พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย lucifer »

วันสองวันนี้ เหมือนจะมีหน้าที่อธิบายอะไรให้มันฟังง่ายๆให้แก่ผู้บริหารฟังมาโดยตลอด ก็มาทำงานเพิ่มอีกหน่อยก็แล้วกัน

ถ้าคุณใช้จานเบี้ยว คุณสามารถใช้กล้ามเนื้อที่คุณถนัดได้มากขึ้น และลดการใช้กล้ามเนื้อที่ไม่ถนัดให้น้อยลง
ปัญหาของจานเบี้ยวจึงเป็นว่าจะ set ตำแหน่งยังไง ให้กล้ามเนื้อที่ถนัดนั้น ได้ทำงานที่ถนัดจริงๆ และกล้ามเนื้อที่ไม่ถนัดก็ไม่ต้องมาช่วยงานมากมาย

ตรงนี้แหละที่สร้างความยุ่งยากและความสับสนให้แก่ผู้ใช้พอสมควร เพราะกล้ามเนื้อที่ถนัดก็คือกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการถีบ การดันอยู่แล้ว คราวนี้มันก็เลยกลายเป็นว่า จะทำให้ยังไงให้เราใช้ช่วงที่เราถนัดได้อย่างลงตัวที่สุด และพยายามอย่าให้ไปเจอกับช่วงที่เราไม่ถนัด เนี่ยแหละการเลือกตำแหน่งรูที่เหมาะสม การเลือกรูปแบบของจานเบี้ยวให้ได้รูปทรงความเบี้ยวที่ถูกจริตกับเรา และก็ต้องพยายามฝึกตัวของเราให้ใช้ประโยชน์จากมันได้อย่างเต็มที่

จานเบี้ยวจึงเป็นเรื่องของการจูนHardwareให้เข้ากับตัวเรา และเรียนรู้ในการใช้งานกับมัน ถ้าหากพบว่าเป็นจุดที่ไม่เข้าท่า ไม่สอดคล้อง ก็ต้องกลับมาจูนกันใหม่อีก


แต่ถ้าคุณใช้จานกลม คุณก็ยังต้องใช้กล้ามเนื้อที่คุณถนัดอยู่ดี ถ้าจะให้มันทำงานมากขึ้น คุณก็ต้องเข้าใจวิธีการออกแรงกับมัน ขอเครดิตประโยคที่ช่างจ้ำใช้พูดให้ผมฟัง "มันก็เหมือนกับการสวิงกอล์ฟ วงสวิงมันกว้างเท่ากัน ไม่มีใครสวิงได้กว้างกว่านี้อีกแล้ว แต่แรงที่เกิดขึ้นในขณะสวิงไม้ไปปะทะลูกนี่แหละ ที่มันแตกต่างกันในระหว่างโปรกับมือสมัครเล่น" ดังนั้นการออกแรงกระทำกับใบกลมจึงไม่ใช่แค่ออกแรงถีบไปเฉยๆ แต่เป็นเรื่องของการบริหารแรงในแต่ละองศาของรอบการปั่นตั้งแต่ช่วงที่เริ่มออกแรงถีบไปจนสุดการถีบ

ถ้าฝึกได้แบบที่พวกโปรเขาปั่นกัน แล้วเรามาดู EMG ผมว่ามันก็จะได้pattern ที่ไม่ต่างจากการปั่นด้วยใบเบี้ยว
เพราะใบเบี้ยว loadของใบจะเพิ่มขึ้นตามจังหวะขององศาการหมุนของขาจาน ผู้ปั่นก็ออกแรงสู้กับloadที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ( โดยไม่ต้องใช้เวลาในการฝึกมากมายนัก เพราะload มันเปลี่ยนแปลง ทำให้ร่างกายรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงนั้น และปรับเปลี่ยนการทำงานของกล้ามเนื้อตาม )
แต่ใบกลม loadของใบจะคงที่ แต่แรงที่กดบันไดจะเพิ่มขึ้นโดยคนปั่นออกแรงให้สัมพันธ์กับองศาการหมุนของขาจาน แน่นอนครับ ต้องมาจากการฝึกฝนเท่านั้น เพราะจานกลมก็คือจานกลม ไม่มีอะไรมาtrigเราได้แบบจานเบี้ยว แปลว่าเราต้องเรียนรู้จากการฝึกฝน และพัฒนาจังหวะการออกแรงให้สัมพันธ์กับรอบการหมุนที่ตรงกับกล้ามเนื้อที่เราถนัดเพื่อให้มันทำงานให้ได้สมบูรณ์ที่สุด เท่าที่มันจะแข็งแรง

แต่สิ่งที่เหนือกว่าของจานกลมและมีให้มากกว่าที่ใบเบี้ยวจะมีให้ได้ก็คือ การเรียกใช้กล้ามเนื้อมัดที่คิดว่า"ไม่ถนัด"ให้กลับมาทำงานให้เราได้ ซึ่งเป็นไปได้ยากสำหรับมือใหม่ที่จะมาทำเช่นนี้ แต่สำหรับโปรหรือผู้ที่ได้มีโอกาสฝึกฝนจนเกิดความชำนาญและเข้าใจแล้วก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

สำหรับคนที่ชำนาญการใช้จานกลม เขาก็จะสามารถเรีกใช้กล้ามเนื้อที่ไม่ถนัดเหล่านี้ก็จะกลับมาทำงานรับใช้เสริมแรงในรอบองศาการหมุนได้

และสำหรับคนที่ชำนาญการใช้จานเบี้ยว เขาก็จะเรียนรู้ว่า จานเบี้ยวจะทำให้เขาหมุนขาจานผ่านช่วงกล้ามเนื้อที่ไม่ถนัดไปได้เร็วขึ้น แล้วมาเน้นโฟกัสการฝึกกับกล้ามเนื้อมัดที่เขาถนัดได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

ทุกวันนี้ผมเองก็กลับมาปั่นจานกลมได้เกือบจะครบปีแล้ว อาศัยพื้นฐานการปั่นจากการใช้จานเบี้ยวที่ทำให้เราเรียนรู้วงรอบในการปั่นบันไดมาเป็นบรรทัดฐาน ต่อยอดการฝึกกล้ามเนื้อที่ไม่ถนัดให้มันถนัดขึ้น เคยมีช่วงหนึ่งที่ลองกลับไปลองจานเบี้ยวใหม่อีกครั้ง สิ่งที่ผมพบก็คือ ผมกลับไปปั่นจานเบี้ยวไม่ได้อีกแล้ว เพราะพอฝึกฝนไปถึงจุดๆหนึ่ง พบว่ากล้ามเนื้อที่เราเคยไม่ถนัดนั้น บัดนี้มันกลายเป็นกล้ามเนื้อที่เราถนัดไปเสียแล้ว ส่วนกล้ามเนื้อเดิมที่เราเคยถนัดก็กลายเป็นกล้ามเนื้อที่เราถนัดมากขึ้น คราวนี้พอผ่านช่วงที่ใบเบี้ยวออกแบบมาให้กล้ามเนื้อมัดที่ไมถนัดทำงาน เราก็จะไม่สามารถเรียกประโยขน์จากกล้ามเนื้อมัดนั้นของเราได้อย่างที่เราเคยฝึกมาอีก มันจะผ่านไปเฉยๆ ผ่าน
ไปอย่างรวดเร็ว

ผมเนี่ย ถึงกับเหวอไปเลยหละครัช


ผมถึงบอกว่า ทุกสิ่งมันเป็นปัจจัตตัง จะเรียนรู้ได้ด้วยการฝึกและปฏิบัติจนเกิดความเข้าใจแก่ตัวเอง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
OSK 97
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 13804
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2011, 12:05
team: ทุ่งสง
Bike: focus max. neilpride bora

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย OSK 97 »

หมอลูมาทีไร สาระ ความรู้ ข้อคิดดีๆทั้งนั้น :P
Gigabank
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 421
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ย. 2013, 21:56
Bike: Neilpryde Alize & Corima Aero+
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย Gigabank »

ผ่านใบเบี้ยวมา 3000 โล ตอนนี้กลับมาใช้ใบกลมได้เกือบ 2000 โล
ที่ยังไม่ตัดสินใจกลับใบเบี้ยวอีกครั้ง เพราะเรื่องตะคริวนี่ล่ะครับตั้งแต่กลับมาใช้ใบกลมยังไม่เคยเป็นตะคริวเลย
สงสัยผมคงไม่เหมาะกับใบเบี้ยว :D :D
มีทุกอย่างยกเว้น ....แรง....แต่พอเริ่มมีแรงเมียดันไม่ให้ปั่น :lol: :lol:
dmesg
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1311
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ย. 2011, 10:20
Bike: Cannondale Supersix

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย dmesg »

ผมว่ากระทู้แบบนี้น่าจะปักหมุดเอาไว้นะ เวลากลับมาหาจะได้ง่ายๆหน่อย :mrgreen:
zzzz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1457
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 08:36
Tel: 0814239028
team: ลูกยังเล็ก เวลาไม่แน่นอน เลยแปะๆดูดๆชาวโลกเขาไปเรื่อยๆ ไม่มั่ว แต่ ทั่วถึง.555
Bike: หมอบ/TT คันหญายๆๆๆๆ + มินิ คันเล็กๆๆๆๆๆ
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย zzzz »

ที่ค้างรูปกันเมื่อวานครับ

จัดให้เห็น เป็นโซนๆ ได้เห็นกันชัดๆ

Oval Wa แคบ ใบมีความไวต่อท่านั่งมาก จึงส่งผลให้ต้อง ปรับ Starting Point ให้เข้ากับ Fitting ที่ทำมา
Assym Wa กว้างกว่า ความไวต่อท่านั่งไม่มากนัก ปรับรูได้ก็ดี เพราะเลือกชุดกล้ามเนื้อได้ดีกว่า...

อย่างที่เคยบอก
ผล เกิดจากเหตุ
ทั้งสองตัว ออกแบบมาด้วยโจทย์คนละอย่าง
จึงใช้คนละวัตถุประสงค์ครับ
ไฟล์แนบ
Phy compare.JPG
Phy compare.JPG (23.46 KiB) เข้าดูแล้ว 1198 ครั้ง
Phy assy.JPG
Phy assy.JPG (42.14 KiB) เข้าดูแล้ว 1198 ครั้ง
Oval phy.JPG
Oval phy.JPG (41.53 KiB) เข้าดูแล้ว 1198 ครั้ง
จักกะยาระนัง ปะระมัง สุขขัง.
จานไข่ Dr.Egg http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 0&t=515279
Dr.EGG Facebook : http://www.facebook.com/DrEGG.DrivEmotion
ผม Dr.Egg ครับ อยู่บางแสน ติดต่อได้เวลาราชการ
หลังเวลาราชการ ขอเวลาเลี้ยงลูกนะครับ...
พี่น้องงงงง......
รูปประจำตัวสมาชิก
lucifer
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 6413
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 14:53
team: BPMTB , BPRB , Bikeloves
Bike: Only 2-wheels bike
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย lucifer »

มีสมาชิกหลังไมค์มาถาม

ผมใช้คำว่า"ถนัด กับ ไม่ถนัด" ให้คนสับสนจนได้

เมื่อเราเริ่มใช้ clipless pedals เราจะเริ่มต้นฝึกการดึงบันไดกันใช่ไหมครับ

อันนี้ผมเข้าใจว่าบางท่านอาจจะเข้าใจว่า กล้ามเนื้อมัดที่ใช้ดึงบันไดคือกล้ามเนื้อมัดที่ไม่ถนัด

แต่สำหรับผมนั้น คำว่าไม่ถนัดนั้น ผมหมายถึงกล้ามเนื้อมัดที่ออกแรงป้ายบันไดในจุดตายล่าง และไสบันไดในจุดตายบน เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเราจะอาศัยแรงเฉื่อยของการหมุนให้เราผ่านจุดตายล่างและจุดตายบนไปจนเราไม่ได้ออกแรงกับมัน ใบเบี้ยวจึงถูกออกแบบมาให้เราผ่านจุดตายทั้ง2นี้ได้เร็วขึ้น หรือพูดง่ายๆว่าลดการออกแรงกับ 2 จังหวะนี้นั่นเอง

อยากทราบอะไรเด็ดๆเกี่ยวกับจังหวะการปั่นของเรา ก็ลองปั่นขาเดียวดูสิครับ
ถ้าคุณปั่นด้วยขาเดียวได้อย่างนวลเนียนไร้ตะเข็บรอยต่อ ทอทั้งตัวเต็มผืน ฮ่า ฮ่า แปลว่า คุณสามารถออกแรงได้ทุกๆรอบองศาแล้ว

สำหรับมือใหม่ที่หลังจากดึงบันไดเป็นแล้ว เวลาปั่นขาเดียวเราจะแค่ถีบ แล้วรอให้มันผ่านจุดตายล่าง แล้วจึงออกแรงดึง แล้วรอให้มันผ่านจุดตายบน ใช่ไหมครัช
แต่สำหรับคนที่ปั่นมานานแล้ว หรือ ปั่นจนช่ำชอง เขาก็จะออกแรงได้ในทุกๆองศาของรอบการหมุน ถีบแล้วป้ายต่อแล้วดึงต่อส่งด้วยไสต่อไปถีบต่อ คุณจะเห็นเลยว่าเขาปั่นแบบเนิบๆ ไม่มีอาการกระตุก กระโตก กระตาก

ถ้ามือใหม่อยากจะลองบ้าง ก็อาจจะรู้สึกว่าเอ๊ะทำไมมันยากจัง? ทำไมมันออกแรงหรือจับจังหวะในการป้ายหรือไสได้ยากจัง ดึงความเร็วการหมุนให้ผ่านจุดตายได้ยากด้วย
แต่เพียงแค่ คุณมือใหม่มีสตังค์ขอเรียนลัดด้วยการซื้อใบเบี้ยวมาเปลี่ยนแทนใบกลมเดิม แล้วลองมาปั่นขาเดียวดู คุณจะรู้เลยว่า อาการกระโตก กระตากในช่วงป้าย ช่วงไสนั้น มันดีขี้น มันผ่านไปได้ง่ายขึ้น เผลอๆจะรู้สึกว่า เอ๊ะทำไมได้รอบขาสูงขึ้นอีก

ทั้งนี้ก็เพราะความเร็วในการผ่านจุดตายบนและจุดตายล่างมันเพิ่มขึ้นไงครับ ในขณะที่ความเร็วในการผ่านจุดที่ถีบกับดึงอาจจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ผลรวมทำให้ความเร็วรอบของการหมุนเพิ่มขึ้นมานั่นเอง

ก็บอกแล้วว่ามันเป็นปัจจัตตัง
ถ้าอ่อนซ้อม อ่อนทักษะ ก็จะพบว่าจักรยานคันไหนๆก็ไม่แตกต่างกันหรอก เพราะปั่นไม่ไปเหมือนๆกัน และบังคับควบคุมได้ห่วยพอๆกัน
รูปประจำตัวสมาชิก
stl
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 124
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.พ. 2013, 10:20

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย stl »

ชัดเจน ขอบคุณครับ อ.ลู
zzzz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1457
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 08:36
Tel: 0814239028
team: ลูกยังเล็ก เวลาไม่แน่นอน เลยแปะๆดูดๆชาวโลกเขาไปเรื่อยๆ ไม่มั่ว แต่ ทั่วถึง.555
Bike: หมอบ/TT คันหญายๆๆๆๆ + มินิ คันเล็กๆๆๆๆๆ
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย zzzz »

ชัดเจนครับ
ใบเบี้ยว ที่ออกแบบมาเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ ในการปั่น
สามารถ เพิ่มประสิทธิภาพในมุมของผู้ออกแบบได้ จริงๆ
และยังสามารถ สร้าง Pattern ในการปั่นที่มี ประสิทธิภาพในมุมของผู้ออกแบบ ให้กับผู้ใช้อีกด้วย
หากไม่เคย ก็ควรลอง
หากประสิทธิภาพในมุมของผู้ออกแบบ
ไม่ตรงจริต ติดข้อจำกัด
ก็ลองมองหา Curve อื่นๆที่จุดประสงค์ในการออกแบบต่างไป มาใช้
หรือไม่ ก็
กลับไปใบกลม
เลือกใช้ ให้เหมาะกับตนเองครับ...
...ปัจจัตตัง...
เป็นฉันนั้นแล :roll: :roll: :roll:

อันนี้ผมเขียนไว้ในอีกหมวด
ตัดตัวหลักๆมา


Input of Cycling Power.

ปัจจุบัน อุสาหกรรมจักรยานเติบโตมาก เริ่มมีการศึกษาเกียวกับ รูปแบบการควงขา(paddle Technic) กันอย่างกว้างขวาง
...
ต้นกำลังของจักรยาน คือ แรงจากคน
การถ่ายทอดแรงจากคนสู่จักรยาน มีแรงหลักที่เกี่ยวข้อง 2ชนิด
1. Muscular Componet Force : แรงจากกล้ามเนื้อที่รับคำสั่งมาจาก สมอง โดยใช้ EMG Signal
2. Fundamental Componet Force : แรงจาก สมดุล Dynamic ในขณะนั้นๆ
" เสริม : นี่แหละ แรงที่ป๋าลู บอก ที่ Dead Spot เราปล่อยให้แรงเฉื่อย ผลักขาเราให้พ้นจุดนั้นๆ "
แรงสองตัวนี้ เกียวเนื่องกัน ส่งผลให้เกิด แรลลัพ (Paddle Force) ที่ลูกบันได
....
...
..
.
เนื่องจาก Fundamental Componet Force : แรงจาก สมดุล Dynamic ในขณะนั้นๆ ถูกกำหนดด้วย Momentum ของระบบ เมือระบบไม่มีการเปลี่ยนแปลงของมวลใดๆระหว่างเกิดงาน แรงนี้จึงแปรผันโดยตรงกับ รอบขา
Net Paddle Force ที่รอบขาหนึ่งๆ จึงถูกกำหนดจาก Muscular Componet Force เป็นหลัก
...
..
.
Muscular Componet Force สามารถแบ่ง pattern กว้างๆออกได้ 2 แบบ คือ
1.Prefer Padle Technic. PPT. เน้นที่แรงสุทธิ มากกว่า ประสิทธิภาพในการส่งกำลัง
2.Effective Paddle Technic. EPT. เน้นที่ประสิทธิภาพในการส่งกำลัง มากกว่า แรงสุทธิ
...
..
.

" เสริม"
ที่ป๋ากล่าวมาทั้งหมด คือ Pattern ในหมวด PPT ครับ.
โดยสามารถใช้ SpinScan No มาช่วยเป็น Indicater ในการฝึก
และ ใช้ ใบจาน มาช่วยในการ Level Up SpinScan No ได้อย่างสัมฤทธิผลอีกด้วย

ในส่วน EPT.
ยังอยู่ระหว่างการทดสอบกันอยู่ ว่า Indicator ตัวไหน จะเหมาะกว่ากัน
รวมถึงการปรับ EMG และ สร้างกล้ามเนื้อ ในรูปแบบ EPT จะส่งผลระยะยาวอย่างไร
อันนี้ก็ ใช้ใบจาน มาช่วยในการ Level Up ได้ อีกเช่นกัน...555
...
เดี๋ยวจะมั่ว ใบจานที่ใช้ Level Up SpinScan No. ให้รับชมกันครับ

ไฟล์แนบ
Force.JPG
Force.JPG (48.36 KiB) เข้าดูแล้ว 1150 ครั้ง
จักกะยาระนัง ปะระมัง สุขขัง.
จานไข่ Dr.Egg http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 0&t=515279
Dr.EGG Facebook : http://www.facebook.com/DrEGG.DrivEmotion
ผม Dr.Egg ครับ อยู่บางแสน ติดต่อได้เวลาราชการ
หลังเวลาราชการ ขอเวลาเลี้ยงลูกนะครับ...
พี่น้องงงงง......
zzzz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1457
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 08:36
Tel: 0814239028
team: ลูกยังเล็ก เวลาไม่แน่นอน เลยแปะๆดูดๆชาวโลกเขาไปเรื่อยๆ ไม่มั่ว แต่ ทั่วถึง.555
Bike: หมอบ/TT คันหญายๆๆๆๆ + มินิ คันเล็กๆๆๆๆๆ
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย zzzz »

หากโจทย์ คือ Level Up SpinScan No
มาลองดูวิธีการ up โดยใช้ ใบจาน กันครับ

ตั้งต้น SpinScan No คืออะไร
ผู้ทีมี ผลต่างของ แรงบิด ในวงรอบเดียวกัน มาก แปลว่า
ปั่นไม่สมูทร นั้นแหละ

ผลต่างของ แรงบิด ในวงรอบเดียวกัน น้อย ก็แปลว่า เนียร และ ดี...

ดังนั้น มาลองดูกันครับ ว่า เอาเจ้าเบี้ยวมาใช้ Level Up ได้อย่างไร... :twisted: :twisted: :twisted:
และ ออกมา หน้าตา คุ้นๆไหม..... :roll: :roll: :roll:
ไฟล์แนบ
ss no sorce ov.JPG
ss no sorce ov.JPG (54.56 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
ss no ov.JPG
ss no ov.JPG (41.67 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
ss no sorce layer.JPG
ss no sorce layer.JPG (58.87 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
ss no soce.JPG
ss no soce.JPG (82.98 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
ss no plot.JPG
ss no plot.JPG (40.62 KiB) เข้าดูแล้ว 1134 ครั้ง
จักกะยาระนัง ปะระมัง สุขขัง.
จานไข่ Dr.Egg http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 0&t=515279
Dr.EGG Facebook : http://www.facebook.com/DrEGG.DrivEmotion
ผม Dr.Egg ครับ อยู่บางแสน ติดต่อได้เวลาราชการ
หลังเวลาราชการ ขอเวลาเลี้ยงลูกนะครับ...
พี่น้องงงงง......
zzzz
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1457
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 08:36
Tel: 0814239028
team: ลูกยังเล็ก เวลาไม่แน่นอน เลยแปะๆดูดๆชาวโลกเขาไปเรื่อยๆ ไม่มั่ว แต่ ทั่วถึง.555
Bike: หมอบ/TT คันหญายๆๆๆๆ + มินิ คันเล็กๆๆๆๆๆ
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย zzzz »

หากโจทยของผู้ผลิต ตรงกับ ตวามต้องการของผู้ใช้
การซื้อขาย ย่อมเกิด...555
:lol: :lol: :lol:

เจ้าใบนี้
จัดการความต้องการให้ได้แบบเบ็ดเสร็จครับ
สมูท นุ่มเท้า และ Spin Scan No เพิ่มได้ในเวลาไม่นาน
แบบว่า จ่ายครบ จบแน่...


พอดีว่า โจทยนี้ มันไป คล้าย กับใบเบี้ยว เจ้านึงเข้า
เลยต้องขออณุญาติเอ่ยถึง
และยกโจทย์ของเขา มาให้ดูเทียบครับ

หากท่านต้องการ เรียนรู้ วิธีปั่นให้ Spin Scan No สูงๆ
จัดมาครับ
มันคือทางลัดที่สุด ทีเทคโนโลยีวันนี้ จะมีให้เดินแล้ว
ทำให้การฝึก พัฒนาไปได้เร็วกว่าการฝึกแบบเดิมๆ มากมายนัก...


เพียงแต่ ท่านต้องยอมรับข้อจำกัด ที่เกิดจากความเบี้ยวของมัน ที่ติดแถมไปด้วยนะคร้าบบบบ

คงขอยกแค่ตัวอย่างเดียวนะครับ
ใบตระกูลอื่นๆ ก็มี โจทย์ ที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มสร้างมันขึ้นมา เฉกเช่นเดียวกัน
ใช้ ให้ตรงกับโจทย์ที่เขาแก้มาให้แล้ว
ท่านก็จะได้ผล สมดังที่ท่านจ่ายไปครับ

ขอบคุณที่อดทนอ่าน
ภาษาต่างดาวเยอะ ขออภัย
Have FUN!!!

:lol: :lol: :lol:
ไฟล์แนบ
ss no sorce Qr.JPG
ss no sorce Qr.JPG (30.82 KiB) เข้าดูแล้ว 1132 ครั้ง
จักกะยาระนัง ปะระมัง สุขขัง.
จานไข่ Dr.Egg http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 0&t=515279
Dr.EGG Facebook : http://www.facebook.com/DrEGG.DrivEmotion
ผม Dr.Egg ครับ อยู่บางแสน ติดต่อได้เวลาราชการ
หลังเวลาราชการ ขอเวลาเลี้ยงลูกนะครับ...
พี่น้องงงงง......
รูปประจำตัวสมาชิก
Chiny
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 570
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2012, 12:48
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย Chiny »

:D
Don't Stop Believin' - "Steel still ROCK"
จานไข่ Dr.Egg viewtopic.php?f=60&t=515279
โครงการ มินิ กัดยางหมอบ เวอชั่นบ้านๆ viewtopic.php?f=63&t=488360
Dr.EGG Facebook Fan Page: http://www.facebook.com/pages/DrEGG/418740011510449
รูปประจำตัวสมาชิก
Teerayui
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 188
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2012, 04:40
Tel: 086374XXXX
team: AV 35 Cycling Team
Bike: Tarmac sl3

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย Teerayui »

ขอบคุณมากๆ ครับ ขอถามแบบมึนๆ ว่าแล้วถ้าโจทย์ต้องการใบจานที่ส่งกำลังได้ดีที่สุดในการเร่งสปรินท์เข้าเส้นชัย หรือการทำหน้าที่เป็นหัวลาก ลากยาวๆ หรือแม้แต่ตอนไต่ภูเขา แพทเทิร์นลักษณะของใบจานจะเป็นแบบเดียวกันหรือเปล่าครับ. (แค่เปลี่ยน OCP อย่างเดียวเพียงพอไหม)
เดี๋ยวจะลองอ่านใหม่ทั้งหมดครับ ยอมรับว่ายังไม่ค่อยเข้าใจ
ขอบคุณครับ

Teerayui@yahoo.com
AV35 Cycling Team @SKY Lane ล้อหมุน 6 โมงเช้า วันอาทิตย์

temuan
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 45
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 11:25
team: -
Bike: ARAYA DIAGONALE

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย temuan »

ขอบคุณมากครับผม ^^!
Lange
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2733
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ค. 2012, 12:10
team: The_Lange
Bike: Sprint SL
ติดต่อ:

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย Lange »

สองปรมาจารย์มาให้ความรู้...จดๆๆขอบคุณครับ

ขอถามแทรกหน่อยครับพอดีไปถกกันเรื่องแนวๆนี้โดยมีใจความว่า
"ระหว่างใบเบี้ยวกับใบกลมว่าอันไหนจะไวกว่ากันโดยกำหนด"
1.รอบหมุนเท่ากัน
2.ใบจานเท่ากัน
3.เฟืองทดเท่ากัน
---------------------------------------

โดยผมเข้าใจแบบนี้

ใบที่ใช้เบี้ยวจะเร็วกว่าที่รอบเท่ากันนั้นคือใช้เฟืองหนักกว่าครับ
ช่วงโค้งที่มากกว่าแล้วช่วงที่น้อยกว่าไม่นับหรือครับ
1รอบสมมุตมี53ฟันกลมกลิ้ง53ข้อโซ่ ใบเบี้ยวก็กลิ้งได้53ข้อโซ่ครับที่จะมีอีก3-4โซ่ลอยๆมาเองมันไม่ใช่ครับ
ส่วนระยะการหน่วงมก็ตามแต่ผู้ผลิตหรือรูต่างๆว่าจะเน้นให้หน่วงกล้ามเนื้อชุดไหนครับ

----------------------------------------

อันนี้ของอีกท่านครับ
ใบเบี้ยวถ้าฟันเท่าใบกลมเดิม ที่รอบเท่ากัน ใบเบี้ยวเร็วกว่า
เพราะใบเบี้ยวมีข่วงโค้งกว้างมากกว่าใบกลมถึง 3-4ฟันทีเดียว
P...53ฟันจะมีส่วนโค้งของจานเท่ากับจาน 57ฟันในข่วงกว้างและเท่าจาน 49ฟันในช่วงแคบ
ในช่วงแคบรอบควงจะไวกว่าช่วงกว้าง
จานเบี้ยวใช้โซ่ยาวกว่าจานกลม
และช่วง57ฟันมันก็ต้องเร็วกว่าช่วง53ฟัน(ถ้าควงเร็วเท่ากัน)
เนื่องจากจานเบี้ยวมีส่วนโค้งช่วงกว้างกว่าก็ย่อมหน่วงหนักกว่าโค้งที่น้อยกว่า
แต่ก็มีส่วนโค้งช่วงแคบที่แคบกว่าซึ่งเบาแรงกว่า เกิดอาการวืดเป็นโมเมนตั้มชดเชยความหน่วงช่วงโค้งกว้างได้บ้าง

ถ้าตามเงื่อนไข
1.ควงรอบขาเท่ากัน
2.ใบจานหน้าเท่ากัน
3.เฟืองท้ายเท่ากัน
ความเร็วก็เท่ากันครับ
..แต่ในข้อ2 กรณีจานกลมกับจานเบี้ยวที่มีฟันเท่ากัน มันไม่เท่ากันครับ
เนื่องจากจานกลมกับจานเบี้ยวที่มีฟัน 52ฟันเท่ากัน ใบจานมันไม่เท่ากัน (Ovality ไม่เท่ากัน) ความเร็วจึงต่างกัน
-การพิจารณาการฉุดของจานจากชื่อเรียกตามจำนวนฟันจะทำให้เราสับสน แต่ถ้าพิจารณาจาก Ovality เราก็จะเข้าใจได้ดีกว่า เพราะตอนที่โซ่ฉุดเฟืองหลัง โซ่ไม่ได้พันรอบใบจาน แต่โซ่แค่คล้องเฉพาะส่วนโค้งหน้าจานเท่านั้น ค่าความโค้งเฉพาะส่วนที่มีผลต่อแรงฉุดนี้จึงมีผลให้เกิดความแตกต่างในความเร็ว(ตามเงื่อนไขข้อ1และ3)
สำหรับจานP.. 52 มีช่วงโค้งกว้างเท่ากับจาน 56 และมีข่วงโค้งแคบเท่าจาน 48
ส่วนจาน O.. 52 เท่ากับ 55/49
----------------------------------------

อยากรู้ว่าตกลงจริงๆมันเป็นเยี่ยงไรขอรับ
Spin up
รูปประจำตัวสมาชิก
Franklyn
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 458
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 03:18
team: Rabbitz Cycling Team
Bike: DG FX05, Cruiser, Gios Stillo, Makino NJS, Specialized Transition Elite AL, Trek Speed Concept 7.5

Re: พฤติกรรมการปั่นเหมาะกับจานเบี้ยวหรือไม่?

โพสต์ โดย Franklyn »

ปักครับ.... :)
THE STREET BELONGS TO ALL OF US.
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”