......คลินิก(Clinic)เสือ.....

ผู้ดูแล: เสือเพชรบูรณ์, V3 ป่าเลา

กฏการใช้บอร์ด
ที่อยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000
รูปประจำตัวสมาชิก
tee
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1924
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 14:20
Tel: 0832119446
team: เสือเพชรบูรณ์
Bike: cannondale optimo specialized tarmac comp

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย tee »

ใครมีเทคนิคดีๆเวลาลงเขาชันๆ แนะนำหน่อยครับ แหยงครับ
อยากให้รถคุณสวยขึ้น คลิ๊กเลยครับ http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 0&t=362146
รับทำป้ายทุกชนิด ไวนิว สติ๊กเกอร์ อักษรโลหะ ตู้ไฟ พลาสวู๊ด อะคริลิก ราคากันเองครับ สนใจPMหรือโทรสอบถามได้ครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
V3 ป่าเลา
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 8926
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 22:34
Tel: 0819538554
team: PHETCHABUN TEAM
Bike: Cannondale Taurine SL 09 Super six hi-mod 09 Fash factory team
ตำแหน่ง: 44/2 หมู่ 8 ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย V3 ป่าเลา »

วันนี้ขอนำเอาข้อมูลยาง Tubular (ยางฮาฟ) มาให้อ่านกันครับต้องขอขอบคุณ คุณVericity ครับที่ให้ข้อมูลดี ๆ ครับ
ข้อดีของยาง Tubular(ยางฮาฟ)
1.น้ำหนักขอบล้อเบากว่า
2.น้ำหนักยางเบากว่า(เมื่อเทียบกับยางงัดปรกติ)
3.โอกาสรั่วเพราะตกหลุมแทบไม่มี(ไม่มีขอบเหมือนยางงัด)
4.เวลาแข่งขันจะได้เปรียบเมื่อยางรั่ว จะสามารถบดยางต่อได้ด้วยความเร็วสูงจนกว่ารถพี่เลี้ยงตามขึ้นมาใกล้ๆ(เพราะยางติดอยู่กับขอบด้วยกาวจึงไม่หลุดจากขอบ)
5.ยางมีลักษณะเป็นหลอดกลม ทางทฤษฏีจะมีค่า Rolling resistance ดีกว่ายางงัด(ขี่ได้เร็วกว่า)
6.สามารถทำยางหน้าเล็กๆได้ง่าย
ข้อด้อยของยาง Tubular
1.แพงทั้งขอบล้อ และยาง
2.มียางให้เลือกน้อย
3.ปะยากกก
4.ยุ่งยากในการใส่(ใส่ไม่เป็นมีสิทธิ์กลิ้งตอนเทโค้งได้)

ข้อดีของยาง Clincherเมื่อเทียบกับTubular
1.มียางให้เลือกมาก
2.ราคาไม่แพง
3.รุ่นที่แพงๆก็มีน้ำหนักเบาเช่นกัน
4.สะดวกในการปะ หรือเปลี่ยน
ข้อด้อยของยาง Clincherเมื่อเทียบกับTubular
1.ขอบล้อ+ยางหนักกว่าระบบ tubular
2.ตกหลุมมีโอกาสรั่วง่าย(Snake bike)
3.ยางรั่วแล้วบดเร็วๆไม่ได้ต้องชลอหรือจอด
ชนะอื่นใดไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับชนะใจตนเอง
แม้จะมีเพียงแค่ภาพเดียวแต่สามารถแทนคำพูดได้มากกว่าพันคำ
รูปประจำตัวสมาชิก
V3 ป่าเลา
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 8926
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 22:34
Tel: 0819538554
team: PHETCHABUN TEAM
Bike: Cannondale Taurine SL 09 Super six hi-mod 09 Fash factory team
ตำแหน่ง: 44/2 หมู่ 8 ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย V3 ป่าเลา »

วิธีใส่ล้อยาง Tubular โดยใช้เทปสองหน้า 3M แทนกาว ครับ
[youtube]uUlFn4lpFQo&feature=player_embedded#at=120[/youtube]
ส่วนข้อความนี้ใช้กาวครับ ต้องขอขอบคุณ คุณปูเป้ครับ
1. แกะยางออกจากกล่อง แล้วดึงๆ ให้ยางมันคืนตัวก่อนครับ

2. เติมลมนิดนึงให้เป็นทรง แล้วดึงๆ ให้ยางมันคืนตัว (ให้รอยพับมันน้อยที่สุด)

3. มั่นใจแล้ว ก็ทากาว ให้รอบล้อ (ระวังเลอะ)

4. ตรงนี้ผมจะเริ่มใส่ยางตรงจุ๊กลมก่อนแล้วค่อยๆ ไล่ขอบไปเรื่อย

5. ทดลองหมุนยาง แล้วสังเกตุว่ามีช่วงไหนมันไม่ตรงแนวบ้าง (คล้าย ตอนเราขึ้นวงล้อ) ก็จับดัดขอบยางให้มาในทิศตรงข้าม

6. ถ้าคิดว่ายางเป็นแนวเดียวกัน ก็เติมลมอีกนิด เพื่อให้ขอบด้านในยาง ดันตัวไปชิดกับขอบล้อ เพื่อให้สัมผัสกาวได้มากขึ้น

7. ใช้มือจับปีกแกนปลดทั้งสองด้าน แล้วกดลง จากนั้นกลิ้งล้อให้ครบ 1 รอบ ครับหรือจะทำซ้ำหลายๆครั้งแต่ต้องให้ครบรอบ

8. ทิ้งไว้ให้แห้ง สักครึ่งวันน่าจะพอ

9. ใส่ล้อ แล้วออกไปปั่นครับ

ลองดูนะครับ ผมว่ามันต้องฝึกคล้ายๆ เปลี่ยนผ้าพันแฮนด์นั่นแหละ ยิ่งทำบ่อยๆ ยิ่งชำนาญ

_________________
สวัสดีครับ
ไฟล์แนบ
ตัวอย่าง เทป 3M ที่ใช้แทนกาวครับ
ตัวอย่าง เทป 3M ที่ใช้แทนกาวครับ
img_1278.jpg (189.81 KiB) เข้าดูแล้ว 926 ครั้ง
ชนะอื่นใดไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับชนะใจตนเอง
แม้จะมีเพียงแค่ภาพเดียวแต่สามารถแทนคำพูดได้มากกว่าพันคำ
เสือเพชรบูรณ์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5735
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 18:50
Tel: 0801187686
team: ทีมเสือเพชรบูรณ์
Bike: Bianchi MUTT - Cannondale F3-Six13
ตำแหน่ง: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือเพชรบูรณ์ »

tee เขียน:ใครมีเทคนิคดีๆเวลาลงเขาชันๆ แนะนำหน่อยครับ แหยงครับ
ชันขนาดไหนล่ะครับ ขนาด 90 องศาหรือเปล่า ถ้าขนาดนั้นก็มีวีธีเดียวคือ โยนรถลงมาก่อน และเจ้าของก็หาทางลงมาทีหลัง :lol: ...ถ้าเอาจริง ๆ ผมก็แหยงครับเคยตีลังกาเอาบ่อย ๆ ...ดูจากเทคนิกคนอื่นก่อนครับ
การเบรค - ควรเลี้ยงเบรคหลังเป็นพักๆเพื่อคุมความเร็ว ตามสภาพถนนในความเร็วที่ปลอดภัย เมื่อต้องการชลอก็เพิ่มน้ำหนักเบรคหลังขึ้นอีก พร้อมกับใช้เบรคหน้าคู่กัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหยุดได้ดีขึ้นและป้องกันล้อล๊อค ส่วนเวลาเข้าโค้งก็เลี้ยงเบรคหลังช่วยเบาๆได้ หากใช้เบรคหน้าในโค้งรถจะดื้อโค้งนิดๆ ขอย้ำว่าควรเบรคให้ได้ความเร็วที่เอาอยู่ก่อนจะดีกว่า เรื่องขอบร้อน(ร้อนแน่ๆ) ก็ให้เลี้ยงเบรคเบาๆอย่างที่บอก ปล่อยเป็นพักๆเมื่อทางไม่ชันมากครับ

เกียร์ - เวลาลงควรใช้เกียร์หน้าใหญ่-หลังเล็ก เพราะบางครั้งเราต้องปั่นช่วยเร่งส่งขึ้นเนินบางช่วง หรือในเวลาคับขัน และใช้แซงรถใหญ่(เฉพาะเวลาจำเป็น) เพราะรถจักรยานนั้นคล่องตัวกว่า สามารถลงเขาได้เร็วกว่า จะได้ไม่ต้องบีบเบรคตามรถอื่น (ล้อร้อนอีก)

ท่าทางการขี่ - นั่งตามปรกติก้มตัวเล็กน้อยให้ลู่ลม เมื่อจะเบรค ก็ถอยก้นให้มาอยู่ท้ายๆอานหรือหลังอาน(ไม่ใช่หมานะ) เพื่อถ่ายน้ำหนักแรงกดมาที่ล้อหลัง ทำให้รถเกาะถนนล้อไม่ปัด

คลีต - ใส่เถอะครับบางเวลาก็ต้องช่วยปั่น(กันเท้าหลุด เพราะรอบขาตอนลงจะไวมาก) และถอดเมื่อจำเป็น.....จาก..future
อีกท่านครับ
เบรคก่อนเทโค้ง อย่าโค้งแล้วค่อยเบรค อาจจะแหกโค้งได้ ถ้าเบรคหลังอาจจะตูดปัดไปเลย

หัดดูไลน์ครับ เหมือนขับรถ ตีวงจากนอกมาใน แต่ระวังถสวนขึ้นมานะครับ

ถ่ายน้ำหนักขาสลับข้าง นึกภาพตามง่ายๆ เลี้ยวข้างไหน ก็ยกขากับบันไดขึ้นเพื่อหลบบันไดครูดถนน แต่จริงๆเป้นการทำให้เราถ่ายน้ำหนักกดไปที่ข้างอีกข้างครับ

เบรคผมจะเบรคทั้ง 2 ล้อนะครับ

ใส่คลีทตลอดครับ

จานหน้าใหญ่เสมอ เพราะนอกจากรอบขาจะเร็วมากทำให้ปั่นไม่ทันรอบแล้ว ยังช่วยป้องกันเมื่อเกิดอบุติเหตุ ฟันจานจะได้ไม่ต้องมาจิ้มขาเราแหกครับ

มองไกล อ่านไลน์ สมาธิสูง สำคัญมากครับ
....จากคุณชิน...
อีกท่านครับผมกดยาวๆเหมือนกัน ถ้าทางชันมากๆ ให้ยืดแขนสุด ยกก้นขึ้น แล้วเอาท้องตั้งบนอานครับ

โน้มตัวมาทางด้านหลัง ป้องกันการกลิ้ง มองไปข้างหน้า ไกลๆ ครับ

เวลาเบรกไม่เคยเจอกรณียางระเบิด เพราะว่าลมมาปะทะบายความร้อนได้มากกว่าที่จะทำให้ร้อนพอที่ยางจะระเบิด

แต่ร้อนพอที่จะทำให้ผ้าเบรกไหม้ครับ แล้วมันจะสูญเสียความฝืด จะทำให้ท่านลงเขาเร็วกว่าเดิม

เรียกว่าอาการเบรกเฟดครับ ส่วนมากจะเกิดกับลงเขาชันๆติดต่อกันเกิน 20 นาทีขึ้นไป....จากแนวคิดคุณ...bongza
....................... :mrgreen: ส่วนผมเองเวลาปั่นลงเขาชันจะถ่ายน้ำหนักลงมาด้านหลังมากน้อยขึ้นอยู่กับความชัน ดูเลือกไลน์ที่ลงแล้วปลอดภัย แตะเบรคหลังเป็นระยะ ควบคุมล้อหน้าให้เข้าไลน์ ยกตัวจากเบาะเล็กน้อยในกรณีทางเป็นหลุมบ่อหรือก้อนหิน ถ้าเป็นไปได้ในสนามแข่งท่านต้องสำรวจเส้นทางให้เรียบร้อย ทั้งนี้ท่านต้องหมั่นฝึกเป็นประจำจากนเนินเล็ก ๆ ค่อยเพิ่มให้สูงขึ้นแล้วท่านจะสนุกกับการลงทางชันครับ(กรณีเสือภูเขา)
ไม่ปั่นตอนนี้ แล้วจะไปปั่นตอนไหน..ล่ะ โดย..เสือคลองคล้า
รูปประจำตัวสมาชิก
tunaja
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 4815
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ค. 2010, 14:43
Tel: 089-4170790
team: ปั่นกินลมขอนแก่น , บึงแก่นนคร , บึงทุ่งสร้าง
Bike: ขายหมดแย้ว !?!
ตำแหน่ง: ลับเฉพาะคนรู้ใจ ?

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย tunaja »

ขอเข้ามาเก็บความรู้ด้วยครับผม . :P :P ( แก้ไขแล้วครับ พิมพ์ผิดครับ ) . :oops:
แก้ไขล่าสุดโดย tunaja เมื่อ 16 ก.พ. 2011, 13:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ แต่ถ้าไม่มีมัน ก็ไม่สำคัญหน่ะซิ
ชนะใดหาสำคัญไม่ แค่เพียงชนะใจ นั่นก็พอแล้ว
รูปประจำตัวสมาชิก
วิทยาธรณ์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1394
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2008, 20:47
Tel: 0899601801
team: เพชรบูรณ์
Bike: terk

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย วิทยาธรณ์ »

ขอเก็บความรู้ด้วยคน ขอบคุณครับ
"พกกายพกใจไปกับจักรยาน ไกล้ไกลก็ปั่นได้ทุกเส้นทาง"
หนุ่มใหญ่วัยฉะกันแห่ง "บ้านนิรนาม"
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

โปรแกรมการฝึกซ้อมจักรยานสไตล์เสือขุนแผน
อุปกรณ์ที่ต้องมีนะครับ Heart Rate
การฝึกซ้อมให้ร่างกายมีสมรรถภาพในระดับดีเยี่ยมควรจะฝึกซ้อม 4 ประการดังนี้ครับ
1.การฝึกกำลัง
2.การฝึกความเร็ว
3.การฝึกความอดทน
4.การฝึกทักษะ

การวางแผนการฝึกซ้อมจักรยานเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพื่อให้การฝึกซ้อมจักรยานเป็นไปด้วยความสนุกสนาน สามารถนำไปใช้ในการแข่งขันและการออกกำลังกาย แผนการฝึกซ้อมจักรยานจึงต้องมีกิจกรรมที่หลากหลายจะทำให้ผู้ฝึกซ้อมไม่เบื่อ สามารถฝึกซ้อมได้อยางต่อเนื่อง การนำเอาหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาใช้เป็นที่นิยมใช้กับทีมระดับแนวหน้าและทีมชาติ ส่วนทีมเสือเพชรบูรณ์(ทีมระดับแนวหลังอย่างเราไม่คอยได้นำเอาหลักวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาใช้)
การกำหนดความหนักของการฝึก
การกำหนดความหนักของการฝึกมีการแบ่งเป็นช่วงการฝึก(Zone) โดยยึดหลักการ ทางการฝึกแบบแอโรบิก และแอนแอโรบิก อัตราการเต้นของชีพจรสูงสุด ดังนี้ครับ
ช่วงที่ 1 อัตราการเต้นหัวใจ 120 – 135 ครั้ง/นาที ขี่เบาและเป็นช่วงแอโรบิก(ช่วงวอร์ม)
ช่วงที่ 2 อัตราการเต้นหัวใจ 135 – 150 ครั้ง/นาที ช่วงการฝึกแบบแอโรบิก
ช่วงที่ 3 อัตราการเต้นหัวใจ 150 – 170 ครั้ง/นาที ช่วงการฝึกแบบแอนแอโรบิกระยะเริ่ม
ช่วงที่ 4 อัตราการเต้นหัวใจ 170 ครั้ง ขึ้นไป ช่วงการฝึกแบบแอนแอโรบิก


เดี๋ยวมีต่อครับ
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

(ต่อครับ)
1. การฝึกกำลัง
การสร้างกำลังในระบบการฝึกระยะสั้น

การฝึกรูปแบบต่าง ๆ นั้นเราไม่สามารถตรวนสอบได้ว่าเป็นการฝึกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้หัวใจและระบบไหลเวียนโลหิตได้ดีขนาดไหน และเป็นการยากสำหรับการวัดค่าที่แน่นอน เนื่องจากการฝึกมีลักษณะแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามการฝึกที่จะได้ผลดีและร่างกายเกิดการพัฒนาดีคือการฝึกร่างรายให้ทำงานหนัก ๆ ระยะเวลาสั้นๆ หรือการเพิ่มอัตราการเต้นของชีพจรให้สูงสุดนั่นเองครับซึ่งมีหลักดังนี้

1. 7 – 10 นาที ฝึกขี่จักรยานให้ความเร็วสูงสุด
- ฝึก 3 – 6 ครั้ง (พัก 6-8 นาที)
- อัตราการเต้นหัวใจอยู่ระหว่าง 140 – 180 ครั้ง/นาที
- ขี่เร็วหรือขี่ขึ้นเขา

2. ให้รักษาความหนักช่วงอัตราหัวใจเต้นใกล้จุดสูงสุด (จุดสูงสุดหรือ 100 เปอร์เซ็นต์ ของแต่ละคนต่างกันนะครับขึ้นอยู่กับอายุและเพศ)
- ฝึกให้นาน 4 นาที
- ฝึกซ้ำเที่ยว 4-8 ครั้ง
- ระยะเวลาพัก 6-8 นาที่
เดี๋ยวมีต่อครับ
รูปประจำตัวสมาชิก
ต้วมเตียมV2
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2790
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 18:57
Tel: 091-3804896
team: Phetchabun
Bike: Optimo team 06

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย ต้วมเตียมV2 »

เทคนิคสุดยอด เทพ ของต้วมเตี้ยมV2 ครับ
เริ่มจาก
อังคาร ทางเรียบ ทำความเร็วสุดๆ อยากให้เร็วมากๆ ก็หาคนลากเก่ง แล้วเราก็ดูด
พุธ หลังจากอังคาร ล้าจากทางเรียบ วันนี้ เราจะเน้นเบาๆ ผ่อนคลาย ด้วยการไปดูหนังโลตัส บัตร 60 บาท
พฤหัส โอ้ ทำไมทางเรียบ มันใกล้กันจัง เอางั้นดูดเขาอย่างเดียว ความเร็วไม่สน หลุดเมื่อไหร่ รอเขากลับตัวมา เราแอบซุ่มไว้ อันนี้ใช้ประจำ :lol:
ศุกร์ วันนี้เข้าแทรก ต้องเอาจริงหน่อย ต้องเร่งตัวเอง ต้องพยายามออกจากเทรกให้เร็ว เดี๋ยวลูกชิ้นร้านป้าหมด
เสาร์ วันนี้ต้องพยายามหาทริปไปไกล แต่ว่าแต่ละคนจัดก็หลักร้อยกิโล ไม่ไหว คอยไปส่งเขาก็ได้
อาทิตย์ วันนี้วันครอบครัว หยุดอีกแล้ว
จันทร์ เข้าแทรก หลังจากหยุดมาหลายวัน คราวนี้ต้องเอาจริง เข้าแทรกแบบจริงจัง เจอใครคุยขี้โม้กับเขาหมด นานๆเจอ :lol:
ปล อย่าโกรธกันน้า เหมือนคั่นโฆษณา เอากลับไปเอาของจริงต่อ :lol: :lol: แต่ที่เขียนมาชีวิตผมจริงๆทั้งน้านนนนน
ตูว่าแล้ว ทำไมขุนแผนมันน๊อครอบประจำ กรรม
"My Bike My Cannondale"
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

2. การฝึกทักษะ
สำหรับเสือภูเขาการฝึกทักษะมีความสำคัญมากครับ เช่น
- การเปลี่ยนเกียร์
- การทรงตัว
- การเข้าโค้ง
- การขึ้นเนิน
- การลงเนิน
- การกระโดด และอื่นๆอีกสารพัดครับ
ทีมเสือเพชรบูรณ์โชคดีครับมีผู้ที่มีทักษะเป็นเลิศ อยู่ 2 เสือครับ
1. เสือสมภพ
2. เสือเพชรบูรณ์ (อ.ปัญญา)
การฝึกทักษะโดยวิธีลัดสไตล์เสือขุนแผนได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ คือ การปั่นตามหลังสองเสือนี้ละครับแล้วก็จำวิธีการปั่นให้ทุกเม็ดรับรองได้...........
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือเพชรละคร
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2333
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 15:02
Tel: 0880899850
team: เสือเพชรบูรณ์ สาขาเสือเพชรละคร
Bike: รถกระป๋อง,ม้าลำพอง,MONO Q

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือเพชรละคร »

ต้วมเตียมV2 เขียน:เทคนิคสุดยอด เทพ ของต้วมเตี้ยมV2 ครับ
เริ่มจาก
อังคาร ทางเรียบ ทำความเร็วสุดๆ อยากให้เร็วมากๆ ก็หาคนลากเก่ง แล้วเราก็ดูด
พุธ หลังจากอังคาร ล้าจากทางเรียบ วันนี้ เราจะเน้นเบาๆ ผ่อนคลาย ด้วยการไปดูหนังโลตัส บัตร 60 บาท
พฤหัส โอ้ ทำไมทางเรียบ มันใกล้กันจัง เอางั้นดูดเขาอย่างเดียว ความเร็วไม่สน หลุดเมื่อไหร่ รอเขากลับตัวมา เราแอบซุ่มไว้ อันนี้ใช้ประจำ :lol:
ศุกร์ วันนี้เข้าแทรก ต้องเอาจริงหน่อย ต้องเร่งตัวเอง ต้องพยายามออกจากเทรกให้เร็ว เดี๋ยวลูกชิ้นร้านป้าหมด
เสาร์ วันนี้ต้องพยายามหาทริปไปไกล แต่ว่าแต่ละคนจัดก็หลักร้อยกิโล ไม่ไหว คอยไปส่งเขาก็ได้
อาทิตย์ วันนี้วันครอบครัว หยุดอีกแล้ว
จันทร์ เข้าแทรก หลังจากหยุดมาหลายวัน คราวนี้ต้องเอาจริง เข้าแทรกแบบจริงจัง เจอใครคุยขี้โม้กับเขาหมด นานๆเจอ :lol:
ปล อย่าโกรธกันน้า เหมือนคั่นโฆษณา เอากลับไปเอาของจริงต่อ :lol: :lol: แต่ที่เขียนมาชีวิตผมจริงๆทั้งน้านนนนน
ตูว่าแล้ว ทำไมขุนแผนมันน๊อครอบประจำ กรรม
โปรแกรมวันจันทร์ของต้วมพี่ทำประจำเลย ในสนามแข่งใครขี่มาใกล้ชวนคุยหมดโม้ขโมงตลอดทาง :lol: :lol: :lol: เป็นความสามารถส่วนตัวครับ(ถึงว่าไม่ได้ถ้วยกับเขาซักที :mrgreen: )
นักปั่นขาแข็ง(เป็นก้อนๆ ช่วยด้วยผมเป็นตะคริวครับ)
เสือเพชรบูรณ์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5735
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 18:50
Tel: 0801187686
team: ทีมเสือเพชรบูรณ์
Bike: Bianchi MUTT - Cannondale F3-Six13
ตำแหน่ง: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือเพชรบูรณ์ »

เสือขุนแผน เขียน:2. การฝึกทักษะ
สำหรับเสือภูเขาการฝึกทักษะมีความสำคัญมากครับ เช่น
- การเปลี่ยนเกียร์
- การทรงตัว
- การเข้าโค้ง
- การขึ้นเนิน
- การลงเนิน
- การกระโดด และอื่นๆอีกสารพัดครับ
ทีมเสือเพชรบูรณ์โชคดีครับมีผู้ที่มีทักษะเป็นเลิศ อยู่ 2 เสือครับ
1. เสือสมภพ
2. เสือเพชรบูรณ์ (อ.ปัญญา)
การฝึกทักษะโดยวิธีลัดสไตล์เสือขุนแผนได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ คือ การปั่นตามหลังสองเสือนี้ละครับแล้วก็จำวิธีการปั่นให้ทุกเม็ดรับรองได้...........
3.ขอบวกป๋าเสือป่าเลาV3.อีกหนึ่งครับ เรื่องของความอึดระยะยาว ๆ ถามเทคนิคได้ครับระดับ 300-400 กิโล/วัน สุดท้ายยังเป็นหัวลากได้อย่างสบาย ๆ ผมเองยังเคยใช้บริการครับ
ไม่ปั่นตอนนี้ แล้วจะไปปั่นตอนไหน..ล่ะ โดย..เสือคลองคล้า
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือท่าลาว
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 229
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 08:20
Tel: 088-4252761
team: เสือเพชรบูรณ์ สาขาเพชรละคร
Bike: รถกระป๋อง FLASH F3 ดำๆ

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือท่าลาว »

พี่ tee ผมมีเคล็ดลับ ด้วยเวลาลงที่ ชันมาก ๆๆ แต่อาจจะไม่น่าเรียนแบบนะคับ อาจจะผิดนะคับ แต่ผมว่าผมทำแล้วมันมั่นใจ คือ ทำโช้ค ให้แข็ง หรือ ล็อกโช้คเลย ไม่มีตีลังกา รอดตลอด อันนี้เป็นวิธีที่ผิดของผม ทริปที่ ตั๋วเพ็ง-ทับเบิก-นาสะอุ้ง ผมรองใช้คับพี่ มั่นใจโครต แต่จะมีข้อเสีย คือ แขนจะหล้า และจะต้อง เปิดโช้ค ให้เร็ว แต่มั่นใจได้ว่าไม่ตีลังกา
เสือเพชรบูรณ์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5735
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 18:50
Tel: 0801187686
team: ทีมเสือเพชรบูรณ์
Bike: Bianchi MUTT - Cannondale F3-Six13
ตำแหน่ง: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือเพชรบูรณ์ »

เสือท่าลาว เขียน:พี่ tee ผมมีเคล็ดลับ ด้วยเวลาลงที่ ชันมาก ๆๆ แต่อาจจะไม่น่าเรียนแบบนะคับ อาจจะผิดนะคับ แต่ผมว่าผมทำแล้วมันมั่นใจ คือ ทำโช้ค ให้แข็ง หรือ ล็อกโช้คเลย ไม่มีตีลังกา รอดตลอด อันนี้เป็นวิธีที่ผิดของผม ทริปที่ ตั๋วเพ็ง-ทับเบิก-นาสะอุ้ง ผมรองใช้คับพี่ มั่นใจโครต แต่จะมีข้อเสีย คือ แขนจะหล้า และจะต้อง เปิดโช้ค ให้เร็ว แต่มั่นใจได้ว่าไม่ตีลังกา
ว๊าว!!!เป็นความสามารถเฉพาะบุคคลน่ะครับ โช๊คมีหน้าที่ซับแรงกระแทก ทำให้ล้อกับผิวถนนสัมผัสกันอย่างนุ่มนวล ถ้าลงมาเร็วเจอหลุมถ้าโยกหลบได้ก็โชคดี กรณีฉุกเฉิน ต้องควบคุมล้อหน้าให้พ้นหลุมหรือสิ่งกีดขวาง โดยยกล้อหน้าเบา ๆ พอพ้น ยกตัวเล็กน้อยไปด้านหลัง ถ้าไม่ถ่วงหลังไว้แล้วไปกระแทกกับสิ่งกีดขวาง น้ำหนักจะถ่ายเทไปที่โช๊ค โช๊คจะยุบมาก จังหวะนั้นน้ำหนักตัวเราไปข้างหน้าแล้ว ขณะเดียวกันโช๊คดีดตัวกลับส่งตัวเราไปข้างหน้าอีกแรง คราวนี้ก็ 360 องศาเลยครับ
ไม่ปั่นตอนนี้ แล้วจะไปปั่นตอนไหน..ล่ะ โดย..เสือคลองคล้า
รูปประจำตัวสมาชิก
เสือสองแคว
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2120
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ส.ค. 2008, 11:07
Tel: 096-9488-099
team: อิสระ
Bike: giant xtc team

Re: ......คลิกนิกเสือ.....

โพสต์ โดย เสือสองแคว »

เห็นรูปแบบการฝึกซ้อมของเสือขุนแผนแล้ว สุดยอดเลย ถึงว่าขนาดเวลาแข่งขันใช้เกียร์แค่เกียร์เดียวยังได้ที่ 1 เลย อยากได้เทคนิคอีกอย่างใครมีวิธีดี ๆ บอกด้วยครับ วิธีขึ้นและลงรถให้รวดเร็ว เห็นฝรั่งเวลาแข่งขันแบบ ซายโครครอส ที่เป็นเสือหมอบแล้วเอามาแข่งทางครอส เห็นเขากระโดดขึ้นลงรถแล้วเร็วมาก ๆ
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือเพชรบูรณ์”