ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

ถ้าเป็นรถหรืออุปกรณ์ที่ออกแบบมาเป็นของเสือหมอบโดยเฉพาะ เชิญเข้าห้องนี้ครับ

ผู้ดูแล: Cycling B®y, spinbike, velocity

M-1
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 82
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ย. 2016, 21:14
Bike: Giant Propel isp
ติดต่อ:

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย M-1 »

swasin185 เขียน:ปกติผมชอบอ่านนะครับ แต่เจอเรื่อง stiff ในกะทู้นี้เข้าไป มึนเลย
คือประเด็นของกะทู้ คือตั้งสมมุติฐานว่า นักปั่นตัวเล็กๆ แรงไม่มาก นี่ปั่นเฟรมไหนก็ได้ ไม่รู้สึกถึงความ stiff ที่แตกต่างกันของเฟรม

ดังนั้นปัญหาแรกเลย ก็ต้องนิยามถึงความ stiff คืออะไรกันแน่ ชื่อกะทู้ก็ "ความเห็นเรื่องความ stiff" ดังนั้นที่คุยกันมาวนเวียนก็เกี่ยวกับความ stiff ทั้งนั้น คือนิยามความความ stiff ไม่ตรงกัน มันก็คุยกันไม่รู้เรื่องซักที

ตรงนี้ ผมไม่มีความเห็นเรื่อง stiff ขอไปกินยาทำใจก่อน
คิดเห็นตรงกันครับ นิยามมันคืออะไร ที่ถกเถียงกันนี่เข้าใจตรงกันรึเปล่า เหมือนอีกกระทู้ไม่ไกลกับกระทู้นี้คุยกันเรื่องการทำงานของลูกปืนดุมล้อหรือทั้งระบบชุดลูกปืนดุมล้อก็ไม่รู้
รูปประจำตัวสมาชิก
หลงแสงสี
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 16
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2015, 15:12
Bike: Bianchi Impulso
ตำแหน่ง: ซอย บางนา-ตราด 27 บางนา บางนา กรุงเทพฯ 10260

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย หลงแสงสี »

ผมมองว่า ความ stiff ที่คุยๆกันอยู่นี่มันวัดค่าไม่ได้จากการปั่นนะครับ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยถ้าไม่ใช้เครื่องมือในการวัด

แล้วแต่ละแบรนก็น่าจะมีวิธีวัดค่าความ stiff ที่แตกต่างกัน

หลักๆที่ผมลองๆมาหลายเฟรม(ลองจากพี่ในกลุ่มแค่สั้นๆ) ผมจะชอบจับฟีลลิ่งของเฟรมเป็นหลัก สุดท้ายจะจ่ายเงินซื้อเฟรมไหน

ก็อยู่ที่ว่าเราชอบความรู้สึกที่เราปั่นกับเฟรมไหนมากที่สุด น่าจะคุยกันง่ายกว่าครับ

เพราะบางที่เฟรมที่ stiffness สูงๆ เราอาจจะรู้สึกดีแค่ช่วงสั้นๆ แต่ถ้าระยะยาวๆหลายๆชั่วโมง
เราอาจจะรู้สึกแย่กว่าเฟรมที่มันปั่นสบาย
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

swasin185 เขียน:ปกติผมชอบอ่านนะครับ แต่เจอเรื่อง stiff ในกะทู้นี้เข้าไป มึนเลย
คือประเด็นของกะทู้ คือตั้งสมมุติฐานว่า นักปั่นตัวเล็กๆ แรงไม่มาก นี่ปั่นเฟรมไหนก็ได้ ไม่รู้สึกถึงความ stiff ที่แตกต่างกันของเฟรม

ดังนั้นปัญหาแรกเลย ก็ต้องนิยามถึงความ stiff คืออะไรกันแน่ ชื่อกะทู้ก็ "ความเห็นเรื่องความ stiff" ดังนั้นที่คุยกันมาวนเวียนก็เกี่ยวกับความ stiff ทั้งนั้น คือนิยามความความ stiff ไม่ตรงกัน มันก็คุยกันไม่รู้เรื่องซักที

ตรงนี้ ผมไม่มีความเห็นเรื่อง stiff ขอไปกินยาทำใจก่อน
ขอบคุณที่เข้าใจประเด็นหลักของกระทู้ครับ
ใช่ครับ พอมีคำว่า stiff เลยพากันไปถกในนิยามความหมายของคำว่า stiff ซึ่งอันที่จริงประเด็นของกระทู้คือ มันมีความจำเป็นแค่ไหน สำหรับคนที่ไม่ได้มี นน มาก และไม่ได้เป็นขาแรง
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

ช่วงที่ผ่านมาพอดีจะเปลี่ยนเฟรม ทำให้มีโอกาสศึกษาเฟรมของยี่ห้อหนึ่ง ขอไม่เอ่ยชื่อ

ค่ายนี้มีรุ่น แอโร่ ตัวคาร์บอน ทั้งตัวท๊อป และตัวรองท๊อป ราคาต่างกันหลักแสน
อ่านข้อมูลในเวปต่างประเทศ ทางผู้ผลิตมาให้คำชี้แจงว่า. ทั้งตัวท๊อปและตัวรองท๊อป ใช้โมลตัวเดียวกัน จึงมีขนาด ไดเมนชั่น เหมือนกันหมด
แต่ตัวท๊อปใช้คาร์บอนเกรดราคาแพงกว่า ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่า ประมาณ 10%
ส่วนค่า torsion stiff มีค่าสูงกว่าตัวรองท๊อปประมาณ 5%

แล้วมีคอมเม้น ของคนขี่ที่เป็นระดับ(บ้านเรา)เรียกขาแข็ง มาให้ความเห็นว่า เขาขี่แล้ว ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง

ในขณะที่คนขี่ ที่เป็นพวกระดับโปร จะบอกรู้สึกถึงความแตกต่างได้ รู้สึดถึงความ stiff ที่ต่างกันได้

ในความเห็นผมคิดว่า
ถ้าเป็นระดับขาอ่อน หรือ ขาแข็ง แต่ไม่ใช่ระดับโปรขึ้นโพเดี้ยม. ก็คงไม่สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างเช่นกัน
Gok See
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 449
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2016, 08:18
ติดต่อ:

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Gok See »

pongpipat เขียน:ช่วงที่ผ่านมาพอดีจะเปลี่ยนเฟรม ทำให้มีโอกาสศึกษาเฟรมของยี่ห้อหนึ่ง ขอไม่เอ่ยชื่อ

ค่ายนี้มีรุ่น แอโร่ ตัวคาร์บอน ทั้งตัวท๊อป และตัวรองท๊อป ราคาต่างกันหลักแสน
อ่านข้อมูลในเวปต่างประเทศ ทางผู้ผลิตมาให้คำชี้แจงว่า. ทั้งตัวท๊อปและตัวรองท๊อป ใช้โมลตัวเดียวกัน จึงมีขนาด ไดเมนชั่น เหมือนกันหมด
แต่ตัวท๊อปใช้คาร์บอนเกรดราคาแพงกว่า ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่า ประมาณ 10%
ส่วนค่า torsion stiff มีค่าสูงกว่าตัวรองท๊อปประมาณ 5%

แล้วมีคอมเม้น ของคนขี่ที่เป็นระดับ(บ้านเรา)เรียกขาแข็ง มาให้ความเห็นว่า เขาขี่แล้ว ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง

ในขณะที่คนขี่ ที่เป็นพวกระดับโปร จะบอกรู้สึกถึงความแตกต่างได้ รู้สึดถึงความ stiff ที่ต่างกันได้

ในความเห็นผมคิดว่า
ถ้าเป็นระดับขาอ่อน หรือ ขาแข็ง แต่ไม่ใช่ระดับโปรขึ้นโพเดี้ยม. ก็คงไม่สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างเช่นกัน
มันเป็นความต่างระดับแข่งขัน มันรู้สึกไม่ได้หรอก เฟรมทอป ระยะ 100 กิโล เร็วขึ้น 5 วินาที ก็ตัดสินผลการแข่งขันได้แล้ว

ชาวบ้านทั่วไปไม่ได้แข่ง ใช้อลูก็เหลือเฟือแระ แต่ก็รู้สึกว่ารถตัวเองไม่พุ่งตลอดเวลาใช้รถถูก
Benz Phasit
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 16
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 มี.ค. 2018, 23:11
ติดต่อ:

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย Benz Phasit »

สนุกๆครับ อดทนอ่านมาจนจบจนได้
ได้สาระ ความรู้ อีโก้ ฯลฯ เพียบเลย

ปล. สำหรับผมไม่ใช่นักแข่ง เป็นแค่นักปั่นทั่วๆไป ขาไม่แรง
เงินไม่ได้มีเยอะ ปั่นแค่อาทิตย์ละ 2 วัน
แต่ขอแค่ปั่นกับเขาได้ ปั่นแล้วมีความสุข ปั่นแล้วมีเพื่อนมากมาย ปั่นแล้วกลับมาบ้านสดชื่น แค่นี้ก็มีความสุขแล้ว ส่วนเรื่องเกี่ยวกับความสตริฟผมขอเก็บเป็นความรุ้ครับ

ขอบคุณอาจารย์ทุกท่านมาก
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

Gok See เขียน:
pongpipat เขียน:ช่วงที่ผ่านมาพอดีจะเปลี่ยนเฟรม ทำให้มีโอกาสศึกษาเฟรมของยี่ห้อหนึ่ง ขอไม่เอ่ยชื่อ

ค่ายนี้มีรุ่น แอโร่ ตัวคาร์บอน ทั้งตัวท๊อป และตัวรองท๊อป ราคาต่างกันหลักแสน
อ่านข้อมูลในเวปต่างประเทศ ทางผู้ผลิตมาให้คำชี้แจงว่า. ทั้งตัวท๊อปและตัวรองท๊อป ใช้โมลตัวเดียวกัน จึงมีขนาด ไดเมนชั่น เหมือนกันหมด
แต่ตัวท๊อปใช้คาร์บอนเกรดราคาแพงกว่า ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่า ประมาณ 10%
ส่วนค่า torsion stiff มีค่าสูงกว่าตัวรองท๊อปประมาณ 5%

แล้วมีคอมเม้น ของคนขี่ที่เป็นระดับ(บ้านเรา)เรียกขาแข็ง มาให้ความเห็นว่า เขาขี่แล้ว ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง

ในขณะที่คนขี่ ที่เป็นพวกระดับโปร จะบอกรู้สึกถึงความแตกต่างได้ รู้สึดถึงความ stiff ที่ต่างกันได้

ในความเห็นผมคิดว่า
ถ้าเป็นระดับขาอ่อน หรือ ขาแข็ง แต่ไม่ใช่ระดับโปรขึ้นโพเดี้ยม. ก็คงไม่สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างเช่นกัน
มันเป็นความต่างระดับแข่งขัน มันรู้สึกไม่ได้หรอก เฟรมทอป ระยะ 100 กิโล เร็วขึ้น 5 วินาที ก็ตัดสินผลการแข่งขันได้แล้ว

ชาวบ้านทั่วไปไม่ได้แข่ง ใช้อลูก็เหลือเฟือแระ แต่ก็รู้สึกว่ารถตัวเองไม่พุ่งตลอดเวลาใช้รถถูก
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า เวลามีกระทู้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องค่าความ stiff ของเฟรม แล้วจึงมีการถกเถึยงกัน บ้างว่าจำเป็นมาก บ้างว่าจำเป็นแต่ไม่มาก

สำหรับคนที่เป็นระดับโปร ย่อมมีความเห็นว่าจำเป็นมาก
เหตุผลที่อธิบายจะสนับสนุนความคิดที่ว่า จำเป็น
แต่สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นระดับโปร ย่อมเกิดความสงสัยว่า จริงๆแล้วจำเป็นหรือไม่ แต่อาจคล้อยไปตามความเห็นของโปร เนื่องจากมีความเชื่อว่า ความเห็นของโปร น่าจะถูกต้องกว่า. เพราะเป็นโปร

คอมเม้น ในเวปเมืองนอก ก็มีดีมีประโยชน์ตรงที่ เขาให้ความเห็นตรงไปตรงมา ไม่ห่วงว่าผู้ผลิตผู้ขาย จะมาเคืองเขา. เช่นเขารู้สึกไม่แตกต่าง เขาก็บอกว่าไม่แตกต่าง เป็นต้น
poohbear
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 78
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ต.ค. 2013, 16:40

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย poohbear »

เป็นกระทู้ที่ยาวนาน ขอแสดงความเห็นด้วย
จริงๆจากคำถามเลย ไม่ควรเอาน้ำหนักมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบแต่แรก ง่ายๆเลย ยกตัวอย่างว่า
"นักกีฬาน้ำหนัก 65 กล้ามเนื้อล้วนๆกับ นักปั่นขาชิวหนัก 85 มีแต่ไขมัน"คงไม่ต้องบอกว่าใครจะกดได้หนักกว่า
ถ้าจะถกกันควรจะเทียบประมาณว่า "นักปั่นระดับต่างๆกับความStiffที่ต้องคำนึงถึง"
แต่คุยกันไปก็ยาวไม่จบ เพราะ สมัยนี้จักรยานมันเป็นกีฬาที่มากกว่ากีฬา ไปแล้วครับ
จักรยานของหลายๆคน มันเป็นของสะสม,งานอดิเรก,การเข้าสังคม,ของโชว์,ของประดับบ้าน ฯลฯ
ความเหมาะสมในการซื้อจักรยานของแต่ละคน คงจะแตกต่างกันออกไปตามความพึงพอใจ

สรุป ถ้าจะคุยด้วยวัตถุประสงค์ด้านกีฬาล้วนๆ สำหรับนักปั่นสายชิวๆความStiff ไม่ได้มีความจำเป็นเลย
เหมือนคนซื้อรถยนต์สักคัน เหยียบได้สูงสุด 220 กม./ชม. แต่เราก็ขับกัน 120 ไม่เดือดร้อนนิครับ
แต่ถ้าเหยียบเกิน 220 บ่อยๆ ก็ควรเปลี่ยนรถครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
cocommnn
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 528
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 23:55

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย cocommnn »

pongpipat เขียน:เฟรมที่ดีมีน้ำหนักเบา บางครั้งอาจจะด้อยในเรื่องความ stiff จึงได้มีเฟรมที่มีราคาแพง ออกแบบและใช้วัสดุคาร์บอนเกรดสูง เพื่อให้ได้เฟรมที่ทั้งเบา และมีค่าความ stiff ที่สูง แข็งแรงแต่เบา
(ไม่พูดถึงเรื่อง องศาเฟรม ความแอโร่ หรือความพุ่งของเฟรมใดๆ นะครับ)
เฟรมคาร์บอนสมัยก่อนทำคล้ายเฟรมอลู อยากให้แข็งก็ต้องทำหนา พอทำหนาก็จะหนัก พอทำบางก็จะอ่อนตัวง่าย
เฟรมคาร์บอนสมัยนี้จึงพัฒนาโครงสร้างเส้นใยคาร์บอนเพื่อแก้ขอด้อยต่างๆ

แต่จะไม่พูดถึงเรื่อง องศาเฟรม ความแอโร่ องค์ประกอบอื่นๆเลยก็ไม่ได้ เพราะ frame set จักรยาน1รุ่นคุณไม่สามารถเลือกได้นะครับว่าจะเอาองศาเท่าไหร่ ท่อนั้นนี้ยาวเท่าไหร่ มันมาเป็นไซส์คุณสูงแค่ไหนก็เลือเฟรมไซส์นั้นๆที่เค้ามาจำหน่าย จะสั่งทำเลือกองศาเอง ออกแบบเอง อย่างที่คุณคิดว่ามันต้องดี ก็ไม่สามารถทำได้
pongpipat เขียน:จากการถามเพื่อนนักปั่นที่รู้จักที่เป็นพวกขาแรง ว่าเคยถีบหนักๆจนรู้สึกถึงเฟรมยวบเลยบ้างไหม ส่วนใหญ่จะตอบว่า ไม่เคยรู้สึกได้ถึงขนาดนั้น (ใช้เฟรมคาร์บอนเกรดมาตรฐาน ไม่ใช่เกรดรับแรงสูง)
ไม่จริงครับ น้ำหนักตัว60-70kg. สปริ้นไม่ต้องถึงพันวัตต์ก็แยกได้แล้วว่าเฟรมไหนย้วย เฟรมไหนstiffกว่ากัน
pongpipat เขียน:ความเห็นคือ ผมคิดว่า ถ้าสำหรับนักปั่นที่น้ำหนักตัวไม่เกิน 70 โล เฟรมคาร์บอนเกรดมาตรฐาน หรือยี่ห้อมาตรฐานทั่วไป ที่ขึ้นรูปด้วยวิธีมาตรฐาน ก็น่าจะมีค่าความ stiff เพียงพอ สำหรับเขาแล้ว เพราะต่อให้ใช้เฟรมที่มีค่าความ stiff สูงขึ้น
ความ stiff ที่ได้สูงขึ้นนั้น ก็แทบจะไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรเพิ่มขึ้นกับเขา
ขึ้นอยู่กับคนปั่นนั้นๆว่าปั่นอะไร ปั่นไปไหน ปั่นเพื่ออะไร ปั่นด้วยแรงเท่าไหร่
เช่น audex200 ใช้เฟรมคาร์บอนเกรดมาตรฐาน ปั่นวัตต์เฉลี่ยไม่เกิน250watt เอาเฟรมย้วยๆนุ่มๆก็ปั่นสบายดี แต่เฟรมทั่วไปมันจะไม่กลมกล่อม นุ่มจริงแต่ไม่พุ่ง ควบคุมไม่ค่อยสบายตัว เฟรมแบบนี้ก็จะผ่านแค่ครึ่งเดียวไม่ผ่านครึ่งนึงและจะมองหาเฟรมที่ดีกว่านี้
และเฟรมคาร์บอนเกรดมาตรฐานที่มีความstiffมากเด่นมาเลย ปั่น200km.มันจะเป็นนรกเลย มันจะแข็งกระด้างมาก เจอทางขรุขระความเร็วตก ร่างกายล้าหัวสั่นหัวคลอน เฟรมแบบนี้ก็จะไม่ผ่านเช่นกัน
ความพอใจแต่ล่ะคนไม่เหมือนกันนะครับ บางคนรู้สึกชอบ บอกคนฟิวริ่งเหมือนกันแต่ไม่ชอบ ความแข็งแรงของร่างกายก็มีส่วน แล้วถ้ามีโอกาศขี่เฟรมที่เหนือกว่าก็จะบอกกลับมาได้ว่า เฟรมก่อนหน้านี้มันแตกต่างอย่างไร มันด้อยกว่าอย่างไร

ถ้าถามว่า นักปั่นน้ำหนักตัวไม่เกิน 70 โล ส่งแรงสปริ้นกับเฟรมท๊อปที่1100-1200watt ได้อย่างต่อเนื่อง4-5วินาที และวัตต์ลดลงอย่างคงที่ maxความเร็ว55-58km/h.
เฟรมทั่วไปอาจส่งแรงไปยังไม่ถึงพันวัตต์ เฟรมมีการอ่อนตัว บิดตัว การควบคุมรถได้ยาก จนต้องผ่อนแรงเพื่อควบคุมรถ ความเร็วสูงสุดได้แค่50-52km/h.
*ยกตัวอย่างแบบนี้น่าจะพอเห็นภาพนะครับ
pongpipat เขียน:ผมหมายถึง กรณีเฟรมที่ต้องจ่ายด้วยราคาที่แพงขึ้นอย่างมาก เพื่อจะให้ได้ค่าความ stiff ที่สูงขึ้น
ถ้าคนปั่น น้ำหนักตัวไม่เยอะมาก อาจไม่มีความจำเป็นต้องใช้เฟรมที่มีค่า stiff สูงๆเหล่านี้
ปัจจัยมีหลายอย่างครับ จักรยานท๊อปๆแพงๆใหม่ๆเค้าทำมาให้มีความกลมกล่อมลงตัวที่สุด ไม่ใช่แค่แพงกว่าแล้วจะมีแต่ความแข็งstiff เฟรมstiffแบบชัดๆต้องพวกเฟรมประมาณปี2010-2014 เฟรมที่stiffจะแข็งมากและก็กระด้างมากเช่นกัน แล้วถ้าสัมผัสได้ถึงความกระด้าง ความเร็วที่พุ่งไปข้างหน้าและการคงความเร็วก็จะลดลงตามมา

เฟรมที่ดีทุกวันนี้คุณสมบัติที่สัมผัสได้คือ กดบันไดลงไปแล้วเฟรมบิดตัวน้อย แรงคนลงพื้นได้เยอะ พุ่งออกไปข้างหน้าอย่างว่องไว แรงสั่นสะเทือนกลับมาที่ผู้ขี่น้อย รถแหวกอากาศและคงความเร็วได้ดี ควบคุมรถง่ายในสถานการณ์ต่างๆเช่น ขณะส่งแรงสปริ้นหรือเข้าโค้งความเร็วสูงจะทำได้ง่าย ปั่นได้ยาวนานร่างก่ายล้าน้อยลง
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

อย่างที่บอก. ถ้าเราพูดเรื่องความสติฟนี้
คนที่เป็นโปรก็จะบอกว่าเป็นเรื่องจำเป็น แยกแยะได้ และรู้สึกได้ว่าเฟรมไหนสติฟกว่า

ส่วนคนที่ไม่ใช่โปรก็สงสัยว่า จริงๆแล้วความสติฟนี่จำเป็นมากหรือ และแยกแยะรู้สึกกันได้ชัดเจนเลยหรือ

ผมจึงได้เล่า คอมเม้น ที่ผมได้พบในเวปของ ตปท
ที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ชี้แจงว่า เฟรมตัวท๊อปกับตัวรองท๊อปของค่ายเขา ต่างกันอย่างไร
แล้วมีนักปั่นมาคอมเม้นว่า เขาไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง
ส่วนนักปั่นที่เป็นโปร ก็จะบอกได้ถึงความแตกต่าง

นักปั่นทั่วไปที่หาข้อมูล ก็มักจะเชื่อตามโปร เมื่อโปรว่าจำเป็น ก็เชื่อว่า มันจำเป็น
แต่ในความเป็นจริง อาจไม่สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน
รูปประจำตัวสมาชิก
cocommnn
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 528
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 23:55

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย cocommnn »

pongpipat เขียน:อย่างที่บอก. ถ้าเราพูดเรื่องความสติฟนี้
คนที่เป็นโปรก็จะบอกว่าเป็นเรื่องจำเป็น แยกแยะได้ และรู้สึกได้ว่าเฟรมไหนสติฟกว่า

ส่วนคนที่ไม่ใช่โปรก็สงสัยว่า จริงๆแล้วความสติฟนี่จำเป็นมากหรือ และแยกแยะรู้สึกกันได้ชัดเจนเลยหรือ

ผมจึงได้เล่า คอมเม้น ที่ผมได้พบในเวปของ ตปท
ที่เจ้าของผลิตภัณฑ์ชี้แจงว่า เฟรมตัวท๊อปกับตัวรองท๊อปของค่ายเขา ต่างกันอย่างไร
แล้วมีนักปั่นมาคอมเม้นว่า เขาไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง
ส่วนนักปั่นที่เป็นโปร ก็จะบอกได้ถึงความแตกต่าง

นักปั่นทั่วไปที่หาข้อมูล ก็มักจะเชื่อตามโปร เมื่อโปรว่าจำเป็น ก็เชื่อว่า มันจำเป็น
แต่ในความเป็นจริง อาจไม่สามารถรู้สึกถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน
แยกออกหรือไม่ก็ต้องดูนักปั่นคนปั่นว่าเป็นใคร ใช้แรงเท่าไหร่ น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน
ทุกค่ายทุกยี่ห้อก็ต้องพัฒนากันไปเรื่อยแม้ว่ารุ่นเก่าจะดีอยู่แล้ว ถ้าไม่ทำรุ่นใหม่ออกมาขายจะเอาเงินที่ไหนมาเลี้ยงธุระกิจ

ที่ว่า นักปั่นทั่วไปที่หาข้อมูล ก็มักจะเชื่อตามโปร เมื่อโปรว่าจำเป็น ก็เชื่อว่า มันจำเป็น ....คือใคร
ถ้าเป็นคนไทยส่วนใหญ่คงไม่ใช่ คนเปลี่ยนเฟรมใหม่มีปัจจัยเรื่องต่างๆเยอะกว่า
เช่น สีสัน เปลี่ยนทรง ยี่ห้อ บัดเจ็ท แค่ความสตีฟเพียงอย่างเดียวคงไม่ใช่

ศัพท์ทางวงการจักรยาน คือ "คัน" และ "กิเลส" เป็นอันดับ1

อย่าง dogma F8 กับ F10ใหม่ หน้าตาไม่ได้แตกต่างจากเดิมเลย คนที่มีF8อยู่แล้วจึงไม่ได้กระหายในF10มากนัก
ต่างจากTarmac sl5 กับsl6 ตัวใหม่ทรวดทรงก็ใหม่ ที่จะดูได้รับความนิยมจากคนใช้sl5ตัวเก่า มากกว่า
อย่างนี้ก็ทำให้เห็นได้ว่า ความแปลงใหม่ ทรงใหม่ สีสันใหม่ ดูจะได้รับความนิยมมากกว่ารถที่หน้าตาไม่ได้ต่างจากเดิมนัก
ไฟล์แนบ
ngng.JPG
ngng.JPG (45.26 KiB) เข้าดูแล้ว 567 ครั้ง
RoBBen
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 173
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ธ.ค. 2012, 17:40
Bike: Merida Scultura 904
ตำแหน่ง: พระประแดง สมุทรปราการ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย RoBBen »

ผมไม่เคยปั่นเฟรมคาร์บอนนะ
แต่เคยปั่น

เฟรมท่อ Tange triple butted
เฟรมท่อเหล็กม้วนไต้หวัน
เฟรมท่อ Reynold 531
เฟรมท่ออลูธรรมดา
เฟรมท่ออลู Hydroform

มันก็ต่างจนรู้สึกได้นะ อลูที่มีแต่ความสติฟอย่างเดียว
มันพุ่งก็จริงนะ แต่มันกระด้างเจอทางขรุขระนิดความเร็วก็ตกละ

ชอบที่สุดคือ ท่อ Tange triple butted
ที่รีดบางแถมตีเกลียวข้างใน ปั่นมันส์โคตร

สรุปคือจะบอกว่าไม่แรงก็รู้สึกได้
pongpipat
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2016, 13:01
Bike: เสือหมอบ

Re: ความเห็นเรื่อง ความ stiff ของเฟรม

โพสต์ โดย pongpipat »

พูดเรื่องความ stiff ของเฟรมนี้
ผมอยากพูดคุยในเชิงความเห็น ความรู้ วิชาการ
พยามเลี่ยงที่จะเอ่ยถึงยี่ห้อ
เพราะไม่อยากให้กลายเป็นการอวดยี่ห้อเฟรม
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือหมอบ (roadbike)”