ปัญหาเพิ่มรอบขา

ข่าวสาร หรือ พูดคุยเรื่องทั่วไปในแวดวงจักรยาน
รูปประจำตัวสมาชิก
unclepiak
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 46
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 14:02
Bike: LA Redline, Bianchi Kuma 27.0
ตำแหน่ง: แม่ริม, เชียงใหม่
ติดต่อ:

ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย unclepiak »

ปั่นจักรยานมาได้ระยะหนึ่ง ติดใจและเพิ่งเริ่มอ่านสาระความรู้ พบว่าควรฝึกปั่นรอบขาสม่ำเสมอที่ ๙๐ รอบต่อนาที ผมอยู่แม่ริมเชียงใหม่ ทางแถวบ้านเป็นทางราบสลับเนิน ปัจจุบันปั่นไม่หยุดต่อเนื่องได้ ๑ ชม. ระยะประมาณ ๒๐ ก.ม.ในเส้นทางเนินน้อย ๆ และรอบขาอยู่ที่ ๖๐ รอบในทางราบ, เช้านี้ลองฝึกปั่น ๙๐ รอบโดยใช้เกียร์ที่เบาลงกว่าความเคยชิน ทำรอบได้ไม่ถึง, ปรับเกียร์เบาลงอีก พบว่าเบาเกินเหมือนหมุนฟรีทำให้รอบปั่นแกว่งไม่รายเรียบ (แต่รู้สึกปั่นเร็วเหนื่อยกว่า - อาจจะดีในแง่แอโรบิก เพราะแทบไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อน่องเลย)

คำถามคือผมควรฝึกอย่างไรเพื่อเพิ่มรอบขาขึ้น ค่อย ๆ เพิ่มรอบทีละน้อย หรือทนปั่นเบา ๆ แกว่ง ๆ ไปจนกว่าจะชิน

แนะนำด้วยครับ
มือใหม่, เริ่มเมื่อแก่ :D (อยู่แม่ริม เชียงใหม่ ยินดีแนะนำเส้นทางปั่นละแวกบ้านครับ)
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

ค่อยๆ เพิ่มทีละนิดครับ เพื่อให้เกิดความเคยขินเช่นตอนนี้ทำได้ 60 รอบ/นาที ก็เพิ่มเป็น 65 รอบ/นาที พอทำ 65 รอบ/นาทีได้สบายแล้วค่อยเพิ่มไปที่ 70 รอบ/นาที จนกว่าจะถึงเป้าหมายที่ต้องการ หรือจะใช้วิธีที่เรียกว่า Interval สลับเข้ามาบ้างก็ได้ครับ เร่งรอบขาไปที่ระดับที่พอทำได้เช่น 70 หรือ 75 รอบโดยรักษาไว้ให้ได้สักครึ่งนาทีหรือ 1 นาที หลังจากนั้นก็ปล่อย จำลองเหตุการณ์เหมือนตอนเราปั่นฯ แซงจักรยานอีกคัน พอหายเหนื่อยมีแรงกลับมาก็ทำซ้ำไปหลายๆ ครั้งจนกว่าจะไม่ใหว

การก้าวไปใช้รอบขาสูงๆ ครั้งแรกทีเดียวร่างกายไม่เคยขินก็จะเจออาการอย่างที่เล่ามาเช่นรักษารอบขาให้คงที่ไม่ได้ จักรยานแกว่ง เพราะกำลังไม่ถ่ายไปที่ล้อแต่ทำให้เสียการทรงตัวแทน ฯลฯ

อีกเรื่องหนึ่งการปั่นจักรยานต้องมีการ Warmup และ Cooldown ด้วยนะครับ เริ่มปั่นฯ กล้ามเนื้อยังไม่ถูกกระตุ้นก็ทำรอบขาสูงไม่ได้หรือไม่ดีเท่าทีควร ต้องรอสัก 15 หรือ 20 นาทีก่อนจะสังเกตุเห็นว่าเราปั่นฯ ได้คล่องขึ้นค่อยเริ่มเล่นกับรอบขาครับ

และก่อนเลิกกิจกรรมก็ควรปั่นฯ ลดความเร็วรอบขามาอยู่ที่ระดับที่รู้สึกสบายๆ สัก 15 - 20 นาทีก่อนเช่นกันเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหลังปั่นฯครับ
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
pomroland
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2756
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2013, 00:19
Bike: Specialized

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย pomroland »

ข้อมูลดีๆ
รูปประจำตัวสมาชิก
unclepiak
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 46
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 14:02
Bike: LA Redline, Bianchi Kuma 27.0
ตำแหน่ง: แม่ริม, เชียงใหม่
ติดต่อ:

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย unclepiak »

เสือ Spectrum เขียน:ค่อยๆ เพิ่มทีละนิดครับ เพื่อให้เกิดความเคยขินเช่นตอนนี้ทำได้ 60 รอบ/นาที ก็เพิ่มเป็น 65 รอบ/นาที พอทำ 65 รอบ/นาทีได้สบายแล้วค่อยเพิ่มไปที่ 70 รอบ/นาที จนกว่าจะถึงเป้าหมายที่ต้องการ หรือจะใช้วิธีที่เรียกว่า Interval สลับเข้ามาบ้างก็ได้ครับ เร่งรอบขาไปที่ระดับที่พอทำได้เช่น 70 หรือ 75 รอบโดยรักษาไว้ให้ได้สักครึ่งนาทีหรือ 1 นาที หลังจากนั้นก็ปล่อย จำลองเหตุการณ์เหมือนตอนเราปั่นฯ แซงจักรยานอีกคัน พอหายเหนื่อยมีแรงกลับมาก็ทำซ้ำไปหลายๆ ครั้งจนกว่าจะไม่ใหว

การก้าวไปใช้รอบขาสูงๆ ครั้งแรกทีเดียวร่างกายไม่เคยขินก็จะเจออาการอย่างที่เล่ามาเช่นรักษารอบขาให้คงที่ไม่ได้ จักรยานแกว่ง เพราะกำลังไม่ถ่ายไปที่ล้อแต่ทำให้เสียการทรงตัวแทน ฯลฯ

อีกเรื่องหนึ่งการปั่นจักรยานต้องมีการ Warmup และ Cooldown ด้วยนะครับ เริ่มปั่นฯ กล้ามเนื้อยังไม่ถูกกระตุ้นก็ทำรอบขาสูงไม่ได้หรือไม่ดีเท่าทีควร ต้องรอสัก 15 หรือ 20 นาทีก่อนจะสังเกตุเห็นว่าเราปั่นฯ ได้คล่องขึ้นค่อยเริ่มเล่นกับรอบขาครับ

และก่อนเลิกกิจกรรมก็ควรปั่นฯ ลดความเร็วรอบขามาอยู่ที่ระดับที่รู้สึกสบายๆ สัก 15 - 20 นาทีก่อนเช่นกันเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหลังปั่นฯครับ
ขอบคุณมากครับคุณเสือสเปคตรัม ชัดเจน กระจ่างเลยครับ (เพิ่งเข้าใจคำว่า interval ที่พูดกันบนบอร์ดเดี๋ยวนี้เอง ขอบคุณมาก)
มือใหม่, เริ่มเมื่อแก่ :D (อยู่แม่ริม เชียงใหม่ ยินดีแนะนำเส้นทางปั่นละแวกบ้านครับ)
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

มือใหม่ซ้อมระยะแรกจริงๆ แล้วในตำรามักเน้นเรื่อง รอบขา กับ ความอึด (Endurance) ก่อนครับ คือปั่นฯ กับรอบขาที่เราทำได้ให้ได้ระยะเวลานานที่สุด เนื่องจากในการออกกำลังกายด้วยจักรยานนั้น เรื่องสำคัญคือระยะทางกับความเร็ว ถ้าเราทำความเร็วเฉลี่ยได้ 15 กม./ชม. ที่ระยะทาง 50 กม. เราต้องใช้เวลาถึง 3 ชั่วโมงเศษๆ แต่ถ้าเราทำความเร็วเฉลี่ยไได้ 20 กม./ชม. เวลาที่ใช้ในการเดินทางก็ลดลงเหลือแค่ 2 ชั่วโมงครึ่ง ถ้าทำความเร็วเฉลี่ยได้เร็วกว่านั้นเวลาที่ใช้ก็ยิ่งลดลงอีก

แต่ถึงอย่างไรจะสังเกตุเห็นว่าเวลาที่ใช้ในการปั่นฯ เดินทางไกลแม้ระยะทางแค่ 50 กม. เวลาที่ใช้ก็ไม่ต่ำกว่า 1 ชม. ซึ่งหมายความว่าถ้าเราไม่สามารถปั่นฯ รักษาความเร็วต่อเนื่องในระยะเวลา 1 ชั่วโมงได้ เราก็จะปั่นฯ ทางไกลไม่ได้ดีครับ

100 กม. ถ้าปั่นฯ คล่องๆ แค่ครึ่งวันเองครับ

แต่เราต้องผ่านข้อสอบเรื่องความเร็วคงที่ซึ่งต้องอาศัยรอบขา กับ ความอดทนซึ่งแต่ละคนทำได้ไม่เท่ากันต้องอาศัยการฝึกฝน ปั่นฯ เร็วมาก (รอบขาสูง) ก็เหนื่อยเร็ว ปั่นฯ ช้าไม่ค่อยเหนื่อย แต่ถึงที่หมายช้าหรือไปไม่ได้ไกล

การฝึกรอบขาคือการปรับสมดุลย์ (Balance) ให้เราบริหารความเหนื่อยบนความเร็วที่เหมาะสมได้เท่านั้นเองครับ

หลังจากนั้นถ้ายังสนุกหรือ "ทำได้" อยู่ก็มาฝึก Interval เพื่อให้เราสามารถแซงหรือเร่งความเร็วหลบหลีกอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ถ้าสังเกตุดีๆ การเร่งแซงของแต่ละคนใหม่ๆ มักมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนครั้งและเวลา คือเร่งความเร็วสูงได้ไม่นาน และทำได้ไม่กี่ครั้งในรอบทริป การฝึก Interval ช่วยให้เราเกิดความเคยชินที่จะอยู่บนความเร็วสูงได้ระยะเวลานานขึ้นและทำได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการครับ
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
unclepiak
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 46
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 14:02
Bike: LA Redline, Bianchi Kuma 27.0
ตำแหน่ง: แม่ริม, เชียงใหม่
ติดต่อ:

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย unclepiak »

เมื่อเช้าออกไปฝึกปั่นด้วยรอบขาที่เร็วกว่าเดิม (แต่คิดว่ายังไม่ถึง ๙๐, ยังไม่มีตัววัดครับ) ได้ความเร็วเฉลี่ยที่ ๑๖ กม/ชม. ครับ รู้สึกว่าเริ่มมาถูกทาง เพราะเผชิญหน้ากับเนินที่ต้องผ่านทุกวันได้ดีขึ้น (เริ่มปั่นมาได้ราวสองเดือน) พอตั้งใจทำรอบขาให้หมุนราบรื่น พบว่าต้องขยับฝ่าเท้าที่กดลงบนลูกบันไดไปด้านหน้ามากขึ้น และจังหวะนั่งต้องถอยอานไปด้านหลังไปอีกหน่อยจะถนัดกว่า ยังสับเท้าได้ไม่ราบเรียบนักบางจังหวะที่เกียร์เบาจะกดช้าไป แต่ถ้าเป็นทางราบยาว ๆ และปรับเกียร์ได้พอดี เท้าจะหมุนได้กลมกลืนลื่นและรื่นรมย์มาก ดีใจแทบจะลอยหน้าเหมือนเป็ดว่ายน้ำเลยคุณเสือสเปคตรับ ๕๕๕ ชอบมาก - ขอบคุณที่มาเติมความเข้าใจให้มากขึ้นอีกครับ กลับถึงบ้านมาคราวนี้ รู้สึกผ่อนคลายไม่ปวดเมื่อยเหมือนเมื่อวาน
มือใหม่, เริ่มเมื่อแก่ :D (อยู่แม่ริม เชียงใหม่ ยินดีแนะนำเส้นทางปั่นละแวกบ้านครับ)
8TEEBike
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 243
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2011, 00:50
Tel: หลังเขาสัญญานเข้าไม่ถึง
team: ไม่ชอบยึดติด
Bike: รถซาเล้ง

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย 8TEEBike »

เสือ Spectrum เขียน:ค่อยๆ เพิ่มทีละนิดครับ เพื่อให้เกิดความเคยขินเช่นตอนนี้ทำได้ 60 รอบ/นาที ก็เพิ่มเป็น 65 รอบ/นาที พอทำ 65 รอบ/นาทีได้สบายแล้วค่อยเพิ่มไปที่ 70 รอบ/นาที จนกว่าจะถึงเป้าหมายที่ต้องการ หรือจะใช้วิธีที่เรียกว่า Interval สลับเข้ามาบ้างก็ได้ครับ เร่งรอบขาไปที่ระดับที่พอทำได้เช่น 70 หรือ 75 รอบโดยรักษาไว้ให้ได้สักครึ่งนาทีหรือ 1 นาที หลังจากนั้นก็ปล่อย จำลองเหตุการณ์เหมือนตอนเราปั่นฯ แซงจักรยานอีกคัน พอหายเหนื่อยมีแรงกลับมาก็ทำซ้ำไปหลายๆ ครั้งจนกว่าจะไม่ใหว

การก้าวไปใช้รอบขาสูงๆ ครั้งแรกทีเดียวร่างกายไม่เคยขินก็จะเจออาการอย่างที่เล่ามาเช่นรักษารอบขาให้คงที่ไม่ได้ จักรยานแกว่ง เพราะกำลังไม่ถ่ายไปที่ล้อแต่ทำให้เสียการทรงตัวแทน ฯลฯ

อีกเรื่องหนึ่งการปั่นจักรยานต้องมีการ Warmup และ Cooldown ด้วยนะครับ เริ่มปั่นฯ กล้ามเนื้อยังไม่ถูกกระตุ้นก็ทำรอบขาสูงไม่ได้หรือไม่ดีเท่าทีควร ต้องรอสัก 15 หรือ 20 นาทีก่อนจะสังเกตุเห็นว่าเราปั่นฯ ได้คล่องขึ้นค่อยเริ่มเล่นกับรอบขาครับ

และก่อนเลิกกิจกรรมก็ควรปั่นฯ ลดความเร็วรอบขามาอยู่ที่ระดับที่รู้สึกสบายๆ สัก 15 - 20 นาทีก่อนเช่นกันเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหลังปั่นฯครับ


แอบมานั่งฟังอาจารย์ชี้แนะ :mrgreen:
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

สวัสดีคุณ 8TEEBike ครับ ไม่ได้คุยกันนานแล้ว ดีใจที่ยังเจอกันบนบอร์ดจักรยานอยู่ครับ

คุณ unclepiak ครับ

ผมคิดว่าการฝึกจักรยาน ส่วนมากเราไม่ได้มุ่งหวังอะไรมากไปกว่าสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้นหลักการใหญ่ๆ จึงตรงข้ามกับนักกีฬาหรือผู้ที่ฝึกเพื่อการแข่งขันที่ต้องมีการ "ฝืน" จนทำให้เกิดการบาดเจ็บในบางครั้งของการฝึกซ้อม

ซ้อมเพื่อสุขภาพแนะนำให้สังเกตุจากอาการของร่างกายเป้นหลักครับ ยกตัวอย่างเช่นการปั่นฯ ขึ้นเนินชันหากขึ้นด้วยรอบขาสูง + ความเร็วไม่ใหว ก็เปลี่ยนไปเป็นรอบขาต่ำ + ความเร็วต่ำ (เท่าที่ไม่รู้สึกปวดขา) ก็ได้ครับ ทำบ่อยๆ ความเร็วที่ทำได้ก็จะค่อยพัฒนาไปเอง สำคัญคืออย่าฝืนจนร่างกายบาดเจ็บครับ

เจ็บแล้วมันจะอดปั่นฯ ยาวเลยครับ :mrgreen:

เนินชันมากปั่นฯ ไม่ใหวก็ลงเข็นครับ

ส่วนเรื่องเกียร์ร่างกายคนเราไม่ใช่เครื่องจักรกลดังนั้นรอบขาไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเลขกลมๆ แบบ Digital 70 - 80 - 90 อะไรแบบนั้น เอารอบขาแบบ Analog คือ 70 - 71 -72 -73 - 74 - 75 ง่ายกว่าและไม่ฝืนร่างกายมากด้วยครับ

รอบขาในความเป็นจริงมันสามารถแกว่งขึ้น-ลงในช่วงตัวเลขใกล้เคียงกันได้ และบางครั้งมันจะปั่นฯ ช้าลงช่วงที่เริ่มมีอาการล้า ตรงนี้อย่าไปฝืนครับ พอเราทำบ่อยๆ อีกหน่อยจะรักษารอบขาได้คงที่มากขึ้นและนานขึ้นได้เองครับ

พอชำนาญรอบขาสูงๆ มันก็ทำได้เองเข่นกันครับ :D
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
unclepiak
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 46
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 14:02
Bike: LA Redline, Bianchi Kuma 27.0
ตำแหน่ง: แม่ริม, เชียงใหม่
ติดต่อ:

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย unclepiak »

คุณเสือสเปคตรัมครับ.. ขอคำแนะนำเรื่องจักรยานใหม่ ด้วยว่าปั่นมาสองเดือนค่อนข้างมั่นใจว่า จะปั่นไปอีกนาน จึงคิดว่าจะซื้อคันใหม่ดีไหม? เหตุผลเพราะเจ้า LA RedLine ของผมคันนี้เป็นเฟรมขนาด 17.5 นิ้ว แต่ผมสูงแค่ 156 ซม. เท่านั้น เป็นคนตัวเตี้ยครับ ตอนซื้อมันมาเมื่อปี ๒๐๐๐ ( ๑๕ ปีแล้ว เร็วจริง) ไม่มีความรู้อะไรเลย เดินดุ่ย ๆ เข้าร้านแล้วก็ชี้เอาเพราะเห็นว่าเป็นเฟรมอลูมิเนียม มีโช้คด้วย (ตอนนั้นอยู่เชียงราย ซื้อมาปั่นไปกินข้าว แถวบ้านมีเนินเลยหาจักรยานมีเกียร์มาใช้) ผมค้นข้อมูลพบว่า เฟรมที่เหมาะกับผมควรจะไซส์ 13 - 15 ซึ่งคิดว่า น่าจะทำให้ปั่นจักรยานได้ดีขึ้น ปัญหาตอนนี้คือไม่รู้จะซื้อยี่ห้อ รุ่น ไหนดี ตั้งใจว่าจะให้งบอยู่แถว ๆ ๑๕,๐๐๐ - ๑๘,๐๐๐ บาท ถ้าถูกกว่าและได้ของดีพอสมควรก็จะดี หรือถ้าแพงกว่านิดหน่อยไปถึงสองหมื่น(ไม่เกินนี้)แล้วได้ของดีขึ้นคุ้มค่ากว่าก็จะเอา ช่วยแนะนำด้วยครับ ผมไปดูเว็บ LA เห็น Neo Cliff 3.0 น่าสนใจ http://www.la-bicycle.com/product/la-neo-cliff-3-0/ ต่ำกว่างบด้วย ตัวนี้พอได้ไหมครับ

ดีใจที่เห็นมีท่านอื่นมาร่วมอ่านด้วย หากจะช่วยแจมด้วยก็จะขอบคุณมาก อยากได้เสือภูเขา หรือไฮบริด ล้อ ๒๗.๕ นิ้ว เกียร์ดีหน่อย น้ำหนักไม่มาก
มือใหม่, เริ่มเมื่อแก่ :D (อยู่แม่ริม เชียงใหม่ ยินดีแนะนำเส้นทางปั่นละแวกบ้านครับ)
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

จักรยาน LA มักทำมาแค่ 2 Size ครับคือ 17.5 นิ้ว และ 15.5 นิ้ว ถ้ายังเลือกยี่ห้อเดิมก็ใช้ขนาด 15.5 นิ้วก็ได้ครับ จะใกล้เคียงสรีระเราหน่อย

จักรยานที่พอดีตัวจะทำให้การปั่นฯ สนุกขึ้น เพราะมันจะเลี้ยวคล่องขึ้น ออกตัวไวขึ้น(เล็กน้อย)

หลักการเลือก Size จักรยานคร่าวๆ ให้เลือกจากความสูงของคานบนเอาแค่ไม่ติดเป้า-ชนเป้าเวลาคร่อมอยู่บนจักรยานก็พอแล้วครับ

ถ้า Size จักรยานใหญ่เกินไปเวลายืนคร่อมจักรยานคานบนจะติดหรือขนเป้าพอดีครับ ส่วน Size เล้กมากไปตานบนก็จะอยู่ห่างจากเป้ากางเกงมาก

สำหรับเสือภูเขา-Moutain Bike ซึ่งจริงๆ แล้วเน้นสำหรับทางวิบากด้วย ให้เผื่อระยะห่างจากเป้าเวลายืนคร่อมบนจักรยานไว้ 2 - 3 นิ้ว เพื่อเผื่อไว้เวลาเกิดจะต้องกระโดดลงจากจักรยานกระทันหันจะได้ไม่หน้าเขียวเพราะคานกระแทกกับเป้าครับ วิธีวัดง่ายๆ ยืนคร่อมจักรยานแล้วยกล้อหน้าขึ้นจนรู้สึกว่าคานบนสัมผัสกับเป้ากางเกง ถ้าล้อ(หน้า) ลอยเหนือพื้น 2 - 3 นิ้วก็แสดงว่า "ใช่" แล้วครับ

ส่วนเสือทางเรียบ-Road Bike หรือจักรยานแนวเสือหมอบตามตำราเผื่อระยะห่างจากเป้าแค่ 1 นิ้วเองครับเพราะไม่ค่อยมีเรื่องฉุกเฉินให้ต้องลงจากจักรยานกระทันหันบ่อยยกเว้นกรณีเช่นต้องเบรคกระทันหันเพราะโดนรถยนต์ขับตัดหน้า
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

จริงๆ แล้วจักรยานสำหรับปั่นฯ บนทางเรียบใช้จักรยาน Hybrid หรือ Touring (แฮนด์เสือหมอบ) จะปั่นฯ สนุกกว่าครับ เพราะได้ยางทางเรียบซึ่งไม่กินแรงหรือหนักแรงจนเกินไป ออกตัวคล่อง ทำความเร็วได้ดี จุดสังเกตุคือมักเป็นจักรยานที่ไม่มีโช๊คคือใช้ตะเกียบแทน ขนาดของยางเล็กและหน้ายางค่อนข้างเรียบครับ

ตอนแรกที่ปั่นฯ หากเเปลี่ยนจากจักรยานมีโช๊คมาเป็นตะเกียบจะรู้สึกเหมือนว่ามีความสะเทือนเพิ่มมากขึ้นแต่พอเคยขินและรู้เทคนิคการปั่นฯ แล้วจะได้ความสนุกมากขึ้นกว่าจักรยานมีโช๊คที่เอามาปั่นฯ บนทางเรียบครับ

หรือจะลองความรู้สึกอย่างง่ายๆ ถ้าจักรยานคันที่ใช้อยู่ยังใช้ยางเดิมติดรถมาลองเปลี่ยนยางเป็นยางทางเรียบเช่นยาง Kenda 26 X 1.50 นิ้ว (ราคาเส้นละประมาณ 250 - 350 บาท) แล้วจะเห็นความแตกต่างครับ

ยางทางเรียบสำหรับเริ่มต้นแนะนำยางขนาด 26 X 1.50 นิ้วครับ จรืงๆ แล้วมีหลากหลายยี่ห้อ แต่ที่หาง่ายที่สุดรู้สึกจะเป็นยี่ห้อ Kenda จาก Taiwan นี่แหละครับ รองลงมาตอนนี้รู้สึกว่าจะมีอีกยี่ห้อที่ทำงานแนวนี้มาขายคือยี่ห้อ Swallow จาก Indonesia ราคาจะถูกกว่าและคุณภาพจะอ่อนกว่ายี่ห้อ Kenda เล็กน้อยครับ

ยางทางเรียบเหมาะสำหรับการปั่นฯ ที่มักปั่นฯ อยู่บนถนนเป็นหลักครับ แต่ก็พอเอาไปใช้บนทางวิบาก (เล็กน้อย) ได้ครับ ถ้าเราเอายางวิบาก (ยางมีดอกใหญ่ๆ) มาใช้บนทางเรียบนอกจากจะรู้สึกสะเทือนมากกว่าปรกติแล้ว ยังปั่นฯ ได้ช้า + กินแรงปั่นฯ เพิ่มขึ้นด้วยครับ
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

เรื่อง Size จักรยานถ้าเลือกให้ละเอียดลงมาอีกหน่อย เบื้องต้นแม้ว่าเรามักจะเลือกโดยใช้วิธีคัดกรองจากเรื่องความสูงของคานบนมาก่อน แต่ใจความสำคัญจริงๆ จะอยู่ที่ค่าความยาวของคานบนครับ เช่นความสูง 165 ซม. มักได้รับคำแนะนำให้เลือกจักรยาน Size 46 - 48 ซม. จริงๆ แล้วค่านี้ไม่ได้หมายถึงค่าความยาวท่อนั่งหรือความสูงของคานบนเพียงอย่างเดียวเพราะจักรยานบางแบบเช่นเสือภูเขาท่อนั่งอาจจะวัดได้ 15 นิ้ว (38.1 ซม.) แต่คานบนอาจจะยาวได้ถึง 21 นิ้ว (53.34 ซม.) ก็มีครับ

ซึ่งก็หมายความว่าแม้เราจะสูงแค่ 165 ซม. และได้จักรยาน (เสือภูเขา) Size 15 นิ้วมา แต่ก็อาจจะรู้สึกว่าปั่นฯ ไม่สบายเพราะท่อบนยาวเกินไปก็ได้ครับ

ส่วนจักรยานทางเรียบส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นเสือหมอบ - Touring หรือ Hybrid (บางแบบทำเป็นเสือหมอบแฮนด์ตรง) มักจะใช้ค่าความยาวคานบนใกล้เคียงกับค่าความสูงท่อนั่งที่เราใช้เป็นค่า Size จักรยานครับ
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

ตัวอย่างจักรยาน Touring (แฮนด์เสือหมอบ) ครับ

รูปภาพ

http://www.hahhongbike.com/product/1420 ... speed.html

ตัวอย่างจักรยาน Touring (Hybrid แฮนด์ตรง) ครับ

รูปภาพ

http://www.hahhongbike.com/product/1420 ... ด์ตรง.html
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือ Spectrum
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4450
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 12:58
Tel: -
team: 99 City Bike
Bike: LA Spectrum

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย เสือ Spectrum »

ยางสำหรับปั่นฯ ทางเรียบหน้าตาเป็นแบบนี้ครับ

รูปภาพ

http://wheelworld.com/product/giant-sim ... 5898-1.htm

หรืออย่างนี้

รูปภาพ

https://www.biketiresdirect.com/older-2 ... es-article

ส่วนยางสำหรับทางวิบากหน้าตาก็จะประมาณนี้ครับ

รูปภาพ

http://wheelworld.com/product/specializ ... 2842-1.htm
เมื่อพ้นไปจากการ "แพ้" หรือ "ชนะ" เราก็จะได้อยู่ในที่ที่ไม่มี "ความทุกข์ใจ"
รูปประจำตัวสมาชิก
unclepiak
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 46
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ธ.ค. 2015, 14:02
Bike: LA Redline, Bianchi Kuma 27.0
ตำแหน่ง: แม่ริม, เชียงใหม่
ติดต่อ:

Re: ปัญหาเพิ่มรอบขา

โพสต์ โดย unclepiak »

ให้คำแนะนำละเอียดมาก ขอบพระคุณอย่างสูง
ที่เลือกเสือภูเขาเพราะผมมักจะ(ชอบ)เพราะทางละแวกบ้านจะมีทางลูกรังสลับกับถนนดำ และชอบที่จะไปเส้นทางเล็ก ๆ ระหว่างหมู่บ้านมากกว่าปั่นบนถนนที่มีรถวิ่งจอแจ ความที่อยู่ติดดอย ทางจะขึ้น ๆ ลง ๆ เนิน การได้ถลาลงเนินเป็นความสุขอย่างหนึ่งที่ทำให้ชอบปั่นจักรยานเสือภูเขา (แม้ตอนปั่นขึ้นเนินจะเหนื่อยสักหน่อยเพราะหน้ายางสัมผัสพื้นถนนมาก) อีกอย่างความเร็วไม่ใช่สิ่งที่คำนึงมากนัก เพราะส่วนใหญ่ปั่นคนเดียวตอนเช้า ๆ ช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร เพลินดี

อ้อ.. ผมสูง ๑๕๖ ครับ ไม่ใช่ ๑๖๕ วันนี้เข้าไปดูรถในเวียง เห็น LA Cliff มาแล้วเสียดายที่ในร้านไม่มีไซส์ S (15") เลยไม่ได้ลองคล่อม ในแคตาล็อคระบุว่า เหมาะกับคนสูง ๑๕๕ ถึง ๑๖๙ ซม. ได้ดูอีกยี่ห้อคือ Bianchi kuma 27.0 มีไซส์ ๑๓ นิ้วด้วย เสียดายว่าราคาเกินงบไปสามพันบาท เลยยังไม่ทันได้ซื้อ

- วันนี้ปั่นจักรยานเข้าเวียง ได้ปั่นยาว ๆ เส้นทางคันคลองชลประทานระยะไปกลับ ๓๐ ก.ม. ปรับเกียร์เบากำลังดี พยายามปั่นทำรอบสม่ำเสมอ น่าจะราว ๗๐ รอบต่อนาที(เดาเอา) ทำความเร็วเฉลี่ยได้ ๑๙ ก.ม./ชม. นับว่าเร็วขึ้นและแทบจะไม่เมื่อยล้าเลย ดีใจมาก วันนี้ควงขาได้ค่อนข้างราบเรียบ มีอาการมือชาอย่างเดียว คงเป็นเพราะระยะห่างอานกับแฮนด์ไกลไปหน่อย น้ำหนักกดจึงไปลงที่ฝ่ามือ

ป.ล. ถ้าคุณเสือสเป็คตรัมอยากมาเที่ยวเชียงใหม่ ขอเชิญมาเที่ยวหากันที่แม่ริมนะครับ มาพักแถวนี้มีเส้นทางจักรยานสวย ๆ วิวท้องนา ฉากหลังเป็นดอย หรือจะปั่นขึ้นไปเที่ยวน้ำตกก็มีหลายแห่ง น้ำพุร้อนก็ไม่ไกล มากันทั้งครอบครัวเลยก็น่าจะเป็นการพักผ่อนที่ดี อยากมีโอกาสต้อนรับครับ
มือใหม่, เริ่มเมื่อแก่ :D (อยู่แม่ริม เชียงใหม่ ยินดีแนะนำเส้นทางปั่นละแวกบ้านครับ)
ตอบกลับ

กลับไปยัง “พูดคุยเรื่องทั่วไปในแวดวงจักรยาน”