Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

คำถามพูดคุยเกี่ยวกับจักรยานเสือภูเขาหรืออุปกรณ์ต่างๆ

ผู้ดูแล: seven@klein, Cycling B®y, tntm, เสือ Spectrum

รูปประจำตัวสมาชิก
ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 13:06
Tel: 0813619549
team: ์Nonthaburi Cycling Club
Bike: Old School Steel Alloy

Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง »

มีหลายคนถามผมว่าทำไมถึงชอบขี่รถ Chromoly ผมก็เลยตอบไปว่า เพราะผมชอบที่ความรู้สึกได้รับจากรถจักรยาน Chromoly ครับ
แล้ว Chromoly มันดีกว่า Aluminum หรือ Titanium อย่างไร ผมก็บอกว่า "มันต้องมองในมุมมองของความรู้สึกครับ เพราะโลหะทุกประเภทมีข้อดีและข้อด้อยของมันครับ"

Chromoly ในความรู้สึกของผมมันก็เป็นโลหะที่ให้ความพอดีมากที่สุดในสภาพการขี่จักรยานของเรา เพราะว่าผมอาจจะไม่ใช่นักจักรยานที่ชอบ Sprint หรือขี่แบบกระชากความเร็วได้โดยทันที ผมเน้นการขี่ที่เป็นแนวสันทนาการมากกว่า ผมก็เลยรู้สึกว่า Chromoly ให้ความรู้สึกที่ทำให้ผมสบายตัวมากกว่าครับ แต่ Chromoly ก็ใช่ว่าจะใช้ลงแข่งขันในสนามแข่งไม่ได้นะครับ ลงแข่งได้สบายครับ และมันยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากรถ Titanium หรือ Aluminum ด้วยครับ อาจจะเร่งไม่ทันใจขาบู๊ แต่ถ้าเข้าทางขรุขระเมื่อไหร่ เจ้า Chromoly จะแสดงให้เห็นว่าว่าเป็นโลหะที่ดีอย่างไร

Chromoly คือ โลหะในกลุ่ม Steel Alloy ที่ใช้การผสมผสานกันของ Chromium, Molybdenum, Carbon, Maganese และโลหะอื่น จึงมีชื่อเรียกเต็มๆว่า Chrom Molybdenum Steel Alloy

ถ้าเปรียบเทียบความแข็งกระด้างของรถจักรยานที่ทำจากวัสดุกลุ่มโลหะ 3 ชนิด ไล่ตามความกระด้างของโลหะ ได้แก่ 1. Aluminum 2. Titanium 3. Chromoly

Chromoly จะถือว่าเป็นโลหะที่นิ่มที่สุด และก็ตามมาด้วย Titanium และที่แข็งกระด้างที่สุดก็จะเป็น Aluminum แต่ถ้าจะมองถึงน้ำหนักของรถจักรยานที่เทียบปริมาตรโลหะที่เท่ากัน Aluminum ก็จะเบาที่สุดและตามมาที่ Titanium และ Chromoly ตามลำดับ
แต่ด้วยความแข็งแรงต่อปริมาตรที่มากกว่าของ Titanium และ Chromoly จึงทำให้สามารถใช้เนื้อโลหะที่น้อยกว่า Aluminum ได้ จึงทำให้รถที่ทำจาก Titanium และ Chromoly สามารถทำให้มีน้ำหนักที่เบากว่า Aluminum ได้นั่นเอง

Chromoly ที่ใช้ทำตัวถังจักรยานจะใช้ท่อรหัส 4130 เป็นท่อพื้นฐาน เพราะว่าเจ้าท่อ 4130 นี้จะมีค่า Carbon อยู่ที่ไม่เกิน 0.30% ซึ่งจะทำให้เมื่อทำการเชื่อมต่อแล้วนั้น รอยเชื่อมของตัวถังรถคันนั้นจะไม่เปราะนั่นเอง เพราะว่าถ้ามีค่า Carbon มากกว่า 0.30% จะทำให้รอยเชื่อมท่อ Chromoly นั้นมีความเปราะมากเกินไปสำหรับการนำมาทำท่อรถจักรยาน

Update 25/11/55
มาดูส่วนผสมของท่อ Dedacciai รุ่น 18MCDV6 Heat Treated ที่ใช้กับรถจักรยาน Ibis Mojo Cr-Mo ว่ามีส่วนผสมของอะไรบ้างครับ

เจ้าท่อรุ่นนี้มีส่วนผสมของโลหะดังนี้ครับ
Carbon (c) 0.16/0.19
Silicio (si) 0.25/0.40
Maganese (Mn) 1.40/1.60
Cromo (Cr) 0.45/0.55
Molibdeno (Mo) 0.25/0.35
Allumino (Al) 0.02/0.04
Vandaio (Va) 0.10/0.15
Nickel (Ni) 0.25

(data is percentage of weight)

ซึ่งจากข้อมูลตรงนี้ก็น่าจะเป็นบรรทัดฐานของโลหะ Cr-Mo ยี่ห้ออื่น ๆ ได้ว่ามันน่าจะมีส่วนผสมของอะไรบ้าง ซึ่งที่เราเห็นหลัก ๆ ก็จะมีแน่ ๆ คือ โครเมียม, โมลิบดินัม, วานาเดียม, มังกานีส, ซิลิคอน, นิกเกิล และ อลูมินั่ม

Dedacciai โฆษณาว่าท่อ 18MCDV6 นี้มีค่า Tensile Strength อยู่ที่ 1,200 N/mm2 และจะเพิ่มขึ้นไปถึง 1,400 N/mm2 เมื่อทำการ Heat Treated


การ Butted ท่อ ก็คือการที่ทำให้ผนังท่อตัวถังมีขนาดบางลง แต่ยังคงมีความแข็งแรงที่พอเพียง และการ Butted นี้ก็เป็นกระบวนการที่ทำขึ้นเพื่อการลดน้ำหนักของตัวถังจักรยานและลดความกระด้างของตัวถังจักรยานคันนั้นได้ด้วย ซึ่งในตัวถัง Chromoly 4130 จะนิยมทำการ Butted ที่ประมาณ 2 ชั้น ( Dubble Butted ) ซึ่งจะได้ทั้งความแข็งแรงและน้ำหนักที่เหมาะสม และยังได้ความหยุ่นตัวที่ค่อนข้างจะพอดีซะด้วย แต่ก็มีบ้างที่มีการ Butted ไปถึง 3 ชั้นและ 4 ชั้น ซึ่งในมุมมองของผมเอง ผมมองว่า Butted เพียงแค่ 2 ชั้นก็ถือว่าพอเพียงมากที่สุดสำหรับรถ Chromoly 4130 แล้ว

การอบผิวหรือภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Heat Treated ซึ่งก็คือการให้ความร้อนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของโลหะนั่นเอง

Air Hardening Steel Alloy เจ้าตัวนี้จะเป็นโลหะในกลุ่ม Chromoly ที่มีการพัฒนาส่วนผสมของโลหะเพิ่มเติมเข้าไปโดยที่จะใช้โลหะ 3 ชนิดแรกและเพิ่ม Vanadium หรือโลหะชนิดอื่น ๆ แล้วแต่ว่าบริษัทไหนจะใช้สูตรทางโลหะแบบไหน การเพิ่มโลหะอื่น ๆ เข้าไปทำให้ท่อมีความแข็งแรงมากกว่า 4130 ธรรมดา แต่เจ้าท่อ Air Hardening Steel Alloy นี้จะมีความกระด้างมากกว่า 4130 Cr-Mo เพราะฉะนั้นในการที่จะนำเจ้า Air Hardening Steel Alloy มาทำรถจักรยานทั้งคันเลยก็น่าจะไม่ดีนัก เพราะว่าจะทำให้รถคันนั้นกระด้างสุดๆ เหมือนกัน เนื่องด้วยเพราะโลหะอื่น ๆ ที่ผสมลงไปเพิ่มนั่นเอง ซึ่งในกรณีนี้เค้าจึงมักจะใช้ท่อ Air Hardening Steel Alloy ในส่วนของท่อหลักหน้า แต่ในส่วนท่อหลักหลัง (หางหลัง) ก็จะยังใช้ 4130 Cr-Mo อยู่นั่นเอง ซึ่งเพื่อลดความกระด้างให้กับจักรยานคันนั้น

Stainless Steel Alloy เจ้าโลหะตัวนี้ถือว่าเป็นโลหะกลุ่มเหล็กกล้าตัวใหม่ที่พึ่งคิดค้นสำหรับวงการจักรยาน ซึ่งเท่าที่ผมเคยได้ยินหรือได้อ่านมา เค้าว่ากันว่ามันแข็งแรงกว่า Titanium ซะอีกนะ มี Chromium Nickel และ Copper เป็นโลหะหลัก แต่ผมยังไม่เคยใช้ เพราะว่ามันผลิตมาเพื่อรถเสือหมอบซะเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเสือภูเขาที่ใช้เจ้าท่อ Stainless Steel Alloy มาทำตัวถังก็มีราคาแพงซะบ้าเลือดไม่ใช่น้อย แต่เท่าที่ผมได้ลองสอบถามโรงงานผู้ผลิตจักรยานยี่ห้อหนึ่งเค้าบอกว่าราคาก็จะค่อนข้างใกล้เคียงกับ Titanium แต่ความแข็งแรงมันมีมากกว่า Titanium ซึ่งตรงนี้ ผมเองก็ต้องยอมรับว่าไม่ทราบจริงๆว่าความรู้สึกของ Stainless Steel Alloy จะให้ความรู้สึกกระด้างเหมือนกับ Air Hardening Steel Alloy หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ มันไม่เป็นสนิมแน่นอนครับ

เพราะฉะนั้น ผมก็คงจะบอกได้ว่าผมชอบรถจักรยาน Chromoly ก็เพราะว่ามันทำให้ผมขี่จักรยานได้มีความสุขและสบายตัวที่สุด เพราะความนิ่มนวลในการรับแรงกระแทกของตัวโลหะเอง อาจจะไม่นิ่มนวลเท่ารถ Full Suspension แต่มันก็ทำให้ผมรู้สึกได้ว่ารถมันนิ่มนวลตามธรรมชาติของรถ Hardtail รูปร่างที่เพรียวบางตามแบบฉบับของ Chromoly เอง และอาการไหลที่ต้องมาสัมผัสเองกับคำว่า "ไหลปลาย" มันเป็นอย่างไรครับ

ปล. ทั้งหมดที่ผมได้พิมพ์มานี้ เป็นความรู้สึกที่ได้รับมาจากประสบการณ์ส่วนตัวที่ผมได้สัมผัสกับเจ้ารถ Chromoly มาร่วม 20 ปี และช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่กระแสรถ Chromoly กำลังกลับเข้ามาสู่ตลาดจักรยานอีกครั้ง ผมจึงอยากจะแบ่งปันความรู้สึก ความประทับใจและเนื้อหาสาระที่จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนนักปั่นทั้งมือเก่าและมือใหม่เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกจักรยาน Chromoly ของท่านครับ
แก้ไขล่าสุดโดย ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง เมื่อ 25 พ.ย. 2012, 07:14, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง
รับ Pre Order RISK 6Al-4V Titanium Stem โทร. 09-1794-0556
ติสสฺโรไบค์พาร์ท by ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง
รูปประจำตัวสมาชิก
spacemee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1980
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 16:39
Tel: 081 815 8107
Bike: Dahon, Polygon, Seven, Voodoo, Litespeed........

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย spacemee »

เข้ามาติดตามบทความดีๆครับผม :mrgreen:
ibisman
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ค. 2010, 14:33
Bike: oldSchool

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย ibisman »

กระทู้ พาเสียเงินอีกแล้ว :lol: อ่านกระทู้พี่เค้าทีไร เสียเงินประจำครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
Cromo Zone
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 147
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 23:49
Tel: 0831786888
ติดต่อ:

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย Cromo Zone »

เข้ามาตีตั๋วจองที่ไว้ก่อน

สงสัยกระทู้นี้จะยาววววว
CromoZone : Fine Feeling Find Steel
ร้านค้าสำหรับคอโครโมลี่
โทร. 083-178-6888, 02-944-7285, 02-944-7286
LINE ID : cromozone
เปิดให้บริการทุกวัน 10.00-19.00 น.
LINE ID : cromozone
Facebook => http://www.facebook.com/cromozone
E-mail =>cromozone853@yahoo.com
website => http://www.cromozoneshop.com
รูปประจำตัวสมาชิก
Cromo Zone
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 147
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 23:49
Tel: 0831786888
ติดต่อ:

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย Cromo Zone »

ibisman เขียน:กระทู้ พาเสียเงินอีกแล้ว :lol: อ่านกระทู้พี่เค้าทีไร เสียเงินประจำครับ

ได้รถมารึยังครับพี่
อยากเห็นบ้าง เอามาโชว์ัตัวหน่อยสิ :D
CromoZone : Fine Feeling Find Steel
ร้านค้าสำหรับคอโครโมลี่
โทร. 083-178-6888, 02-944-7285, 02-944-7286
LINE ID : cromozone
เปิดให้บริการทุกวัน 10.00-19.00 น.
LINE ID : cromozone
Facebook => http://www.facebook.com/cromozone
E-mail =>cromozone853@yahoo.com
website => http://www.cromozoneshop.com
รูปประจำตัวสมาชิก
Sheva_v7
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 217
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 19:24
Tel: 087-8421649
Bike: GT i-Drive team,Ellsworth Epiphany,dragon04,Specialized Swork 1991
ตำแหน่ง: 21 m5 t.sanamclee a.bangkrathum

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย Sheva_v7 »

อ่านกระทู้ท่านหนุ่มทีไรอยากขี่โครโมทุกที
ช่วยเลือกโชคหน้าหน่อยครับ


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

"man is not made for defeat
A man can be destroyed
but not defeated.."


"มนุษย์มิได้เกิดมาเพื่อพ่ายแพ้
มนุษย์อาจจะถูกทำลายลงได้
แต่ไม่ใช่เป็นผู้พ่ายแพ้.."

"The Old man and The sea " Ernest Hemingway
Prakasit
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 13:37
Bike: Trek4400
ติดต่อ:

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย Prakasit »

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 13:06
Tel: 0813619549
team: ์Nonthaburi Cycling Club
Bike: Old School Steel Alloy

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง »

Sheva_v7 เขียน:อ่านกระทู้ท่านหนุ่มทีไรอยากขี่โครโมทุกที
ช่วยเลือกโชคหน้าหน่อยครับ


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
ก่อนอื่นจะต้องบอกก่อนว่าถ้าจะเอาความรู้สึกตามค่ามาตรฐานจริงๆ ต้องใช้ Shox ที่มีช่วงยุบ 80 มม. นะครับ เพราะถ้าต่ำกว่านี้หรือมากกว่านี้ก็จะทำให้ความรู้สึกและการควบคุมรถเปลี่ยนไปครับ

ประการที่สอง จะเน้นเอาสวยงามก่อนหรือว่าประสิทธิภาพก่อน ถ้าเอาสวยงามก่อนก็ใช้เจ้า Bomber ครับ เพราะว่าสีมันเข้ากับตัวถังมากที่สุดครับ และถ้ามันมีช่วงยุบที่ 80 มม. ด้วยก็ถือว่าลงตัวมากๆครับ ส่วนท่าน Duke ช่วงยุบจะอยู่ 80 หรือ 100 แต่เจ้า Phylo น่าจะมีช่วงยุบ 100 มม. ครับ

เพราะฉะนั้นถ้าให้ผมเลือกตอนนี้ ผมก็คงจะเอาเจ้า Bomber ครับ เพราะว่าสวยเข้ากับสีรถมากที่สุดครับ แต่ถ้ามี Fox มาให้อีกตัว ผมก็ให้เลือก Fox นะครับ ถึงสีจะไม่เข้ากัน แต่ประสิทธิภาพมันโดนใจมากกว่าครับ
รับ Pre Order RISK 6Al-4V Titanium Stem โทร. 09-1794-0556
ติสสฺโรไบค์พาร์ท by ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง
FRaNK
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1005
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ส.ค. 2008, 22:38
Tel: 08X38XX733
team: C.FeRoCi TeaM......ไ ท ร ม้ า .....
Bike: East Meet West

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย FRaNK »

:D มาถูกทางแล้วเรา มีแต่เหล็กทั้งนั้น เหลืออลูฯ ไว้คันเดียว :lol:
Ars Longa Vita Brevis
LeSS iS MoRe
รูปประจำตัวสมาชิก
thada
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1075
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 22:28
Tel: 081-7244786
team: Lampang Road Runner
Bike: Ridley Fenix SL & Backer 29 er

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย thada »

มาใช้ jamis dragon ก็เพราะ เผลอไปอ่านบทความ คุณพี่เค้า นี่แหละคร๊าบ..............
IDLINE thada2002
KHENG95
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 14:52
Tel: 08-7114-0543
team: เสืออ่าวไทย
Bike: CANNALDAL

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย KHENG95 »

ข้อมูลความรู้ด้านโลหะวิทยาดีมาก ผมติดตามอ่านมาตลอดและขอขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
kid
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 61
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 16:22
team: สิงห์สลาตัน
Bike: DIAMOND BACK ASCENT , ARAYA MUDDY FOX
ตำแหน่ง: ซ.วัชรพล
ติดต่อ:

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย kid »

อยากลองอยู่เหมือนกัน ;)
ยิ่งปั่น ยิ่งดีกับตัวเอง
รูปประจำตัวสมาชิก
ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1231
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ส.ค. 2008, 13:06
Tel: 0813619549
team: ์Nonthaburi Cycling Club
Bike: Old School Steel Alloy

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง »

ไหนๆก็ว่ากันด้วยเรื่องโลหะแล้ว ผมก็เลยไปหาข้อมูลมาให้ได้อ่านกันอีกครับ วันนี้ก็มาดูกันต่อถึงคุณสมบัติต่างๆทางธาตุโลหะที่เมื่อผสมลงไปในเหล็กแล้วจะช่วยในเรื่องใดและเจ้าธาตุตัวนั้นมีคุณสมบัติเช่นไรครับ

คาร์บอน (Carbon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ C

เป็นธาตุที่สำคัญที่สุด จะต้องมีผสมอยู่ในเนื้อเหล็ก มีคุณสมบัติทำให้เหล็กแข็งเพิ่มขึ้น หลังจากนำไปอบชุบ (Heat Treatment) โดยรวมตัวกับเนื้อเหล็ก เป็นสารที่เรียกว่า มาร์เทนไซต์ (Martensite) และซีเมนไตด์ (Cementite) นอกจากนั้น คาร์บอนยังสามารถรวมตัวกับเหล็ก และธาตุอื่น ๆ กลายเป็นคาร์ไบด์ (Carbide) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้านทานต่อการสึกหรอของเหล็ก อย่างไรก็ตาม คาร์บอนจะลดความยืดหยุ่น (Elasticity) ความสามารถในการตีขึ้นรูป (Forging) และความสามารถในการเชื่อม (Welding) และไม่มีผลต่อความต้านทานการกัดกร่อน

อลูมินั่ม (Aluminum) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Al

เป็นธาตุที่นิยมใช้เป็นตัวไล่แก็สออกซิเจน และไนโตรเจน (Deoxidizer และ Denitrizer) มากที่สุด ซึ่งผสมอยู่เล็กน้อยในเหล็ก จะมีผลทำให้เนื้อละเอียดขึ้น เมื่อใช้ผสมลงในเหล็กที่จะนำไปผ่านกระบวนการอบชุบแข็ง โดยวิธีไนไตรดิ้ง (Nitriding) ทั้งนี้เนื่องจากอลูมิเนียมสามารถรวมตัวกับไนโตรเจน เป็นสารที่แข็งมาก ใช้ผสมลงในเหล็กทนความร้อนบางชนิด เพื่อให้ต้านทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ได้ดีขึ้น

โบรอน (Boron) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ B

ช่วยเพิ่มความสามารถชุบแข็งแก่เหล็ก ที่ใช้ทำชิ้นส่วนเครื่องจักรทั่วไป จึงทำให้ใจกลางของงานที่ทำด้วยเหล็กชุบผิวแข็ง มีความแข็งสูงขึ้น โบรอนสามารถดูดกลืนนิวตรอนได้สูง จึงนิยมเติมในเหล็กที่ใช้ทำฉากกั้นอุปกรณ์นิวเคลียร์

เบริลเลียม (Beryllium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Be

สปริงนาฬิกาซึ่งต้องต่อต้านอำนาจแม่เหล็ก และรับแรงแปรอยู่ตลอดเวลานั้น ทำจากทองแดงผสมเบริลเลียม (Beryllium-Coppers Alloys) โลหะผสมนิกเกิล-เบริลเลียม (Ni-Be Alloys) แข็งมาก ทนการกัดกร่อนได้ดี ใช้ทำเครื่องมือผ่าตัด

แคลเซียม (Calcium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ca

แคลเซียมจะใช้ในลักษณะแคลเซียมซิลิไซด์ (CaSi) เพื่อลดออกซิเดชั่น (Deoxidation) นอกจากนั้น แคลเซียม ยังช่วยเพิ่มความต้านทานการเกิดสเกลของวัสดุที่ใช้เป็นตัวนำความร้อน

ซีเรียม (Cerium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ce

เป็นตัวลดออกซิเจนและกำมะถันได้ดี ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติด้าน Hot Working ของเหล็กกล้า และปรับปรุงความต้านทานการเกิดสเกลของเหล็กทนความร้อน

โคบอลต์ (Cobalt) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Co

ไม่ทำให้เกิดคาร์ไบด์ แต่สามารถป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบที่อุณหภูมิสูง ดังนั้น จึงช่วยปรับปรุงให้เหล็กมีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูง ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ผสมในเหล็กขึ้นรูปงานร้อน เหล็กทนความร้อน และเหล็กไฮสปีด ธาตุโคบอลต์เมื่อได้รับรังสีนิวตรอนจะเกิดเป็น โคบอลต์ 60 ซึ่งเป็นสารกัมมันตภาพรังสีอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงไม่ควรเติมโคบอลต์ลงในเหล็กที่ใช้ทำเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู

โครเมียม (Chromium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cr

ทำให้เหล็กอบชุบได้ง่ายขึ้น เพราะลดอัตราการเย็นตัววิกฤตลงอย่างมาก สามารถชุบในน้ำมันหรืออากาศได้ (Oil or Air Quenching) เพิ่มความแข็งให้เหล็ก แต่ลดความทนทานต่อแรงกระแทก (Impact) ลง โครเมียมที่ผสมในเหล็กจะรวมตัวกับคาร์บอน เป็นสารประกอบพวกคาร์ไบด์ ซึ่งแข็งมาก ดังนั้น จึงทำให้เหล็กทนทานต่อแรงเสียดสี และบริเวณที่เป็นรอยคมหรือความคมไม่ลบง่าย ทำให้เหล็กเป็นสนิมได้ยาก เพิ่มความแข็งแรงของเหล็กที่ใช้งานที่อุณหภูมิสูง เพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อนของสารต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

ทองแดง (Copper) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Cu

เพิ่มความแข็งแรง ถ้ามีทองแดงผสมอยู่ในเหล็กแม้เพียงเล็กน้อย เหล็กจะไม่เกิดสนิมเมื่อใช้งานในบรรยากาศ ทองแดงจะไม่มีผลเสียต่อความสามารถในการเชื่อมของเหล็กแต่อย่างไร

แมงกานีส (Manganese) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mn

ใช้เป็นตัวไล่กำมะถัน (S) ซึ่งเป็นตัวที่ไม่ต้องการในเนื้อเหล็ก จะถูกกำจัดออกในขณะหลอม ทำให้เหล็กอบชุบแข็งง่ายขึ้น เนื่องจากเป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต (Critical Cooling Rate) ทำให้เหล็กทนทานต่อแรงดึงได้มากขึ้น เพิ่มสัมประสิทธิ์การขยายตัวของเหล็กเมื่อถูกความร้อน แต่จะลดคุณสมบัติในการเป็นตัวนำไฟฟ้า และความร้อน นอกจากนั้น แมงกานีสยังมีอิทธิพลต่อการขึ้นรูปหรือเชื่อม เหล็กกล้าคาร์บอนที่มีปริมาณแมงกานีสเพิ่มขึ้น จะทนต่อการเสียดสีได้ดีขึ้นมาก

โมลิบดีนัม (Molybdenum) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Mo

ปกติจะใช้ผสมรวมกับธาตุอื่น ๆ เป็นตัวลดอัตราการเย็นตัววิกฤต ทำให้อบชุบง่ายขึ้น ป้องกันการเปราะขณะอบคืนตัว (Temper Brittleness) ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด เพิ่มความทนทานต่อแรงดึงแก่เหล็กมากขึ้น สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็นคาร์ไบด์ได้ง่ายมาก ดังนั้น จึงปรับปรุงคุณสมบัติในการตัดโลหะ (Cutting) ของเหล็กไฮสปีดได้ดีขึ้น เพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion Resistance) แก่เหล็ก อย่างไรก็ตาม เหล็กที่มีโมลิบดินั่มสูงจะตีขึ้นรูปยาก

ไนโตรเจน (Nitrogen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ N

ขณะทำไนไตรดิ้ง (Nitriding) ไนโตรเจนจะรวมตัวกับธาตุบางชนิดในเหล็ก เกิดเป็นสารประกอบไนไตรด์ ซึ่งทำให้ผิวงานมีความแข็งสูงมาก ต้านทานการสึกหรอได้ดีเยี่ยม

นิกเกิล (Nickel) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ni

เป็นตัวที่เพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทกของเหล็ก ดังนั้น จึงใช้ผสมในเหล็กที่จะนำไปชุบแข็งที่ผิว ใช้ผสมกับโครเมียม ทำให้เหล็กทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ไม่เป็นสนิมง่าย ทนความร้อน

ออกซิเจน (Oxigen) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ O

ออกซิเจนเป็นอันตรายต่อเหล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ชนิด ส่วนผสม รูปร่าง และการกระจายตัวของสารประกอบที่เกิดจากออกซิเจนนั้น ออกซิเจนทำให้คุณสมบัติเชิงกล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความต้านทานแรงกระแทกลดลง (ตามแนวขวาง) และเปราะยิ่งขึ้น

ตะกั่ว (Lead) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Pb

เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free-Machining Steel) มีตะกั่วผสมอยู่ประมาณ 0.20 - 0.50 % โดยตะกั่วจะเป็นอนุภาคละเอียด กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอภายในเนื้อเหล็ก เมื่อนำไปกลึง หรือตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงทำให้ตัดแต่งได้ง่าย ตะกั่วไม่มีผลกระทบต่อคุณสมบัติเชิงกลของเหล็ก

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) และกำมะถัน (Sulphur) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ P และ S ตามลำดับ

เป็นตัวทำลายคุณสมบัติของเหล็ก แต่มักผสมอยู่ในเนื้อเหล็กโดยไม่ได้ตั้งใจ ต้องพยายามให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มักจะเรียกสารเหล่านี้ว่า สารมลทิน (Impurities) เหล็กเกรดสูงจะต้องมีฟอสฟอรัสไม่เกิน 0.03 - 0.05 % ส่วนกำมะถันจะทำให้เหล็กเกิด Red Shortness จึงแตกเปราะง่าย โดยทั่วไปจึงจำกัดปริมาณกำมะถันในเหล็กไม่เกิน 0.025 หรือ 0.03 % ยกเว้น เหล็กฟรีแมชชีนนิ่ง (Free Machining) ที่เติมกำมะถันถึง 0.30 % เพื่อให้เกิดซัลไฟด์ขนาดเล็กกระจายทั่วเนื้อเหล็ก ทำให้ขี้กลึงขาดง่าย จึงตัดแต่งด้วยเครื่องมือกลได้ง่าย

ซิลิคอน (Silicon) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Si

ซิลคอนจะปรากฏในเหล็กทุกชนิด เนื่องจากสินแร่เหล็กมักมีซิลิคอนผสมอยู่ด้วยเสมอ ซิลิคอนไม่ใช่โลหะ แต่มีสภาพเหมือนโลหะ ใช้เป็นตัวทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิไดซิ่ง (Oxidizing) ทำให้เหล็กแข็งแรงและทนทานต่อการเสียดสีได้ดีขึ้น เพิ่มค่าแรงดึงที่จุดคราก (Yield Point) ของเหล็กให้สูงขึ้นมาก ดังนั้น จึงใช้ผสมในการทำเหล็กสปริง (Spring Steels) ช่วยทำให้เหล็กทนทานต่อการตกสะเก็ด (Scale) ที่อุณหภูมิสูงได้ดี จึงใช้ผสมในเหล็กทนความร้อน เหล็กกล้าที่มีซิลิคอนสูงจะมีเกรนหยาบ

ไทเทเนียม (Titanium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Ti

ไทเทเนียมเป็นโลหะที่แข็งมาก ทำให้เกิดคาร์ไบด์ได้ดี เป็นธาตุผสมที่สำคัญในเหล็กสเตนเลส เพื่อป้องกันการผุกร่อนตามขอบเกรน นอกจากนั้น ไทเทเนียมยังช่วยทำให้เหล็กมีเกรนละเอียด

วาเนเดียม (Vanadium) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ V

ทำให้เหล็กทนต่อความร้อนได้ดี เพิ่มความแข็งแรงให้กับเหล็ก โดยไม่ทำให้คุณสมบัติในการเชื่อม และการดึงเสียไป ทำให้เหล็กมีเนื้อละเอียด รวมตัวกับคาร์บอนที่เป็นคาร์ไบด์ได้ง่าย จึงทำให้ทนทานต่อการสึกกร่อน มักจะผสมในเหล็กขึ้นรูปร้อน (Hot Working Steels) และเหล็กไฮสปีด

ทังสเตน (Tungsten) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ W

สามารถรวมตัวกับคาร์บอนเป็น คาร์ไบด์ ที่แข็งมาก จึงทำให้เหล็กที่ผสมทังสเตนมีความแข็งมาก หลังจากผ่านการอบชุบ จึงใช้ทำพวกเครื่องมือคม (Cutting Tools) ต่าง ๆ ทำให้เหล็กเหนียวขึ้น และป้องกันไม่ไห้เหล็กเกิดเนื้อหยาบ เนื่องจากการที่เกรนขยายตัว เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีของเหล็ก ดังนั้น จึงนิยมเติมทังสเตนในเหล็กไฮสปีด (Hi-Speed) และเหล็กที่ต้องอบชุบแข็งโดยทั่วไป

คำศัพท์เกี่ยวกับเหล็ก Alloy Steel ที่น่ารู้

Annealing การอบเหล็กให้อ่อน เพื่อลดความแข็งและความเปราะลง ง่ายต่อการกลึง

Carburizing การชุบผิวแข็งโดยการเติมคาร์บอนลงไปที่ผิวเหล็ก ทำให้เหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนผิวเท่านั้น ส่วนความแข็งของเนื้อเหล็กภายในยังเหมือนเดิม

Cold Drawn Steel เหล็กที่ได้จากการรีดเย็น ทำให้ผิวของเหล็กมีสีขาว (เช่น เหล็ก S50C ผิวขาว)

Elongation การใช้แรงดึงโลหะให้ยืดตัว

Flame-hardening Steel เหล็กที่ชุบแข็งโดยเปลวไฟ

Hardness ความแข็ง

Heat Treatment การอบชุบ (เป็นความหมายรวมถึง การชุบแข็ง การอบอ่อน หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่มีการให้ความร้อนกับเหล็ก)

Hot Rolled Steel เหล็กที่ได้จากการรีดร้อนโดยตรง ดังนั้นในการการกลึงจะแข็งกว่าเหล็กที่ผ่านการ Normalizing หรือเหล็กที่ผ่านการ Annealing

Induction การชุบแข็งโดยใช้คลื่นความถี่สูงผ่านขดลวดที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส เพื่อชุบแข็งที่ผิว โดยความลึกจะขึ้นอยู่กับความร้อนที่ผ่านขดลวด

Nitriding การชุบผิวแข็งโดยการเติมไนโตรเจนลงไปที่ผิวเหล็ก ทำให้เหล็กมีความแข็งเพิ่มขึ้นเฉพาะส่วนผิวเท่านั้น ส่วนความแข็งของเนื้อเหล็กภายในยังเหมือนเดิม

Normalizing การอบให้เหล็กมีเนื้อเหล็ก (grain) และความแข็งสม่ำเสมอทั่วทั้งเส้น ง่ายต่อการกลึง

Pre-hardened Steel เหล็กที่ชุบแข็งเรียบร้อยแล้วจากโรงงานที่ผลิต

Press Die แม่พิมพ์อัด

Punching Die แม่พิมพ์ตัดกระแทก

Rough Turned Steel เหล็กที่มีการกลึงผิวแล้ว

Strength ความแข็งแรง

Stress Relieve การอบให้คลายความเค้น

Toughness ความเหนียว

Vacuum Heat Treatment การชุบโดยใช้เตาสูญญากาศ แบ่งเป็น การชุบน้ำมัน (Oil quenching) และการชุบแก็ส (Gas quenching)

Wear Resistance ความทนต่อการสึกหรอ
แก้ไขล่าสุดโดย ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 15:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
รับ Pre Order RISK 6Al-4V Titanium Stem โทร. 09-1794-0556
ติสสฺโรไบค์พาร์ท by ณ.หนุ่ม@บางบัวทอง
รูปประจำตัวสมาชิก
tngkrn
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 193
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2009, 20:29
Bike: surly troll

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย tngkrn »

อยากลอง แต่ไม่มีใครให้ยืม :mrgreen: :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
spacemee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1980
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 16:39
Tel: 081 815 8107
Bike: Dahon, Polygon, Seven, Voodoo, Litespeed........

Re: Chromolybdenum Steel Alloy MTB.

โพสต์ โดย spacemee »

เรื่องนี้ต้องรออ่านครับ แต่จะแจ้งข่าวมาว่า soma groove ของยังไม่เข้ามาเลยครับ แถมสีฟ้าใสที่สนใจ ก็คิดว่าจะไม่มีด้วยครับ :x เซ็งเลย
ตอบกลับ

กลับไปยัง “อุปกรณ์จักรยานทั่วไป (MTB)”