้การสนับสนุนทีมและนักแข่งก็จะเริ่มที่ CAT3 นี้เอง ทีมที่จริงจังบางทีมระบุเอาไว้เลยว่าผู้มารับสมัครทดสอบร่วมทีมต้องผ่านการแข่ง CAT3 มาอย่างน้อย 2 ปีเพื่อยืนยันว่ามีพื้นฐานการแข่งที่ดีพอ ดังนั้นในมุมกลับ CAT3 คือระดับของการแข่งขันที่เป็นบันไดส่งต่อไปสู่การพัฒนาอย่างจริงจังนั่นเอง
race21.jpg
race21.jpg (132.94 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
เกณฑ์ในการเลื่อนจาก CAT3 ไปสู่ CAT2
-สะสมแต้ม 40 แต้มภายในเวลา 12 เดือนนับตั้งแต่เร่ิมนับแต้ม (อาจแข่ง CAT3 มานานเท่าไหร่ก็ตามแต่หากย้อนหลังไป 12 เดือนมีคะแนนสะสมมากกว่า 40 แต้ม สามารถสมัครเลื่อนชั้นไป CAT2 ได้)
เกณฑ์ในการเลื่อนจาก CAT2 ไปสู่ CAT1
-สะสมแต้ม 50 แต้มภายในเวลา 12 เดือนนับตั้งแต่เร่ิมนับแต้ม
race22.jpg
จะสังเกตุได้ว่าการเลื่อนช้ันจาก CAT3 ขึ้นไปชั้นสูงขึ้นอย่าง CAT2 และ CAT1 ต้องทำผ่านการสะสมแต้มเท่านั้น แปลว่าผู้เข้าแข่งขันต้องเน้นการพัฒนาเพื่อสร้างผลงานการแข่งขันและอันดับที่ดีในการแข่งขันด้วย เพราะมีเวลาสะสมแต้มเพียง 12 เดือน หากพ้น 12 เดือนไปแล้วก็ต้อง ที่สำคัญฤดูกาลแข่งขันของสหรัฐอเมริกาไม่ได้มีแบบต่อเนื่องตลอดทั้งปี ในบางรัฐจะหยุดการแข่งประเภทถนนทุกอย่างระหว่างเดือน กันยายน-มกราคม (หายไป 5 เดือน) มีเวลาสะสมแต้มของการทำอันดับการแข่งขันเพียงแค่ 8 เดือนเท่านั้น และช่วงที่มีการแข่งคึกคักอาจอยู๋ในช่วงเวลาเพียง 4 เดือนที่อากาศอบอุ่นแสงแดดดีแบบหน้าร้อนฝรั่ง ต้องบอกไว้เลยว่าการก้าวจากระดับ CAT3 ขึ้นไปอยู๋ที่สองระดับบน ไม่ใช่ของง่ายสำหรับนักแข่งแบบ"จอมยุทธสุดสัปดาห์" แต่ต้องเป็นนักปั่นที่ขยัน มีวินัย อยู๋ในทีมที่พร้อมและมีแผนการแข่งที่ชขัดเจน ส่วนระดับ CAT1 นั้นถือว่าเป็นน้องๆโปรมืออาชีพแล้ว บ่อยครั้งที่ทีมสมัครเล่นระดับ CAT1 ได้รับเชิญเข้าแข่งรายการอาชีพสำคัญๆกระทบไหล่กับโปรของแท้ และเป็นโอกาสให้ถูกดึงตัวไปมีสัญญาจ้างเป็นนักจักรยานอาชีพได้ต่อไป ซึ่งโปรสัญชาติมะกันบางคนเริ่มต้นเส้นทางสายนักปั่นอาชีพเอาตอนอายุ 26-27 ปีแล้วด้วยซ้ำ เพราะผ่านเส้นทางวิบากกรรม ทำงานหาเลี้ยงตัวเองไป ไล่แข่งเก็บเกี่ยวจนได้ผลงานโดดเด่นจนได้เป็นโปรของแท้ในที่สุด
race15.jpg
race15.jpg (122.16 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
ใครอดทนอ่านมาถึงจุดนี้ได้ คงได้คำตอบว่า "บ้านเขามาถึงจัดๆนี้ได้อย่างไร" เพราะกระบวนการทั้งหมดถ้าวิเคราะห์กันให้ดีๆมันคือการ"สร้าง"ฐานของกีฬาจักรยานให้แน่นแบบเป็นระบบใหญ่ พัฒนาให้เกิดกลุ่มคนเล่นกีฬาจักรยานอย่างจริงจัง จากนี้ไปผมจะวิเคราะห์ผลทางอ้อมให้ได้ดูกันพอเป็นแนวทางว่ามันสะท้อนอะไรได้บ้าง ผลทางตรงผมว่าเดากันไม่ยากอยู๋แล้วครับ จัดระบบมาเป็นพรวนแบบนี้ มันสร้างนักปั่นมืออาชีพจากเวทีสนามแข่งเจียระนัยมาตลอดทุกก้าวเดิน
race14.jpg
race14.jpg (162.29 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
ผลพวงที่ระบบสร้างต่อสังคมจักรยานบ้านเขา
1.สร้างกลุ่มคนสนใจกีฬาจักรยาน
งานแข่งไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ที่มีเยอะแยะทุกมุมเมืงของบ้านเขา เต็มไปด้วย"คนบ้าจักรยาน" ในงานมีทั้งนักแข่ง เพื่อน ครอบครัว กองเชียร์ ที่ไปเชียร์นักแข่งในแต่ละระดับชั้นการแข่ง การจัดแข่งทำง่ายๆ แต่มีมาตรฐาน เส้นทางไม่ได้ต้องปิดมากมายแต่ควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบ ไครทีเรียมบางงานจัดในที่จอดรถห้างสรรพสินค้าที่เป็นลานขนาดใหญ่ รอบละ 2-3 กม. ก็แข่งได้แล้ว มีตั้งเต็นท์ตลาดนัดจักรยาน ขายของมือสอง แลกเปลี่ยน สิ่งต่างๆเหล่านี้คือสังคมกีฬาจักรยานที่เป็นฐานส่งต่อไปให้เกิด"มูลค่า"การตลาด ที่ส่งผลให้เกิดข้อ 2 ตามมาติดๆ
race14.jpg
race14.jpg (162.29 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
2.เกิดทีมจักรยานสมัครเล่น
บ้านเรานึกถึงทีมจัรกยานสมัครเล่นคิดถึงทีมอะไรบ้าง? ไม่ต้องคิดเยอะครับ"ทุกทีม"คือทีมสมัครเล่น เพราะในบ้านเขาทีมสมัครเล่นที่มาแข่งก็มาด้วยการ"สปอนเซอร์" ทั้งสิ้น ไม่ต้องไกลเลยครับ สมมุุติว่าฝรั่งแห่งบ้านโคกปลาไหลมาแข่ง สปอนเซอร์บนเสื้อก็มาจากคนในทีมนั่นแหละครับ ใครทำร้านทองจ่ายเยอะหน่อย ใครทำขนมอบขายก็ช่วยลงขัน มันก็เกิดทีมขึ้นมา ทีมไหนใหญ่และมีผลงานอยู่ CAT สูงก็มีการสนับสนุนจากแหล่งอื่นๆ ทีมระดับ CAT3 ขึ้นไปเกือบทุกทีมได้รับการสนับสนุนจากร้านจักรยานจริงจัง อย่างน้อยๆสมาชิกได้ส่วนลด(เยอะด้วย)ในการซื้อ ยิ่งถ้าระดับ CAT1 แทบจะเป็นทีมอาชีพแล้ว เพราะบางคนได้เงินให้ซ้อม มีค่าแข่ง ค่าของให้ใช้ฟรีๆ สิ่งที่ต่างก็แค่ทีมยังอยู๋ในระบบที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งทั้งปวงมันก็คือฐานการส่งต่อไปหา"กีฬาอาชีพ" นั่นเอง
race13.jpg
3.สร้างเยาวชนหน้าใหม่เข้ามาในกีฬานี้
เนื่องจากการเข้าถึงการแข่งทำได้ง่ายมากๆ การแข่งถูกออกแบบมาให้เหมาะกับทุกระดับ ดังนั้นในสโมสรเล็กๆที่อาจจะไม่ได้ดัง แข่งกันขำๆใน CAT4-5 อาจสร้าง"ไอ้หนู" ขึ้นมาคนนึง(หรือฝูงนึง) ที่แข่งๆไปค่อยๆไต่ขึ้นไปสู่การย้ายไปร่วมทีมอื่นๆที่โตกว่า ได้ลงแข่งในรายการที่ใหญ่กว่าได้ ถ้าใครได้ไปเห็นการแข่งของบ้านเขาอย่างงนะครับที่บางทีมมีนักปั่น 2 รุ่น ... รุ่นหลาน กับรุ่นลง ... คือเด็กวัยรุ่นกับลุงวัยเลยกลางคน เพราะลุงๆพวกนี้มี "เงิน" และเวลามาทำทีม เด็กพวกนี้ก็ลูกหลานคนในละแวกใกล้ชิดกันที่ชื่นชอบมาขี่กับผู้ใหญ่ ส่วนไอ้หนุ่มๆแรงๆ มันไปอยู่ CAT บนๆครับ
race12.jpg
race12.jpg (203.46 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
มีคำถามหนึ่งที่ผมได้รับจากหลายๆคนเมื่อสนทนาเรื่องนี้ ... "คนไทยไม่สนใจระดับหรอกเค้าสนใจถ้วย" หรือพูดง่ายๆว่า ก็แข่งเพื่อสะสมถ้วย ไม่ใช่จะแข่งเพื่อพัฒนา งานไหนจัดได้ถ้วยก็ไปแข่ง งานไหนไม่ได้ก็ไม่ไป ดังนั้น ต้องมีคนที่คิดว่าจะสะสมถ้วย CAT5 เอาไว้เชิดชูวงศ์ตระกูลแน่นอน ไม่มีคนเลื่อนไปให้เค้ายำเล่นที่ CAT4 หรอก
...ก่อนจะคิดแบบนั้นลองดูตารางนี้ก่อนครับ
table dist.jpg
table dist.jpg (102.79 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
ใครดูตารางนี้แล้วรบกวนตอบผมหน่อยว่า ถ้วยวัดใจบ้านเรามันอยู่ในระดับขั้นไหนครับ?
ผมเคยสอบถามด้านเทคนิคการจัดแข่งของสโมสรที่จัดแข่งของเค้า ว่าบ้านเราเริ่มแข่งกันก็ระยะ 60-80 กม. แล้ว รายการสมัครเล่นซัดกัน 280 กม. ก็มีมาแล้ว ทำไมระบบประเทศคุณดูแล้วจิ๊บจ๊อยมาก ซึ่งเค้าให้เหตุผลมาดังนี้
"การแข่งในแต่ละดิวิชั่นถูกสร้างมาให้เหมาะสมกับคนแข่งแต่ละคน ไม่ใช่เพื่อสร้างนักจักรยานอาชีพอย่างเดียว คนที่มีเวลาขี่จักรยานแค่สัปดาห์ละ 1-2 ชม. ก็มาแข่งได้ ซึ่งสามารถออกแรงและทำเกมส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณเอาคนที่ซ้อมแค่นั้นไปแข่งบนระยะทาง 60 กม. เค้าแข่งจบแต่ไม่ได้อะไรเลย เป็นการทำร้ายมากกว่าการสนับสนุน ด้วยระบบนี้ประเทศเรา(สหรัฐอเมริกา)จึงสามารถพัฒนานักจักรยานไปจนถึงขั้นสุดยอดได้"

ตอบคำถามได้มั้ยครับ? ถ้าการออกแบบการแข่งมันออกมาสมเหตุสมผลจริงๆไม่มีใครบ้าสะสมถ้วยแมวเหมียวน้อยแคทห้าหรอกครับ ปัญหาคือการแข่งของเรา สร้างมาโดยไม่ได้มองโครงสร้างคนขี่จักรยาน ขาแรงจัดก็จัดเอาใจขาแรง อย่าแปลกใจที่ทำไมถึงสร้าง new entry racer หรือนักแข่งหน้าใหม่ได้ยาก เพราะเราขาดบันไดก้าวแรก ที่เหมาะสม
race11.jpg
race11.jpg (119.75 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
ไม่เพียงเท่านั้น หลายๆคนที่แข่งจักรยานแล้วหายหน้าหายตาไปเรื่อยๆเพราะแข่งไปก็ไม่รู้เพื่ออะไร(ถ้าใจไม่รักจริงๆ) แข่งกี่ทีรุ่นอายุนี้ก็เห็นหน้ากันหมดว่าใครจะได้ในวันนี้ อย่าว่าแต่รุ่นเดียวกันเลย ... ไปแข่งรุ่นแก่กว่าก็ยังไม่รู็จะรอดมั้ย ถ้าถามคนจัดแข่งหรือนักแข่งขาแรงก็จะได้รับคำตอบว่า "ยังไม่แข็งพอ ยังไม่พร้อมจะแข่ง" ลองดู CAT3 ครับ ... มันคือระยะแข่งทั่วไปของคนปั่นจักรยานเริ่มจริงจัง ำถามกลับกันที่บอกว่าคนมาแข่งยังไม่พร้อม ... ถามกลับไปว่า แล้วงานแข่งเคยสร้างมาบนฐานเพื่อตอบโจทย์ของคนเข้าแข่งหรือยัง

ผมไม่ได้หยิบเอากรณีนี้มาเพื่อบอกว่ามันดีที่สุดและบ้านเราเหมาะจะทำได้แบบนี้ มันมีปัจจัยตัวแปรเยอะครับ อย่างน้อยๆอเมริกาก็ไม่มี"สมาคมจักรยานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถันมภ์" ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญทีเดียว แต่ผมอยากชี้ให้เห็นจุดต่างของการคิดอะไรเป็นระบบ และตอบสนองกับการนำไปใช้จริงอย่างมีประสิทธิผล บางทีเราคิดอะไรกันไม่ใหญ่ ก็เล็กเกินไป (จริงๆแล้วผมเคยนั่งคุยกับเคานานมากๆ มีมุมมองหลายอย่างที่คงอธิบายให้จบไม่ได้ในโอกาสนี้)
race10.jpg
ฝากมาเป็นประเด็นให้ลองคิดมองในมุมที่แตกต่างจากอีกฝั่งหนึ่งของโลกกลมๆใบนี้ครับ ทางฝั่งอังกฤษเองก็มีระบบการแบ่งชั้นเหมือนกัน แต่มีรายละเอียดแตกต่างออกไป ทว่าโดยรวมแล้วมีแนวทางไม่ต่างกัน
พี่ๆทย ใจเกินร้อย วัดใจ มุ่งสู่ไต่ระห่ำ คนพันธุ์อึด เลียบอ่าวไทย ไปคลาสสิคให้เอ็กซ์ตร้า กันต่อไป .....

ปล.CAT5 หลายๆงานไม่มีถ้วยรางวัลนะครับ มีเหรียญอันดับให้เท่านั้น
ปล2.ผมไม่ได้ต่อต้านการจัดแข่งรายการใดๆทั้งสิ้นครับ แค่มีมุมมองในช่องว่างบางอย่างที่ต้องการสื่อสาร และเชื่อว่าหากใครทำระบบการแข่งได้แบบนี้จริงๆระบรองไปไกลแน่นอน (และอาจโดนเตะขาคู่สกัดร่วงนอนเล่นริมทาง)
race9.jpg
race9.jpg (389.17 KiB) เข้าดูแล้ว 8662 ครั้ง
[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 199731.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
OSK 97
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 13804
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 12:05
team: ทุ่งสง
Bike: focus max. neilpride bora

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย OSK 97 »

เห็นด้วย และอยากให้สมาคมจักรยานไทยได้มาอ่านบ้าง
รูปประจำตัวสมาชิก
punya467
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2222
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 เม.ย. 2012, 14:55
team: Rayong road bike, On/Off cycling
Bike: NICH LTD

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย punya467 »

เห็นด้วยเช่นกัน แต่รอภาครัฐน่าจะยาก คงต้องเอกชนเท่านั้นกระมังครับ
ลูกเผลอแล้วเจอกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
ethylalc
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 634
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2011, 19:59
Bike: Specialized E5 2015
ตำแหน่ง: onnut bkk

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย ethylalc »

จะแข่งในไทยผมคงต้องซ้อมไปอีก 2 ปี
รูปประจำตัวสมาชิก
kamkon
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 520
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ม.ค. 2011, 09:05
team: ..ไร้สังกัด..
Bike: เหล็กเก่าๆ

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย kamkon »

เห็นด้วยเป็นที่สุด..แต่ใครจะทำนี่สิ?
ถีบด้วยใจไปด้วยกัน "รถถีบ "
ลิงกังปั่นหมอบ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 907
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2015, 20:50

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย ลิงกังปั่นหมอบ »

ขาดแรงจูงใจ
หึม...? ผมไม่ได้ปั่นจักรยาน แต่ผมขี่ยานรบต่างหาก!
คิดให้ดี โทษเทคนิคตัวเองก่อนจะโทษจักรยาน
มันไม่ใช่เป็นเพราะจักรยานที่แกปั่น แต่อยู่ที่แกปั่นมันยังไง?
มันไม่ใช่เพราะจักรยานมันงี่เง่าเฮงซวย แต่มันคือแกทำให้มันดูงี่เง่าปัญญาอ่อน
รูปประจำตัวสมาชิก
นคร บริการ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 122
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2013, 08:47
Tel: 093-8969419
team: bowin
Bike: มีอยู่ 2-3คัน

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย นคร บริการ »

ชอบมากครับ ปักไว้ก่อนเด๋วมานั่งอ่านรายละเอียดอีกที
LIFE IS BEAUTIFUL :D
infoligence
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 154
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 16:36

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย infoligence »

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ ทุกวันนี้มือใหม่เด็กใหม่เริ่มหัดลงแข่งแทบจะหาโอกาสไม่ได้ ไปลงแข่งงานไหนๆก็ต้องไปเจอกับขาแรงหรือแชมป์ระดับจังหวัด แชมป์ประเทศไทย ทีมชาติ หรือแม้แต่ระดับมืออาชีพ แทบไม่มีโอกาสแจ้งเกิด แข่งไปก็ไม่มีหวังไม่มีอนาคต สักพักก็เลิกปั่นไปเอง ทุกวันนี้เด็กๆเริ่มปั่นกันตั้งแต่แปดขวบแต่ไม่มีสนามให้ลงแข่งในระดับเดียวกัน ต้องรออีกหลายปีจนกว่าจะโตและพวกรุ่นปัจจุบันแก่ไปเองเสียก่อน
exkasit
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 314
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ย. 2012, 13:22
Tel: 0898654790
Bike: BMC TMR01

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย exkasit »

ผมสงสัยว่านอกจากรุ่นอาวุโส master แล้ว เขามีแบ่งย่อยอายุอย่าง 20-29,30-39,40-49.. แบบนี้ไหมครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
malangpor118
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 17
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2014, 19:12

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย malangpor118 »

ทีมชาติไทยนี่ฝีมือ อยู่ในcat ประมาณไหนคับ
ขุนรินสุราวอดวาย
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 74
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2015, 01:02

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย ขุนรินสุราวอดวาย »

จะรอดูว่าสมาคมจักรยานหรือสมาคมฟุตบอลจะพาคนไทยไประดับโลกก่อนกัน....
ibomb
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 108
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2014, 15:49
Tel: -
team: -
Bike: -
ติดต่อ:

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย ibomb »

สุดยอดเลย อยากให้บ้านเรามีบ้าง ผมโครตอยากได้โอกาสเลย แต่บางทีมันก็ยากที่จะไปแข่ง ไหนจะเรียน เงินทุน สารพัด เหนื่อย แข่งๆไปก็มีแต่ถ้วย
เห็นทางราบเป็นลม เห็นภูเขา... ลงไปนอน
giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย giro »

ชัดเจนครับว่าการจำกัดอายุไม่สามารถใช้ได้กับจักรยาน ในอเมริกาและอังกฤษไม่แบ่งรถ่นอายุครับแย่งคลาสเอาอย่างที่บอก
เพนาะต้องการได้สนามที่ตอบโจทย์คนแข่ง ไม่ใช่การจัดการง่ายของคนจัด

บ้านเราติดนะเบียบหลายๆอย่างถ้าแก้ยกน่างกันยกใหญ่ไล่มาตั้งแต่ กรมพละศึหษาเลย เพราะเนาชินกับระบบอายุ แต่สำหรับ usa แข่งแบ่งคลาสไม่มีอายุ ทว่าเวลาชิงแชมป์รัฐหรือประเทศ แทบจะแบ่งทุก 2 ปีคล้ายบอลครับ ให้เด็กได้มีโอกาสแข่งขัน

ญี่ปุ่นเท่าที่ทราบใช้รุ่นอายุคล้ายบ้านเราครับ แต่อ่านระเบียบลึกๆไม่ออก....เลยจนใจ

ยิ่งใครเล่นวัตต์ตะรู้เลเวลเลยว่าขาเราประมาณไหน เพราะแต่ละแคทเมื่อมีระยะกำหนดชัดเจน มันก็กะระดีบแรงได้ว่าควรได้แค่ไหน อายุไมี่เกี่ยวแม้แต่น้อยครับ

master ตัดที่ 45 ครับแต่บางรายการผมเห็นเค้าเแิด master45, master60 แยกกันครับ
แต่ cat5, cat4 มีวัย matter มาลงเรื่องปกติครับ เค้าลงมาช่วยทีม และได้ความสนุก รุ่นเก๋าๆที่ไม่ได้ไล่ล่าไต่ระดับหลายคนผ่าน cat1 มาแล้วก็มี แต่อ่อนซ้อมหรือหันมาสอนเด็กใหม่

ทีมชาติไทยผมว่า cat1, elite ครับ ไม่ได้น้อยหน้าฝรั่งแน่ยอน พวกระดับสโมสรไทย ทม. ทบ. สตช. ผมว่า cat1 สู้ได้ชัวร์ ขาแรงๆคนดังๆลง cat2 สบายๆ เราไม่กระตอกครับ แต่เราขาดระบบที่เกื้อหนุนต่อเนื่อง
เรามีแต่ระบบที่เกื้อหนุนผู้ใหญ่

ปล.บอลไทยมีลีกอาชีพที่เติบโตที่สุดในเอเชีย มีสโมสรที่เข้าขั้นมาตรฐ่นการจัดการแนวหน้า AFC ...จักรยาน มีรายการ uci หนึ่งรายการ กับทีมชาติ ที่พัฒนากัน แต่ยังไม่มีทีมอาชีพจริงๆ
ผมมองว่าสมาคมบอลโดยผลง่นด้านการจัดการได้นำไปหลายช่วงครับ แต่โดยผลงานสมาคมจักรยาน ก็ได้ผลงานดีไม่น้อย
...ขอไม่พูดเยอะครับ คิดเสียว่าบ่นในใจ
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
ตั้มเล็ก
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 180
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ส.ค. 2008, 21:20
team: Kirirom Tigers
Bike: Trek 4500, KTM Strada 800

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย ตั้มเล็ก »

ชอบแนวคิดแบบนี้นะครับ แบ่งรุ่นตามความสามารถ(-ทักษะ)

ขาแรงพอกัน ไปพร้อมกัน มาร์แชลคุมง่าย
มือใหม่หัดแข่ง ปั่นไม่ไกล หัดเข้ากลุ่มที่ไม่เร็วนัก ไม่อันตรายต่อตัวเองและคนอื่น
รูปประจำตัวสมาชิก
benzpear
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ต.ค. 2014, 13:44
Tel: Line id: korakotbeer
team: Canyon Bikes Thailand, Phuket Cycling, Loma Cycling Club, MU Cycling Club
Bike: Canyon Aeroad CF SLX
ตำแหน่ง: ภูเก็ต

Re: แลเขาดูเรา : ระบบการจัดการการแข่งจักรยานเมืองฝรั่ง รากฐานการพัฒนาจากรากสู่จุดสูงสุดแห่งความสำเร็จ

โพสต์ โดย benzpear »

ชอบแนวคิดนี้ครับ เห็นด้วยเลย ^_^
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”