SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

giro
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3092
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ส.ค. 2008, 15:14
Tel: 0865040751
team: Team Bike And Body Cycoling
Bike: Kemo KE-R5, Giant Propel Advance SL, Specialized Alez E5 Revolution
ตำแหน่ง: ซอยอารีย์ พหลโยธิน กทม.
ติดต่อ:

SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย giro »

SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์
sprint0.jpg
sprint0.jpg (135.3 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
การสปรินท์ เป็นเสน่ห์และความน่าตื่นเต้นที่สุดของกีฬาจักรยาน เมื่อการตัดสินแพ้ชนะอยู่บนเส้นทางราบ ที่เสือหมอบใช้ความเร็วสูงพุ่งเข้าเส้นชัยไป ชนะเฉียดกันเพียงไม่กี่ช่วงล้อ หรือบางครั้งเพียงเสี้ยวของล้อหน้าก็สามารถตัดสินได้แล้ว แฟนๆกีฬาจักรยานต่างเฝ้ารอจังหวะเพียง 2-3 นาทีก่อนเข้าเส้นชัย เพราะจับตาดู 10 วินาทีสุดท้ายที่ตื่นเต้นที่สุด
แต่การสปรินท์ มีอะไรมากไปกว่าการเอาจักรยานมาแล้วปั่นให้ได้เร็วที่สุดแล้วพุ่งออกไป
sprint01.jpg
sprint01.jpg (49.83 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
สิ่งแรกที่ควรรู็คือ "สปรินท์เตอร์" คืออะไร
Sprinter คือนักปั่นที่มีความสามารถในการสปรินท์เร่งความเร็วขึ้นบนทางราบ มีอัตราเร่งที่สูงและมีความเร็วสูงสุดที่มากกว่านักปั่นปกติ ดังนั้นแปลง่ายๆว่านักปั่นประเภทนี้คือนักปั่นที่ทำได้ทั้งอัตราเร่งที่รวดเร็วและสามารถไต่ไปจนสุดความเร็วได้สุงกว่านักปั่นทั่วไป ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาที การศึกษาสปรินท์เตอร์ที่เข้าเส้นชัยใน Tour de France หลายปีที่ผ่านมาพบว่า สปรินท์เตอร์เหล่านี้ระเบิดพลังออกมาได้เฉลี่ยตั้งแต่ 860-1164 วัตต์ และใช้ระยะเวลานาน 9-17 วินาที โดยที่มีพลังระเบิดสูงสุดขึ้นไปได้ถึง 1400+ วัตต์ ในระยะเวลาดังกล่าว นำมาคำนวนกับน้ำหนักตัวได้เท่ากับ 17-18 วัตต์ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว
sprint02.jpg
sprint02.jpg (33.7 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
เมื่อเทียบกับนักปั่นทั่วไประดับผู้ชนะ Tour de France ที่ใช้การกระชากบนภูเขาเพื่อทำระยะห่างหนีคู่แข่งที่สามารถระเบิดพลังได้ 15 วัตต์ต่อน้ำหนักตัวเพื่อทำระยะห่างสั้นๆ 4-5 วินาที จากนั้น คงความหนักที่ 6-8 วัตต์ต่อกิโลกรัมต่อนเื่องกันยาวนานกว่า 8 นาที พบได้ชัดเจนว่าวิธีการใช้พลังของนักปั่นทั้งสองแบบนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง
sprint03.jpg
sprint03.jpg (78.04 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
ปัจจัยสำคัญนี้เกิดจากทางราบมีตัวแปรทางด้าน"แรงโน้มถ่วง"ส่งผลกับความเร็วของจักรยานน้อยกว่าบนภูเขามาก ดังนั้นต่อให้นักปั่นมีน้ำหนักที่มากกว่า อย่างเช่น มาร์เซล คิทเทล สปรินท์เตอร์ชาวเยอรมันที่มีน้ำหนักตัวถึง 82 กก. ก็ไม่ถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงเอาไว้มากนัก เมื่อระเบิดกำลังออกไปแล้วร่างกายทั้งหมดส่งพลังออกมาเป็นวัตต์ที่มหาศาลพาเอาร่างกายและจักรยานพุ่งออกไปไต่ความเร็วสูงสุดได้เร็วกว่านักปั่นที่ขึ้นเขาได้ดี
sprint04.jpg
sprint04.jpg (24.56 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
สรีระก็มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากค่าเฉลี่ยของนักจักรยานพบว่านักปั่นทั่วไปและนักขี่ไทม์ไทรอัลมีค่าเฉลี่ยส่วนสูงต่อความกว้างร่างกายสูงกว่านักปั่นแบบสปรินท์เตอร์ซึ่งมักมีร่างกายที่สั้นและหนา(ส่วนสูงต่อความกว้างน้อยกว่า) และมีปริมาณกล้ามเนื้อหดตัวเร็วน้อยกว่าสปรินท์เตอร์ที่มีกล้ามเนื้อหดตัวเร็วทำงานได้ดีและมากกว่า ดังนั้นไม่แปลกใจที่บรรดาสปรินท์เตอร์หุ่นจะออกมาในลักษณะป้อม เตี้ย กำยำ หากเป็นคนสูงก็จะเป็นลักษณะสูงใหญ่ ตัวกว้างล่ำสัน ผิดกับนักปั่นออลราวเดอร์และนักขี่ไทม์ไทรอัลที่รูปร่างสูง เพรียว หรือนักไต่เขาแท้ๆที่ร่างกายเล็ก ผอมเพรียว
sprint05.jpg
sprint05.jpg (71.54 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
ทางด้านหัวใจ พบว่าสปรินท์เตอร์เป็นนักปั่นที่สามารถระเบิดหัวใจสูงสุดขึ้นไปได้สูงกว่าคนปกติมาก และสามารถทนต่ออัตราการเต้นที่เร็วได้นาน ซึ่งแตกต่างจากนักปั่นแบบอื่นๆเช่นนักขี่ไทม์ไทรอัลที่อาจทนอัตราการทำงานของหัวใจโซนสูงได้แต่ก็ไม่สูงถึงขั้นช่วง 5-10 ครั้งต่อนาทีสุดท้ายที่ทนได้ สำหรับสปรินท์เตอร์ การทนต่อหัวใจระดับสูงสุดได้ 5-15 วินาที ถือเป็นขุดสำคัญต่อการพัฒนา เพราะเมื่อกล้ามเนื้อต้องระเบิดหนักมากๆและคงเอาไว้ในระยะเวลาเกือบ 20 วินาทีนั้น หัวใจต้องเข้ามามีบทบาทช่วยในการสร้างพลังงานและกำจัดของเสียต่างๆอย่างรวดเร็วได้ด้วย จึงจะสามารถคงระดับความหนักขนาดนั้นไว้ได้มากพอที่จะไต่ไปหาความเร็วสูงสุดหรือคงความเร็วไว้ได้

ดังนั้นก่อนจะมาหัดสปรินท์ ลองถามตัวเองก่อนว่า คุณมีคุณสมบัติเป็นสปรินท์เตอร์มากแค่ไหน?

แต่พลังวัตต์ไม่ใช่ทุกอย่างเสมอไป
การศึกษาพบว่าสปรินท์เตอร์ที่ชนะอาจไม่ใช่คนที่ระเบิดพลังได้มากที่สุดเสมอไป ตัวแปรสำคัญในความสำเร็จของผู้ชนะจากการศึกษาการแข่งัน Tour de France ย้อนหลัง 3 ปีพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อสถิติการเอาชนะมี 2 ตัวแปรสำคัญกว่านั้นได้แก่

แอโร่ไดนามิคส์ ที่ความเร็วสูงมากๆ อกาศกลายเป็นแรงต้านและแรงฉุดที่ส่งผลรวมสูงยิ่งกว่าน้ำหนักรถจักรยานบนภูเขาเสียอีก การทดสอบเทียบเคียงพบว่าที่ความเร็ว 60 กม./ชม. แรงที่เกิดจากกระแสอากาศส่งผลกับนักปั่นเทียบได้เท่ากับการลากน้ำหนั 2 กม. มาด้วยเลยทีเดียว ดังนั้น ท่าการสปรินท์จึงเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญของวามสำเร็จ เนื่องจาก 80% ของแรงต้านเกิดที่ร่างกายของนักปั่นนั่นเอง ท่าทางของนักปั่นขึ้นอยู่กับความสูงและมวลร่างกายเป็นตัวแปรสำคัญด้วย แต่สปรินท์เตอร์ที่มีอัตราได้เปรียบทางอากาศดีที่สุดจากท่าปั่นที่ถูกพัฒนามาจากลักษณะของกีฬาจักรยานประเภทลู่ได้แก่ มาร์ค คาเวนดิช ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าแม้จะไม่ได้มีพลังวัตต์สูงที่สุดก็สามารถสร้างอัตราเร่งและความเร็วสุงสุดได้มากกว่า
ในภาพประกอบ เปรียบเทียบท่าสปรินท์ของมาร์คคาเวนดิช ที่ก้มตัวลงต่ำกว่า งอข้อสฮกมากกว่า หัวไหล่และศีรษะอยู่ต่ำกว่า ช่วงสะโพกสูงไม่ต่างกับนักแข่งอื่นๆเพื่อให้ส่งกำลังได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของศักยภาพ
Cavendish-positions.png
Cavendish-positions.png (103.75 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
แทคติค ถ้าแอโร่ไดนามิคส์คือหัวใจของการชนะ แทคติคก็คือปัจจัยของความพ่ายแพ้ของการสปรินท์ ซึ่งมีความหลากหลายมากๆขึ้นอยู่กับทีม นักปั่น และเส้นทางที่แข่งขันกันด้วย เพราะแม้แต่ทิศทางลมก็มีส่วนอย่างยิ่งสำหรับการเลือกระยะและตำแหน่งของการสปรินท์ที่ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายนอกเสียจากเอาวิดีโอมาเปิดเพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษาแต่ละแบบ และสุดท้ายไม่มีอะไรดีไปกว่าการทดลองิดและถูกด้วยตัวเองเพื่อหาระยะสปรินท์ที่เหมาะสมจริงๆเท่านั้น
sprint06.jpg
sprint06.jpg (78.69 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
เมื่อพอจะรู้ปัจจัยต่างๆของการสปรินท์ และอยากเริ่มพัฒนาการสปรินท์ ลองมาดูแบบฝึกการสปรินท์ที่อาจช่วยให้คุณเป็นหนึ่งในสปรินท์เตอร์ที่ดีขึ้นได้ โดยเริ่มจากการฝึกซ้อมพัฒนาศัพยภาพภายในตัวเองก่อน
sprint07.jpg
sprint07.jpg (81.98 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
แบบฝึกสปรินท์เนิน
การสปรินท์ต้องการกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่ง นอกจากการเล่นเวทเทรนเนิ่ง สามารถพัฒนากล้ามเนื้อได้ด้วยการใช้แรงดึงดูดของโลกเข้าช่วย มองหาเนินความชัน 2-4% และใช้เวลานั่งปั่นด้วยกำลังสูงที่สุดในช่วงเวลา 20-40 วินาที ทำซ้ำ 4-8 ครั้ง โดยมีระยะพักฟื้นระหว่างแต่ละเซ็ท ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย กระบวนการซ้อมนี้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สะโพกและต้นขาที่สำคัญจำเป็นต่อการพัฒนาการส่งกำลังในท่ายืนปั่นต่อไป
sprint07.jpg
sprint07.jpg (81.98 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
แบบฝึกการกระชาก
การกระชากถือเป็นเทคนิคสำคัญที่จะเริ่มสร้างความเร่งออกตัวออกไปก่อนถึงระดับความเร็วสุงสุด ทำได้โดยการฝึกซ้อมอินเทอร์วัลที่ระยะเวลา 10 วินาทีกระแทกแรงทั้งหมดลงไปให้ได้ จากนั้นพักเบาๆอีก 10 วินาที ทำซ้ำๆไปจนครบ 6 ครั้ง) (2 นที) จากนั้นทำซ้ำทั้งหมดนี้ 2-3 รอบ โดยมีระยะพัก 4-5 นาทีให้ร่างกายได้ฟื้นเต็มที่ระหว่างเซ็ทใหญ่แต่ละชุด การออกแรงสปรินท์กระชากทุกครั้งต้องมีความหนักมากกว่าวัตต์โซน 6 ขึ้นไปเท่านั้น หากไม่สามารถระเบิดพลังได้มากกว่านั้น ให้เพิ่มเวลาพักฟื้นให้ยาวขึ้น
sprint08.jpg
แบบฝึกการคงความเร็ว
นอกจากความแข็งแรง การกระชากออกตัวและสร้างความเร่งสปรินท์เตอร์ต้องสามารถคงความเร็วสูงที่สุดเอาไว้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ทำได้โดยการซ้อมแบบเซ็ท เซ็ทละ 3 นาที ที่ค่าวัตต์สูงสุดของ 3 นาที (CP3) และพักฟื้นตัว 3 นาที ทำซ้ำเช่นนี้ 5-8 เซ็ท โดยที่รักษาให้ CP3 ที่ทำได้มีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุดในแต่ละเซ็ท
sprint09.jpg
ปัญหาสำคัญของการพัฒนาสปรินท์เตอร์พบว่า แม้ว่าจะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพ่ิมปริมาณกล้ามเนื้อเพื่อสะสม ATP (แหล่งพลังงานของกล้ามเนื้อ)ได้มากขึ้น แต่ในการสปรินท์ของจักรยานร่างกายต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากส่วนอื่นมาด้วยในเวลาสั้นๆทั้งไกลโคเจนและสังเกคราะห์จากฟอสเฟต ซึ่งอัตราการสร้างพลังงานจากทั้งสองกรณีนี้แทบจะไม่สามารถฝึกฝนพัฒนาได้อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรมของร่างกายมากกว่า ผิดกับระบบเอนดูแรนซ์และระบบการทำงานของการสร้างพลังงานจากไขมันที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกซ้อมเห็นผลชัดเจน ดังนั้นนักปั่นหลายๆคนที่ต้องการเอาดีทางการสปรินท์อาจฝึกไปจนหนักเท่าไหร่ก็ไม่สามารถพัฒนาได้อีกแล้ว อาจพูดได้ว่าการสปรินท์ถือว่าเป็น"พรสวรรค์"ของแต่ละคนก็ว่าได้
sprint15.jpg
อย่างไรก็ตามในระดับ"มือสมัครเล่น"อย่างพวกเรา พรสวรรค์อาจเป็นสิ่งที่เบือ้งบนประทานมาให้ได้ใช้ก็จริงแต่ส่วนมากการตัดสินกันวัดด้วย"ความผิดพลาด"ที่น้อยกว่า มากกว่า"ความเป็นเลิศ"ที่เหนือกว่า
ข้อผิดพลาดเบื้องต้นที่พบได้บ่อยในการสปรินท์
sprint10.jpg
sprint10.jpg (409.38 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
1.เปลี่ยนเกียร์ลงเฟืองหนักทันที
ปัญหาแรกของการสปรินท์คือการที่นักปั่นกดเกียร์หนักเกินไปทำให้เสียอัตราเร่งในการสปรินท์ และถูกคนหลังสามารถตามจับท้ายได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้แรงส่งที่เร่งความเร็วออกไปกลายเป็นแท่นยิงลากนักปั่นคนอื่นให้ส่งตัวออกไปต่อได้เร็วกว่าตัวเอง แถมเสียงเปลี่ยนเฟืองหลังสนั่นกลุ่มยังเป็นเหมือนโทรเลขบอกเพื่อนนักปั่นว่า "จะเอาแล้วนะ" วิธีแก้ไขคือการออกตัวสปรินท์ที่เกียร์ที่เหมาะสมกับตัวเองจริงๆ เพื่อสร้างแรงบิดและอัตราเร่งที่ดีที่สุด จากนั้นระหว่างที่ยังสปรินท์อยู่จึงไล่เฟืองเล็กลงเพื่อพุ่งไปหาความเร็วสูงสุด
จากภาพในกราฟตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่ามีการระเบิดกำลังวัตต์สองทีติดๆกันจากการเปลี่ยนเกียร์และส่งให้รถพุ่งออกไปเร่งความเร็วขึ้นเรื่อยๆ
sprint.png
sprint.png (96.72 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
2.เริ่มเปิดสปรินท์เร็วเกินไป
การสปรินท์ก็เหมือนการรอจังหวะที่เหมาะสมของตนเอง ยิ่งคุณมีจังหวะการออกตัวที่เหมาะเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสถึงความเร็วที่ต้องการและคงเอาไว้ได้นานถึงเส้นชัยจนได้ ยิ่งเปิดเร็วเกินไปมากเท่าไหร่ ก็คือโอกาสที่ให้คู่แข่งสามารถสวนคืนได้เมื่อความเร็วของคุณตกลง และขึ้นอยู่กับทิศทางลมด้วย หากลมส่งมาด้านหลังสามารถเริ่มระยะสปรินท์ได้ไกลกว่าปกติ แต่ถ้าทิศทางลมสวนมาด้านหน้ายิ่งแรงเท่าไหร่ การสปรินท์ก็ยิ่งต้องรอคอยระยะที่สั้นลงตามไปด้วย
sprint11.jpg
sprint11.jpg (305.53 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
3.ตำแหน่งที่อยู่หลังเกินไป
สปรินท์เตอร์หน้าใหม่จะคอยโอกาสและระวังตัวไม่ให้ตัวเองเจอกับลมต้านด้านหน้ามากจนพยายามพาตัวเองไปอยู่ในกลุ่มลึกเกินไป ทำให้เมื่อจังหวะที่ต้องการออกสปรินท์ก็ไม่สามารถทำได้ โดยอุดมคติตำแห่งสุดท้ายที่จะเริ่มสปรินท์ที่ดีที่สุดคืออยู่เป็นลำดับที่ 3-4 หลังจากคนแรก เพื่อที่สามารถเร่งความเร็วออกมาได้ ผ่านคนแรกไปที่ความเร็วสูงสุด หากอยู๋หลังกว่านั้น กว่าจะมาถึงคนแรกหัวแถวได้ ก็หมดแรงเสียก่อนแล้ว
sprint12.jpg
sprint12.jpg (112.07 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
4.ตำแหน่งที่อยู่หน้ามากเกินไป
ตรงกันข้ามกับข้อ 3. เพราะเมื่ออยู่ด้านหน้ามากเกินไปก็ต้องรับหน้าที่บังลม ฝ่าลมไปด้วยความเร็วสูง จนแทบไม่เหลือแรงสปรินท์ต่อได้อีก ถึงเหลือแรงสปรินท์ต่อได้ แต่ก็ถูกจับตามองจากคู่แข่งที่ตามมาด้านหลังพร้อมจะเกาะคุณไปด้วยและใช้คุณเป็นตัวส่งความเร็วไล่ขึ้นไปแทนที่จะเป็นฝ่ายรุก จะโดนสวนกลับเอาได้แทน
sprint13.jpg
sprint13.jpg (67.02 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
ข้อควรระวังในการสปรินท์
1.รักษาแนวให้ตรงเข้าไว้ แม้ว่าการเบียดแย่งตำแหน่งที่ต้องการเป็นสิ่งสำคัญ แต่การรักษาแนวของตนเองเอาวไ้คือสิ่งสำคัญยิ่งกว่า เมื่อเข้าถึงระยะหน้าเส้นชัย ระยะห่างของแต่ละคนจะเบียดกันมากๆเพราะทุกคนต้องการตำแหน่งที่ดีที่สุด โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุมีสูง ดังนั้นพยายามรักษาแนวการวิ่งให้ตรงเอาไว้ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกี่ยวกันล้ม
2.อย่าก้มหน้าก้มตาสปรินท์ ถึงจะเห็นโปรทำแบบนั้นแล้วดูเท่ห์เหลือเกิน ในเวทีสมัครเล่น อย่าละสายตาไปจากทางข้างหน้า เพราะคุณไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถนนก็ไม่ได้ปิดสมบูร์ และเดาใจเพื่อนนักแข่งระดับสมัครเล่นด้วยกันลำบาก ต้องเอาความปลอดภัยไปแขวนเอาไว้กับคนอื่น ยอมช้าลงนิดหน่อยแต่กลับบ้านปลอดภัยดีกว่ามั้ยครับ
3.สปรินท์ให้ตรงทาง ที่ระยะก่อนถึงเส้นชัย อย่าพยายามสลัดคนที่เกาะท้ายมาด้วยการส่ายไปมาเป็นงูเด็ดขาด เพราะเมื่อทุกคนเปิดเกมส์สปรินท์พร้อมๆกัน ทุกคนจะพุ่งไปข้างหน้าเป็นเส้นตรง เมื่อคุณส่ายไปมาเพื่อสลัด หรือหาไลน์ที่เหมาะสม เท่ากับคุณกำลังรบกวนไลน์คนอื่น ผิดทั้งกติกาสากลและมารยาทเพื่อความปลอดภัย
4.พุงคิดเสมอว่าคุณคือมือสมัครเล่นที่เสียเงินซื้อจักรยานมาแข่งขัน มาขี่ มีงานประจำรออยู่ การเสี่ยงเพื่อชัยชนะที่ไม่ได้สำคัญเท่ากับสวัสดิภาพร่างกายอาจคุ้มสำหรับโปรที่ต้องดำรงชีวิตด้วยการแข่งขัน แต่ในบ้านเรา... มีโปรที่คุ้มพอจะทุ่มเสี่ยงขนาดนั้นหรือไม่?? ผมว่าคำตอบนี้ต้องถามตัวคุณเอง
sprint14.jpg
sprint14.jpg (85.04 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
การสปรินท์รูปแบบของทีม
เจาะลึกแผนการสปรินท์ของทีม GIANT
ถ้าจะพูดถึงทีมที่มีเป้าหมายอยู๋ที่การ sprint ของโปรทีมยุคปัจจุบันที่โดดเด่นที่สุดก็คงเป็นทีม Giant-Alpecin ที่มีดาราดัง Marcel Kittel แต่อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่ากีฬาจักรยานเป็นกีฬาประเภททีดังนั้นในอดีตตั้งแต่ยุค Lampre มาจนยุคของ HTC แต่ละทีมต่างก็มีรูปแบบของ”sprint train” หรือขบวนรถไฟที่จะนำเอาตัวสปรินท์เตอร์ของตนเข้าไปสู่ระยะทำการได้อย่างพอเหมาะที่แตกต่างกันไป ปัจจุบันนักวิเคราะห์จักรยานเชื่อว่าขยวนรถไฟที่สมบูรณ์แบบที่สุดในด้านการออกแบบกลยุทธคือขบวนของทีม Giant-Shimano (Giant-Alpecin ในปัจจุบัน) เราจะมาวิเคราะห์ตำแหน่งและการทำงานของแต่ละตำแหน่งว่าใครมีหน้าที่อะไรบ้างในขบวนรถด่วนความเร็วสูงนี้นะครับ
10980192_408507615983230_7997894422212595557_o.jpg
10980192_408507615983230_7997894422212595557_o.jpg (22.41 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
ดูเผินๆก็เหมือนกับว่าในทีมช่วยกันลาก ช่วยกันส่งเพื่อนไปถึงหน้าเส้นชัย ออกแรงเต็มที่พาไปให้ถึงอย่าให้คนแซงได้ แต่ความเป็นจริงมันเป็น”ศาสตร์และศิลป์”ที่ล้ำลึก แต่ละคนมีหน้าที่เฉพาะเจาะจง มีบทบาทที่ชัดเจน เช่นเดียวกับที่ฟุตบอลแบ่งผู้เล่นเป็นส่วนต่างๆสอดประสานกัน มาดูว่าทีม GIANT แบ่งตำแหน่งต่างๆของขบวนรถด่วนเป็นอย่างไรบ้าง
10922869_408516799315645_4363715178057241742_n.jpg
10922869_408516799315645_4363715178057241742_n.jpg (32.03 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
SPRINTER
เรียกง่ายๆว่า”ตัวเป้า” เป็นตัวที่สปรินท์ได้ดีที่สุด มีพลังมากที่สุด และที่สำคัญต้องมีสายตาและสัญชาตฐาณของการไปสู่ชัยชนะได้ สามารถระเบิดพลังช่วง 200-300 เมตรสุดท้ายนำหน้าหรือแซงคู่ต่อสู้ได้ สามารถบัญชาการขบวนรถไฟในช่วง 1-2 นาทีสุดท้ายได้อย่างเฉียบขาด

LEAD-OUT
ตำแหน่งคนนำตัวเป้าที่จะคอยอยู่ด้านหน้าของสปรินท์เตอร์เตลอดเวลา จะทำหน้าที่ลากเดี่ยวที่ระยะทำการประมาณ 600 เมตร จนถึงระยะ 250-150 เมตรหน้าเส้นชัยขึ้นอยู๋กับทิศทางลมและรูปแบบการสปรินท์ หากลมส่งสปรินท์เตอร์จะออกจากแนวกำบังของตัวนำเร็วขึ้น แต่หากลมด้านตัวนำจะต้องบังลมให้กับตัวเป้านานขึ้นเพื่อรักษาแรงไว้ให้มากที่สุด ตำแหน่งนี้ต้องมีพลังสปรินท์ที่มากไม่แพ้สปรินท์เตอร์ ต้องสามารถขี่คงความเร็วสูงๆได้นานๆ และสามารถเป็นตัวสอดแทรกการสปรินท์กลุ่มได้หากแผนล้มเหลว

ACCELERATOR PILOT
หน้าที่ของตัววางความเร็วทำหน้าที่ดึงความเร็วจากกลุ่มมาตั้งเป็นความเร็วสูงเข้าควบคุมเกมส์ของเปโลตอง ทำหน้าที่ตั้งแต่ราว 1 กม. จนถึงประมาณ 600 เมตรหน้าเส้นชัย กลุ่มจะขี่ด้วยความเร็วเท่าไหร่ก็ตาม นักแข่งในตำแหน่งนี้รับช่วงต่อจากเพื่อนมาจะต้องทำหน้าที่ลากความเร็วสูงขึ้นเพื่อควบคุมเกมส์ของการสปรินท์ให้อยู่ในมือของทีมตนให้ได้ ขบวนรถด่วนต้องอยู๋ในตำแหน่งพร้อมเปิดฉากและป้องกันไม่ให้ใครขึ้นมาเบียดแย่งเกมส์นี้ไป นักแข่งที่เหมาะกับตำแหน่งนี้ต้องสามารถค่อยๆเพิ่มความเร็วไปจนถึงความเร็วเป้าและคงที่ไว้ได้ในระยะทางประมาณ 400 เมตร ต้องให้เกิดความสมดุลย์ระหว่างเกมส์ การเร่งความเร็วที่ไม่กระชากจนเกินไป และรักษาความเร็วเอาไว้จนถึงหน้าที่ของ LEAD-OUT รับช่วงต่อ

SPEED PILOT
เป็นตำแหน่งแรกที่จะเริ่มต้นกระบวนการเร่งความเร็วหลังจากการวางตำแหน่งเสร็จสิ้นลงไปแล้ว หน้าที่หลักคือการตั้งความเร็วของกลุ่มสปรินท์ให้อยู๋ในความเร็วที่เหมาะสมกับสปรินท์เตอร์ของตนมากที่สุด บางครั้งผลของเกมส์ชี้ชัดได้ตั้งแต่ตำแหน่งนี้เมื่อบางทีมตั้งความเร็วมาสูงเกินไปสามารถขึ้นมาอยู๋หน้ากลุ่มได้สำเร็จแต่ไม่สามารถรักษาความเร็วเอาไว้ได้ ดังนั้น SPEED PILOT คือหัวใจสำคัญของการวางความเร็วที่ดี หากอยู่ด้านหน้าต้องรักษาความเร็วสูงพอที่จะไม่มีคนแซงไปได้ หากมาจากด้านหลังต้องเร็วพอที่จะค่อยๆขึ้นมาอยู๋ช่วงหน้าขบวนได้ มีหน้าที่ตั้งแต่ 1500-1000 เมตร

CAPTAIN
หรือหัวหน้าทีม เรามักจะเข้าใจว่าตำแหน่งหัวหน้าคงเป็นของสปรินท์เตอร์ตัวเป้า ทว่าในความเป็นจริงการบัญชาการและการอ่านทิศทางของการแข่ง ณ เหตุการณ์ต่อหน้าจะอยู่ในมือของกัปตันทั้งหมด นักปั่นตำแหน่งนี้ต้องมีประสบการณ์ที่สูง อ่านเกมส์ได้ฉลาด เลือกทิศทางและการรุกหรือรับที่เหมาะสมจนกว่าจะถึงราวๆ 2000-1500 เมตรสุดท้ายจะออกจากกลุ่มปล่อยให้ 4 ตำแหน่งสุดท้ายปิดงานตามหน้าที่ของตนเองได้สำเร็จ

POSITIONER
ทำหน้าที่วางตำแหน่ง เลือกตำแหน่งที่จะปล่อยขบวนรถด่วนในการสปรินท์ เกมส์จะถูกวางแผนมาแล้วว่าเสตจนั้นๆจะต้องสปรินท์จากมุมไหน อย่างไร แต่กัปตันจะเป็นผู้บัญชาการตำแหน่งนักปั่นที่ทำหน้าที่นี้อ่านจากเหตุการณ์เฉพาะหน้าอีกครั้ง เนื่องจากไม่มีอะไรที่แน่นอนตายตัว นักแข่งกลุ่มนี้ต้องทำความเร็วสั่งได้ สามารถเบียดแย่งเข้าถึงตำแหน่งที่กัปตันต้องการได้โดยไม่เกี่ยวกันล้ม ต้องมองเห็นช่องว่างและตจังหวะที่จะแทรกเข้าไปได้ดี รับหน้าที่ช่วง 2000-1000 เมตร หรือจนกว่ากัปตันจะสั่งให้ชุดสนับสนุนถอนออกไปส่งให้ทีมสปรินท์ทำหน้าที่ต่อไปเอง

CONTROLLER
หน้าที่หลักของนักแข่งกลุ่มนี้คือทำหน้าที่คุมสถานการณ์ทุกอย่างก่อนถึงหน้าเส้นชัย ทำงานทุกอย่างที่กัปตันและผู้ควบคุมการแข่ง(director sportiff)ต้องการไม่ว่าจะเป็นขนน้ำ ส่งอาหาร ลงมารับของที่รถ เอาเสื้อไปให้เพื่อนร่วมทีม เรียกว่าทำทุกอย่างที่คนอื่นไม่ต้องทำ หากมีกลุ่มหนีที่หนีไปจนถึงระยะที่ทีมปล่อยได้ นักแข่งกลุ่มนี้จะเข้าทำหน้าที่ควบคุมกลุ่มใหญ่ตั้งความเร็วไล่ล่ากลุ่มหนีให้ได้ตามระยะที่กำหนด กัปตันและผู้ควบคุมการแข่งจะบัญชาการเรียกตัวนักแข่งเข้าทำหน้าที่และกำหนดความเร็วเพื่อให้รบตัวกลุ่มหนีได้ในตำแหน่งที่ต้องการ หากรบตัวได้แล้วต้องควบคุมสถานการณ์ของกลุ่มเอาไว้ไม่ให้มีคนหนีได้อีก หรือปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนวางตำแห่งเปิดเกมส์เข้าสู่กระบวนการสปรินท์ต่ออีกที บ่อยครั้งที่นักปั่นกลุ่มนี้อาจวนกลับมาต่อท้ายตัวสปรินท์เตอร์ของตนเองจนถึงระยะ 1500 เมตรสุดท้ายถึงจะจบงานอย่างแท้จริงเพื่อป้องกันไม่ให้ใครมาดูดเกาะตัววางแล้วไปตีหัวเอาได้ง่ายๆ

เห็นไหมครับว่าไม่ใช่งานที่ง่ายเลยสักนิด ทุกคนมีหน้าที่สำคัญกับความสำเร็จอย่างชัดเจน ที่สำคัญทีม GIANT-ALPECIN ยังเตรียมแผนขบวนรถด่วนเอาไว้รับมือหลายๆกระบวนการสำหรับแต่ละเสตจที่แตกต่างกันไป
sprint16.jpg
sprint16.jpg (45.96 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
ในกรณีทีม 9 คนจะวางแผนดังนี้ Controller 2 คน, Positioner 2 คน, Captain, Spd Pilot, Acl Pilot, Lead-Out, SPRINTER มักจะใช้สำหรับ Marcel Kittel ในการแข่งรายการใหญ่ และใช้กับเสตจทางราบจริงๆ มีความเร็วสูงมากๆ
1965082_408516552649003_7878149176398702910_n.jpg
1965082_408516552649003_7878149176398702910_n.jpg (16.81 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
ในกรณีทีม 6 คน จะวางนักกีฬาดังนี้ Controller, Captain, Spd Pilot, Acl Pilot, Lead-Out, SPRINTER มักจะใช้ในการสปรินท์ขึ้นเนินชัน การแข่งแบบคลาสสิค หรือการสปรินท์ส่งนักแข่งตัววางแบบทรงพลังหนีไปช่วงท้ายของการแข่งเช่น John Degenkolb ไม่มี Positioner เพราะมักไม่ใช่การสปรินท์กลุ่มใหญ่มากหากมีคนเหลือจะใช้เป็น Controller ทั้งหมดและแต่ละคนทำงานที่รยางค์ไกลกว่าปกติ
sprint17.jpg
sprint17.jpg (68.28 KiB) เข้าดูแล้ว 23272 ครั้ง
ใครที่ปั่นกันเป็นทีม ลองประยุกต์ไปฝึกซ้อมกันดูนะครับ แต่อย่าลืมเรื่องพื้นฐานความปลอดภัย มารยาทและข้อควรระวังในการสปรินท์เป็นกลุ่มก็สำคัญมากๆครับ[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 169525.jpg[/homeimg]
ฟังสาระจักรยาน Podcast
https://open.spotify.com/show/76iDUCWXgqqixg1CmoSDIp
ข่าวสารจัรกยาน
https://www.facebook.com/cyclinghubthailand/
รูปประจำตัวสมาชิก
metusboy
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 126
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 13:25
Tel: 0959643244
team: Ku Kps Bicycle Club
Bike: Specialized Allez C2
ตำแหน่ง: 87 หมู่ 5 ต.หนองปลาหมอ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
ติดต่อ:

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย metusboy »

ขอบคุณมากคร้าบ อ่านเพลินมาก ^^
If you worried about falling off the bike, You'd never get on
รูปประจำตัวสมาชิก
Aw_Covert
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 107
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ก.ค. 2014, 16:23
team: 1.Kanda bike 2.SKB
Bike: Mosso 750CB

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย Aw_Covert »

thank u.
รูปประจำตัวสมาชิก
aobbyhahaha
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 476
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2008, 08:27
Tel: 089-4443732
team: RaceReg.net
Bike: Fermented Fish MTB รุ่น Sperm ไร้พ่าย

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย aobbyhahaha »

ขอบคุณครับ สำหรับบทความดีๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
55pm
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 81
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 15:31
Bike: COLNAGO

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย 55pm »

อ่านจบแล้วสนุกมาก.. . ขอบคุณครับ :lol:
รูปประจำตัวสมาชิก
champions
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2015, 18:09
Tel: 0867673738

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย champions »

:D :D :D
รูปประจำตัวสมาชิก
ClassiccizzalD
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 257
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2015, 07:11
Bike: Canyon Aeroad cf slx

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย ClassiccizzalD »

สุดยอดครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
DayWalker
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 960
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ส.ค. 2012, 09:53
team: Tiger Hack & Speed Limit AV 25
Bike: Pinarello Dogma 65.1 Think 2 & Colnago Master X-Light Rabobank team & De Rosa MERAK

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย DayWalker »

เยี่ยมมากๆครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Tunedbykengster
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 520
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 20:47
Tel: 0890094519
team: Modify&service ==Tuned by kengster==
Bike: FELT FR by RBC
ตำแหน่ง: ถ.ประดิษฐมนูธรรม ท่าเเร้ง บางเขน กทม.
ติดต่อ:

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย Tunedbykengster »

สวดดยอดดด
รับซ่อมช่วงล่างรถยนต์ทุกยี่ห้อ
รับปรึกษาปัญหาช่วงล่าง+โช๊คอัพSTD.+Racing
โทร 089-009-4519 ช่างเก่ง
รูปประจำตัวสมาชิก
เส โพลีน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 434
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 19:44
Tel: 094-965-8755
team: อิสระ
Bike: Cervelo R3
ตำแหน่ง: ระยอง

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย เส โพลีน »

:o
nkr
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 367
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 16:30
ติดต่อ:

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย nkr »

:shock: :D :lol: ...
"ฒ" นา..วี สรรค์สร้าง สุขภาพ มิตรภาพ และภราดรภาพ
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย lucifer »

สุด สุด
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
khun69
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 79
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มี.ค. 2014, 20:58
Tel: 0983468582
team: papun,spinner
Bike: spe,neilp.,java,trek

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย khun69 »

ขอบคุณครับ อ่านเพลินเลย สรุปอย่างเราๆเอาแค่พอไหวพอ
temuan
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 45
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 11:25
team: -
Bike: ARAYA DIAGONALE

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย temuan »

ขอบคุณมากครับผม
รูปประจำตัวสมาชิก
Kan-
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1608
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ค. 2010, 16:51
team: แสงเพชร
Bike: TREK 2.5 TREK 8500 TREK 8900 Specialized SL3 tamrac S-Work กำลังหา TREK 6.9 SSL

Re: SPRINTING เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการสปรินท์

โพสต์ โดย Kan- »

:D :D
ทำงานเห็นแก่หน้า...!จะต้องตามแก้ปัญหาไม่รู้จบ...!

บันทึก VDO การปั่นของผมครับ http://goo.gl/DCNt3D
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”