ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

คำถามพูดคุยเกี่ยวกับจักรยานเสือภูเขาหรืออุปกรณ์ต่างๆ

ผู้ดูแล: seven@klein, Cycling B®y, tntm, เสือ Spectrum

รูปประจำตัวสมาชิก
ตาโจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4200
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 16:38
ติดต่อ:

ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย ตาโจ »

ความเดิมตอนที่ 1

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1403814
02.jpg
02.jpg (175.33 KiB) เข้าดูแล้ว 2861 ครั้ง
หลังจากที่ได้ดูกันในภาคแรกแล้ว มาภาคสองจะเป็นการปูพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องใช้ในการประกอบ อันได้แก่ จุดหมุน เครื่องมือ สลักภัณฑ์ และ ปรีโหลด ดูในบางหัวข้อหลายคนอาจจะงงๆ แต่ก็เป็นเครื่องพื้นฐานธรรมดาที่หลายๆคนปฎิบัติกันอยู่แล้ว แต่ด้วยความที่มันเป็นพื้นฐานเกินไป ทำให้หลายๆคนไม่สนใจและมองข้ามไป คราวนี้เราจะมาทบทวน และ แนะนำให้ใช้งานกันได้อย่างถูกต้อง ด้วยความรู้พื้นฐานที่แน่น[homeimg=300,250]http://www.thaimtb.com/forum/picture_mt ... 674275.jpg[/homeimg]
รูปประจำตัวสมาชิก
ตาโจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4200
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 16:38
ติดต่อ:

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานกันสักนิด

โพสต์ โดย ตาโจ »

จุดหมุน

ในส่วนที่จะขอพูดถึงจุดหมุนหลักๆที่ใช้กันในจักรยานมานำเสนอกัน
1.จุดหมุนที่คอ
เป็นจุดหมุนแนวตั้งจุดเดียวในจักรยาน ประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆสามส่วนคือ ท่อคอ(ส่วนที่อยู่นิ่ง) ซางโช๊ค(ส่วนที่เคลื่อนไหว) และ ชุดลูกปืนบน-ล่าง(ส่วนที่รองรับการเคลื่อนไหว) ในการประกอบจุดหมุนที่คอ เราจะต้องตั้งแรงกดลูกปืนให้มีค่าที่เหมาะสมก่อน เพื่อให้สามารถเลี้ยวโค้งด้วยความลื่น และ รับแรงกระแทกได้อย่างมันคง จากนั้นจึงค่อยปรับตั้งและขันล็อคคอแฮนด์ให้เรียบร้อย
หากตั้งแรงกดลูกปืนมากไป จะทำให้เวลาเลี้ยวฝืด ส่วนหากตั้งแรงกดลูกปืนน้อยไปก็จะทำให้โช้คหน้าหลวม

[align=center]
head_set.jpg
head_set.jpg (51.63 KiB) เข้าดูแล้ว 2859 ครั้ง
[/align]

[align=center][/align]

2.จุดหมุนที่กะโหลก
เป็นจุดหมุนแนวนอนรองรับแรงจากการกดบันได ประกอบด้วยส่วนหลักๆสามส่วนคือ เฟรมส่วนกะโหลก(ส่วนที่อยู่นิ่ง) แกนกะโหลก (ส่วนที่เคลื่อนไหว) และ ชุดลูกปืนซ้ายขวา(ส่วนที่รองรับการเคลื่อนไหว) การประกอบขาจานจะต้องประกอบให้ปลายขาจานทั้งซ้ายและขวา มีระยะห่างจากจุดกึ่งกลางของล้อหลังเท่ากัน (สมมาตรกัน) นอกจากนั้นการหนีบขาจานเข้ากับแกนกะโหลก จะต้องตั้งแรงหนีบให้พอดี ไม่มากไป และ ไม่น้อยไป เพื่อให้ขาจานได้หมุนด้วยความลื่นและแน่นหนาไม่มีเสียงรบกวนเวลาใช้งาน

[align=center]รูปภาพ[/align]
[align=center][youtube]/N6-4JHDTvZg[/youtube][/align]
[align=center][/align]

3.จุดหมุนล้อหน้า
เป็นจุดหมุนที่รองรับการหมุนของล้อหน้า ทั้งจากการขี่ปกติและการรับแรงกระแทกจากเส้นทางที่ขรุขละ จะประกอบด้วยส่วนประกอบสามส่วนคือ แกนดุม(ส่วนที่อยู่นิ่ง) ตัวดุม(ส่วนที่เคลื่อนที่) และ ชุดลูกปืนซ้ายขวา(ส่วนที่รองรับการเคลื่อนไหว) ในดุมล้อหน้าแบบลูกปืนเม็ด จะต้องมีการปรับตั้งแรงกดลูกปืน(ตั้งจี๋)ด้วยแรงที่เหมาะสม เพื่อให้ดุมล้อลื่นและไม่โยกไม่คลอน ส่วนดุมล้อแบบลูกปืนตลับ อาจจะมีการปรับตั้งแรงกดลูกปืนหรือไม่ แล้วแต่การออกแบบดุมล้อนั้นๆ ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

รูปภาพ
[align=center][/align]

4.จุดหมุนล้อหลัง
เป็นจุดหมุนที่รองรับการหมุนของล้อหลัง เป็นจุดหมุนที่ซับซ้อนมากที่สุดในจักรยาน เพราะประกอบด้วยส่วนประกอบที่มากกว่าจุดหมุนปกติ ซึ่งจะประกอบด้วย แกนดุม(ส่วนอยู่กับที่) ,ตัวดุม(ส่วนที่เคลื่อนที่ไปกับล้อ) ,ชุดลูกปืนดุมล้อ ,ชุดส่งผ่านกำลัง (เขี้ยวขับ) ,ชุดโม่ และ ชุดลูกปืนโม่ ด้วยการที่มีส่วนที่หมุนสองส่วน คือ ตัวดุม และ โม่ โดยใช้แกนดุมร่วมกัน ซึ่งทั้งสองส่วนที่สามารถเชื่อมกัน และ แยกจากกันได้ ตามทิศทางการหมุน

รูปภาพ
[align=center][/align]

แถมด้วยดุมล้อที่ใช้แบริ่งแบบลูกปืนเม็ดน่ะครับ
[align=center]


[/align]
รูปประจำตัวสมาชิก
ตาโจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4200
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 16:38
ติดต่อ:

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานกันสักนิด

โพสต์ โดย ตาโจ »

เครื่องมือ

ในการประกอบจักรยานจะต้องมีเครื่องมือในการช่วยประกอบจักรยาน จากเฟรมและอะไหล่ประกอบต่างๆให้สามารถขี่ใช้งานได้ ซึ่งเครื่องมือคร่าวๆจะมีดังนี้

1.ประแจหกเหลี่ยม
เป็นประแจสำหรับใช้ขันน็อตต่างๆ จะมีลักษณะเป็นแท่งหกเหลี่ยม มีขนาดต่างๆกัน หน่วยเป็น มม เช่น ขนาด 2 มม. 2.5 มม. 3 มม. เป็นต้น เหตุที่จักรยานสมัยใหม่นิยมใช้น็อตแบบหัวหกเหลี่ยม ก็เพราะว่าตัวประแจหกเหลี่ยมที่ขันจะมีขนาดเล็ก ผู้ขี่จักรยานสามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนด้วยได้ง่าย กว่าประแจแบบอื่น
การเลือกใช้ประแจหกเหลี่ยมจะต้องเลือกใช้ให้ขนาดประแจตรงกับรูหัวน็อต เวลาสอดประแจเข้ากับหัวน็อตก่อนจะทำการขันน็อต จะต้องสอดให้ลึกสนิท แล้วจึงค่อยออกแรงขัน ห้ามสอดเข้าไปนิดหน่อยไม่สุด แล้วทำการออกแรงขัน เพราะการทำแบบนั้นอาจจะทำให้หัวน็อตรูดได้ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการถอดใส่น็อตตัวนั้น

รูปภาพ
[align=center][/align]

นอกจากประแจหกเหลี่ยมแล้ว ปัจจุบันยังมีการใช้น็อตหัวหกแฉกในจักรยานอีกด้วย ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ประแจ 6 แฉกกับหัวน็อตแบบนี้ เบอร์ของประแจหกแฉกจะเรียกขึ้นต้นด้วยตัว T แล้วก็ตามด้วยเลขสองหลัง เช่น T25 น็อตแบบหกแฉกพบได้ในน็อตขันยึดใบดีสเบรก และ ชุดเกียร์ของ SRAM

[align=center][/align]

2.เลื่อย
เวลาซื้อโช้คมาใหม่ ซางโช้คจะมีความยาว 254 มม (10 นิ้ว) ซึ่งเป็นความยาวมาตรฐานที่ผู้ผลิตทำมาเพื่อให้เหมาะสมกับรถขนาดต่างๆ และ ความสูงของผู้ขี่แต่ละคน ดังนั้นในการประกอบรถใหม่ จะต้องมีการตัดซางโช้คให้มีความยาวเหมาะสมกับที่เราต้องการ

รูปภาพ
รูปภาพ
[align=center][/align]

3.ตัวอัดถ้วยคอ
เป็นอุปกรณ์สำหรับอัดถ้วยคอแบบ External Cup ทำงานด้วยการใช้เกลียวบีบอัดถ้วยคอเขาไปในเฟรม ปัจจุบันถ้วยคอแบบนี้นิยมใช้งานกันน้อยลงแล้ว แต่ตัวอัดถ้วยคอยังสามารถนำมาใช้อัดกะโหลกแบบ Pressfit ได้

รูปภาพ
[align=center][/align]
[align=center][/align]

4.ประแจปากตาย
เป็นเครื่องมือขันน็อตแบบ 6 เหลี่ยม มีหลายขนาดความกว้าง หน่วยเป็น มม. เช่น 8 มม. 10 มม. 12 มม. เป็นต้น
ParkTool-Konusschluesselset-SCW-SET-3-39703-0-1481265564.jpeg
ParkTool-Konusschluesselset-SCW-SET-3-39703-0-1481265564.jpeg (112.51 KiB) เข้าดูแล้ว 2858 ครั้ง

5.ประแจบล็อก
เป็นเครื่องมือขันน็อตแบบ 6 เหลี่ยมด้วยการจับพร้อมกันทั้ง 6 ด้าน มีหลายขนาด หน่วยเป็น มม. เช่น 8 มม. 10 มม. 12 มม. เป็นต้น

รูปภาพ

6.ประแจล็อคเฟือง
เป็นเครื่องมือสำหรับล็อคเฟืองไม่ให้หมุน เอาไว้ใช้ล็อคเวลาถอดเฟือง

รูปภาพ

7.บล็อคขันเฟือง
ใช้สำหรับขัน-ถอดฝาล็อคเฟืองหลัง
รูปภาพ
รูปภาพ

[align=center][/align]

8.ค้อน
ใช้สำหรับการตอก โดยปกตินิยมใช้ค้อนแบบมีสองด้าน โดยด้านหนึ่งเป็นเหล็ก อีกด้านหนึงเป็นพลาสติกแข็ง

รูปภาพ

9.คีมจับ
ใช้สำหรับจับชิ้นงาน

รูปภาพ

10 คีมตัด
ใช้สำหรับตัดสายเกียร์ ปลอกสายเกีบร์ และ หนีบปลอกปิดสายเกียร์

รูปภาพ

11.ที่งัดยาง
ใช้สำหรับงัดยางนอก เวลาใส่ยางหรือถอดยาง

รูปภาพ
รูปภาพ
[align=center][/align]


12.ไขควงแบน
ใช้สำหรับขันน็อตหัวแบน จะมีทั้งหัวใหญ่ และ หัวเล็ก ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมพอดีกับขนาดหัวน็อต

รูปภาพ
รูปภาพ

13.ไขควงแฉก
ใช้สำหรับขันน็อตหัวแฉก จะมีทั้งหัวใหญ่ และ หัวเล็ก ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมพอดีกับขนาดหัวน็อต

รูปภาพ
รูปภาพ

14.ประแจทอร์ค หรือ ประแจปอนด์
เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ใช่วัดแรงในการขันน็อตให้มีค่าตามมาตรฐาน หรือ ค่าที่ผู้ผลิตกำหนด เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ขันน็อตหลวมเกินไป อันจะทำให้การยึดไม่แน่นหนา หรือ ไม่ขันแรงเกินไปอันอาจจะทำให้เกลียวรูด หรือ หัวน็อตรูดก็ได้

[align=center]รูปภาพ
รูปภาพ


[/align]
รูปประจำตัวสมาชิก
ตาโจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4200
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 16:38
ติดต่อ:

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานกันสักนิด

โพสต์ โดย ตาโจ »

สลักภัณฑ์


เห็นชื่อหัวข้อหลายคนอาจจะเกิดอาการงงว่าหมายถึงอะไร ถ้าเอาง่ายๆก็คือกลไกการล็อคและยึดติดชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งจักรยานประกอบขึ้นจากหลายๆชิ้นส่วนมายึดติดกัน ซึ่งถ้าเรามีความรู้เกี่ยวสลักภัณฑ์อย่างถูกต้อง จะให้การประกอบสมบูรณ์ขึ้น

1.แบบสวม
การยึดแบบนี้เป็นการยึดแบบง่ายๆด้วยการสวมเข้าใส่กัน ยึดกันให้อยู่ด้วยความแน่นฟิตพอดี เช่นยางปลอกแฮนด์ หรือ ฝาปิดดุมล้อ ใช้ความแน่นในการสวมเป็นตัวล็อกให้ชิ้นส่วนทั้งสองติดกัน ลูกปืนตลับในดุมล้อก็ใช้การยึดแบบนี้

คลิปตัวอย่างการยึดสิ้นส่วนเข้าด้วยกันด้วยการสวม
[align=center][/align]

2.แบบเกลียว
เป็นแบบที่ใช้การขันน็อตยึดชิ้นส่วนสองชิ้นเข้าด้วยกัน เกลียวปกติจะเป็นกลียววานขวา คือ หมุนตามเข็มนาฬิกาจะเป็นการขันเข้าให้แน่น และ หมุนทวนเข็มนาฬิกาจะเป็นการขันออก

[align=center]รูปภาพ[/align]

3.เกลียวกะโหลก
เป็นเกลียวพิเศษที่มีทิศทางการขันเข้าไม่เหมือนกันทั้งสองด้าน แต่มีหลักการของเกลียวกะโหลกก็คือ เวลาขันเข้าจะต้องขันในทิศทางหมุนเวียนไปด้านหลังของเฟรมทั้งกะโหลกด้านขวาและด้านซ้าย ส่วนเวลาขันออกก็ให้ขันในทิศทางหมุนเวียนไปด้านหน้าของเฟรม ซึ่งจะต้องจำหลักหารนี้ให้เข้าใจ เพื่อที่จะได้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง

[align=center][/align]

4.เกลียวบันได เป็นเกลียวพิเศษที่มีทิศทางการขันเข้าไม่เหมือนกันทั้งสองด้าน แต่มีหลักการของเกลียวกะโหลกก็คือ ยิ่งปั่นยิ่งแน่น คือ ถ้าจะขันบันไดเข้า จะต้องหมุนเวียนไปด้านหน้าของเฟรม ทั้งบันไดข้างซ้าย และ บันไดข้างขวา ส่วนการขันบันไดออกก็ให้มุนเหวียนไปด้านหลังเฟรมทั้งสองข้าง

[align=center][/align]

[align=center][/align]

5.ยางนอก
ยางนอกเป็นสลักภัณฑ์ ที่มีขึ้นตอนการใส่และถอดที่ต้องระวัดระวัง เนื่องจากยางในมีความอ่อนตัว หากเกิดการถูกกดอาจจะทะลุจะทำให้เก็บลมไม่อยู่ ยางนอกยึดอยู่กับขอบล้อด้วยการใช้วัสดุพิเศษเสริมเข้าไปในขอบยาง เช่น เส้นลวด(ที่มาของยางขอบลวด) หรือ เส้นใยเคฟล่า(ทำให้สามารถพับยางได้ เลยเป็นที่มาของขอบพับ) ทำให้ขอบยางไม่มีการขยายตัวแม้จะได้รับแรงดันลมมากก็ตาม เรื่องจากขนาดของขอบยางนอก มีขนาดเล็กกว่าขอบล้อ ดังนั้นในการใส่ยางนอกเข้าไปในขอบล้อ จะต้องค่อยๆใส่ขอบยางทีละด้านเข้าไปในวงล้อ โดยต้องอาศัยการใส่แบบเยื้องศูนย์เอา กล่าวคือให้ใส่ขอบยางด้านหนึ่งเกี่ยวขอบล้อไว้ก่อน แล้วจึงค่อยๆไล่ใส่ให้ขอบยางทั้งวงลงไปอยู่ในช่องระหว่างขอบล้อ ซึ่งจะต้องใช้แรงกดขอบยางลงไปในขอบล้อ หรือ อาจะต้องถึงขึ้นงัดขอบยางให้ขอบยางลงไปอยู่ในขอบล้อก็ได้ แล้วแต่กรณี
เมื่อใส่ขอบยางด้านแรกลงไปในช่องระหว่างขอบล้อได้หมดแล้ว ก็ให้ทำการใส่ยางในเข้าไปในยางนอก พร้อทั้งสอดจุ๊บเติมลมออกช่องจุ๊บเติมลมที่วงล้อให้เรียบร้อย จากนั้นก็ค่อยๆใส่ขอบยางนอกด้านที่เหลือเข้าไปในช่องว่างระหว่างขอบล้อ โดยค่อยๆใส่ทีละด้านไล่ใส่ให้รอบจนครบทั้งวง ชั้นตอนนี้อาจจะต้องมีการงัดยางบ้าง ซึ่งในการงัดยางก็ต้องระวัง ไม่ให้ที่งัดยางไปกัดยางในจนยางในรั่ว
ส่วนในการถอดยางนั้นก็ให้ทำตรงกันข้าม โดยงัดขอบยางด้านใดด้านหนึ่งออกมาจากขอบล้อก่อน เมื่อขอบยางออกมาแล้ว ให้ถอดยางในและถอดยางนอกออกจากขอบล้อ

[align=center][/align]
[align=center][/align]
รูปประจำตัวสมาชิก
ตาโจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4200
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 16:38
ติดต่อ:

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานกันสักนิด

โพสต์ โดย ตาโจ »

Preload

ปรีโหลด คือ การตั้งค่าก่อนการใช้งาน ซึ่งอาจจะเป็นค่าแรงดันลม ค่าแรงบิด หรือค่าใดๆที่เราทำการปรับตั้งก่อนการใช้งาน ซึ่งจะขอแยกแยะการตั้งค่าปรีโหลดในจักรยานคร่าวๆดังนี้

1.ลมยาง
ค่าแรงดันลมเป็นการตั้งปรีโหลดอย่างแรกที่เราใช้กันบ่อยๆ เราต้องสูบยางในได้แรงดันลมให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวผู้ขี่ สภาพเส้นทาง และ แน่นอนว่าแรงดันลมนั้นจะต้องไม่สูงกว่าค่าแรงดันลมสูงสุดที่ยางจะรับได้ การสูบลมยางนั้นจะต้องสูบให้พอดี หากสูบมากเกินไปก็จะทำให้ยางแข็ง อาจจะเป็นสาเหตุให้รถสะเทือนมาก และ ควบคุมรถยาก หรือ ถ้าหากสูบอ่อนเกินไปก็จะทำให้การขี่ไม่มีประสิทธิภาพ และ เสียแรงในการขี่ รวมทั้งอาจจะทำให้ยางรั่วได้ง่าย
ในการเติมลมยางผู้ขี่ควรเติมลมแล้วทดลองขี่ ซักเล็กน้อยเพื่อเป็นการทดสอบว่าค่าแรงดันลมที่เราเติมเข้าไปขี่แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าแข็งไปก็ลดแรงดันลมด้วยการปล่อยลมออกเล็กน้อย หรือ ถ้าอ่อนไปก็สูบลมเข้าอีกให้แรงดันลมสูงขึ้น

[align=center][/align]

2.ค่าแรงดันลมของโช้ค
โช้คหน้าปัจจุบันนิยมใช้แรงดันลมเป็นสปริงรับแรงกระแทก ดังนั้นจะต้องมีการสูบลมเข้าไปที่โช้คหน้าให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของผู้ขี่เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากสูบลมด้วยแรงกันมากเกินไปก็จะทำให้โช้คหน้าแข็งควบคุมรถได้ลำบาก หรือ หากเติมลมน้อยไปก็จะทำให้โช้คอ่อนขี่ไม่ค่อยพุ่ง
ด้วยผู้ขี่แต่ละคนมีน้ำหนักตัว ดั่งนั้นการจะรู้ว่าควรจะเติมลมเท่าไร จึงไม่มีสูตรตายตัว แต่ใช้การวัดการยุบตัวของโช๊คเมื่อขึ้นไปนั่งบนรถแทน ซึ่งเราจะเรียกการวัดแบบนี้ว่าการวัด SAG โดยให้สูบลมเข้าไปที่โช้คก่อน จากนั้นให้ขึ้นไปนั่ง แล้วดูว่าโช้คยุบตัวมากแค่ไหน ซึ่งเราจะรู้ได้ด้วยการใช้ยางรัดที่กระบอกโช้คแล้วรูดลงไปชนซีลกันฝุ่น เมื่อเราขึ้นไปนั่งโช้คยุบตัวไปแค่ไหน ซีลโช้คก็จะดันยางทีเรารัดไว้ให้เรารู้ ค่าที่เหมาะสมก็คือเมื่อเราขึ้นไปนั่งแล้ว โช้คควรจะยุบตัวเพียงเล็กน้อยประมาณ 5-10 มม (สำหรับโช้คช่วงยุบ 100 มม ) หรือมากกว่านี้สำหรับโช้คที่ยุบตัวมากๆ
ซึ่งค่า SAG นี่จะทำให้เรารู้ว่าไม่ได้เติมลมโช้คแข็งหรืออ่อนเกินไป ค่า SAG นี่จะมากจะน้อยยังขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้ขี่แต่ละคน หลังจากที่เราปรับตั้งค่า SAG เสร็จเรียบร้อยแล้ว หากเราต้องการให้โช้คหน้าแข็งขึ้นอีก เราสามารถปรับโช้คหน้าให้มีความแข็งเพิ่มขึ้นมาด้วยการปรับก้าน Compression ให้มีค่าบวกมากขึ้น ก็จะทำให้โช้คมีความแข็งมากขึ้น(แทนที่จะไปรับความแข็งของโช้คให้มากขึ้นด้วยการเติมลม ซึ่งการปรับ Compression จะยืดหยุ่นและรวดเร็วกว่า)
ในโช้คหลังก็เช่นเดียวกันจะต้องมีการปรับตั้งระยะ SAG ให้มีค่าที่เหมาะสมเช่นกัน เพื่อที่จะปรับความแข็งของโช้คให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของผู้ขี่

[align=center][/align]

3.ดุมล้อ
การตั้งปรีโหลดที่ดุมล้อคือการตั้งแรงกดลูกปืน ถ้าเป็นดุมล้อลูกปีนเม็ดจะเรียกกว่าการตั้งจี๋ แต่ถ้าเป็นลูกปืนตลับจะเรียกว่าการตั้งแรงตึงฝาปิด ซึ่งจะต้องตั้งด้วยค่าที่เหมาะสมพอดี ไม่งั้นจะทำให้ดุมล้อฝืดเกินไป หรือ หลวมเกินไป

[align=center][/align]

4.กะโหลก
กระโหลกก็มีจุดที่จะต้องตั้งปรีโหลดเหมือนกันคือ การตั้งแรงหนีบลูกปืนซึ่งจะต้องตั้งให้พอดี ไม่มาก หรือ ไม่น้อยเกินไป

5.ถ้วยคอ
การตั้งปรีโหลดของถ่วยคอทำให้การตั้งแรงกดของฝาปิดด้านบนที่จะกดคอแฮนด์ให้มากลูกปืนถ้วยคออีกที ซึ่งต้องให้ได้ค่าแรงตึงที่เหมาะสมก่อนที่จะขันล๊อคคอแฮนด์

6.น็อตล็อต
เป็นการตั้งแรงบิดการขันล็อคในจุดที่รับแรงหนักๆเช่นคอแฮนด์ ฝาคอแฮนด์ หรือ รัดหลักอาน ซึ่งอาจจะต้องใช้ประแจวัด ทอร์ควัดเพื่อความถูกต้องเหมาะสม
รูปประจำตัวสมาชิก
ตาโจ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4200
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2011, 16:38
ติดต่อ:

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย ตาโจ »

ขอจบเนื้อสำหรับภาคสองไว้แค่นี้น่ะครับ บางเรื่องที่นำเสนออาจจะเป็นเรื่องที่พื้นฐานเกินไป แต่ก็อยากให้มีพื้นฐานที่แน่นกัน ส่วนในภาคต่อไปจะเป็นการลงมือประกอบ ส่วนเรื่องการปรับตั้งปรีโหลดที่ผมทำมาเสนอให้ทราบกันเพราะว่าเวลาถอดเข้าถอดออก หากออกแรงมากเกินไปอาจจะทำให้เกลียวรูดได้ หากหลวมไปการยึดสิ้นส่วนก็ไม่แน่น

ติดตามตอนที่ 3 การลงมือประกอบได้ตามลิ้งนี้ครับ

http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... &t=1410686
ThaNanSak
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1224
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2012, 15:04
Tel: 0869637278
team: No
Bike: Giant XTC 29er
ตำแหน่ง: 635 หมู่ 1 ถ. บ้านหน้าควนลัง-บ้านพรุ ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90114

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย ThaNanSak »

ขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆที่มีมาเรื่อยๆครับ :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
เสือเอก 2 ทะเล
blackswan
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 694
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2010, 10:29
Tel: 087-1751172
team: หมูภูเขา
Bike: GaintTcrSL-KazeEbon-XDS 29"เถื่อนๆ
ตำแหน่ง: สยามลานนา นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย blackswan »

พึ่งรู้ว่าขาจานต้องไม่ขันแน่นไป เดี๋ยวกลับไปลองดูรถตัวเองก่อน
"ทำวันนี้ให้ดีพอแล้วหรือยัง"
manop1661
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1194
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 18:36
ตำแหน่ง: กำแพงเพชร
ติดต่อ:

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย manop1661 »

ขอบคุณครับ
คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง
tho
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 148
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2013, 07:48
Tel: 0818111326
team: มือใหม่
Bike: ว่าไปเรื่อย
ตำแหน่ง: ลาดพร้าว

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย tho »

ขอบคุณหลายๆเด้อ
รูปประจำตัวสมาชิก
PORNPOJ2520
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 17
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มิ.ย. 2015, 11:45
Tel: 0813680688
team: PITHAN BICYCLE
Bike: Spanova vintage

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย PORNPOJ2520 »

เป็นประโยชน์มากครับ บางอย่างเป็นข้อมูลที่ไม่เคยรู้มาก่อน ...
รูปประจำตัวสมาชิก
NAA
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 528
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2008, 05:37
team: ไร้สังกัด
Bike: TREK EMONDA S
ตำแหน่ง: ลพบุรี
ติดต่อ:

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย NAA »

สุดยอด.....
รูปประจำตัวสมาชิก
ต๋อง
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 121
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2008, 08:08
team: Lube bike
Bike: BIANCHI
ตำแหน่ง: Chonburi THAILAND

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย ต๋อง »

Good job
jdjjoker
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 32
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2014, 21:09
Tel: 0936-700-700
team: ชลบุรี
Bike: TRINX FM260

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย jdjjoker »

ขอบคุณครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
millky88
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 737
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2010, 14:49
Tel: 092-5323945
Bike: MERIDA HFS 4000
ตำแหน่ง: รามคำแหง 96

Re: ประกอบจักรยานเสือภูเขา ตอนที่ 2 ปูพื้นฐานก่อนลงมือ

โพสต์ โดย millky88 »

ขอบคุณคร้าบ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “อุปกรณ์จักรยานทั่วไป (MTB)”