......คลินิก(Clinic)เสือ.....

ผู้ดูแล: เสือเพชรบูรณ์, V3 ป่าเลา

กฏการใช้บอร์ด
ที่อยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000
เสือเพชรบูรณ์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5735
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 18:50
Tel: 0801187686
team: ทีมเสือเพชรบูรณ์
Bike: Bianchi MUTT - Cannondale F3-Six13
ตำแหน่ง: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย เสือเพชรบูรณ์ »

โก๋ปากน้ำโพ เขียน:
ล้อหนาม วังโป่ง เขียน:ถูกต้องแล้วครับเสือโก๋ ไม่มีใครหรอกครับนอกจากผมที่ คอยตามดูดคนแก่ ผู้หญิงและเด็กเวลาออกทริป 8-)

สงสัยต้องไปสังกัด ป๊อดทีม ซะแล้ว :lol:
อนุมัติ เข้า ป๊อดทีมครับ ... อย่าลืมนะครับจงสำนึกไว้เสมอ " อะไรยากๆ เราไม่เอา อะไรเบาๆ เราสู้ อะไรหมูๆ เราชอบ " :lol: :lol:
ถ้าผมสังกัดทีมนี้ ขอขี่ตราจรเข้มันส์กว่าเย๊อะ :shock:
ไม่ปั่นตอนนี้ แล้วจะไปปั่นตอนไหน..ล่ะ โดย..เสือคลองคล้า
รูปประจำตัวสมาชิก
โก๋ปากน้ำโพ
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 3251
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 23:30
Tel: 089-4616505
team: เพชรบูรณ์
Bike: Cannondale Optimo 04
ตำแหน่ง: เพชรเจริญ

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย โก๋ปากน้ำโพ »

เสือเพชรบูรณ์ เขียน:
โก๋ปากน้ำโพ เขียน:
ล้อหนาม วังโป่ง เขียน:ถูกต้องแล้วครับเสือโก๋ ไม่มีใครหรอกครับนอกจากผมที่ คอยตามดูดคนแก่ ผู้หญิงและเด็กเวลาออกทริป 8-)

สงสัยต้องไปสังกัด ป๊อดทีม ซะแล้ว :lol:
อนุมัติ เข้า ป๊อดทีมครับ ... อย่าลืมนะครับจงสำนึกไว้เสมอ " อะไรยากๆ เราไม่เอา อะไรเบาๆ เราสู้ อะไรหมูๆ เราชอบ " :lol: :lol:
ถ้าผมสังกัดทีมนี้ ขอขี่ตราจรเข้มันส์กว่าเย๊อะ :shock:
:lol: ... น้อมรับคำ ติ ชม ...จ้า.... :lol: :lol: " จะกู่ร้องให้ก้องฟ้า ว่า ข้า ป๊อด "
รอ.... เก๊าท์ .... ด้วย ..... สูงผมไม่เอา หนาวไม่ทน ร้อนฝนไม่สู้......
PAPI36
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 468
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มี.ค. 2009, 13:09
Tel: 08-0504-7598

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย PAPI36 »

:lol: ... น้อมรับคำ ติ ชม ...จ้า.... :lol: :lol: " จะกู่ร้องให้ก้องฟ้า ว่า ข้า ป๊อด "[/quote][/quote]
+1 ครับ จอหงวนกล่าวไว้ว่า คนเหมือนคน แต่คนไม่เหมือนกัน :lol: :lol:
สองล้อพอเพียง ชีวิตที่เพียงพอ
รูปประจำตัวสมาชิก
cityboy
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 967
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2009, 13:46
Tel: 0869320839
team: PHETCHABUN TEAM
Bike: Cannondale Scalpel 06
ตำแหน่ง: 19/15 ถ.เกตุปัญญา อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย cityboy »

ไม่มีสิ่งใดที่ดีที่สุด แต่มีสิ่งที่ดีกว่าเสมอ
รูปประจำตัวสมาชิก
V3 ป่าเลา
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 8926
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2008, 22:34
Tel: 0819538554
team: PHETCHABUN TEAM
Bike: Cannondale Taurine SL 09 Super six hi-mod 09 Fash factory team
ตำแหน่ง: 44/2 หมู่ 8 ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67000

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย V3 ป่าเลา »

ซ่อมบำรุงแต่รถ อย่าลืมดูแลตัวเองกันบ้างนะครับ วันไหนว่างจากการซ้อมหรือลองวางโปรแกรมการฝึกซ้อมให้มีสักวันเป็นวันอัพร่างกายของเราผมว่าจะดีเหมือนกันนะครับ ผมจะเข้าไปเดือนละไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งครับ จึงได้นำภาพอุปกรณ์ที่ทางวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ให้บริการสมาชิกเราหลายท่านคงได้ไปใช้บริการมาหลายครั้งแล้วแต่ ครั้งล่าสุดผมไปมามีอุปกรณ์ตัวใหม่ ๆ มาหลายตัวเลย อยากให้ไปลองเล่นดูครับ ราคาต่อตัวเกือบล้านก็มีครับ ลองหาโอกาสไปเล่นดูครับ มีบริการครบวงจรเลยครับ ทั้งนวดยืดเส้นตามหลักการของวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยเฉพาะนักจักรยานอย่างเรามี อาจารย์ที่ท่านชำนาญเรื่องการนวดให้นักจักรยานโดยเฉพาะเลยครับ ประสบการณ์ของท่านได้ออกทัวร์กับทีมจักรยานต่างประเทศบ่อยครั้งเลยครับ มาดูห้องและอุปกรณ์กันเลยครับ
อาคารนี้แหละครับ
รูปภาพ
รูปภาพ
ห้องนวดสำหรับนักจักรยาน
รูปภาพ
รูปภาพ
รูปภาพ
ภายในห้องอบครับ
รูปภาพ
รูปภาพ
ห้องเครื่องออกกำลังกาย
รูปภาพ
รูปภาพ
ลู่วิ่งตัวใหม่
รูปภาพ
มีโปรแกรมตั้งได้สมบูรณ์แบบ
รูปภาพ
ตารางนี้สำคัญมากครับใครอายุเท่าไรควรจะออกกำลังกายโดยใช้ Heart Rate Zone เท่าไรจึงจะได้ประโยชน์ครับ
รูปภาพ
ชนะอื่นใดไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับชนะใจตนเอง
แม้จะมีเพียงแค่ภาพเดียวแต่สามารถแทนคำพูดได้มากกว่าพันคำ
เสือเพชรบูรณ์
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 5735
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ส.ค. 2008, 18:50
Tel: 0801187686
team: ทีมเสือเพชรบูรณ์
Bike: Bianchi MUTT - Cannondale F3-Six13
ตำแหน่ง: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย เสือเพชรบูรณ์ »

คิด ๆ อยู่เหมือนกันครับ
ไม่ปั่นตอนนี้ แล้วจะไปปั่นตอนไหน..ล่ะ โดย..เสือคลองคล้า
รูปประจำตัวสมาชิก
hs6pdb
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 453
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2010, 09:40
Tel: 056-565-044 086-939-8839
team: นาฉลียง-ยางงาม@เพชรบูรณ์ทีม
Bike: meride - Cdale - ANTORES

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย hs6pdb »

น่าไปลองนอนนวด-นั่งอบดูนะครับอยากไป :lol: :lol: :lol:
ชนะตน จากความชั่ว ย่อมก่อเกิด ความสุขแก่ตนเอง
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

:D :D เพิ่มเทคนิคกันหน่อยเร็ว
รูปประจำตัวสมาชิก
nat95
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 662
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ธ.ค. 2009, 09:01
Tel: 093 584 6262
team: Outback Phuket.
Bike: CANNONDALE, เมฆสีทอง
ตำแหน่ง: PHUKET

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย nat95 »

สวัสดีครับ พี่ๆครับ
นัทครับ ขออนุญาตเข้ามาเก็บความรู้หน่อยครับ
Nat95 Tel..093-584 6262
--------
oui142
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2350
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 22:05
Tel: 0832150005
team: เพชรบูรณ์
Bike: Bianchi Sempre, Bianchi Methanol SX2
ตำแหน่ง: แผนกเภสัชกรรม รพ.ค่ายพ่อขุนผาเมือง
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย oui142 »

เสือขุนแผน เขียน:ฝึกซ้อมหนัก อาจจะทำร้ายตัวเองพักบ้างดีกว่า
"บ่อยครั้งที่นักจักรยานต้องฝึกซ้อมเป็นประจำจะพบกับอาการผิดปกติของร่างกายซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อหวัดใหญ่ การฝึกซ้อมตามโปรแกรมก็ต้องดำเนินการต่อไปจะหยุดพักผ่อนก็ไม่แน่ใจว่ามีผลข้างเคียงหรือไม่ ? จะสูญเสียระดับความฟิตหรือเปล่า ? อาการหนักแค่ไหนถึงจะต้องหยุดพัก นี่คือปัญหาใหญ่ที่ไม่ค่อยมีคำตอบที่ชัดเจนหากท่านเคยประสบกับเหตุการณ์ทำนองดังกล่าว ลองอ่านบทความเรื่องนี้"
ปั่นจักรยานทำให้ป่วยได้เหมือนกัน
จากการศึกษานักจักรยานที่มีความฟิตระดับ "แข่งขัน" ซึ่งต้องฝึกซ้อมอย่างหนักนั้น มีโอกาสเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปวดระคายเคืองกล้ามเนื้อ ดังนั้นการรับรู้อาการผิดปกติของร่างกาย และหยุดพักผ่อนหรือแก้ไขอย่างทันท่วงที ก็จะมีผลกระทบกับการฝึกซ้อมน้อย แต่ถ้าปฏิบัติตัวไม่ถูกหรือทนฝืนฝึกซ้อมทั้ง ๆ ที่เจ็บไข้ เรื่องเลวร้ายอีกหลายอย่างอาจจะตามมา

ข้อสังเกตุ 6 ประการ
1.นอนไม่หลับ
พักผ่อนด้วยการนอนหลับเป็นการเปิดโอกาสให้ร่างกายได้พักฟื้น และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดีที่สุด โดยทั่วไปแล้วนักปั่นที่มีร่างกายแข็งแรงอยู่แล้วจะไม่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ แต่บางครั้งหลังจากการฝึกซ้อม หรือแข่งขันอย่างเหน็ดเหนื่อยตลอดทั้งวัน อาจทำให้ประสบปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ แต่ถ้าอาการนอนไม่หลับ (แบบไม่ปกติ) เกิดขึ้นติดต่อกันเป็นคืนที่สองนั้น เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเราอาจจะป่วย หรือฝึกซ้อมหนักเกินไป จนไม่มีเวลาเพียงพอให้ร่างกายได้พื้นตัวนักแข่งจักรยานระดับอาชีพ จะใช้เวลานอนแต่ละวัน ไม่น้อยกว่า 10 ชั่วโมง และการนอนหลับอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง จึงจะเพียงพอสำหรับการพักผ่อนที่ทำให้เราตื่นขึ้นมาพบเช้าวันใหม่ เตรียมพร้อมกับการฝึกซ้อมอย่างหนักเป็นนิสัย และมีเวลานอนแค่ 8 ชั่วโมง ละก็ใส่การนอนพักผ่อนในช่วงบ่าย ๆ ไว้ในตารางการฝึกซ้อมด้วย
2. เช็คชีพจร
เช็คอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักผ่อนในช่วงเช้า ๆ ตลอดช่วงโปรแกรมการฝึกซ้อม เพื่อเก็บสถิติไว้เปรียบเทียบว่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะผ่อนคลายนั้น ได้รับผลจากการฝึกทั้งหนักและเบาในวันก่อน ๆ นั้นแตกต่างกันอย่างไร ? เพราะอัตราการเต้นของหัวใจช่วงเวลานี้ สามารถบ่งชี้ได้ว่า เราต้องหยุดพักผ่อนสักวัน ก่อนที่จะเข้าโปรแกรมฝึกซ้อมต่อไปหรือไม่ ? เมื่อเราได้สถิติการเต้นของหัวใจช่วงพักผ่อน (ควรวัดตอนเช้า ๆ ) ที่คงพอจะเป็นจุดอ้างอิงได้ วันใดที่อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ 5 ครั้งต่อนาที ก็พอบ่งชี้ได้ว่าร่างกายอาจจะมีปัญหา แต่ถ้าเต้นเร็วกว่าจุดอ้างอิง ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยเกิน 10 ครั้งต่อนาที ขึ้นไปก็ควรที่จะหยุดพักผ่อนในวันนั้น วิธีวัดอัตราการเต้นของหัวใจนั้น หลายคนอาจปฏิบัติแตกต่างกันไป บางคนอาจนอนหลับไปพร้อม ๆ คาดสายวัดไว้ที่หน้าอกเลย บางคนอาจใช้วิธีจับชีพจรและคำนวณกับเวลาแบบเดียวกับที่พยาบาลหรือหมอใช้วัดคนไข้ คือจับข้อมือนับอัตราการเต้นของหัวใจสัก 15 วินาที ได้กี่ครั้งก็คูณด้วย 4 ผลจะออกมาเป็นครั้งต่อนาที ข้อควรระวัง ก็คือก่อนวัดอัตราการเต้นของหัวใจนั้นไม่ควรมีกิจกรรมใด ๆ ที่อาจะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เก็บการเก็บที่นอน รดน้ำต้นไม้ หรือแม้แต่เดินหานาฬิกาเพื่อใช้ร่วมกับการจับชีพจร ฯลฯ
3.หมั่นชั่งน้ำหนัก
ชั่งน้ำหนักตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าน้ำหนักตัวลดลงมากเกินกว่า 1 กก.ขึ้นไป นั้นก็เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าร่างกายอาจสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกาย หรือแข่งขันเมื่อวันก่อน โดยเราดื่มน้ำชดเชยเข้าไปไม่เพียงพอ หรือตื่นขึ้นมาฉี่มีสีเหลืองเข้ม วันนั้นควรหยุดพักผ่อน และดื่มน้ำให้เพียงพอซึ่งสังเกตได้ง่าย ๆ จากสีของฉี่ที่ต้องเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ แบบปกติ
4.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า เราอาจกำลังเจ็บป่วยซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส แต่อย่าสับสนกับอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อที่เกิดจากการใช้งานอย่างรุนแรง หรือเป็นเวลานาน เช่นการฝึกซ้อม การแข่งขัน หรือกิจกรรมที่ใช้กำลังชนิดอื่น ๆ
5.ระคายเคืองลำคอ
หากรู้สึกระคายเคืองในลำคอ ร่างกายอาจเกิดการติดเชื้ออย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ถึงกับต้องหยุดซ้อม แต่ควรระมัดระวังและเฝ้าดูแลอาการอย่างใกล้ชิดสักนิด
6.อารมณ์
ถ้าท่านตื่นเช้าตามปกติพร้อม ๆ กับอารมณ์หงุดหงิด สิงของหรือผู้คนในบ้าน แลดูขวางหูขวางตาไปหมด ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากทุก ๆ เช้า ไม่ใส่ใจกับจักรยานและอุปกรณ์การขับขี่อื่น ๆ เหมือนทุกวัน ไม่ควรใส่ใจเฉพาะข้อใดข้อหนึ่งควรสังเกตอาการและข้อบ่งชี้ทั้งหกในทุกเช้า เช่น นอนไม่ค่อยหลับ ตื่นขึ้นมารู้สึกอ่อนเพีลย อัตราการเต้นของหัวใจเกินกว่าปกติ แต่ก็เกินไปแค่ 4-5 ครั้งต่อนาที น้ำหนักลดกว่าปกติ ฉี่เหลือง เกิดการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ และตามข้อต่อต่าง ๆ อารมณ์ไม่ดี ถึงแม้จะไม่เกินข้อบ่งชี้ในแต่ละข้อ แต่ถ้าเกิดอาการผิดปกติขึ้นถึง 4 ใน 6 ข้อ ควรหยุดฝึกซ้อม แต่ถ้าหยุดไม่ได้ก็ให้ฝึกซ้อมเบา ๆ หรือฝึกซ้อมอย่างระมัดระวังด้วยการสังเกตความผิดปกติของร่างกายตลอดเวลา
ผิดปกติตรงไหน
การตัดสินใจที่จะหยุฝึกซ้อมหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับอาการผิดปกติของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าเกิดขึ้นบริเวณลำคอขึ้นไป อาทิ คัดจมูก จามฟึดฟัดบ้าง ระคายเคืองลำคอ ไม่จำเป็นต้องหยุดฝึกซ้อม แต่อาจจะลดเวลา และการออกกกำลังกายให้เบาลง แต่ถ้าหลังจากการวอร์มอัฟไปแล้วอาจรู้สึกดีขึ้น ก็สามารถฝึกซ้อมตามโปรแกรมปกติได้ แต่ถ้าปั่นไปไม่กี่นาทีแล้วรู้สึกแย่ลง ก็ควรหยุดพักผ่อนดีกว่าน้ำมูกไหลอาจไม่ได้ป่วยการที่มีของเหลว หรือน้ำมูกไหลเล็กน้อยขณะปั่นจักรยาน อาจไม่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือไข้หวัด แต่อาจเป็นปรากฎการปกติของร่างกายขณะออกกกำลังกาย ยิ่งมีอากาศไหลผ่าน (หายใจ) เข้าปอดมากเท่าไหร่ ร่างกายจะทำปฏิกริยา เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับอากาศด้วยการขับความเปียกชื้นออกมาเป็นลักษณะคล้าย ๆ น้ำมูกใส อย่างไรก็ตามปฏิกริยาดังกล่าวมักเกิดขึ้นในพื้นที่หนาวเย็นหรือช่วงฤดูหนาวเป็นไข้...พักดีกว่า
การฝึกซ้อมขณะที่เป็นไข้หวัดอยู่นั้น ไม่ช่วยเสริมสร้างความฟิตหรือความแข็งแกร่งขึ้นแม้แต่เพียงนิดเดียว แถมจะทำให้อะไร ๆ แย่ลงไปอีกด้วยซ้ำไป ทางที่ดีควรหยุดพักผ่อนสักวันหรือสองวัน เพราะการพักผ่อนเป็นทางเดียวที่ทำให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติได้เร็วที่สุด ระหว่างหยุดพักให้ทานน้ำมาก ๆ การหยุดพักสักสองวันนั้น มีผลกระทบกับการฝึกซ้อมน้อยกว่าปล่อยให้ติดไข้งอมแงม เพราะหากฝืนทนเผลอ ๆ อาจต้องหยุดพักยาวเป็นสัปดาห์ก็ได้หยุดนานแค่ไหนจึงจะไม่ฟิตหากต้องหยุดพักการฝึกซ้อมสักวันสองวัน หรือสองสามวัน ไม่ได้ส่งผลกระทบความพร้อมของร่างกายมากมายอะไร โดยทั่วไปแล้ว นักกีฬาส่วนใหญ่ใช้เวลาการฝึกซ้อมมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ ถึงจะมีผลกระทบกับระดับความฟิตของร่างกาย จนรู้สึกหรือพิสูจน์ได้จริง ๆ
อ้างอิง
Dirt Trick
กองบรรณาธิการ นิตย์สาร MBT ปีที่ 6 ฉบับที่ 61 มิถุนายน 2546

มาตามอ่านย้อนหลัง ครับผม ขอบคุณมากเลยครับ
ความรู้ใหม่ ที่เคยมีอาการ แต่ ไม่กล้าตัดสินใจ 55555
“คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรขออะไรจากคนอื่น
ควรจะกินพอประมาณ ไม่ควรจะมากเกินไป ถึงกับท้องกาง
ควรช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ใช่เหยียบย่ำ
ควรจะรับใช้ ไม่ควรคิดเป็นนายคน”
รพี พัฒนศักดิ์



"พรุ่งนี้...ก็ สายเสียแล้ว" ศ.ศิลป์ พีระศรี
oui142
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 2350
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ย. 2011, 22:05
Tel: 0832150005
team: เพชรบูรณ์
Bike: Bianchi Sempre, Bianchi Methanol SX2
ตำแหน่ง: แผนกเภสัชกรรม รพ.ค่ายพ่อขุนผาเมือง
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย oui142 »

เสือขุนแผน เขียน:10 วิธีฝึกซ้อมที่เราสามารถเลี่ยงได้

1.ซ้อมมากเกินไป
มีนักแข่งหลายคนที่จริงจังและมุ่งมันในการฦึกซ้อมเพื่อสู่หนทางเป็นแชมป์ให้กับตัวเอง เขาฝึกซ้อมอย่างหนักตั้งแต่เริ่มฤดูกาลแข่ง
ขัน แต่พอถึงกลางฤดูเวลาที่เขาทำกลับแย่ลงทีละน้อย ๆ แล้วก็พลาดตำแหน่งตามที่ได้คาดหวังไว้
"สังสัยซ้อมน้อยไป" เขาคิดไปอย่างนั้น ก็เลยเพิ่มการฝึกซ้อมให้มากขึ้น ทั้งเพิ่มระยะทาง ปั่นขึ้นเขา ฯลฯ ผลที่ได้รับคือเวลาที่เขาเคยทำได้กลับแย่ลง
ไปกว่าเดิม เนินเขาที่เขาเคยปั่นขึ้นอย่า่งง่าย ๆ ก็กลับเป็นปัญหาสำหรับเขา เขาผิดหวังมาก เลยขายจักรยานทิ้งไปเลยหันไปคบหากิ๊กใหม่ ๆ
แทนซะจะได้สะสมคอเลสเตอร์รอลได้ดียิ่งขึ้นไป 555 คิดผิดไปแล้วครับเพ่ ลองมาอ่านบทความนี้สักนิดหนึ่งก่อนที่คุณจะบอกลาจักรยานไปนะครับ
ความจริง จะบอกให้รู้ว่า ถ้าคุณโหมซ้อมมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น แล้วก็มีตำรามากมายหลายเล่มที่สอนเราว่าใ "ให้พักผ่อนให้พอ"
ร่างกายของคนเราต้องการพักผ่อนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แล้วเวลาที่มันจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ คือ "เวลาที่เราพักผ่อนนั้นเอง"
ดังนั้นเมื่อเราได้ทำการฦึกซ้อมมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว เราก็ต้องหยุดพักบ้างโดยการพักผ่อน (นอนหลับ)
และรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอบ้าง

2. "ไม่เคยขาดซ้อม"[/b]
นักแข่งหลาย ๆ คนจะใช้ตารางฝึกซ้อมซึ่งเหมาะสำหรับมืออาชีพที่แข่งอย่างเดียว แต่ชาวบ้านอย่างเรา ๆ
จะหาเวลาฝึกได้ก็ช่วงเวลาที่ว่างจากการทำงานอาชีพแล้ว จึงจัดเวลาซ้อมจักรยานต่อจากการทำงานอย่างอื่นซึ่งไม่ดีเลย
เพราะวิธีรวบการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกันจะทำให้ร่างกายโทรมเร็วกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายไม่มีเวลาฟื้นตัว
วิธีที่ถูกคือถ้ามีอะไรมาขัดจังหวะการซ้อมของคุณจงไปทำเรื่องนั้นให้เสร็จ แล้วถือว่าวันนั้นเป็นวันพักผ่อนพิเศษสำหรับคุณ
แล้ววันรุ่งขึ้นค่อยกลับเข้าตารางฝึกซ้อมใหม่ตามปกติ จำไว้ว่าการขาดซ้อมแค่เพียงวันเดียวไม่มีผลอะไร
ต่อร่างกายของคุณเลยถ้าคุณฟิตอยู่แล้ว หากคุณหยุดเฉย ๆ ถึง 2 สัปดาห์นั้นละครับที่จะทำให้ประสิทธิ์ภาพของกล้ามเนื้อคุณลดลงไป

3. ดูดอย่างเดียว จนเพื่อน ๆ ตั้งฉายาว่า "ไอ้ตัวดูด"
ในการออกปั่นกับเพื่อน ๆ ในแต่ละวันคุณไม่เคยขี่นำเพื่อน ๆ เลย คุณจะคอยตามหลังหรือคอยดูดเพื่อนตลอดเส้นทาง ถึงแม้เพื่อนจะขี่ด้วยความเร็วเท่าไหร่ คุณก็ไม่เคยหลุดกลุ่ม จนบางครั้งคุณอาจจะเข้าใจผิดในตัวเองว่า "เราแกร่งแล้ว" แต่ความจริงคือ "ไม่" คุณยังแย่กว่าเพื่อนคุณที่เคยขี่นำหน้าด้วยความเร็วเพียง 25 กม./ชม.ด้วยซ้ำไป บ่อยครั้งเมื่อใกล้ถึงเส้นชัย หรือจุดสิ้นสุดการฝึกซ้อมประจำวันคุณจะเร่งความเร็วแซงเพื่อน ๆ ไปเข้าเส้นชัยก่อนก็นับว่าคุณยังไม่เกิดความสำเร็จในการฝึกซ้อมในครั้งนั้น ฉะนั้นการที่คุณขี่ตามเพื่อนโดยอาศัยแรงดูดจากเพื่อน ๆ นั้น นอกจากจะสร้างความเคยชินจนติดเป็นนิสัยแล้ว คุณก็ไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้ สถานการณ์ในสนามแข่งขันจริง ๆ คุณไม่สามารถจะใช้แรงดูดจากเพื่อนตลอดการแข่งขัน ฉะนั้นคุณต้องฝึกขี่นำหน้ากลุ่มบ้างในการฝึกซ้อมในแต่ละวัน ยิ่งคุณขยันขี่นำหน้าบ่อย ๆ มากเพียงใดก็จะเกิดผลดีกับคุณมากเท่านั้น จนเพื่อน ๆ จะตั้งฉายาใหม่ให้คุณว่า "หัวลากประจำทีม" ก็ได้
หรือคุณอาจจะเป็นผู้ที่ลงเขาได้อย่างบ้าบิ่นเกินใคร ๆ แต่ขาขึ้นคุณเป็นคนเดียวในกลุ่มที่ต้องเข็น ฉะนั้นการที่เราจะเก่งอย่างใดอย่างเดียวไม่ได้หรอกครับ ลองทำในสิ่งที่คุณไม่ค่อยถนัดด้วย อย่างถ้าคุณปั่นขึ้นเขาไม่เก่งก็ต้องหัดปั่นขึ้นเขาบ่อย ๆ และสร้างความชำนาญให้ได้ในที่สุด ในช่วงแรก ๆ คุณอาจจะเบื่อหรือเกลียดกับการปั่นขึ้นเขาที่จะต้องใช้พละกำลังและระบบหายใจมากเป็นพิเศษ แต่คุณจงฝืนฝึกฝนต่อไปเถอะครับ แล้วเมื่อทุกอย่างเริ่มดีขึ้น จากนั้นนอกจากคุณจะเปลี่ยนเป็นนักปั่นที่ชอบพิชิตยอดเขาแล้ว คุณก็จะกลายเป็นนักปั่นคนใหม่ที่เก่งกว่าเดิม จนเพื่อน ๆ ในทีมอดที่จะยอมรับในความสามารถของคุณได้ และฮีโร่ของทีมก็อาจจะเป็นตัวคุณเพิ่มมาอีกหนึ่งคนเป็นแน่แท้

4. "ไม่ยอมขี่ร่วมกลุ่มกับคนอื่น"
มีนักจักรยานหลายคนที่ชอบขี่อย่างโดดเดี่ยวไม่ยอมมาร่วมขี่กับกลุ่ม ผมเคยสอบถามหลาย ๆ คนที่ขี่จักรยานอยู่ตามลำพัง มักจะได้คำตอบว่า ผมชอบอิสระ เพราะการขี่คนเดียวไม่มีใครบังคับเราให้ขี่ไปทางใดทางหนึ่ง เราสามารถไปทุกแห่งตามที่เราต้องการ ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูกต้องหากเรารักจะขี่เพื่อให้เวลาผ่านพ้นไปวัน ๆ เท่านั้น โดยไม่มีความมุ่งหวังว่าจะไปลงแข่งขันกับใคร แต่บางคนก็บอกว่า "ผมไม่กล้าเข้ากลุ่ม เพราะกลัวว่าจะตามเขาไม่ทัน" คำตอบข้อนี้น่าจะมาพิจารณาให้มากที่สุดครับ เพราะการขี่คนเดียวนั้นส่วนมากแล้วเราจะเข้าข้างตัวเองเสีัยมากกว่าที่จะเป็นจริง เว้นแต่นักกีฬาระดับแนวหน้าแล้วที่เขาสามารถใช้เครื่องวัดอัตราการเต้นของหัวใจมาเป็นตัวควบคุมในการฝึกซ้อมของเขา และเขามีระเบียบวินัยในการฝึกซ้อมอย่างแท้จริง
การขี่เป็นกลุ่มอาจจะไม่ได้ประโยชน์มากนักสำหรับนักแข่งเสือหมอบ แต่ยังมีประโยชน์สำหรับนักจักรยานเสือภูเขาอย่างเรา ๆ มาก เพราะตลอดเวลาการขี่เป็นกลุ่มนั้น ความสามารถและความแข็งแกร่งของเพื่อน ๆ แต่ละคนมันจะต่างกันตามลำดับ ฉะนั้นเมื่อเพื่อนเราคนใดปั่นหนักขึ้น เราก็จำเป็นต้องปั่นหนักตามไปด้วยโดยเกาะกันเป็นกลุ่มภายใต้อุโมงลมที่เพื่อน ๆ ช่วยบดบังไว้ก็พอที่จะลากสังขารไปกับเขาได้ ถึงแม้อาจจะทุลักทุเล หรือหอบแฮก ๆ ๆ บ้างในช่วงเข้ากลุ่มใหม่ ๆ ก็ตาม แต่สักวันหนึ่งคุณอาจจะเป็นผู้ที่ปั่นขึ้นไปลากเพื่อน ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ หรือหากคุณยังถูกทอดทิ้งอยู่ท้าย ๆ เพื่อนอีก แสดงว่าคุณต้องไปปรับตัวในการฝึกซ้อมของคุณ ต้องย้อนกลับไปอ่านข้อที่ 1-4 ว่าคุณยังติดอยู่ข้อใดข้อหนึ่ง แล้วมาปรับปรุงการฝึกซ้อมต่อไป ไม่นานจนเกินไปคุณอาจจะขึ้นชื่อในกลุ่มเพื่อน ๆ ว่า"หัวลากนำเข้าคนใหม่"คือฉายาของคุณ

5. ปั่นอัดอย่างเดียว
จะมีนักจักรยานหลายคนที่มาขี่ร่วมกลุ่มกันแล้วรับรองได้ว่าจะต้องมีพวกชอบอวดตัวเองอยู่เสมอ คนประเภทนี้จะชอบขี่นำกลุ่มหรือปั่นหนีกลุ่มตลอด หรือเรียกอีกภาษาว่า "พวกบ้าพลัง หรือพวกมีอัตตาสูง" ซึ่งถ้าเขาปั่นจี้อย่างนี้ทุกครั้งที่ขี่ ก็เท่ากับว่ากำลังทำร้ายตัวเองอยู่ ไม่ต้องไปสนใจอะไรหรอกครับ เพราะร่างกายของคนเราต้องการสภาพการทำงานที่แตกต่างกันหลาย ๆ อย่าง ทั้งหนักทั้งเบา ทั้งโหมหนักและการพักผ่อน ทั้งนี้เพื่อจะให้ทุกระบบของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขี่เล่นกินลมชมวิวไปเรื่อย ๆ บ้างปั่นแข่งขันกันบ้างจึงเป็นการช่วยให้ทุกระบบของร่างกายได้ทำงานร่วมกัน และยังสนุกกว่าการตั้งหน้าตั้งตาปั่นอย่างเดียว
ฉะนั้นการปั่นต้องมีการปั่นหนักและเบาสลับกันไปเป็นระยะ ๆ นอกจากจะไม่เป็นการทำร้ายร่างกายแล้วยังช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิด และระบบต่าง ๆ ของหัวใจสลับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. กินเมื่อหิวเท่านั้น
การรับประทานอาหารสำหรับมนุษย์เราทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นนักกีฬาจะต้องเน้นในหลักโภชนาการให้มากกว่าคนทั่ว ๆ ไป นอกจากต้องกินให้ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว การกินอาหารต้องกินเป็นเวลา ไม่ใช่รอให้ท้องหิวซะก่อนแล้วค่อยหาอาหารเติมท้องทีหลัง จงกินอาหารก่อนที่คุณจะหิว แต่เชื่อเถอะครับขณะที่เรากำลังปั่นเพลิน ๆ อยู่นั้นไม่มีใครคิดถึงความหิวเลย แต่เมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกหิวขึ้นมานั้นก็แสดงว่ามันสายไปเสียแล้วสำหรับอาหารมื้อนี้ เพราะแปลว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำเกินไป ร่างกายจึงรู้สึกว่าหิว และนั้นก็หมายความว่าพลังงานสำรองในร่างกายของคุณที่ได้สร้างสมมาได้ลดลงต่ำกว่าระดับอันควรจะเป็นเสียแล้ว คราวนี้คุณจะเอาแรงที่ไหนไปสู้กับคนอื่นได้ จนกว่าร่างกายของคุณจะได้สร้างสมพลังงานขึ้นมาใหม่ โดยต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน
กฎการกินของนักกีฬา โดยเฉพาะนักจักรยานคือเมื่อไรที่จะปั่นจักรยานกันนานเกิน 2 ชั่วโมง ก็จงกินทุก ๆ 45 นาทีหรือถ้าจะขี่กันนานเกินกว่า 4 ชั่วโมงก็ให้หยุดพักแล้วหาอะไรใส่ท้องทุก ๆ 2 ชั่วโมง ของที่จะกินก็ไม่ต้องมากนักหรอก เพียงแค่แซนวิชสักชุด กล้วยหอมสักลูกก็ใช้ได้แล้วครับ ยิ่งถ้าได้ประเภทกล้วยตากอบน้ำผึ้งที่เราเตรียมใส่กระเป๋าหลังก่อนออกเดินทางนั้นละครับสุดยอดของพลังงานที่เราจะได้รับ
สำหรับเวลาแข่งหรือช่วงเวลาที่รีบร้อนจริง ๆ ไม่มีเวลาจะแวะจอดกินอาหารแล้ว น้ำอัดลมซักกระป๋องหนึ่งจะให้พลังงานแก่คุณได้อีกครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อหมดพลังงานแล้วก็หมดเลยนะครับ คราวนี้ต้องหารถโบกกลับบ้านให้ได้ก็ละกัน

7. ไม่ค่อยดื่มน้ำ
น้ำเป็นสิ่งที่ร่างกายคนเราจะขาดไม่ได้ เพราะในร่างกายคนเรานั้นประมาณ 75 % ประกอบด้วยน้ำ ซึ่งเป็นสื่อกลางในการล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในร่างกายของคนเรานั้นไม่เหมือนกับอูฐ หรือจะเรียกสั้่น ไ ว่า "คนนะไม่ใช่อูฐ" เพราะอะไรครับ เพราะว่าอูฐนั้นเป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสัตว์อื่น ๆ ในโลก เพราะอูฐมันจะมีกระเพาะไว้สำหรับเก็บน้ำไว้กินได้หลาย ๆ วัน โดยที่อูฐดื่มน้ำครั้งหนึ่ง เปรียบเหมือนรถยนต์ที่เติมน้ำมันเข้าไปในถังแล้วสามารถวิ่งไปได้เป็นร้อย ๆ กิโลโดยไม่ต้องเติมน้ำมันอีกจนกว่าน้ำมันจะหมดแล้วเติมเข้าไปใหม่ อูฐก็เช่นเดียวกับถังน้ำมันรถยนต์ แต่คนเราไม่สามารถทำเหมือนอูฐได้นะครับ
ดังนั้นจึงควรจิบน้ำหรือดื่มน้ำอยู่ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ร่างกายชุ่มช่ำอยู่ตลอดเวลา แต่คนทั่วไปมักจะดื่มน้ำไม่ค่อยพอในแต่ละวันอยู่แล้ว และที่แย่ที่สุดคือการออกขี่จักรยานในขณะที่ร่างกายขาดน้ำ นักจักรยานที่ดื่มน้ำจนร่างกายชุ่มฉ่ำเป็นประจำอยู่แล้วจะสามารถปั่นได้แบบสบาย ๆ ถึงสองชั่วโมงโดยการดื่มน้ำระหว่างทางอีก 2 กระติก ดังนั้นถ้าคิดจะขี่จักรยานนานกว่านั้นก็จงหาวิธีแบกน้ำไปให้มากกว่า 2 กระติกจึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนะครับ

8. นอนไม่พอ
การพักผ่อนโดยการนอนหลับนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด ฉะนั้นนักจักรยานอย่างเรา ๆ บางคนแล้วอาจจะไม่มีเวลานอนอย่างเพียงพอ อาจจะเป็นด้วยเหตุผลต่าง ๆ เกี่ยวกับประกอบอาชีพในหน้าที่การงานและอื่น ๆ และไม่มีวิธีใดเลยที่จะชดเชยการนอนไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือเราต้องนอนให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง หมายถึงต้องนอนให้หลับ ไม่ใช่นอนราบอย่างเดียวแต่ใจลอยไปคิดถึงกิ๊กคนแล้วคนเล่าจนสว่างคาตา นั้นหมายถึงท่านยังไม่ได้นอนนะครับ เพราะการนอนหลับสนิทนั้นตับกับไตจะได้ทำงานได้ดีที่สุด จำไว้เลยว่าถ้าคุณหลับไม่พอเมื่อไหร่ทั้งกล้ามเนื้อและจิตใจของคุณจะไม่สามารถซ่อมแซมความสึกหรอจากกิจกรรมที่คุณทำในระหว่างวันได้เลย และที่สำคัญหากคุณนอนหลับไม่เพียงพอ ประสิทธิภาพในการมองเห็นของคุณจะด้อยกว่าปกติ และประสิทธิภาพในการตัดสินใจก็จะลดลงตามไปอีกด้วย อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุในระหว่างการขับขี่ได้ครับ

9. ไม่สบายแล้วยังซิ่ง
ความเจ็บป่วยนั้นไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นกับตนเองครอบครัวและเพื่อนฝูง การมีสุขภาพที่่ดีนั้นย่อมเป็นลาภอันประเสริฐสุด คำนี้ก็ยังเป็นอัมตะตลอดไป และเป็นที่ปรารถณาของมนุษยโลกทุกคน แต่สิ่งเหล่านี้็ก็ไม่มีใครหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ย่อมเป็นสัจจะธรรมของทุกสิ่งที่มีชีวิตในโลกนี้ แต่เราก็สามารถป้องกันและบรรเทาสิ่งนั้นได้จากหนักให้เป็นเบา หรือยืดอายุไขออกไปได้ตามสมควร
สำหรับนักกีฬาอย่างเราแล้วก็ย่อมมีการเจ็บป่วยบ้างเล็กน้อย อาจจะเป็นเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง หรือสาเหตุใดก็ตาม แต่ถ้าเป็นหวัดน้ำมูกไหลธรรมดาก็ยังพอขี่จักรยานได้นะครับ แต่ก็ไม่ควรขี่ให้หนัก เพราะร่างกายเราต้องการพลังงานในการต่อสู้กับเชื้อโรค และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอย่างหนัก ไหนจะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับเชื่อโรคที่กำลังฟูมฟักตัวอยู่ในร่างกายเรา แล้วไหนอีกจะต้องสร้างภูมิต้านทานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในระหว่างการฝึกซ้อมอีก ฉะนั้นการออกกำลังกายเพียงเบา ๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อเท่านั้นเป็นดีที่สุด แต่หากคุณปั่นอัดเต็ม ๆ นั้นรับรองไม่ดีแน่ และคุณอาจจะต้องกลับมานอนเป็นไข้เข้าอู่ซ่อมระยะยาวเป็นแน่แท้ ดังนั้นคุณจะเหลือพลังงานไปทำอย่างอื่นได้ไม่มากนัก อดทนรอให้หายดีแล้วคุณค่อย ๆ ออกไปซ้อมกับเพื่อน ๆ แต่คุณจะต้องยอมรับตัวเองว่าวันแรกที่ออกไปปั่นขอเป็นเพียงตัวประกอบในทีมก็เพียงพอ ขี่แบบสบาย ๆ ตามหลังเพื่อน ๆ ไปเพื่อเรียกกำลังและกล้ามเนื้อให้กลับสู่ภาวะปกติประมาณ 2-3 วัน แล้วค่อย ๆ เพิ่มความหนักเข้าไปตามกำลังที่เรามีอยู่

10. จมอยู่กับเรื่องไม่ดี
ทุก ๆ คนย่อมมีปัญหาในชีตทั้งนั้น โดยเฉพาะในสมัยที่โลกไร้พรมแดนนี้ยิ่งเพิ่มความวุ่นวายในชีวิตมากยิ่งขึ้นหลายเท่าตัว บางคนก็มีกิ๊กจนแทบต้องเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์เดือนละหลาย ๆ เบอร์เพื่อหลบการสะกดรอยของ มท.1 ยิ่งนักกีฬาอย่างเรา ๆ เรื่องแพ้ชนะไม่ใช่เรื่องสำคัญ เอาแต่งตัวหล่อ ๆ เท่ ๆ ไว้ก่อนเพื่อเรียกแรงเชียร์จากสาว ๆ ผู้ชมรอบสนาม ซึ่งสร้างความสำเร็จสู่นักแข่งล่าเหยื่ออย่างเรามามากต่อมากแล้วนะครับ หรือปัญหาจากที่ทำงานอีกหลาย ๆ อย่างมีสะสมอยู่เรื่อย ๆ ฉะนั้นเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นล้วนจะเป็นตัวนำมาซึ่งปัญหาทั้งสิ้น
เมื่อปัญหามาสุ่มอกเมื่อไหร่ก็ย่อมเกิดอารมณ์จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัญหานั้น ๆ และอารมณ์ของคนเรามีขึ้นมีลงอยู่ตลอดเวลา บางวันคุณอาจจะรู้สึกสบายใจปลอดโปร่งโล่งอก แต่บางวันคุณอาจจะรู้สึกตัวว่าไร้ค่าเสียเหลือเกิน ขอให้จงอย่าปล่อยตัวปล่อยอารมณ์ให้ติดอยู่กับเรื่องนั้น ๆ ตรงกันข้าม การที่คุณออกมาขี่จักรยานร่วมกับเพื่อน ๆ จะช่วยให้คุณผ่อนคลายความเครียดได้ และจงคิดแต่สิ่งดี ๆ อย่าไปยึดติดกับอะไรมากนักสำหรับผู้ที่จริงจังกับการแข่งขัน แล้วไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ก็ต้องยอมรับไว้ล่วงหน้าเลยว่า เวลาของคุณต้องแย่ลงแน่นอนและจงทำใจยอมรับกับสถาพที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งนึกแต่สิ่งที่ดี ๆ อย่าลืมว่าเรื่องไม่ดีทั้งหลายจะอยู่แค่ชั่วประเดี๋ยวประด๋าเท่านั้น แล้วมันก็จะผ่านไปเอง ปรับจิตใจให้สบาย ๆ แล้วจงสนุกกับการขี่จักรยานเถอะครับ รับรองอายุยืยเป็นร้อยปีแน่ครับ
อ้างอิง http://www.lungmae.com/training10.htm



ต่อไป ผมคงอ้าง ข้อ 4 ไม่ได้แล้ว 5555 ปั่นคนเดียว :shock: :( :? :roll: :cry: :cry: :cry:
“คนเราควรจะให้ แต่ไม่ควรขออะไรจากคนอื่น
ควรจะกินพอประมาณ ไม่ควรจะมากเกินไป ถึงกับท้องกาง
ควรช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ใช่เหยียบย่ำ
ควรจะรับใช้ ไม่ควรคิดเป็นนายคน”
รพี พัฒนศักดิ์



"พรุ่งนี้...ก็ สายเสียแล้ว" ศ.ศิลป์ พีระศรี
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

การออกกำลังแบบ Interval ลองดูนะครับว่ามีความสำคัญขนาดไหน
http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic. ... 4&t=273292
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

นักกีฬาหลายๆคนในทีมเราอยากซ้อมให้เป็นระบบ หรือซ้อมให้ถูกหลักจะได้ไม่เสียเวลาผมเอาระบบที่ใช้ในการฝึกซ้อมมี 6 ระบบที่กี่ยวข้องกับจักรยานที่ผมใช้อยู่มาให้สมาชิกในทีมลองไปออกบบตารางซ้อมของตัวเองดูนะครับรับรองได้ผล 100% ครับ

การออกแบบโปรแกรมในการฝึกซ้อมจักรยานแบบ PRO
แนวทางการออกแบบโปรแกรมในการฝึกซ้อมจักรยานที่ผมจะพูดถึงนี้ผมต้องขอบอกว่าใช่ว่าวิธีการฝึกซ้อมแบบอื่นๆจะไม่ถูกต้อง ในโลกนี้ไม่มีระบบการฝึกซ้อมใดที่จะเหมาะสมได้กับทุกคนจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่างมารวมกันร่วมกับความศรัทธาและความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม และผมมีความเชื่อว่านักกีฬาจักรยานไทยก็ไม่ได้แพ้ชาติใดในโลก สามารถไปไกลกว่าการที่ได้ไปเข้าร่วมการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิค ผมหมายถึงในอนาคตถ้าเราช่วยกันส่งเสริมและเผยแพร่สนับสนุนเยาวชน,ลูกหลานของเราให้เขาได้มีแนวทางความรู้ ไปในทิศทางเดียวกันและมีระบบการฝึกซ้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ถูกต้อง ฟังแล้วอาจจะเหมือนเป็นเรื่องที่เพ้อฝันหรือไกลเกินไป แต่ผมว่าถ้าวันนี้เรามาเริ่มการสอนให้เยาวชนของเรารู้จักฝันและจุดประกายความฝัน และการคิดใหญ่ให้เขาหรือแม้แต่ตัวเรา วันหนึ่งเราอาจมีโอกาสได้เปิดกระทู้ร่วมกันแสดงความยินดีในความสำเร็จของนักกีฬาจักรยานไทยที่ได้รับเหรียญในการแข่งขันโอลิมปิคหรือระดับเอเชียที่เราเริ่มได้อันดับที่ดีมากแล้วครับสำหรับตอนนี้จากการแข่งขันล่าสุดในหลายๆรายการนะครับ เพราะผมมีความเชื่อว่าทุกๆคนมีโอกาสที่จะพัฒนาให้ตัวเองดีขึ้นได้ตามระดับความต้องการ และความสามารถของแต่ละคนครับ ให้กำลังใจลูกๆหลานๆเพื่อนๆเราเอาไว้ ให้เขาคิดดี คิดบวกครับแล้วเราจะได้มีนักกีฬาเก่งๆเพิ่มขึ้นทั่วประเทศไทย
เริ่มที่ปัญหาส่วนมากเลยของนักกีฬาคือไม่รู้ว่าตัวเองมีจุดอ่อนที่ใดและเมื่อรู้แล้วไม่รู้จะแก้อย่างไรให้ถูกต้องและพอดีเพื่อเกิดการพัฒนาผมขออนุญาตอธิบายแบบง่ายเพื่อให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปที่สนใจจะได้เริ่มเรียนรู้สะดวกในการนำไปประยุกต์ใช้และแนะนำ การที่จะใช้เปอร์เซ็นต์ในฝึกซ้อมต้องใช้วิธีการคำนวนตามบทความที่ ผมแนะนำไว้ในกระทู้ที่ผมโพสต์ไว้เปิดเข้าไปอ่านได้เลยครับ

ระบบที่ใช้ในการฝึกซ้อมมี 6 ระบบที่กี่ยวข้อง มีดังนี
1.Recovery(REC)(ระบบการฟื้นคืนสู่สภาพปกติ) ต่ำกว่า 60 % ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด
2.Low intensity Endurance (ระบบความทนทานในระดับต่ำ) 60 - 75%
3.high intensity Endurance(ระบบความทนทานในระดับสูง) 75 - 80%
4.Aerobic power (พลังงานที่ต้องใช้ออกซิเจน) 80 - 90%
5.Lactate tolerance 90% ขึ้นไป
6.phospho-creatine(pcr) 100% MAXIMUM HEART RATE (พลังงานสูงสุด)
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

1.Recovery(REC)(การฟื้นคืนสู่สภาพปกติ)
การขี่จักรยานเพื่อฟื้นคืนสภาพเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากเพราะการปั่นเบาๆเกียร์สบายๆอัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หลังจากที่เราทำการฝึกช้อมหรือแข่งขันอย่างเข้มข้นกรดที่เหลือจากขบวนการเผาผลาญพลังงานคือกรดแลคติกที่ตกค้างอยู่ตามกล้ามเนื้อและระบบการไหลเวียนของเหลวในร่างกายรวมถึงในเลือด ที่แผ่กระจายไปทั่วกล้ามเนื้อนี้หัวใจจะสูบฉีดเลือดไหลเวียนแบบสบายๆมีความสุข นำพาสิ่งที่มีคุณค่าทางสารอาหาร,ออกซิเจนและจะทำการ เคลื่อนย้ายของเสียที่เกิดจากการออกกำลังในความเข้มข้นระดับสูง อย่างรวดเร็วการขี่ฟื้นคืนสู่สภาพควรทำหลังแข่งขันเสร็จหรือซ้อมหนักนอกเหนือจากการ cool down(ลดระดับความหนักของการปั่นลง)ถ้าหนักมากเช้าควรขี่ recovery ประมาณ 30 นาที และเช้าอีกวันปั่นประมาณ30-60 นาที แต่ถ้าต้องการฝึกความชำนาญในการเลี้ยวหรือควบคุมรถการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 % ของอัตราการเต้นของหัวใจที่สงวนไว้เพื่อฝึกซ้อม(หัวใจเต้นสูงสุด - หัวใจเต้นตอนตื่นเช้า)ดูที่หัวข้อ การใช้ MAXIMUM HEART RATE ไปคำนวนเปอร์เซ็นต์ในการฝึกซ้อมRecovery(REC)(การฟื้นคืนสู่สภาพปกติ)
ความเข้มข้นของการฝึก...อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 %
ระยะเวลาการฝึก...........30 - 2 ชั่วโมง
ความถี่ต่อ 1 สัปดาห์.......1- 3 วันต่อสัปดาห์แล้วแต่ช่วงฝึกหนัก ปานกลาง เบา
สภาพพื้นที่ใช้ฝึก...........บนถนนหรือทางราบเรียบลูกรังหรือทางป่าที่ไม่เป็นลูกคลื่นขึ้นลง
รอบขา.......................80-100 รอบต่อนาที rpm เกียร์เบาเน้นพัฒนารอบขาและการผ่อนคลาย(คลายไม่คลายอยู่ที่ตัวเรา คุณผ่อนคลายหรือยัง)
ชนิดของพลังงานหลักที่ใช้..ระบบแอโรบิคใช้ไขมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลือน
เยาวชน:1-2 ชั่วโมง, สุภาพสตรี:1-2 ชั่วโมง, ผู้เริ่มต้นปั่นใหม่ 30 นาที-1 ชั่วโมง นักกีฬา 1 - 2 ชั่วโมง
เสือขุนแผน
ขาประจำ
ขาประจำ
โพสต์: 1320
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 21:55
Tel: 0993826888
team: เสือเพชรบูรณ์,PCS.Cannondale Cycling team
Bike: LA Blue Line , Cannondale F3 lefty osho Caad12, LAPIERRE,specialized epic
ตำแหน่ง: เพชรบูรณ์
ติดต่อ:

Re: ......คลินิก(Clinic)เสือ.....

โพสต์ โดย เสือขุนแผน »

2.Low intensity Endurance (ระบบความทนทานในระดับต่ำ) 60 - 75%
ระบบการทำงานนี้เป็นระบบที่ทำง่ายแต่บางที่เราก็ไม่ชอบเพราะคิดว่ามันปั่นไม่ค่อยเร็วกลัวว่าขี่มากแล้วจะทำให้ปั่นช้าแต่แท้จริงแล้วการปั่นความเร็วในระดับปานกลางนี้มีประโยชน์มากมายซ่อนอยู่ เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้านต้องเริ่มตั้งแต่ปรับพื้นดิน ตั้งเสาก็คือความแข็งแรง เทคานบ้านเพื่อรองรับน้ำหนักบ้านทั้งหมดคือ Low intensity Endurance ก็คือพื้นฐานของความทนทาน ถ้าเรามีความอดทน ความทนทานเราก็จะพัฒนาสิ่งต่างๆได้ทุกอย่างคุณว่าจริงหรือเปล่าครับแต่โดยปกติเวลาคุณซ้อมคุณจะไม่ยอมใครมีเท่าไหร่ก็ปั่นผลัดกันขึ้นเร็วลงเร็วจนหมดไม่ค่อยมีโอกาสที่จะปั่นLow intensity Endurance เพราะฉะนั้นต้องตกลงกันก่อนที่จะปั่นเพื่อพัฒนาต้องควบคุมความเร็วเพื่ออะไร คำตอบคือเพื่อสอนให้ร่างกายเรารู้จักเรียนรู้ในการเผาผลาญไขมันมาเป็นพลังงานผลที่ตามมาคือน้ำหนักตัวค่อยๆลดลง อย่างมีระบบไม่เพลียเหมือนการควบคุมอาหาร มีหลอดเลือดที่สะอาดมีไขมันอุดตันน้อยการสูบฉีดโลหิตมีประสิทธิภาพสมบูรณ์มากขึ้น ระบบหัวใจแข็งแรงเกิดกรด แลคติกขึ้นในปริมาณที่เหมาะสม ร่างกายมีโอกาสในการเรียนรู้ที่จะขจัดมันออกจากร่างกายได้มากขึ้นหรือง่ายและ เคยชินนั้นเอง ร่างกายจะใช้พลังงานน้อยแต่มีคุณค่ามากกว่าในการเปลี่ยนการเผาผลาญไขมัน ไกลโคเจนคือพลังานที่สำรองไว้ที่มีค่ามากต่อตัวเราเมื่อต้องการความเร็วที่เพิ่มขึ้นหรือความเข้มข้นขึ้นไกลโคเจนจะถูกนำออกมาใช้แต่พลังงานตัวนี้มีอยู่จำกัดเราจะใช้เวลาที่จำเป็นเช่นการออกตัวเพื่อเกาะกลุ่ม การฉีกหนีจากกลุ่ม การเร่งเพื่อเข้าเส้นชัยหรือแม้แต่ การเกาะคนที่เขามีความเร็วสูงมากกว่าเรา ถ้าจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็เหมือนเรามีเงินเหรียญและแบงค์อยู่ในตัวเวลาเราเดินทางเราก็จะเลือกใช้เงินเหรียญก่อนเพราะเราจะได้ไม่หนักตัว มันคือ fat (ไขมัน) แบงค์ก็เอาไว้ใช้เวลาจำเป็นเพราะจ่ายง่ายจ่ายเร็วเปรียบเหมือน glycogen higher octane การขี่Low intensity Endurance นี้จะทำกันในช่วงการเตรียมตัวระยะแรก general preparation ประมาณ 6-7 อาทิตย์และประมาณ 16 อาทิตย์ในหนึ่งฤดูการแข่งขันหรือ 10 อาทิตย์สำหรับมือโปรที่จะฝึกระบบนี้ครับรายละเอียดคงต้องเพิ่มเติมตอนหลังเอาเป็นว่าขี่ช้าลงบ้างแล้วจะพัฒนาไปสู่การปั่นเร็วขึ้นได้ครับ
ความเข้มข้นของการฝึก...อัตราการเต้นของหัวใจ 60 - 75%
ระยะเวลาการฝึก...........1- 4ชั่วโมงไม่ควรต่ำกว่า 1 ชม.
ความถี่ต่อ 1 สัปดาห์....... 5วันต่อสัปดาห์แล้วแต่ช่วงฝึกหนัก ปานกลาง เบารักษาสภาพก่อนแข่งขัน
สภาพพื้นที่ใช้ฝึก...........บนถนนหรือทางราบเรียบลูกรังหรือทางป่าที่ไม่เป็นลูกคลื่นขึ้นลง
รอบขา.......................80-100 รอบต่อนาที rpm เกียร์ปานกลางไม่หนักแต่มีรอบเน้นพัฒนารอบขา
ชนิดของพลังงานหลักที่ใช้..ระบบแอโรบิคใช้ไขมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนก่อนควรมีอาหารขนมปังหรือผลไม้พกไปทานหลังปั่นผ่านไป 40-50 นาทีเพื่อเป็นพลังงานชดเชยสำรอง
เยาวชน:2-3 ชั่วโมง, สุภาพสตรี:1-3 ชั่วโมง, ผู้เริ่มต้นปั่นใหม่ 1-2 ชั่วโมง นักกีฬา2-4ชั่วโมง
ระบบนี้ขอแนะนำให้สำหรับคนที่อยากลดนำหนักครับ เสือทอม เสือต้วม หมออ๋อย เสือยอด เสือโต้ง เสือที่น้ำหนักเกิน 80 กก
ตอบกลับ

กลับไปยัง “เสือเพชรบูรณ์”