เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

คำถามพูดคุยเกี่ยวกับจักรยานเสือภูเขาหรืออุปกรณ์ต่างๆ

ผู้ดูแล: seven@klein, Cycling B®y, tntm, เสือ Spectrum

เสือ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 795
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 12:28

เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย เสือ »

ว่าด้วยเรื่องหมวกกันน็อค(จักรยาน)ขอบคุณ คุณ giro di MN ในบอร์ดแดงครับ
ความคิดของการออกแบบหมวกกันน็อคจักรยานค่อนข้างต่างกับมอเตอร์ไซค์ครับ(ใน ที่นี่ขอพูดถึงจักรยานอย่างเดียว) หมวกกันน็อคของจักรยานมีใวเพื่อ "ลดความเร็วของหัวเราที่จะกระทบกับพื้น" ไม่ได้มีใว้เพื่อไม่ให้หัวแตกครับ ทำไมจึงเป้นเช่นนั้น??

นึกภาพไข่ไก่(จะไข่เป็ด ไข่จรเข้ ไข่จิ้งจกก็ได้ครับ) ที่มีเปลือกแข็ง และด้านในเป็นของเหลวห่อหุ้มเจ้าไข่แดงนะครับ เปลือกนั้นก็คือกระโหลก ไข่แดงก็คือสมองของเรา ลองเอาไข่มาเขย่าแรงๆ ตอกออกมาพบว่าไข่แดงแตก ทำไมเหรอครับ?? เพราะไข่แดงกระแทกกับผนังเปลือกไข่ของมันเอง สมองเราก็เช่นกันครับ ขณะรถล้มนั้นหัวเราวิ่งมรด้วยความเร็วเท่ารถ(สมมุติว่า 40 กม/ชม) หัวเราฟาดเป้งลงไปกับพื้น ณ. เสี้ยววินาทีนั้นหัวเราหยุดความเร็วเป็น 0 ทันที แต่สมองเราเป็นของเละๆ เคลื่อนที่ได้ วิ่งต่ออีกนิดนึงมาชนอั้กกับกระโหลกเราด้วยความเร็ว 40 กม/ชม นึกภาพว่าเอาอะไรมาฟาดสมองตรงๆด้วยความแรงเท่านี้สิครับ ผมคือ มึนครับ(เหมือนนักมวยโดนต่อยก็เช่นกัน ที่เค้าน็อคเพราะสมองถูกผลักไปชนผนังกระโหลก) เลือดคั่ง อันตรายมากครับ ดังนั้นเพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้จึงหน่วงเวลาเสี้ยววินาทีนั้นให้ยืดออกมา อีกเพื่อให้ทั้งหัวค่อยๆลดความเร็วลงมาที่ 0 ครับ นั่นคือการเอา"โฟม"(ชนิดต่างๆ)มารัดรอบหัวเราเอาใว้ เมื่อหัวเราฟาดเป้งลงไปโฟมจะค่อยๆยุบจนหยุดสนิท หน่วงให้หัวเราค่อยๆลดความเร็วลงไปด้วยนั่นเอง

แนวความคิดของการออกแบบ โฟมนั้นเป็นยังไง?? การทดลองการออกแบบก็คือ ทำเกราะไข่ หทิ้งลงมาจากชั้นสี่ของอาคาร ดูว่าแบบใหนไข่ไม่แตก แบบแรกจำลองระบบของหมวกจักรยานมามีกรอบนอกแข็ง มีระบบซับแรงชลอความเร็วรัดไข่กระชับแน่นแข็งเป้ก แบบที่สองเหมือนกันทุกอย่างแต่ทั้งหมดรัดไข่อยู่หลวมๆ แบบที่สามเหมือนแบบแรกแต่มีโฟมนิ่มๆรองรอบนอกอีกชั้น แบบที่สี่ทำเช่นเดียวกันแต่ด้านในเหมือนแบบที่สอง ผลครับแบบสองกับสี่เปลือกไข่ร้าวทั้งคู่ สรุปได้ว่าการร้าวเกิดจากการที่เปลือกไข่วิ่งไปกระทบกับ"โฟมฟองน้ำ"ที่เอมา ป้องกันนั่นแหละ พอว่าสิ่งที่กระทบนั้นจะนิ่มหรือแข็งไม่สำคัยแต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดความ เสียหายคือ "อัตราการเปลี่ยนความเร็ว" ของไข่(หัว) ไข่วิ่งอย่างอิสระไปเสี้ยวนึงก่อนจะลดความเร็วอย่างทันทีเมื่อสัมผัสกับ โฟมทำให้โครงสร้างของเปลือกบิดเบี้ยวไป ในขณะที่ไข่ที่ได้รับการห่อหุ้มอย่างแน่นหนาทั้งสองแบบนั้นค่อยๆลดความเร็ว ลงอย่างสม่ำเสมอจนหยุดนิ่งทำให้เปลือกไข่ไม่คดตัวทันทีทันได

ต่อมาศึกษา โครงสร้างภายนอกของหมวดครับ การทดลองแบบจำลอศึกษาว่าหมวกที่คลุมแบบปิดมิดชิด กับหมวกแบบมีช่องเปิดมากๆ เป็นริ้วๆมีผลมั้ยกับการป้องกันหัวเรา อันนี้จะอธิบายยากหน่อยครับ เอาเป็นว่าสรุปได้ว่า รูปทรงของหมวกนั้นมีผลกับการกระจายแรงออกไปด้วย ตัวมันอาจหักเสียหายแต่สิ่งภายในปลอดภัย ในขณะที่หมดแบบกลมๆเกลี้ยงๆดูแข็งแรง ตัวมันอาจจะแตกนิดๆ แต่แรงกระทำนั้นส่งผ่านมาที่สิ่งข้างในพังได้ พูดตามครงว่าไอ้พลาสติกที่ครอบโฟมนั้นแทบไม่ช่วยเรื่องการชลอความเร็วและ ป้องกันหัวเราเลยครับ แต่มันป้องกัน หิน กรวด พื้นไม่เรียบ ที่จะทำให้จะดกระแทกนั้นเล็กลงจนแรงมารวมกันอยู่ตรงนั้นมากได้ ก็เท่านั้นเองครับ (ดังนั้นหมวกแพงๆอย่าง Giro ล้มไปเจอหินก้อนซักหนึ่งนิ้วล่ะก็ อย่าให้พูดครับ หัวเบอะแน่นอน เพราะริ้วของมันจะแหกออกแหวกช่องให้น้องหินมาสัผัสหัวเราได้ตรงๆครับ)

ดังนั้น รูปร่างหน้าตาหมวก วัดไม่ได้ครับว่าจะแข็งหรือไม่ ความนิ่มหรือแข็งของโฟมก็วัดไม่ได้ว่าหมวกน้นรักษาหัวเราได้ดีกรือไม่

ยิ่งกว่านั้น ราคาหมวกก็ไม่ได้วัดความดีของมัน ราคามันมีกลไกทางตลาดที่ทำให้มันมากกว่า หรือน้อยกว่าคุณค่าของมันก็ได้อย่าลืมสิครับ

สิ่งเดียวที่เราๆจะวัดได้คือ "สัญลักษณ์รับรองมาตรฐานความปลอดภัย" ที่เขียนอยู่นั่นเอง

แม้ว่าการล้มจะเป็นอย่างไร จะเอาตาตุ่มฟาดพื้นก่อนหรือไม่ หัวจะไถลหรือไม่ในเชิงของหัวเรารับแรงแนวตรงอยู่ดีครับ เสี้ยววินาทีที่หัวแปะไปกับพื้นก่อนไถล(ผมไม่เรียกการล้มหัวฟาดพื้นว่าหัว ไถลไปครับ) หัวจะต้อง"กระแทก"ก่อนครับไม่ได้แปะนิ่มๆ ป็าบบบลื่นปรื้ด(เครื่องบินบนลงมานิ่มๆยังกระแทกเลยครับ)กระแทกเสร็จก็ไหล ไปตามแรงเฉื่อยของการเคลื่อนที่ ผมขอบอกว่าการที่หัวกระดอนขึ้นมา(เหมือนลูกสนุ้กชิ่งขอบ) ยิ่งเป้นอันตรายต่อสมองครับ หมวกที่ดีต้องทำให้หัวเรา"หยุด"อย่างนิ่มนวลที่สุดไม่ใช่พาหัวเรากระดอนไปมา เพราะนั่นหมายถึงการที่สมองเราถูก"เขย่า"อยู่ในกระโหลกครับ หมวกกันน็อคไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อกันการไถลหรอกครับไม่อย่างนั้นแค่เพียง เปลือกพลาสติกก็พอแล้ว แต่สิ่งที่หมวกกันน็อคทำงานคืออย่างที่ผมอธิบายไปว่ามัน"ซับ"แรงกระแทกเป้ง เดียวตรงๆจังๆเท่านั้นโดยการลดความเร็วของหัวเราครับ
ผมกำลังมึนอยู่ว่าจะแปลข้อมูลไงดีมันเยอะเหลือเกินครับ ขอเล่าง่ายๆว่า
ต่าง มาตรฐานกัน มีวิธีที่คล้ายๆกัน บางอันครอบคลุมแบบหนึ่ง บางอันอาจดูแล้วหลวมแต่ก็มีรายละเอียดที่บังคับบางข้อที่มาตรฐานดังๆไม่ได้ บังคับเอาใว้(เช่นเรื่องสายรัด) การทดสอบหลักๆเค้าจะทดสอบการรับแรงกระแทกโดยการทิ้งวัตถุที่มีรูปร่างและ น้ำหนักตามมาตรฐานเค้าจากความสูงที่กำหนด(ได้เวลาที่วัตถุกระทบเป็น เมตรต่อวินาที ซึ่งก็คือความเร็วที่หัววิ่งไปหาพื้นครับ) ได้แรงกระทำเป็นจูล ส่วนอันใหนมากกว่าน้อยกว่าผมว่าไม่ใช่สาระครับ มีการวัดความทนทานที่คุณหภูมิต่างๆกันทั้งหนาวจัดๆ เย็นจัดๆ การแช่น้ำ แต่ละค่ายก็จะระบุต่างกันว่าอุณหภูมิใดนานเท่าใด

ย้ำว่า การทดสอบหลักๆจริงๆก็คือการรับแรงกระแทกตรงๆครับ นั่นคือตัววัดความแข็งแรงของหมกกันน็อคจักรยาน(แต่ไม่ทั้งหมด) ดังนั้นโฟมที่นิ่มหรือแข็งไม่ใช่ปัจจัยครับ อยู่ที่ปัจจัยอีกมาก การคงตัวของโครงสร้าง การกระจายแรง ความกระชับของหมวกโดยสายรัด

เพื่อป้องกัน ท่านอื่นๆเข้าใจคลาดเคลื่อนครับ ถ้าหมวกจักรยานป้องกันการไถลของการล้ม ผมแนะนำให้ลองเอาผ้ายี้นส์มาโพกหัวหนาๆหลายๆชั้นดูสิครับแล้วดูว่าล้มไปหัว และสมองคุณจะเป็นไรมั้ย

ใหนๆก็เอาเกร็ดเล็กๆน้อยๆมาฝากละกันครับ
-มีญี่ปุ่น(JIS)เจ้าเดียวที่ทดสอบกับน้ำมันผมมนุษย์ว่ามีผลมั้ย
-ยุโรบให้ความสนใจเรื่องการได้ยินเสียงของผู้ใส่มากกว่าทางอเมริกาครับ
และก็ยุโรปอีกเท่านั้นที่แยกมาตรฐานหมวกเด็กอย่างชัดเจนครับ ทางค่ายอื่นๆจะเป็นการเพิ่มเกณฑ์พิเศษเท่านั้น

อีกข้อความนึงที่ผมลืมพูดไป ความเสียหายของหัวเกิดสองแบบครับ
1 เสียหายที่ภายนอก เช่นหัวแตก กระโหลกศรีษะร้าว หัวถลอก
2 เสียหายที่ภายใน เช่นเลือดคั่งในสมอง เลือดออกภายใต้กระโหลก เนื้อสมองช้ำ
หมวก จักรยาน**ป้องกันทั้งสองอย่างนี้โดยเอาตัวเองรองหัวเราๆเอาใว้ ถ้าแรงมากมันจะกระจายแรงออกไปจนตัวมันแตก(ถ้ามันไม่แตก แรงเหล่านั้นจะส่งมาที่หัวแทน)

เรื่องสุดท้ายที่เตือนกันแล้วเตือน กันอีกครับ หมวกจักรยานที่เคยผ่านการช่วยชีวิตคุณมาแล้ว มันได้ทำหน้าที่ของมันจบสิ้นลงแล้วครับ แม้ว่าดูภายนอกจะไม่มีร่องรอยเสียหายอย่างร้ายแรงเช่นแตกร้าว แต่โฟมในจุดที่รับแรงกระแทกมันหมดสภาพไปแล้ว ไม่เพียงแต่โดนซ้ำที่เดิมเท่านครับ มันยังทำให้การกระจายแรงของหมวกทั้งใบทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

อีก ประการ (สองข้อนี้เคยอ่านจากเวปฝรั่งนะครับ) หมวกที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอมากกว่า 5 ปีผ่านร้อนฝนหนาวมามากมาย มันลดคุณภาพลงไปครึ่งหนึ่งครับ และถ้าคุณมีหมวกอายุมากกว่า 10 ปีแม้จะไม่เคยล้มไม่เคยใช้เลย ก็ทิ้งได้เลยครับ มันไม่ได้ช่วยอะไรได้อีกแล้ว

ปิดท้ายด้วยประสพการณ์ตรงครับ เพื่อนผมปั่นทริปทางไกลด้วยกัน จนไปถึงที่พัก เอาสัมภาระ กินน้ำพักผ่อน ปั่นเลาะเข้าสนามหญ้าเพื่อหาที่กางเต้นกันสบายๆ ผมได้ยินเสียงโครม อั้กจากด้านหลัง เพื่อนผมเองครับ ของมันเข้าไปเกี่ยวล้อตัวเองเสียหลักล้มลงมา แรงหมดขยับขาไม่ทัน หัวลงพื้น ผมเห็นหมวกมันล็อคกับแฮนด์อยู่ก็นึกอนาถ ดีว่าพื้นเป็นหญ้าและดินนุ่มๆ แต่มันก็บอกว่า "มึน" (ถ้านึกภาพดีๆจะจินตนาการออกว่า ผมปั่นตัวเปล่าๆให้เพื่อนขนเต็นท์ขี่ตามมาครับ 5555 ขำก็ขำ สงสารก็สงสาร) ถ้าเป็นพื้นหินล่ะก็ บาปนี้คงติดตาไปอีกนานเลยล่ะครับ
อย่าประมาทครับ อุบัติเหตุมันเกิดขึ้นได้เสมอๆโดยเฉพาะเวลาที่เราไม่แม้จะคิดว่ามันจะเกิด
168378-1.jpg
"เสียเวลาซักนิดก่อนจะเลือกหมวกซักใบ"
นอกจากจะเลือกหมวกกันน็อคจักร ยานจากตรามาตรฐานและถูกใจ(ถูกทรัพย์)แล้ว ลองทำอย่างนี้ดูซักนิดมั้ยครับ มองหากระจกเงาซักบานมาลองครอบหัวกันซะหน่อย คิดดูนะครับว่าเวลาซื้อสื้อซักตัวนึงเค้ายังมีห้องลอง นี่หมวกโฟมใบละเป็นพัน แถมเอามาป้องกันหัวอีก จะไม่ลองดูซักนิดเหรอครับว่าออกมาหล่อแค่ใหน??
1 ลองดูว่าหมวกนั้นด้านขอบหน้าเมื่อใส่ครอบลงมาแล้วมันอยู่ระดับใหน หมวกที่พอดีจะเกือบๆแตะระดับคิ้วเรา นั่นแปลว่ามันป้องกันหน้าผากเราได้แน่นอนครับ ลองสังเกตุมั้ยครับว่ามือใหม่ๆเวลาใส่หมวกกันน็อคมันจะใส่ออกมาเชิดๆ(ไม่ ทราบทำไม) ก่อนซื้อก็ลองครอบดูนะครับว่าออกมาเป้นอย่างไร

2 หมวกรัดสนิทกระชับรอบๆหัวของเราดีมั้ย?? อย่างที่บอกไปในกระทู้ก่อนว่าแม้การป้องกันจะดียังไงก็ตามถ้ามีพื้นที่ให้ หัวเราขยับได้ในหมวก นั่นแหละอันตรายครับ เพราะเวลาล้มหัวเราจะไปกระทบกับหมวกทีนึงก่อนแล้วค่อผ่อนแรง ไม่ดีกับสมองครับ หมวกบางยี่ห้อ บางรุ่น อาจจะไ่เหมาะกับรูปทรงของหัวบางคน คนเราหัวไม่ได้รูปเดียวกันทุกคนนะครับอย่าลืม บ้างกลม บ้างทุย บ้างแบน ลองดูก่อนว่ามันกระชับสนิทมั้ย แผ่นฟองน้ำที่ให้มีหนุนมันช่วยได้นิดๆหน่อยๆเท่านั้นแหละครับแต่หลักๆคือ ทรงของมัน

3 แนวของสายรัดพาดผ่านใต้แนวหูลงมาที่ใต้คาง ไม่ใช่รัดที่ปลายๆคางเหมือนหมวกกันน็อคมอเตอร์ไซค์นะครับ เพราะอะไร? ลองนึงภาพหัวเรากลมๆเป็นแตงโมง เวลามัดแตงโมให้แน่นเนี่ยต้องมัดผ่านแนวกึ่งกลางใช่มั้ยครับ คงไม่มีใครมัดแบบปาดๆเฉียงๆ เพราะมันก็จะลื่นปรึ้ดหลัดง่ายนั้นเอง เช่นเดียวกันครับ ถ้าเรารัดสายรัดคางให้อยู่แนวตรงลงมาที่สุด มันก็จะกระชับหมวกให้นิ่งได้ง่ายกว่านั่นเอง

4 สายด้านข้างกระชับรอบหูเท่าๆกัน โดยลองปรับสายรัดแบ่งเฉลี่ยให้ด้านหน้าใบหูและหลังใบหูสายรัดตึงพอๆกัน สายจะได้รั้งให้หมวกไม่กระดกหน้ากระดกหลังเสียก่อนที่หัวเราจะกระทบพื้นครับ อย่างที่มีท่านนึงบอกว่า เวลาล้มเราจะไถลไป คิดดูครับว่าถ้าฟาดเป้งแรกแล้วหมวกมันเลื่อนไป ทีนี้ท้ายทอยก็โดนถนนขัดเป็นแถบเลยสิครับ

5 สุดท้าย ปรับเสร็จแล้วก็รัดสายรัดให้แน่น แน่นแค่ใหนล่ะ?? เอาง่ายๆครับ แน่นพอที่เมื่อเราสอดนิ้วเข้าไประหว่างสายรัดกับคาง มันมีที่พอให้นิ้วเราเข้าไปได้นิ้วเดียวไม่ใช่หลวมโครกเข้าไปได้สี่นิ้ว หรือแน่นจนแซะไม่ได้เลย ผมลองอีกวิธีโดยการรัดแล้วก้มหัวให้สุด(เก็บคาง)มันจะแน่นพอดีๆไม่ได้รัดจน หายใจลำบากครับ

ข้อพึงจำสำหรับหมวกจักรยาน
_*ย้ำครับว่า ล้มแล้วทิ้งเลย อย่าเอาหมวกที่เคยล้มแล้วแม้จะไม่แตกมาใช้อีกเด็ดขาด
*หมวก ที่ใช้งานเยอะๆโดนแดโดนฝนผ่านร้อนผ่านหนาวมา 5 ปี หรือหมวกที่เก่าเก็บไม่ได้ใช้งานกว่า 10 ปี อาจจะไม่สามารถปกป้องหัวเราๆได้อย่างเต็มที่อีกต่อไป คงไม่มีใครอยากเดาว่าวันนี้จะล้มไม่แรงเอาหมวกเก่าก็ได้ หรอกนะครับ
* ถ้าอากาศไม่ได้ร้นมากมาย แต่ถอดหมวกมาเหมือนไปสระผมมาจากร้านเสริมสวยแล้วลืมเป่าให้แห้งล่ะก็ ลองเก็บเงินมองหาหมวกที่มีรู้ระบายอากาศเยอะขึ้นมั้ยครับ??
*ถ้าใส่หมวก แลล้ว หลังเลิกปั่นไปนั่งกินข้าวพบว่าคุณมีทรงผมประหลาด(มีชี้ๆออกมาตามแนวรูของ หมวก)จนคนอื่นมองและหัวเราะ อย่าอายครับ แก้ง่ายๆ คราวหน้าพกหวีไปด้วยเท่านั้นก็พอแล้ว หรือ หาหมวกเท่ๆซักใบไปใส่แทน แค่นี้เราก็หล่อได้แล้ว
168378-2.jpg
การทดลองหมวกจักรยานปี '06 โดยห้องทดลองเพื่อผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา(สหพันธ์ผู้บริโภค)
การรับแรงกระแทก
หมวกที่ได้รับการรับรองระดับ"ดีเยี่ยม"
Bell Citi, Bell Slant
หมวกที่ได้รับการรับรองระดับ"ดีมาก"
Specialized Aurora
หมวกที่ได้รับการรับรองระดับ"ดี"
Bell Xray, Giro Atmos, Giro Havoc, Specialized Air-8, Trek Interval Sport, Trek Vapor 3 Sport, Serfas Cosmo Plus, Louis Garneau Equinox, Bell Metropolis และ Louis Garneau Chrono

การระบายอากาศ
หมวกที่ได้รับการรับรองระดับ"ยอดเยี่ยม"
Bell Citi, Bell Slant, Bell X-ray, Giro Atmos, Giro Havoc และ Specialized Air-8

ทีนี้มารู้จักการแยกประเภทของหมวกดูนะครับ
หมวกสำหรับรถจักรยานถนน
เรียก ได้ว่าเป็นหมวกที่พบได้มากที่สุด หมวกส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนี้ รูปร่างเพรียวลม มีช่องระบายอากาศเยอะ น้ำหนักเบา เปิดมุมมองด้านหน้า

หมวกแบบ Commuter
บริษัท Bell ให้คำจำกัดความนี้ในปี 2004 หลังจากที่แนะนำหมวกแบบใหม่ที่ออกแบบรูปทรงให้กลมขึ้น แทนที่จะเป้นรูปรีๆอย่างหมวกจักรยานถนน มีช่องระบายอากาศ มีการออกแบบลดแรงเสียดทานเช่นเดียวกัน มันก็เอื้อประโยชน์ใช้งานต่างๆได้ง่ายเช่นการติดที่บิงหู กระจก พูดง่ายๆคือหมวกสำหรับใช้งานทั่วไปนั่นเองครับ

หมวกสำหรับเด็ก 5-10 ขวบ
ก็ ไม่ได้มีอะไรต่างไปจากหมวกผู้ใหญ่ จะเป้นรูปร่างแบบหมวกถนน หมวกทั่วไปก็ได้ แต่จะมีขนาดเล็กกว่าเท่านั้นเอง ในการทดสอบมาตรฐานจะใช้แรงกระทำในการทดสอบเดียวกันกับของผู้ใหญ่เป็นเกณฑ์

หมวกจักรยานแบบ Toddler
อัน นี้บ้านเราไม่ค่อยเห็นกัน เพราะบ้านเราไม่นิยมพาเด็กนั่งจักรยานแต่ฝรั่งจะมีเยอะครับ เป็นหมวกสำหรับเด็กต่ำกว่า 5 ขวบ หมวกจะกลมรอบหัว คลุมไปถึงท้ายทอยของเด็กที่สวม สำหรับส่วนท้ายทอยนั้นหากมีความหนาเป็นพิเศษด้วยล่ะก็ ต้องใช้กับที่นั่งเด็กที่มีที่หนุนคอป้องกันหัวโยกคลอน การทดสอบจะใช้แรงกระทำเช่นเดียวกับหมวกผู้ใหญ่ทุกประการ

หมวกสำหรับผู้หญิง
อัน นี้บ้านเราก็ไม่ค่อยมีอีกนั่นแหละ อันที่จริงแม้แต่เมืองนอกก็ไม่มีให้เห็นแล้ว หมวกประเภทนี้จะเผื่อการออกแบบสำหรับผมยาวที่ทั้งมัด รวบ และปล่อยมากกว่าผู้ชาย แต่ภายหลังพบว่าไม่มีความจำเป็น ปัจจุบันหมวกผู้หญิงก็คือหมวกผู้ชายที่เล็กกว่าและลวดลายน่ารักเท่านั้น

หมวกสำหรับดาวน์ฮิล
โดย มากจะเป้นหมวกลักษณธเดียวกับหมวกสำหรับแข่งจักรยานยนต์วิบากที่จะมีการ ป้องกันที่คางและปกป้องหน้าของผู้ขี่ มีช่องระบายอากาศที่ดี ทำจากวัสดุพลาสติกหรือวัสดุผสมพวกไฟเบอร์กลายและคาร์บอนไฟเบอร์ก็ได้ มีมาตรฐานรับรองของหมวกประเภทนี้เฉพาะอยู่ด้วยเรียกว่า ASTM F 1952 Downhill Racing Helmet standard.

หมวกจักรยานภูเขา
อาจจะเรียก ได้ว่ามันคือหมวกจักรยานถนนที่มีกระบังบังแดดก็ได้ แต่สังเกตุดีๆหมวกจักรยานภูเขาแท้ๆของบางยี่ห้อจะมีช่องระบายอากาศที่เล็ก กว่าจักรยานถนน เพราะการขี่จักรยานถูเขามักจะมีกรวดหินดินทรายที่ลอดช่องระบายอากาศนั้นมา ทำอันตรายกับหัวได้มากกว่าการขี่บนถนนเรียบๆ

หมวก BMX
BMX ย่อมาจาก Bicycle Moto-Cross ( X = กากบาท = cross) ดังนั้นหมวก BMX ก็ไม่ได้ต่างอะไรจากหมวกแข่งมอเตอร์ไซค์ อาจจะเป้นแบบที่เบาๆไม่หนาเท่าก็เท่านั้นเอง วัสดุก็เหมือนๆกับหมวกจักรยานแบบดาวน์ฮิล แต่ต่างกันตรงที่ช่องระบายอากาศจะเล็กกว่าเพราะการแข่ง BMX ไม่ได้ใช้เวลายาวนานเหมือนการแข่งจักรยานอื่นๆ

หมวกแบบ Chrono
หมาย ถึงหมวกที่ออกแบบเพื่อการลู่ลดแรงเสียดทานของอากาศในการแข่งแบบลู่ ไทม์ไทรอัล หรือ เปอร์ซูท มีรูปร่างแบบหยดน้ำลู่ไปทางด้านหลังของนักแข่ง อาจยาวไปจนนาบรวมกับแผ่นหลังให้ทั้งตัวของนักปั่นแหวกอากาศไปได้โดยไม่มีลม หมุนอยู่ด้านหลังคอยฉุดให้รถช้าลง หมวกแบบนี้ที่ดีๆจะไม่มีรูระบายอากาศมาลดคุณภาพของมัน เรื่องของหมวกแบบนี้มันเยอะครับ เอาใว้ว่ากันทีหลังดีกว่า

หมวกสำหรับเล่นสเก็ต
ก็ เห็นว่ามันคล้ายๆกันน่ะครับเลยเอามาซะ อันที่จริงหมวกสเก็ตนั้นก็คือหมวกจักรยานยุคเก่าๆนั่นแหละครับ ชาวสเก็ตเค้ายังนิยมรูปร่างแบบนี้อยู่ อีกอย่าง จากการทดลองไอ้รูปร่างโบราณๆอย่างนี้แหละที่รับแรงกระแทกป้องกันหัวเราได้ ดีสุดแล้ว วัสดุจะต่างไปจากหมวกจักรยานบ้างก็แล้วแต่ครับ

เรื่องของ"รูระบายอากาศ"
สิบปีหลังถ้าสังเกตุดีๆจะเห็นว่าหมวก จักรยานนั้นมีรูระบายอากาศเยอะขึ้นเรื่อยๆ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เจ้าแรกที่ก้าวนำแนวคิดนี้คือ Giro รุ่น Helios ในปี 1997 เค้าเสนอให้เห็นว่าถ้าประสิทธิภาพทุกอย่างเท่าเทียมกัน รูเยอะกว่าย่อมดีกว่า(เย็นกว่า เบากว่า) แต่ทว่าในโลกของความเป้นจริง ไม่มีทางเป้นจริงได้ ทุกๆรูที่เยอยะขึ้น ใหญ่ขึ้น หมาายถวามว่าโฟมของหมวกใบนั้นต้องได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อยทดแทน พื้นที่ที่หายไปนั้น หนาขึ้น แข็งขึ้น นั่นยิ่งทำให้หมวกที่มีรูมากๆยิ่งอันตรายหนักเข้าไปเมื่อมองดูแรงกดของแรง ที่เป็นจุดมากกว่าหมวกแบบกลมๆเรียบๆทั่วไป
อย่าเพิ่งคิดว่า "อ้าวแล้วไปซื้อทำไมใบละเกือบหมื่น" หมวกที่ยิ่งหั่นให้ปรุ รูยิ่งมาก ก็ต้องผ่านการรับแรงกระแทกที่เท่ากับหมวกแบบรูน้อยๆ พวกเค้าแก้ปัญหาเรื่องการปกป้งหัวเราด้วยวิธีที่ฉลาดกว่าการทำให้โฟมแข็ง ขึ้น หนาขึ้นอย่างเดียว อันที่จริงมันคือการถึงขีดที่โฟมหนากว่านี้ก็ไม่ช่วยอะไร แข็งกว่านี้ก็อันตรายนั่นเอง รูปทรงของหมวกและลายริ้วๆนั่นแหละครับ อาจจะเข้าใจว่าริ้วๆนั้นมีเพื่อการลดแรงเสียดทาน นั่นแค่ครึ่งเดียวครับ มิเช่นนั้นทำไมหมวกไทม์ไทรอัลถึงเรียบสนิทล่ะ?? ริ้วๆนั้นทำตัวเป็น"คาน"ถ่ายน้ำหนักเมื่อเกิดการล้มครับ มันค้องการการออกแบบที่ยาก การวิจัยที่ซับซ้อน รวมทั้งขั้นตอนการผลิตขึ้นรูปที่แสนจะยุ่งยากต้องใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย เทคนิกการผลิตที่ซับซ้อน นั่นแหละทำไมหมวกเบาๆ รูเยอะๆ ถึงได้แพงขนาดนั้น

แต่ ก็เถอะนะ นักออกแบบหมวกแบบที่มีรูพรุนๆก็คงไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าทำหมวกที่เบาๆ รูเยอะๆและ"พอผ่าน"การทดสอบเท่านั้น ยิ่งรูเยอะขึ้น รู้ใหญ่ขึ้นก็หมายถึงวิสดุที่น้อยลง แต่ได้เงินมากขึ้น มันไม่ได้แปลว่าหมวกปลอดภัยขึ้นเลยแม้แต่นิดเดียว

ผู้บริหารแผนก ผลิตภัณฑ์ของบริษํท Bell ได้ให้สัมภาษณ์เอาใว้ว่า "แนวคิดมันก็คือการทำราคาให้สูงขึ้นและทำอย่างไรให้ผู้บริโภคมาซื้อของแพง ถ้าคุณขายหมวกใบละ 50 เหรียญที่มีรู 500 รู คุณจะขายหมวก ใบละ 100 เหรียญได้เหรอ" นั่นแปลว่า หมวกที่มีรูเยอะๆจะถูกสร้างภาพให้เป็นหมวกแพงๆ หมวกที่เกลี้ยงๆรูน้อยๆจะเป้นหมวกถูกๆตามวิธีการสร้างกลไกราคาของผู้ผลิต นั่นเอง ในหลายมาตรฐาน หมวกแบบที่พรุนๆนี้ไม่ผ่านการทดสอบเพราะเมื่อรับแรงกระแทกไปแล้ว หมวกไม่สามารถคงสถาพเดิมใว้ได้ นึกภาพหมวกแบบเก่าๆที่แตกครึ่งเมื่อหัวเราโหม่งพื้น แต่ในการล้มแรงๆ หมวกแบบใหม่จะไม่แตกครึ่ง จะแตกเป็นชั้นๆด้วยการกระแทกเพียงครั้งเดียว นั่งแปลว่าโอกาสที่หัวเราจะปราศจากสิ่งป้องกันก็เยอะกว่าหมวกแบบเก่าแน่นอน

ก็ ชั่งน้ำหนักเอาเองตามแต่คนชอบครับ ว่าใครชอบแบบใหน ที่แน่ๆคนงบน้อยๆก็มีข้อได้เปรียบแน่ๆครับว่าหมวกถูกๆ เชยๆนั่นแหละที่แข็งแรงแน่นอน

"เค้าทดสอบหมวกกันอย่างไร?"
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันก่อนว่าเจ้า หมวกกันน็อคจักรยานที่เราๆซื้อนั้น ผ่านมาตรฐานต่างๆกันมาโดยการ"สุ่ม"ตรวจตัวอย่างมา ไม่ได้หมายความว่าทุกใบถูกส่งเข้าแล็บหมดนะครับ
ขั้นที่ 1 หมวกจะถูกนำไปใส่บนที่ทดสอบซึ่งเหมือนกับหัวจำลองของคน รัดสายรัดตามปกติ ทำสัญลักษณ์ระดับที่หมวกสวมอยู่บนหัวจำลอง ทดสอบแบบแรกคือการรับแรงกดอย่างช้าๆ โดยการนำน้ำหนักถ่วงมาวางทับบนหมวกนั้นเพื่อกดให้หมวกได้รับน้ำหนัก ทำสัญลักษณ์อีกครั้ง สังเกตุว่าหมวกเปลี่ยนตำแหน่งไปมากแค่ใหน โฟมยุบตัวเท่าได

ขั้นที่ 2 แรงกระแทก แต่ละมาตรฐานจะกำหนดตุ้มน้ำหนักและความสูงสำหรับการทดสอบเอาใว้ต่างกันไป ปล่อยน้ำหนักนั้นลงมากระแทกหมวกที่อยู่บนหัวจำลอง ศึกษาความเสียหายของหมวกนั้นๆ หากหมวกไม่มีความเสียหายจะดูค่าของแรงที่กระทำกับหัวจำลอง ดูว่าหมวกลดแรงกระทำลงได้มากแค่ใหน ผ่านเกณท์หรือไม่ แม้หมวกจะไม่เสียหายแต่ถ้าแรงยังส่งผ่านมายังหัวได้มาก หมวกนั้นก็ไม่ผ่านเกณฑ์ครับ

ขั้นที่ 3 หมวกจะได้รับการทดสอบในสภาพแวดล้อมต่างๆกันไป ทั้งอุณหภูมิปกติ ความเย็นจัด(ติดลบกันเป้นสิบ) ร้อนจัด(ร้อนประมาณสี่สิบกว่าๆกันโดยประมาณป และ การแช่น้ำที่อูณหภูมิที่ระบุ หมวกต้องทนกับสภาพเหล่านี้ได้ตามเวลาที่กำหนัด จึงจะเรียกว่าผ่านการทดสอบความทนทานสภาพแวดล้อม

ขั้นที่ 4 การทดสอบสายรัดคาง ทดสอบกันทั้งแรงตึง ความื่น ความแน่นของที่ล็อค ทดสอบกันเป็นพันๆครั้งการใช้งานจนแน่ใจว่าไม่มีการขาดลุ่ยหรือหักบิ่น

ทีนี้มาลองรู้จักมาตรฐานต่างๆดูครับ

๐CPSC เริ่มบังคับใช้ตามกฏหมายสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1999
Consumer Product Safety Commission เป็นมาตรฐานที่ได้รับการเสนอมาจากสภาสูงสหรัฐฯ ได้รับการพัฒนาขั้นตอนการตรวจสอบโดยหน่วยงานของรัฐบาล เริ่มร่างข้อกำหนดตั้งแต่ปี 1994 และพัฒนาระบบการตรวจสอบร่วมมือกับ ASTM เรื่อยมาจนกระทั่งปี 1998 ได้ข้อสรุปถึงข้อบังคับของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้อย่างชัดเจนก่อน เริ่มใช้งานในปี 1999
มาตรฐาน CPSC ใช้ความสูงของการทิ้งทั่งโลหะหแบบเรียบที่ความสูง 2 เมคร และแบบไม่เรีบนที่ 1.2 เมตร

๐ASTM F1447 เป็นมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดเคียงคู่มากับ CPSC
ก่อน หน้าจะมี CPSC นั้น ASTM จัดเป็นมาตรฐานหลักๆที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดสำหรับหมวกกันน็อค มากกว่า 70% ของหมวกจะต้องผ่านมาตรฐานแบบนี้ทั้งนั้น เป็นเพราะว่า ASTM ได้พัฒนาและตรวจสอบหมวกทั้งหลายด้วยความเข้มข้น จนแซงหน้า Snell ที่เป้นที่นิยมสูงสุดในช่วงทศวรรษที่ 90 ได้
ASTM มีลักษณะและการตรวจสอบใกล้เคียงกับ CPSC มาก ต่างกันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น CPSC เป็นข้อบังคับที่ต้องผ่าน แต่ ASTM เป็นเพียงมาตรฐานทั่วไป หมวกใดๆที่มั่นใจว่าตัวเองผ่านมาตรฐานนี้สามารถติดสติ๊กเกอร์ของ ASTM หลังจากที่ตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการของตนเองแล้ว โดยที่ห้องปฏิบัติการนั้นจะต้องได้รับการอบรมตรวจสอบจาก ASTM เท่านั้นเอง

๐ANSI ถูกยกเลิกและทดแทนโดย ASTM ไปแล้ว
ปี 1984 หน่วยงานชื่อ American National Standart Institure ได้ดัดแปลงมาตรฐานหมวกกันกระแทกที่มีอยู่มาเป้น ANSI Z90.4 สำหรับหมวกจักรยาน เมื่อเวลาผ่านไป ANSI พยายามพัฒนารูปแบบการตรวจสอบหมวกจักรยานให้ดีขึ้นแต่เมื่อมี ASTM เข้ามาเป้นข้อบังคับ ผู้ผลิตทั้งหลายก็ไม่มีความจำเป้นจ้องทดสอบมาตรฐาน ANSI อีกต่อไป นอกจากนี้ ANSI เองก็ไปขัดกับกฏหมายท้องถิ่นของรัฐบางรัฐในสหรัฐอเมริกาอีกย่างหาก ทุกวันนี้เราอาจจะยังคงเห็นสติ๊กเกอร์ ANSI ได้ แต่ขอให้มองมันเป็น"โบราณวัตถุ"และมองหาว่านอกจาก ANSI หมวกนี้ผ่าน ASTM, CPSP หรือ Snell แปะอยู่ใกล้ๆกันมั้ย

๐Snell B-95 มาครฐานที่ดีเยี่ยม
มูลนิธิ สเนลเริมก่อตั้งตั้งแต่ปี 1957 เพื่อเผยแพร่มาตรฐานหมวกที่ดีกว่าหลังจากการเสียชีวิตของนักแข่งรถชื่อ พีท สเนล (Pete Snell) จากการได้รับบาดเจ็บที่หัวแม้จะใส่หมวกกันกระแทกแล้วก็ตาม ไม่นานมาตรฐานนี้ก็ครอบคุลมหมวกกันกระแทกสำหรับกีฬาเกือบทุกชนิด
มาตรฐาน Snell นั้นเป็นที่รู้กันดีว่ามีการพัฒนาออกเวอร์ชั่นใหม่ๆมาเรื่อยๆ และทุกครั้งที่ออกเวอร์ชั่นใหม่ออกมา Snell จะถือว่าเป้นมาตรฐานที่สูงที่สุดเท่าที่มีในขณะนั้นทุกครั้ง เรียกว่าเป้นมาตรฐานของหมวกชั้นสูงก็ว่าได้ นอกจากนี้ Snell ระดับต่างๆก็มีเกณฑ์ที่ต่างกันไป หมวกถูกๆก็สามารถผ่าน Snell รุ่นล่างๆได้ไม่ยากนัก สิ่งที่ Snell เหนือกว่ามาตรฐานอื่นนั้นคือการติดตามผลและตรวจสอบการใช้งานจริง ไม่ว่าจะที่ร้านขาย จากสนามแข่ง Snell จะเรียกกลุ่มตัวอย่างมาตรวตสอบหมวกอยู่เรื่อยๆเพื่อให้แน่ใจว่าหมวกที่ผ่าน การรับรองของ Snell มานั้น สามารถใช้งานได้จริงตามมาตรฐานนั้น เพื่อจะผ่านมาตรฐานนี้ ผู้ผลิตหมวกต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าทดสอบมาตรฐาน Snell เป้นเงิน 0.35$ ต่อหมวกหนึ่งใบ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบติดตามผลทั้งหมด สันนิษฐานคร่าวๆว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับได้รับสติ๊กเกอร์ของ Snell แปะอยู่ใต้หมวก จะเป็นราคาหมวกที่เพิ่มขึ้นใบละ 1$ นั่นเอง ด้วยสาเหตุนี้ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจหมวกบางยี่ห้อก็ได้บอกลา Snell ไปซบอก ASTM แทน
จนกระทั่งปี 1995 Snell ออกมาตรฐานเวอร์ชั่นล่าสุดออกมา B-95 เป็นมาตรฐานที่โหดที่สุดสำหรับการทดสอบก็ว่าได้ (ทิ้งทั่งแบบเรียบจากความสูง 2.2 เมตร และ แบบไม่เรียบที่ 1.3 เมตร) ออกมาเป้นอีกทางเลือกของหมวกกันกระแทกแบบไฮโซ นอกจากนี้ยังออกมาตรฐาน N-94 ที่เป้นมาตรฐานแบบสารพัดประโยชน์ ครอบคลุมกว้างๆ (ถ้าสนใจว่า Snell แบบต่างๆนั้นเป้นอย่างไร เซิร์ชหาได้จากเวปไซท์ของ Snell ได้ครับ)
Snell B-90 ก็มีระดับการตรวจที่ไม่ต่างจาก CPSC

๐Europe, JIS, AUS/NZ เหล่านี้ก็เป็นที่ยอมรับเช่นกัน บางหัวข้อของการตรวจเข้มข้นและพิถีพิถันกว่ามาตรฐานที่กล่าวมาก่อนเสียอีก


สรุปเปรียบเทียบมาตรฐานต่างๆด้านเทคนิก

น้ำหนักถ่วงที่ใช้ทิ้งลงบนหมวกเพื่อวัดแรงกระแทก
CPSC 5 kg
ASTM 5 kg
Snell B-90 5 kg
Snell B-95 5 kg
ANSI 5 kg

ความสูงที่ทิ้ง ทั่งโลหะแบบเรียบลงบนหมวกเพื่อวัดแรงกระแทก
CPSC 2.0 m
ASTM 2.0 m
Snell B-90 2.0 m
Snell B-95 2.2 m
ANSI 1.0 m

ความสูงที่ทิ้ง ทั่งโลหะแบบไม่เรียบลงบนหมวกเพื่อวัดแรงกระแทก
CPSC 1.2 m
ASTM 1.2 m
Snell B-90 1.3 m
Snell B-95 1.5 m
ANSI 1.0 m

**การทดสอบจะใช้ทั้งทั่งโลหะแบบผิวเรียบ และแบบผิวโค้งมน บางการทดสอบยังใช้แบบมีเหลี่ยมมุมอีกด้วยเพือจำลองแรงกระทำให้ได้ใกล้เคียงมากที่สุดครับ

พลังงานที่คำนวนได้จากการกระแทก
CPSC 98 J
ASTM 98 J
Snell B-90 98 J
Snell B-95 110 J
ANSI 49 J
แก้ไขล่าสุดโดย เสือ เมื่อ 25 มี.ค. 2011, 11:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
รูปประจำตัวสมาชิก
JADE555
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 7878
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2009, 06:31
Tel: อยากรู้ให้โทรมาถาม (- -")
team: CARBON ASS!!!
Bike: เหล็กมาร

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย JADE555 »

great !!! :D
ปั่นต่อไป จนกว่าตูดจะไหม้เป็นเถ้าถ่าน CARBON ASS TEAM

เฟรมบุบกลาง ยางก็แบน แฮนด์ก็หลุด
โซ่สะดุด ล้อสะบัด เฟืองก็แหลม
ยางนอกโล้น ขอบล้อแตก ยางในแพลม
สนิมแจม ลูกปืนร้าว รองเท้าพัง!!
ching
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 368
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 14:12
Tel: 0937635632

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย ching »

ดีคับ
รักสุขภาพก้าวไกล ใส่ใจปั่นจักรยาน NABON TEAM
manop1661
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1194
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 18:36
ตำแหน่ง: กำแพงเพชร
ติดต่อ:

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย manop1661 »

การผลิตหมวกจักรยาน

คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง
รูปประจำตัวสมาชิก
mix_ch
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 10221
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 06:41
Tel: O9-555-66361
team: ต่อนยอน cycling team
Bike: Cherubim + Merida + Fuji + Bianchi + Scott
ติดต่อ:

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย mix_ch »

การผลิตหมวกสุดยอดครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
reekt
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 17
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 17:06
Tel: 0859772999
team: ปั่นอยู่คนเดียว
Bike: dahon
ตำแหน่ง: 348/4 พัฒนาการ สวนหลวง กทม.

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย reekt »

ความรู้ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
kobfujar
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3594
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ม.ค. 2011, 11:41
Bike: Bridgestone DiamondRock ชมพู-ดำ(เก่าๆ)
ตำแหน่ง: ถ.ประชาชื่น ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย kobfujar »

รูปไม่มา...แต่ไม่เป็นไร
เนื้อหาก็ขอบคุณแล้วครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
GOLFgt
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 221
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 07:17
Tel: 0831316367
team: อ่อนซ้อม
Bike: GT OUTPOST DISC 2009 / MONGOOSE SUPERGOOSE / specialized rockhopper /jamis dakota
ตำแหน่ง: ปากเกร็ด

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย GOLFgt »

:D so good !!! :D
ช่างกล ขส.ทบ. 43

facebook --->
http://www.facebook.com/GolfCalo
Chalong
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 421
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 พ.ย. 2009, 12:33
ติดต่อ:

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย Chalong »

ลงชื่อใว้อ่านต่อครับ
จักรยานราคาแพงไม่ได้ทำให้เราเป็น "นักปั่น"เราแค่เป็นเจ้าของจักรยานราคาแพงเท่านั้น
manop1661
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1194
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 18:36
ตำแหน่ง: กำแพงเพชร
ติดต่อ:

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย manop1661 »

ข้อมูลนี้ ท่าน giro di MN
ได้เคยนำมาลงกระดาน ตั้งแต่ยังเป็นบอร์ดแดงอยู่
ตาม link ครับ
http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=168378
คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง
jittakon
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 152
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2011, 01:11
team: fixgabike
Bike: BMC TT03 ,fixedgear
ตำแหน่ง: 314 ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณี เขตธนบุรี กรุงเทพ
ติดต่อ:

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย jittakon »

ข้อมูลดีมากๆครับ ได้ความรู้เยอะเลย ผมยังไม่มีหมวกซํกใบว่าจะมองหาอยู่เหมือนกัน ช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อได้เยอะเลยครับ
http://www.facebook.com/fixgabike
ขายประกอบซ่อมพร้อมอะไหล่ จักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ฟิกเกียร์ รถพับ
รูปประจำตัวสมาชิก
oils
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 373
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 17:13
Tel: 0954069575
team: ไอ แอม ปั่น ยาน
Bike: rocky vertex 10+polygon cozmic 1.0 +M4+ครอบครัว fuji slm 3.0+sst1.0+altamira geox team

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย oils »

ขอบคุณครับ อ่านเพลินเลย
ไอ แอม ปั่นยาน


https://www.facebook.com/profile.php?id=100008256130620
รูปประจำตัวสมาชิก
prasopsook
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 138
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มี.ค. 2010, 23:13
Tel: 0811414091
Bike: merida
ตำแหน่ง: line id prasopsook2515
ติดต่อ:

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย prasopsook »

:P
รูปประจำตัวสมาชิก
mug
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 72
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 13:09
Tel: 0877538629
team: ยังไม่มี
Bike: H2 Alma alu

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย mug »

อ่านแล้วเพลินจัง
ห้องเสื้อ ยุวนิตร์



คำว่า "ไปธุระ" ของผู้ชาย เชื่อไม่ได้พอๆกับ คำว่า "ไม่เป็นไร" ของผู้หญิง
pmv2008
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1959
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2010, 15:13
team: เสือบางไทร "Bangsai cycling club"
Bike: Giant TCR composite,Giant Anthem GT,ภูเขาทัวร์ริ่ง
ตำแหน่ง: 51 หมู่ 3 ต.ห่อหมก อ.บางไทร จ.อยุธยา
ติดต่อ:

Re: เกร็ดน่ารู้เรื่องหมวกครับ

โพสต์ โดย pmv2008 »

เอาไว้อ่าน
ขอบคุณครับ
http://www.facebook.com/pramotev
zone 1 99-119
zone 2 119-139
zone 3 139-158
zone 4 158-178
zone 5 178-198
ตอบกลับ

กลับไปยัง “อุปกรณ์จักรยานทั่วไป (MTB)”