สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

จำหน่ายจักรยาน(เก่าญี่ปุ่น) เสือภูเขาโครโมลี-อลูมิเนียมแบบตะเกียบ พร้อมซ่อมและโมดิฟายด์เสือภูเขาทางเรียบ-จักรยานเดินทางไกล โทร. 0814881440

ผู้ดูแล: เอ็ม.เจ.ไบค์ นครปฐม

กฏการใช้บอร์ด
จำหน่ายจักรยาน(เก่าญี่ปุ่น) เสือภูเขาโครโมลี-อลูมิเนียมแบบตะเกียบ พร้อมซ่อมและโมดิฟายด์เสือภูเขาทางเรียบ-จักรยานเดินทางไกล โทร. 0814881440
ตอบกลับ
deawpic
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 12
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 00:52

สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย deawpic »

ระหว่างที่รอรถเสร็จและเนื่องจากได้อ่านกระทู้ต่างๆ ในเว็บนี้ ทำให้ผมต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับจักรยานหลายอย่าง จนได้ความรู้เพิ่มจากเดิมมาก จึงคิดจะเอามาเผยแพร่ให้เพื่อนๆ ได้รู้บ้าง ซึ่งบางท่านอาจจะรู้แล้ว แต่ผมก็คิดว่ามันมีประโยชน์ จึงขออนุญาตคุณเมธา ตั้งกระทู้นี้ ขึ้น หากคิดว่าไม่เหมาะสม ก็ลบได้ครับ

ว่าด้วยเรื่องเฟรมจักรยาน
เฟรมถือเป็นส่วนประกอบหลักของจักรยานก็ว่าได้ เรามาดูลักษณะของเฟรมแบบต่างๆ ตามรูปร่างของเฟรมกันครับ

1.แบบ diamond หรือ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือ รูปเพชร หรือ ข้าวหลามตัด แล้วแต่จะเรียก ตามรูปครับ
รูปภาพ
จะเห็นว่ามันเป็นเฟรมจักรยานทั่วไปที่เราๆ ท่านๆ คุ้นกันดี ถือว่ามีความนิยมสุดก็ว่าได้

2.แบบ Step-through อันนี้ผมแปลเองตามตัวว่า แบบก้าวข้าม หรือ ก้าวผ่าน ละกันครับ เนื่องจากมันออกแบบมา เพื่อให้สุภาพสตรี ซึ่งใส่กระโปรง ขึ้นขี่ได้สะดวกขึ้นนั่นเอง ตาม ภาพเลยครับ
รูปภาพ

รูปภาพ
จะเห็นว่าเฟรมแบบนี้ต้องออกแบบให้ ขึ้นขี่ได้ง่าย ทำให้ต้องทำท่อบน ท่อล่างให้ต่ำๆ บางครั้ง ก็มีแค่ท่อเดียว ซึ่งข้อเสียคือ ลักษณะสามเหลี่ยมของเฟรมหายไป ทำให้ความแข็งแรงลดลง ต้องชดเชยด้วยวัสดุที่หนักขึ้นแข็งขึ้น ทำให้น้ำหนักของเฟรมแบบนี้ ค่อนข้างสูง และขาดประสิทธิภาพ เช่นความเร็ว ความพุ่ง เป็นต้น

3. แบบ Recumbent หรือ แบบนอนหงายขี่ แบบนี้จะมีพนักพิง หรือ นอนขี่ไปเลยตามภาพครับ
รูปภาพ
เฟรมแบบนี้ ถือว่าถูกหลักสรีระของคนเรามากที่สุด และถือว่ามีประสิทธิภาพมากสุดด้วย โดยรถแบบนี้ที่ออกแบบโดยนาย Sam Whittingham ทำสถิติโลกวิ่งได้ถึง 132.5 km/h เลยที่เดียว ตามรูปครับ
รูปภาพ

4.แบบ Prone หรือนอนคว่ำ ขี่ แบบนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ แบบนอนหงาย แต่ไม่นิยมนัก เพราะน่าจะมองทาง ลำบากน่าดู
รูปภาพ

5.แบบ Pedersen เป็นแบบที่มีท่อหลายๆ ท่อ ประกอบเป็นโครงสร้าง คล้ายๆ โครงสร้างสะพาน หรือปีกเครื่องบิน
รูปภาพ

6.แบบ Folding หรือ แบบพับได้นั่นเอง ยี่ห้อดังๆ ที่เรารู้จักกันดี ก็เช่น A-bike, Bike Friday,Dahon, Strida เป็นต้น
รูปภาพ
รูปภาพ

7.แบบ Penny-farthing หรือ แบบเหรียญ Penny กับเหรียญ farthing (1/4 ของ Penny) ออกแบบจากแนวคิดจาก เหรียญ 2 แบบ ดังภาพ
รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

เป็นจักรยานที่นิยมมาก ในยุคแรกๆ แต่เนื่องจากมันมีปัญหาด้านความปลอดภัย ก็เลยเสื่อมความนิยมลงไป

8.แบบ Tandem and sociable คือแบบ ขี่ได้ทีละหลายคน ช่วยกันปั่น
รูปนี้เป็นแบบ Tandem คือ ขี่เรียงเป็นแถวยาว ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
รูปภาพ

รูปภาพ

สว่นอันนี้ แบบ sociable คือขี่ไปพร้อมๆ กัน ชมวิวพร้อมกันเลย
รูปภาพ


เฟรมรูปแบบต่างๆ ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีเฟรม ที่เป็นสิทธิบัตรเฉพาะของแต่ละบริษัท อีกที่ไม่ได้กล่าวถึง ใครสนใจลองศึกษาดูครับ ข้อมูลและภาพส่วนใหญ่ ได้จาก http://www.wikipedia.org ครับ

ตอนต่อไปจะเป็น เรื่องของวัสดุ ที่เราเอามาทำเฟรมครับ ว่ามีอะไรบ้าง คอยติดตามนะครับ
deawpic
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 12
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 00:52

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย deawpic »

วัสดุที่ใช้ทำเฟรม

1.Steel คือโลหะผสมที่มี เหล็กเป็น องค์ประกอบหลัก อาจจะเป็นโลหะผสมที่เกิดจากเหล็กเป็นหลัก หรือ เกิดจากเหล็กที่ผสมธาตุคาร์บอนก็ได้ ถ้าแบ่งตามมาตรฐานของ SAE steel grades (SAE คือองค์กรที่กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับวิศวกรรมยานยนต์ ที่เราคุ้นๆ กันก็ เช่น เกรดของน้ำมันเครื่องเป็นต้น) แล้ว เฟรมจักรยานก็จะทำจาก 1xxx Carbon steels ซึ่งเป็นเหล็กผสมคาร์บอน หรืออีกแบบนึงก็อาจเป็น 4130 Chromium-molybdenum (Chromoly) steels ซึ่งคือเฟรมแบบโครโมลี ที่ใช้เหล็กผสมกับโครเมียมและโมลิบดินัม นั่นเอง
ใครสนใจมาตรฐาน SAE steel grades ดูได้ที่นี่ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/SAE_steel_grades

2.Aluminum alloys คือโลหะผสมที่มี อลูมิเนียมเป็น องค์ประกอบหลัก ส่วนที่นิยมนำมาทำเฟรมก็ได้แก่ alloy 6061(มี magnesium / silicon เป็นหลัก) กับ alloy 7005(มี zinc /magnesium เป็นหลัก) นั่นเอง

3.titanium alloys คือโลหะผสมที่มี ไทเทนียมเป็น องค์ประกอบหลัก นำมาทำเฟรมเพราะคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของไทเทนียม ในด้านความแข็งแรง น้ำหนักเบา ยืดหยุ่น แต่มีราคาแพงเพราะวคามยุ่งยากในการผลิต

4.Carbon fiber เป็นเส้นใยคาร์บอน ไม่มีส่วนผสมของโลหะ นำมาทำเฟรมเป็นบางส่วน หรือ อาจทำเป็นเฟรมทั้งชิ้นโดยการ ขึ้นรูป เฟรมคาร์บอนจะมีน้ำหนักที่เบามาก

นอกจากนี้ยังมีเฟรมแบบ อื่นๆ อีก เช่น magnesium-aluminum , aluminum-scandium , ไม้ไผ่ , เทอร์โมพลาสติก , ไม้
หรือ อาจสร้างเฟรมโดยใช้วัสดุหลายๆ อย่างมาประกอบกันก็ได้
deawpic
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 12
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 พ.ย. 2010, 00:52

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย deawpic »

เบรคจักรยาน

ตัวอย่างการทำงานของเบรค
รูปภาพ

โดยทั่วไปแล้วเบรคจักรยานประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ
1.ส่วนควบคุมบังคับ ในที่นี้คือ มือเบรค(brake lever) นั่นเอง
2.ส่วนส่งกำลัง ก็คือ สายเบรค
3.ตัวกลไกเบรคเอง คือ ก้ามเบรค

เราแบ่งประเภทของเบรคได้ตามลักษณะกลไก การเบรคดังนี้

1.spoon brake ใช้การเบรคโดย สัมผัสกับหน้ายางโดยตรง ตัวอย่างดังรูป
รูปภาพ

2.rim brake คือการเบรคโดยใช้สัมผัสกับขอบล้อ มีข้อดีคือ กลไกที่ง่าย ถูก และทรงพลัง เมื่อเทียบกับแบบอื่น แต่หากใช้เบรคต่อเนื่องกันนานๆ ก็จะทำให้ความร้อนสะสมมากขึ้น ไปเพิ่มแรงดันลมยาง ยางอาจระเบิดได้ นอกจากนี้หากขอบล้อสกปรกกจะทำให้เบรคไม่อยู่ได้

ต่อไปเป็นรูปตัวอย่าง rim brake แบบต่างๆ

Centre-pull calliper brakes แบบใช้สายเบรคดึงที่จุดกึ่งกลาง
รูปภาพ

cantilever brake ใช้การเบรคโดยดึงสายเบรคตรงๆ
รูปภาพ

V-brakes วีเบรคที่เราๆ คุ้นกันดี
รูปภาพ

จริงๆ แล้ว rim brake มีมากแบบกว่านี้ ท่านที่สนใจลองหาข้อมูลดูครับ

3. disc brake คือ ดิสเบรคที่ใช้ ในจักรยานรุ่นใหม่ นั่นเอง เบรคแบบนี้มีข้อดีกว่า คือ จานเบรคทำความสะอาดได้ง่ายกว่าขอบล้อ ใช้กลไกแบบสาย และน้ำมันก็ได้ ลดสาเหตุของยางระเบิดได้ แต่ข้อเสียคือซับซ้อน และราคาแพง
รูปภาพ

4.Drum brakes ดรัมเบรค มีกลไก เบรคอยู่ใน ดุมล้อ
รูปภาพ

5.จักรยานไร้เบรค เราพบได้ในรถประเภท track bike หรือ fix gear หรือ bmx แบบนี้จะใช้กำลังขาของคน ในการเบรค
รูปภาพ
nookhook
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1191
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ค. 2010, 16:15

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย nookhook »

ขอบคุณครับ :D
abdul
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 33
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2011, 21:11
Tel: 083-532-6466
Bike: Giant rincon 07

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย abdul »

[url][http://www.brightspoke.com/c/understand ... s.html/url]

ขออนุญาตนำ ลิงค์มาลงเกี่ยวกับวัสดุทำเฟรมจักรยาน ใครแปลได้เข้าใจดี ช่วยแปลด้วยครับ
สุขภาพดี ไม่มีขาย อยากได้ ต้องทำเอง
รูปประจำตัวสมาชิก
หนุ่มกีต้าร์พิดโลก
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 285
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2011, 15:13
Tel: 081-9726173
team: จักรยานเดินทาง มาปั่นให้โลกเปลี่ยน m.j.bike จ.พิษณุโลก
Bike: Bridgestone WSZ roadman MB2 Miyata Lemans Trek Fuel Slx 4300 Pana MR-G
ตำแหน่ง: 568 หมู่ 15 ต.ชมพู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย หนุ่มกีต้าร์พิดโลก »

ขอบคุณมากสำหรับความรู้ที่มอบให้ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
nipong
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 419
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 11:58
Tel: 094 5166419
team: - ค่ายวีรวัฒน์โยธิน -
Bike: - TREK 4400 -
ตำแหน่ง: - เสราะสะเร็น -

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย nipong »

ได้ความรู้เิ่พิ่มขึ้น...ขอบคุณครับผม... ;)

----------------------------------------
ตายในสนามรบ เป็นเกียรติของทหาร
- สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม ล้ำเลิศเกษตรอินทรีย์ -
เสือหล่อ
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 97
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2011, 11:40
team: saparoh bike
Bike: merida matt 100

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย เสือหล่อ »

ขอเก็บไว้
ซ้อมดีๆ แล้วจะไม่มีเรื่องต้องมาอายเรื่องอะไหล่
รูปประจำตัวสมาชิก
korakod
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 33
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.ค. 2011, 13:15
Bike: folding bike
ตำแหน่ง: 135 ซ.ติวานนท์25 ต.บางกระสอ อ.เมืองฯ นนทบุรี

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย korakod »

ขอบคุณมากครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
nopcung
สมาชิก
สมาชิก
โพสต์: 79
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2013, 17:32
Bike: Taokas and ORIBIKE

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย nopcung »

ขออีกนิดนะครับพี่ๆ คือผม งงอะครับ ผมเจอคำศัพท์เบรคพวกนี้ไป

drum brakes

coaster brakes

drag brakes

band brakes

งงมากครับ เวลาเจอระบุในสเปคจักรยานนำเข้าจากต่างประเทศ ผมไม่รู้ว่าแต่ละประเภทต่างกันอย่าง แต่ละประเภทดีอย่างไร การดูรักษา อีกอะครับ

วอนผู้ใจดี มีความรู้ มาช่วยให้ผมกระจ่างทีครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
DNA-
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1559
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 15:40
Tel: 0896796313
ตำแหน่ง: ถนน หน ทาง

Re: สาระน่ารู้เกี่ยวกับจักรยาน

โพสต์ โดย DNA- »

:mrgreen:
กดไลค์
L I K E
อ่านเพลิน
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เอ็ม.เจ.ไบค์-นครปฐม”